สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

บ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน และความผูกพันระหว่างคุณกับคนในบ้าน

ช่วงที่ต้องอยู่บ้านติดต่อกันหลายวัน เพราะสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอยู่บนโลกนี้มาปีกว่าๆ (เมื่อไหร่แกจะไปสักที) ทำให้ความเหนื่อย ความท้อ ความเครียด พุ่งเข้ามาในหัวจนฟุ้งซ่าน บางทีก็รับบทนางจินตนาการล้ำเลิศ คิดเล่นๆ ว่า ร่างกายเรามีหัวปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่ เหมือนพวกสายไฟซ่อนอยู่ไหมเนี่ย หรือบ้านมีระบบบลูทูธส่งพลังมาให้ร่างกายได้บ้างไหม ถ้ามีจะได้รีบควานหาแล้วเสียบชาร์จและกดปุ่มรับพลังใจทันที เพราะตอนนี้รู้สึกหมดไฟจังเลย…เฮ้อ Home is empowering you สโลแกนสั้นๆ จากแคมเปญ 30×30 Home is empowering you ของ เอพี ไทยแลนด์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อว่าบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตให้คุณได้ จึงทำให้ฉันตั้งคำถามกับทุกห้องในบ้านตั้งแต่ห้องน้ำ ครัว ห้องนอน สวน ห้องนั่งเล่น และระเบียง ว่ามันมีพลังอะไรช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้างไหม  สรุป มีจริง! แถมเป็นกิจกรรมเบสิกที่ไม่คิดว่าพิเศษขนาดนี้ ทั้งร้องเพลงในห้องน้ำช่วยคลายกังวล ทำสวนช่วยกระชับความสัมพันธ์ รดน้ำต้นไม้ริมระเบียงลดความเครียด เม้ากันระหว่างกินข้าวเพิ่มความสนิทสนมและแชร์เรื่องราวดีๆ ให้คนที่รักฟังก่อนนอนทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย และกิจกรรมพิเศษที่เอพี ร่วมกับ 30 illustrators นั้นอบอุ่นและพิเศษอย่างไร เราจะพาคุณไปตามหาแรงบันดาลใจจาก 6 […]

เพลง Plastic Plastic ในมุมครูวิชา Natural Appreciation ใช้ศิลปะสอนเด็กอนุบาลให้รักธรรมชาติ

ชื่อ เพลง ต้องตา จิตดี อาชีพ คุณครู โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ “วันนี้ครูเพลงจะชวนเด็กๆ ชั้นอนุบาลสามห้องผักกาดมาวาดรูปกันค่ะ” การพบเจอ เพลง-ต้องตา จิตดี ครั้งนี้ ไม่มีชื่อวง Plastic Plastic ต่อท้าย ไม่มี ปกป้อง จิตดี พี่ชายข้างกาย ไม่มีเสียงร้องที่ชวนให้หยิบแฮมเป็นแผ่นที่หก ไม่มีท่วงทำนองสดใสพาฮัมเพลงหนึ่งเพลงซ้ำๆ มีเพียง ครูเพลง คุณครูประจำวิชา Natural Appreciation ของเด็กนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ ด้านหลังร้านอาหารก้ามปู คือพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ที่เด็กๆ กำลังทานอาหารกลางวันอยู่ ครูเพลง ต้องตาออกมาต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินนำไปยังบ้านสีขาวด้านในที่ปกป้องออกแบบให้เป็นโฮมสตูดิโอ พร้อมแบ่งพื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นห้องเรียนทำอาหาร  เธอชวนหย่อนตัวที่มุมรับแขก ซึ่งมองออกไปเห็นสนามเด็กเล่น และบ้านต้นไม้ที่ด้านหนึ่งเป็นสไลเดอร์ และอีกด้านเป็นหน้าผาจำลองแสนสนุก เพื่อเริ่มต้นคลาสเรียนวิชา ครูเพลง 101 ชีวิตเพลงในโรงเรียนอนุบาล เพลงไม่ได้เดินมาสมัครเป็นคุณครูที่โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ แต่เธอเติบโตภายในโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งคุณแม่เป็นผู้อำนวยการ ไปจนถึงเคยเป็นนักเรียนอนุบาลตัวน้อยผู้ได้เรียนหลักสูตรการเรียนการสอนแนวบูรณาการ (Integrated Learning) ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ทดลอง และทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงอนุบาล 3 “เพราะบ้านเราอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียน […]

