คนเมืองกับที่อยู่อาศัยที่น้อยลงทุกที กับ อดีตนายกสมาคมอสังหาฯ | Unlock the City EP.23

เคยมีคำกล่าวในอดีตว่า คนไทยเก็บเงิน 30 ปีถึงซื้อบ้านได้ แต่ปัจจุบันต่อให้เก็บเป็นร้อยปีก็ไม่แน่ใจว่าจะซื้อได้หรือไม่ . ต่อให้ไม่เปิดดูข้อมูลหรือตัวเลขย้อนหลัง เราก็คงสัมผัสได้ถึงราคาที่สูงขึ้นของที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ใครที่ต้องเช่าหรือซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ต่างล้วนรู้ว่าทำเลดีๆ และอสังหาริมทรัพย์ราคาจับต้องได้แทบไม่หลงเหลือแล้ว โดยเฉพาะในใจกลางเมืองที่ล้อมรอบไปด้วยความสะดวกสบายและแหล่งงาน  . นอกจากนี้ยังมีเรื่องวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปตามค่านิยมของยุคสมัย รวมถึงการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองจึงชวน ‘พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์’ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์มาแลกเปลี่ยนข้อมูลและวิเคราะห์ประเด็นนี้ร่วมกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคนที่อยากมีบ้านในเมืองแห่งนี้ . ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/yMT_d4ayN4E Spotify : http://bit.ly/3lS0Eng Apple Podcasts : http://bit.ly/40nGDDX Podbean : http://bit.ly/3TP8NW9 #UrbanCreature #UrbanCreaturePodcast #UnlocktheCity

ที่มาอาหารกระป๋อง | Now You Know

เวลาเราดูหนังหรือซีรีส์ที่พูดถึงวันสิ้นโลก วันที่โลกแตก ไม่เหลืออะไรให้มนุษย์ประทังชีวิต ตัวละครในเรื่องมักจะมีเสบียงสำคัญอย่าง ‘อาหารกระป๋อง’ ที่เปิดกินได้ทุกสถานการณ์ แถมยังอยู่ได้นาน ถึงขั้นโลกแตก (ในหนัง) ก็ยังกินได้ .Now You Know เอพิโสดนี้ พาทุกคนไปรู้จักที่มาอาหารกระป๋อง ใครคือผู้ริเริ่มวิธีการถนอมอาหารโดยการเอาไปใส่ในกระป๋อง แล้วที่ว่าอาหารประเภทนี้เก็บรักษาได้นาน แท้จริงแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน

‘หนังไทย’ ทำไมอะไรๆ ก็ยากจัง

“ทีมงานจะได้ค่าตัวเท่านักแสดงได้ยังไง” “เพิ่มโรงเพิ่มรอบแล้ว คนดูก็ไม่เพิ่มขึ้น” “ทำหนังให้ดีก่อน เดี๋ยวคนก็มาดูเอง” ทั้งหมดนี้คือปัญหาบางส่วนที่วงการหนังไทยต้องประสบพบเจอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ขนาดในยุคสมัยที่เวทีหนังโลกไปไกลถึงไหนต่อไหน หนังไทยก็ยังต้องต่อสู้ในขอบเขตเดิมๆ Urban Creature ชวนฟังความเห็นจาก ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่จะมาบอกเล่าและเสนอวิธีการมองปัญหาเหล่านี้ ผ่านแว่นของคนในอุตสาหกรรมที่สังคมให้ความสนใจเป็นพิเศษในช่วงนี้

ผังเมือง ความสัมพันธ์ และความโรแมนติก | Unlock the City EP.22

รู้ไหมว่า ‘เมือง’ ที่อยู่อาศัยมีส่วนทำให้เรารู้สึกเหงาหงอย ไม่โรแมนติก หรือกระทั่งไร้คู่ตุนาหงันได้ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ ถึงดูไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ‘พนิต ภู่จินดา’ สถาปนิกผังเมืองและโฮสต์รายการ Unlock the City จะมาให้คำตอบถึงเบื้องหลังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นแง่ที่เกี่ยวโยงกับพื้นที่สาธารณะ ความสัมพันธ์ของชุมชน หรือขนส่งสาธารณะก็ตาม ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/d1ktUSJ1Aas Spotify : http://bit.ly/3YWoRGE Apple Podcasts : http://bit.ly/4062S0S Podbean : http://bit.ly/3YPZBBM

สารพัดวัฒนธรรมที่ต่างกันสุดขั้วจากเด็กไทยผู้ไปแลกเปลี่ยนที่เยอรมนี | คนย่านเดียวกัน EP.10

รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ชวน TikToker สายอาร์ตชื่อดัง ‘กบ-กชกร สำเภาพล’ จากช่อง Koko do art ผู้มีโอกาสไปโครงการแลกเปลี่ยนที่ประเทศเยอรมนี มาเล่าประสบการณ์ Culture Shock ทั้งเรื่องระเบียบวินัย ทัศนคติ และความเห็นทางศาสนาของผู้คนในสังคม ที่ทำให้ต้องปรับตัวหลายอย่าง  นอกจากนี้ เธอยังมีโอกาสไป Work and Travel ที่รัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทุกอย่างต่างจากเยอรมนีอย่างสิ้นเชิง เรื่องราวการผจญภัยทั้งหมดของเธอจะน่าติดตามแค่ไหน ติดตามฟังได้ในเอพิโสดนี้ ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/JkZi7MlGsL8 Spotify : http://bit.ly/3FbhPXa Apple Podcasts : http://bit.ly/3YDQ2ps Podbean : http://bit.ly/3YCJkQx

ครูเชฟผู้ไม่เกษียณการสอน ‘อาจารย์สุริยันต์ ศรีอำไพ’ | THE PROFESSIONAL

“เราไม่แน่ใจว่าจะมีอายุยืนยาวอีกเท่าไหร่ วันนี้มีจริงแต่พรุ่งนี้จะมีจริงหรือเปล่ายังไม่รู้ รู้แค่ว่าวันนี้อยากจะทำงานดีๆ สร้างสรรค์วงการเบเกอรีให้คนรุ่นหลังมีโอกาสต่อยอดธุรกิจหรือทำเป็นอาชีพได้” ในยุคที่สังคมผู้สูงอายุกลายเป็นโจทย์และความท้าทายสำคัญของชาวเมือง ส่วนอุตสาหกรรมแรงงานต่างมองหาและต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ทำให้ผู้มีอายุหรือวัยเกษียณส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพและทักษะน้อยลงเรื่อยๆ  ตัวอย่างเช่น วงการอาหารที่มีเชฟรุ่นเก๋ามากมายที่พร้อมส่งต่อความรู้และมอบประสบการณ์หลายสิบปีให้กับเชฟรุ่นใหม่ แต่กลับหาโอกาสในการถ่ายทอดไม่ได้ง่ายๆ THE PROFESSIONAL เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจประสบการณ์ของ ‘สุริยันต์ ศรีอำไพ’ เชฟจาก KRU-CHEF PROJECT ที่ตั้งใจชวนเหล่าเชฟที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มาใช้วัยเกษียณให้มีคุณภาพมากขึ้นผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเชฟรุ่นใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าวัยเกษียณไม่ใช่แค่เก่า แต่เก๋าด้วย

‘ดูดวง’ ช่วยเยียวยาใจหรือทำให้คนงมงาย กับ แม่หมอพิมฟ้า | Unlock the City EP.21

“หมอดูบอกว่าฉันจะรวยตอนอายุสามสิบแหละ” “ดูดวงคราวที่แล้วไม่ตรงเลย ใครมีหมอดูแม่นๆ แนะนำบ้าง” “จะสมัครงานที่ใหม่แล้ว หมอดูพอบอกได้ไหมว่าออฟฟิศไหนดีสุด” เพราะไม่มีพลังวิเศษวาร์ปไปดูอนาคต ผู้คนถึงต้องหาที่พึ่งทางใจช่วยคาดการณ์เหตุการณ์ในวันข้างหน้าให้ และตัวเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘การดูดวง’ จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี อีกทั้งคนยังเข้าถึงการดูดวงได้ง่ายขึ้นจากการมีโซเชียลมีเดีย และไม่ใช่แค่คนทั่วๆ ไปเท่านั้นที่ต้องการที่พึ่งทางใจ เพราะแม้แต่นายทุน พรรคการเมือง และกลุ่มผู้มีอำนาจก็ยังต้องหวังพึ่งฤกษ์งามยามดีในการทำการใหญ่ไม่ต่างกัน Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวน ‘พิชา กุลวราเอกดำรง’ หรือที่สายมูฯ รู้จักในชื่อ ‘แม่หมอพิมฟ้า’ คนดังที่คลุกคลีกับศาสตร์ดูดวงอย่างยาวนานมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงประเด็นนี้ที่สะท้อนถึงหลักคิดของคนเมือง

Live House ธุรกิจที่ส่งเสริมให้คนเข้าถึงศิลปะมากขึ้น l Urban เจอนี่ เจอ Live House

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับงานศิลปะอาจจะไม่ใช่ของคู่กัน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหล้าเบียร์มีส่วนทำให้ผู้คนเข้าถึงและอินกับผลงานได้ง่ายขึ้น เครื่องดื่มประเภทนี้จึงกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมาของวัฒนธรรมการชมงานศิลปะในประเทศไทยมาช้านาน แต่จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่ที่ตั้งใจทำให้ตัวเองเป็นเหมือนกระดาษเปล่า และเปิดโอกาสให้ศิลปินทุกแขนงมาสาดสีผ่านไอเดียและความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ โดยไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรีแนวร็อก แนวอิเล็กทริก หรือจะจัดแสดงผลงานวิชวลหรือคอนเซปต์อาร์ต โดยมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจุดประสงค์รอง Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ จึงอยากพาทุกคนไปรู้จัก DECOMMUNE สถานที่ที่ไม่จำกัดตัวเองเป็นแค่ไลฟ์เฮาส์ ซึ่งมีแนวคิดการทำธุรกิจด้วยการหาจุดตรงกลางระหว่างความมึนเมาและการแสดงผลงานสร้างสรรค์