หมอแดง พรศักดิ์ ผู้สร้างนิยามที่แท้ของ ‘ตายดี’ ไม่ให้ความหวัง แต่ให้คนไข้เลือกตายได้เอง

สวัสดีตัวฉันในเวอร์ชันที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกเช้าที่ลืมตาตื่น หญิงวัยรุ่นคนนี้บอกตัวเองเสมอว่า “ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี” เช่นเดียวกับวันที่กำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ให้ทันเดดไลน์ แม้ความจริงมันอาจจะไม่ดีตั้งแต่ Work from Home ที่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้านจนเครียดแล้วก็เถอะ ทว่าไม่รู้เมื่อไหร่จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต การประโลมใจตัวเองพร้อมทำในสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ อาจทำให้ไม่เสียดาย หรือเสียดายน้อยที่สุดตอนตายก็ได้มั้ง เพราะยอมรับอยู่เนืองๆ ว่าทุกคนต้องมีวันตายไม่ต่างจากวันเกิด เคยจินตนาการเล่นๆ เหมือนกันนะ ว่าถ้ารู้วันตายจะทำอะไรบ้าง กินเค้กร้านโปรด เปิดดูซีรีส์ที่ กงยู เล่น เพราะเป็นรักแรกตั้งแต่ประถมฯ เป็นไปได้ก็อยากไปคอนเสิร์ต EXO กับ NCT ศิลปินเกาหลีที่ติ่งจนบ้านมีแต่อัลบั้ม แท่งไฟ และโฟโต้บุ๊กของพวกเขา อะไรอีกดีล่ะ…บอกรักแม่ บอกรักพ่อ บอกรักแฟน บอกรักเพื่อน และบอกพวกเขาว่าช่วยใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุขทีด้วยละกัน แม้ตอนนี้ฉันยังเป็นมนุษย์ที่แข็งแรงดี แต่แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ หมอแดง-พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่ให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะตายและให้ทำสิ่งที่อยากทำก่อนตาย เช่น ดูซีรีส์เกาหลี หวีดอปป้า ฟังเพลงลูกทุ่ง ดูสารคดี หรืออยากฟังพระสวด กลับน่าสนใจ (โคตรๆ) จนต้องนัดสัมภาษณ์เพื่อคุยเรื่องความเป็นมืออาชีพของเขา นอกเหนือจากที่ว่า คนไข้แต่ละคนยังสามารถ […]

ภารกิจ #Saveยางนา กู้ชีพไม้หมายเมืองต้นสุดท้ายที่ผูกศรัทธาเวียงเชียงใหม่มา 220 ปี

นั่งรถ 15 นาทีจากสนามบินเชียงใหม่สู่คูเมือง มองบรรยากาศเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ พลางคิดถึงภารกิจ Save ยางนา ที่ทำให้เราเดินทางขึ้นเหนือ ภารกิจครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเห็นภาพโปสเตอร์ที่มีข้อความว่า “ฮอมฮักฮอมแฮง Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ชวนร่วมเก็บเศษอิฐ เศษปูนชิ้นเล็กๆ ออกจากเก๊ายางหลวง” พร้อมทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้สอบถามที่ถูกโพสต์ลงเพจ Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ก่อตั้งขึ้นโดยทีมเชียงใหม่มรดกโลก เพื่อโอบอุ้มรักษา ต้นยางนาหลวง ไม้หมายเมืองภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก  เราจึงต่อสายตรงหา อาจารย์ป้อง-วรงค์ วงศ์ลังกา อาจารย์สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเบอร์ในภาพนั้น เพื่อนัดหมายให้เขาพาเราไป Save ยางนา กันถึงถิ่น “เจอกันใต้เก๊า (โคน) ต้นยางนาหลวงครับ แล้วจะเห็นป้ายที่เขียนว่าฮอมฮักฮอมแฮง แต่งตัวทะมัดทะแมง แล้วก็เตรียมหมวกมาหน่อย”  ปื๊นเก๊ายางหลวง เรือนยอดเสียดฟ้าเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อเดินเข้าวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่แห่งที่ 2 ตั้งแต่ตั้งเวียงเชียงใหม่ เราเดินเข้าไปด้านใน เพื่อไปยังใต้เก๊าต้นยางนาหลวงตามนัดหมาย อาจารย์ป้องยืนอยู่ตรงนั้น เราเอ่ยทักทายกัน แล้วเริ่มพูดคุยถึงปื๊น (ตำนาน) ของยางนาหลวง เขาสร้างความเข้าใจว่า ไม้หมายเมือง คือต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเวียงเชียงใหม่ […]

‘สู้ๆ นะ เธอทำได้’ ปลอบใจอย่างไรให้คนฟังไม่ท้อและคนพูดดูไม่เฟก

หากเราอยากปลอบใจใครสักคน เมื่อคนพูดอยากจะแสดงความห่วงใยแต่จะทำอย่างไรให้คนฟังรู้สึกไม่ท้อ เราจึงขอคำปรึกษาจาก ‘แพทย์หญิงชัชชญา เพียรจงกล’ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจจาก ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะช่วยแนะนำวิธีปลอบใจที่คนฟังและคนพูดรู้สึกดี

คุยกับไรเดอร์หญิงจาก foodpanda ในวันที่เพศไม่ได้จำกัดการทำงานอีกต่อไป

ในยุคที่ความเท่าเทียมทางเพศถูกพูดถึงในวงกว้าง เรามองเห็นองค์กรหลายแห่งพยายามปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคม จากโลกการทำงานที่ผู้ชายเคยปกครอง บางองค์กรนั้นเพิ่มสัดส่วนให้มีผู้หญิงและเพศหลากหลายได้เข้าไปเป็นระดับหัวหน้า บ้างมีการให้วันลากับพนักงานข้ามเพศที่ต้องเข้ากระบวนการทรานสิชัน หรืออย่างน้อยที่สุด คือการเปิดรับพนักงานหญิงและเพศหลากหลายให้เข้ามาแสดงศักยภาพในงานที่เคยถูกมองว่าเป็น ‘งานผู้ชาย’ หนึ่งในองค์กรนั้นที่เราพูดถึงคือ foodpanda แอปพลิเคชันหมีสีชมพูที่เราคุ้นตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า เที่ยง หรือเย็นที่หลายคนกำลังมองหาเมนูอร่อยสักเมนู คอลัมน์ Rights Now คราวนี้ ขอเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากล ด้วยบทสนทนากับ ‘หมิว’ ตัวแทนของไรเดอร์หญิงซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นหน้ากันในคลิปวิดีโอจาก foodpanda พูดคุยถึงการฝ่าฟันกว่าจะมาเป็นไรเดอร์หญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของ foodpanda ผ่าน 3 เมนูที่สะท้อนให้เห็นชีวิต การทำงาน และความเท่าเทียมในสายตาของเธอ นี่คือถ้อยคำที่ทำให้เราเห็นความสำคัญของคำว่าโอกาส และการให้คุณค่ากับคำว่าศักยภาพ โดยไม่มีคำว่าเพศมาเป็นอุปสรรคอีกต่อไป เมนูที่ชอบตั้งแต่เด็ก : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและซีเรียล “เป็นเมนูทานง่าย สะดวก รวดเร็ว บ่งบอกว่าเราเป็นคนง่ายๆ ไม่ยึดติดอะไรมาก เราชอบมาตั้งแต่เด็กๆ เล็กๆ เพราะคุณแม่ชอบซื้อมาตุนไว้ให้ ทุกวันนี้เราก็ยังทานอยู่ อาจจะไม่ใช่ทานตอนเช้าเหมือนเมื่อก่อนแต่เป็นช่วงหลังเลิกงาน “เราเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ครอบครัวมีลูกสามคน เราเป็นลูกคนกลาง อยู่กับแม่มาตลอดเพราะพ่อแม่แยกทางกัน ช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยเป็นคนเกเร แต่พอโตขึ้นถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่าต้องทำงานได้แล้ว ก็เลยแยกออกมาจากที่บ้านแล้วมาใช้ชีวิตของตัวเอง” เมนูแรกในฐานะไรเดอร์ของ […]

ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ

ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย

รับมืออย่างไร เมื่อเจอโพสต์อยากฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล

“เรามีความสุขเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะวันนี้คือวันสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่”“เราคงไม่ได้ตื่นขึ้นมาเห็นพระอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้อีกต่อไปแล้ว”“สำหรับเราความตายไม่ใช่ความเจ็บปวดที่สุด แต่คือการมีชีวิตอยู่ต่างหาก” ถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดจากคนแปลกหน้าบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อบอกว่าเบื้องลึกจิตใจของ ‘เขา’ ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งอื่นใด จำนวนโพสต์บนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่กำลังเดินไปข้างหน้า หนึ่งโพสต์ “เราควรช่วยเหลือเขาไหม”  สองโพสต์ “หรือเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา” สามโพสต์ “ถ้าช่วยต้องทำยังไง” หนึ่งชีวิตที่ไม่เคยรู้จักกัน แต่ความเป็นความตายของเขากลับปรากฏขึ้นตรงหน้า ส่งผลให้เกิดความลังเลไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร เพราะคอมเมนต์บางส่วนอวยพรให้เขาไป แต่บางส่วนพยายามดึงให้เขากลับมา แล้วเราต้องทำอย่างไร ถ้าหากเจอ ‘คำเตือนแห่งความตาย’ โลดแล่นบนอินเทอร์เน็ต ฉันจึงชวน ‘ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี’ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการรับมือในประเด็นนี้ ซ่อนเหตุผลบางอย่างในทุกการโพสต์ คุณคิดอะไรอยู่: เบื่อว่ะ วันนี้ไม่มีความสุขเลย คุณคิดอะไรอยู่: ผิดหวังกับคะแนนสอบอีกแล้ว อยากหายตัวไปเลย คุณคิดอะไรอยู่: ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว เราไม่อยู่เป็นภาระใครแล้วนะ คิดจะโพสต์ก็โพสต์ไม่ใช่เรื่องสิ้นคิด เพราะหลายคนเลือกระบายความอัดอั้นตันใจ ลงกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความเศร้า ความผิดหวัง ความเหนื่อย ความท้อแท้ หรือบังเอิญเจอเรื่องตลก ทุกข้อความที่พิมพ์ ย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เขาอยากโพสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสะท้อนตัวตน ตั้งแต่อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ณ […]

แม็กซ์ เจนมานะ พ่อแก่นเซี้ยวที่สอนให้ลูกรู้จักความเทาของคนและใช้ชีวิตให้เก๋ากว่าพ่อ

สัมภาษณ์ : แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะประเด็น : แม็กซ์กับบทบาทความเป็นพ่อของน้องชัดเจนบรีฟ : สัมภาษณ์พร้อมถ่ายภาพประกอบ แต่งตัวแก่นเซี้ยว สนุกๆ มาเลยนะคะ  “ได้เลยครับ 55555” แม็กซ์พิมพ์ตอบภายใน 2 นาทีหลังจากส่งบรีฟให้เขาทางไลน์ ถัดจากฉันไม่ถึง 3 ก้าว คือชายผิวขาว ตาสีน้ำตาลอ่อน มีโครงหน้าค่อนไปทางฝรั่งจนฉันเคยเข้าใจผิดว่าเขาเป็นลูกครึ่งแน่ๆ ตั้งแต่ประกวดร้องเพลงเวที The Voice Thailand ไปจนถึงออกซิงเกิลติดปากมากมาย เช่น ไวน์, วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า, ปีศาจ และล่าสุด วันนี้ฉันอยากไปทะเล  แต่แท้จริงเขาเป็นลูกชายคนโตประจำตระกูลเจนมานะ บ้านที่แวดล้อมไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน มีอากง อาม่า ป๊า ม๊า ที่เลี้ยงดูอย่างเข้มข้นและเข้มงวดบ้างตามค่านิยมสังคม แถมถูกปลูกฝังความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวใหญ่ตามแบบฉบับธุรกิจกงสี ฉะนั้น จะเรียกเขาว่าลูกครึ่งไทย-จีน คงไม่ผิดเพี้ยน แม้แม็กซ์เติบโตมากับแนวคิดดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน แต่ทัศนมิติรอบด้านในฐานะ ‘พ่อคน’ กลับใหม่เอี่ยมและจี๊ดจ๊าด เพราะ เด็กชายชัดเจน เจนมานะ ลูกชายวัย 5 ขวบครึ่งของเขาไม่ต้องคิดเรื่องทดแทนบุญคุณ ไม่ต้องมาเลี้ยงเขายามแก่ […]