ต้องโตแค่ไหนถึงดูหนัง 18+ ได้ | Now You Know

ทำไมถึงเรียก ‘สื่อลามก’ ว่า ‘หนังโป๊’ ทำไมต้องอายุ 18 ปีขึ้นไปถึงจะดูได้ แล้วเกณฑ์การวัดอายุบรรลุนิติภาวะนั้นสำคัญต่อสังคมอย่างไร Now You Know เอพิโสดนี้ ชวนทุกคนสำรวจประวัติศาสตร์เรื่องโป๊ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมไทย รวมถึงพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิด ‘การบรรลุนิติภาวะ’ ที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากกว่าแค่การได้ดูหนังโป๊เสียวๆ_______________________________________ ‘SEXPLORATION’ คือซีรีส์คอนเทนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จาก Urban Creature ที่ชวนมาวางภาพจำเดิมๆ แล้วเปิดใจโอบรับเรื่องเซ็กซ์ รสนิยมทางเพศ และความสัมพันธ์อันหลากหลายของผู้คนที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

เสียงจากเด็กฝั่งธนฯ ผู้เฝ้ามองย่านของตัวเองที่กำลังขยายตัว กับ แบงค์​ Environman | คนย่านเดียวกัน EP.9

รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ เอพิโสดนี้ ชวน ‘แบงค์-ศุภฤกษ์ กัลปพงศ์’ Assistant Content Director จากเพจ Environman ที่ทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างขันแข็งมาพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงถิ่นที่อยู่อาศัยและการเติบโต ชีวิตวัยเด็กของเขาโตมาในสำเหร่ ย่านจากฝั่งธนฯ ที่หลายคนคุ้นชื่อแต่อาจไม่รู้ที่ตั้ง จนมาถึงปัจจุบันที่อยู่ในจุดที่เมืองกำลังขยาย มีรถไฟฟ้าเข้าถึง  แน่นอนว่าความเจริญคือสิ่งที่ดี ทว่าสิ่งที่หายไปกับความก้าวหน้านี้กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนเมือง ในฐานะของคนที่ขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด ชายหนุ่มมองปรากฏการณ์เมืองขยายยังไง และความทรงจำของย่านสำเหร่ในอดีตจนถึงตอนนี้ของเขาเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน มาสำรวจผ่านเสียงของเขากัน ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/iX6QWA091VE Spotify : http://bit.ly/3XWuQKL Apple Podcasts : http://bit.ly/3INEsmW Podbean : http://bit.ly/3lRjNoT

เข้าใจฮาลาลใน 3 นาที! | Now You Know

‘ฮาลาล’ คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อรับรองมาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับชาวมุสลิม ชุมชนผู้นับถือศาสนาอิสลามคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า อาหารฮาลาลต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ปราศจากสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหาร แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับชาวมุสลิม อาจยังไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยว่า ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนอะไรบ้าง จึงจะได้รับการประทับตราฮาลาลที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นๆ Now You Know อีพีนี้ ชวนไปทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าฮาลาลคืออะไรมีข้อกำหนดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง แค่ไม่มีหมูก็ถือว่าเป็นฮาลาลเลยหรือเปล่า

ไขข้อข้องใจสารพันเรื่องผังเมืองกับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.20

เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะจัดการแก้ไข ‘ผังเมือง’ แล้วเมืองเราจะดีขึ้น เมื่อเกิดข้อถกเถียงกันถึงเรื่องปัญหาจราจร ระบบขนส่งสาธารณะ ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในเมือง หรือกระทั่งคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนเมือง หนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ผู้คนมักหยิบมาเป็นคำตอบหรือหนทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือ ‘เรื่องผังเมือง’  แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่ากรุงเทพฯ ย่ำแย่ตั้งแต่การวางผังเมืองแล้ว ทว่าในสายตาผู้เชี่ยวชาญและทำงานด้านนี้โดยตรงอย่างสถาปนิกผังเมืองมองเรื่องนี้อย่างไร และในอนาคตปัญหานี้จะแก้ไขได้หรือไม่ ลองมาฟังคำอธิบายของ ‘พนิต ภู่จินดา’ เพื่อไขข้อข้องใจของทุกคนกันในเอพิโสดนี้ ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/xg8_SorCeFY Spotify : http://bit.ly/3K9EW8a Apple Podcasts : http://bit.ly/3lwTyUF Podbean : http://bit.ly/3xlXdr2

1 2 3 19

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.