จะเป็น ‘มนุษย์ที่มีศีลธรรม’ หรือเป็น ‘ลูกน้องที่ดี’ ในประเทศ ‘นายสั่งมา’

ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่ประกาศก่อน“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์ทำร้ายทีมแพทย์อาสาในม็อบ“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐสามารถจับ ซีรอส วีรภัทร เยาวชนอายุ 17 ปี และ โตโต้ ปิยรัฐ แกนนำการ์ดวีโว่ โดยไม่มีหมายศาลได้“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐถึงขับรถคุมขังชนสิ่งกีดขวางได้โดยไม่กลัวใครได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของเสียหาย“นายสั่งมา” 9 มีนาคม ปี 2564 เวลา 14.00 น. ฉันพกประโยค “นายสั่งมา” คำตอบที่เจ้าหน้าที่รัฐพูดในหลายเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ ไปคุยกับ ผศ. ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเบื้องหลังประโยคดังกล่าว การกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ สามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ ทางเลือกทางศีลธรรมกับหน้าที่การงาน อำนาจนิยม ความกลัว และพลังของประชาชนที่เชื่อในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันที่ยังคงร้อนระอุ และความหวังในอนาคตที่ไม่มีใครพูดว่า ‘นายสั่งมา’ อีก นายสั่ง…ต้องทำ ระบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ป้อนคำสั่ง กดปุ่ม และรอให้ทำตามคำสั่ง เป็นระบบที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันเกิดขึ้นจริงใน ‘หุ่นยนต์’ ไร้ชีวิต ไร้หัวใจ และไร้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะ สั่งอะไรมาผมทำตามหมด! ทว่าความน่ากลัวอยู่ที่ […]

โดม ธิติภัทร นักจิตวิทยาผู้อยากขจัดความคิดว่า บำบัดจิต = บ้า

ถึงคุณที่กำลังเริ่มต้นอ่านบรรทัดแรก รบกวนยกมือขวาสัมผัสที่อกข้างซ้ายสักครู่ ก้อนเนื้อที่ใหญ่กว่ากำปั้นเล็กน้อยเป็นอย่างไรบ้าง มันกำลังบีบและคลายเพื่อบอกว่าคุณสุข เศร้า เหงา ทุกข์ หรือมันกำลังร้องบอกว่า ‘อยากปรึกษากับใครสักคน’  แต่เพราะการปรึกษาใจ หรือใช้คำศัพท์เชิงการแพทย์ว่า บำบัดจิต มีภาพจำในแง่ลบมากกว่าภาพบวก บ้างมองว่าเป็นบ้า บ้างด่วนสรุปไปแล้วว่าผิดปกติ ทว่าความจริงไม่ใช่อย่างนั้น และ โดม ธิติภัทร รวมทรัพย์ นักจิตวิทยา ควบด้วยสถานะนักศึกษาปริญญาโทด้าน Art Psychotherapy ที่ Goldsmiths, University of London ประเทศอังกฤษ อยากทลายความคิดนี้ให้หมดสิ้นจากสังคม พร้อมพาเรื่องสุขภาพจิตมาใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของทุกคนด้วยการให้ความรู้ และคำปรึกษาออนไลน์ผ่านเพจ he, art, psychotherapy ยามที่สังคมยังมีความคิดว่า การเข้ารับบำบัด = บ้า เรานัดสนทนากับโดมที่ H.O.N. House of Nowhere โฮมคาเฟ่ในซอยปรีดีพนมยงค์ที่มีแกลเลอรีด้านข้าง และจัดสตูดิโอถ่ายภาพไว้ด้านบน สิบเอ็ดนาฬิกาถึงเวลานัดหมาย เขามาถึงร้านพร้อมกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟ Dirty ก่อนเลื่อนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม แล้วหย่อนตัวนั่งอย่างสบายๆ สองบทบาทใน He คนเดียว […]

1 11 12 13 14 15 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.