หนึ่งชีวิตที่ไม่ควรถูกหลงลืม ‘แสนสิริ’ เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง ปลูกอาหารให้ช้างไทย

หยิบอะไรก็ได้ขึ้นมาสักอย่าง ปาลงไปตรงไหนก็ได้ในประเทศไทย คงยากที่จะหล่นไปในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  เป็นที่ทราบกันดีครับว่าตอนนี้ภาคการท่องเที่ยวไทยหยุดชะงักมาเกือบ 2 ปี แถมส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมไล่ตั้งแต่สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ และแม้แต่ปางช้างก็หนีไม่พ้น เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อประเทศปิดตัวก็ยากที่จะหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องช้าง “หยิบหญ้าเนเปียร์สักหลายกำ ปาลงไปในแปลงเกษตร ที่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่รกร้างรอการพัฒนา ช้างอีกหลายเชือกที่เชียงใหม่จะได้อิ่มท้อง” ใช่ครับ อาจจะเป็นสุภาษิตที่คุ้นเคยแต่เนื้อหาไม่คุ้นเลย จนต้องขออนุญาตพาเข้าเรื่องครับว่า Urban Creature กำลังจะเล่าเรื่องพันธมิตรที่น่ารักของเราอย่างแสนสิริ ที่ได้แบ่งปันที่ดินรอการพัฒนาจำนวน 70 ไร่ ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้กับสมาคมสหพันธ์ช้างไทยใช้ในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง  โดยใช้ชื่อโครงการว่า Sansiri Backyard for Elephants เพราะมองเห็นร่วมกันแล้วว่าตอนนี้ปางช้างกำลังขาดรายได้ และลำพังอาศัยการบริจาคอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในระยะยาว จึงปรับเอาพื้นที่รกร้างที่ตอนนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใคร มาช่วยช้างที่กำลังขาดรายได้ ช้างไทยยามไร้การท่องเที่ยว นอกจากเกาะสวย หาดทรายขาว ธรรมชาติบนดอย และแหล่งแฮงเอาต์ยามค่ำคืน ‘ช้าง’ ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทย แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปากท้องของช้างก็ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายต่อจำนวนประชากรช้างในไทย ซึ่งต้องบอกว่าก่อนหน้านี้มีสถิติไม่สู้ดีมาอยู่แล้ว เห็นได้จากในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยมีช้างอยู่ราว 12,500 เชือก […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

FYI

เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี

เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น  มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่  รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]

เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า  หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ  “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]

#หญิงเองก็ลำบาก ฟังเสียงผู้หญิงทั่วโลกที่ต้องการมีชีวิตที่เท่าเทียมและปลอดภัย

ข้อใดต่อไปนี้ คือเหตุการณ์ที่คุณเคยเจอในชีวิตก. เดินห่อไหล่เพราะกลัวโดนมองหน้าอกข. ถ่ายทะเบียนรถให้เพื่อนหรือครอบครัว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินค. โดนคนแปลกหน้าแซว อย่าง ‘ไปไหนจ๊ะ’ ‘คนสวย’ ‘อยู่แถวไหน’ง. เจียดเงินซื้อข้าวเพราะต้องซื้อผ้าอนามัยจ. ถูกทุกข้อ คำถามข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงจำนวนนับไม่ถ้วนต้องพบเจอในแต่ละวัน หรืออาจต้องเผชิญมาทั้งชีวิต ถึงแม้บางคนอาจมองว่าเป็น ‘เรื่องเล็ก’ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งเหล่านี้สร้างความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต และความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการออกมาส่งเสียงจากการโดนกดทับของสังคม ซึ่งพวกเธอไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ตัวเองมีสิทธิเหนือคนอื่น แต่ต้องการใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียม และไม่ให้ลูกหลานต้องเผชิญกับสิ่งที่พวกเธอเคยเจอ Where Is My Name? – ผู้หญิงอัฟกันไร้สิทธิในการมีตัวตนในสังคม ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานไม่มีสิทธิ์เปิดเผยชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ไร้ชื่อพวกเธอ เพราะข้อห้ามอันคร่ำครึของชาวอัฟกันที่เมื่อใครพูดชื่อพี่สาว น้องสาว ภรรยา และแม่ในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ จนผู้หญิงต้องใช้นามสมมติเวลาไปพบคนแปลกหน้า รวมถึงการไปพบแพทย์ด้วย อีกทั้งกฎหมายอัฟกานิสถานอนุญาตให้มีชื่อแค่ ‘พ่อ’ ในใบแจ้งเกิดเท่านั้น ทำให้ผู้หญิงอัฟกันกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำแคมเปญออนไลน์ที่ชื่อว่า #WhereIsMyName เพื่อทวงคืนสิทธิในการมีตัวตนของพวกเธอกลับคืนมา #FreePeriods #Saveผ้าอนามัย – ราคาที่ต้องจ่ายเพียงเพราะ ‘มีประจำเดือน’ ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนต้องควักเงินจ่ายทุกเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ทำให้ต้องใช้ผ้าอนามัยซ้ำๆ หรือใช้วัสดุทดแทน ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย หลายประเทศจึงมีการเรียกร้องให้ผ้าอนามัยเป็นรัฐสวัสดิการ […]

เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ

ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น  หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]

‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น

คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด  การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

Bangkoknaughtyboo อินฟลูฯ ดิจิทัล ลูกครึ่งคน-คอม คนแรกของไทย ที่จ้างถ่ายแบบได้จริง

“สวัสดีค่ะคุณ Bangkoknaughtyboo แมกกาซีนเราอยากสัมภาษณ์คุณในฐานะ Virtual Influencer คนแรกของไทย พอจะสะดวกไหมคะ” (Typing…)  “สวัสดีค้าบ ขอบคุณที่ติดต่อมาค้าบ ยินดีให้สัมภาษณ์ค้าบ”  ไม่นานแอ็กเคานต์อินสตาแกรม @bangkoknaughtyboo ก็ตอบกลับ  นี่จึงเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้คุยกับ Virtual Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างจาก CGI (Computer-generated imagery) คนแรกของไทย และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ Non-binary ผู้ไม่นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชายตามบรรทัดฐานสังคม ‘คนแรกของโลก’ เดี๋ยวก่อน นึกภาพตามกันออกไหม ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้  แล้วก็แบบนี้! แม้เขาจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ร่างกายบางส่วน ก็ใช้ต้นแบบที่เป็นมนุษย์หลอมรวมด้วยกัน Bangkoknaughtyboo ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ชื่อของเขามาจากเด็กซนๆ ในกรุงเทพฯ แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ตัวตนของเขา ถูกสร้างให้ใช้ชีวิต และมีคาแรกเตอร์เสมือนเป็นคนจริงๆ มีทั้งความรู้สึก ทั้งไลฟ์สไตล์ สามารถเดินไปช้อปปิง เสพข่าวสาร มีความฝัน แถมมีอาชีพไว้สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ (แบงคอคบอกว่าจ้างได้นะ) เขาโลดแล่นในวงการแฟชั่นด้วยการถ่ายแบบใกล้ครบหนึ่งปี เพิ่งเซ็นสัญญากับ Morgan & Preston […]

การเมือง โรคระบาด ความเหลื่อมล้ำ ทำผู้คนอยู่ในภาวะ ‘ไม่กล้ามีความสุข’

นาฬิกาปลุกเสียงคุ้นดังขึ้นยามเช้า บอกสัญญาณวันใหม่ วันก่อนเพิ่งตามข่าวการชุมนุมต่อต้านเผด็จการ เห็นภาพเจ้าหน้าที่ยิงประชาชน คนถูกทำร้าย แกนนำโดนจับ ขนานไปกับสถานการณ์โควิด-19 ผู้คนล้มตายข้างถนน ยอดติดเชื้อพุ่งสูงใกล้แตะสองหมื่น เตียงยังขาด วัคซีนยังพร่อง “นี่กูต้องขับเคลื่อนด้วยการด่าไปอีกนานเท่าไหร่” ฉันพลางคิดในหัวก่อนไถฟีดบนอินสตาแกรมแล้วพบว่าไอดอลเกาหลีที่รักอัปรูปใหม่ สองมือรีบกดแชร์ลงสตอรี่ไอจี และพิมพ์ข้อความ “โดยอง ฉันรักแก ขอบคุณที่ทำให้ยิ้มได้บ้าง แม้ประเทศจะโคตร…” (หยาบนิด เติมเอาเองนะ) ถ้าเป็นก่อนหน้า การหาความสุขใส่ตัวไปพร้อมๆ ขับเคลื่อนสังคม เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะกลัวคนอื่นมองว่าสถานการณ์แบบนี้ ‘ยังกล้ามีความสุขอีกเหรอ’ จนหลายครั้งเลือกเบนหน้าหนีความสุข ฉันเชื่อว่าไม่ใช่แค่ฉันที่เป็น แต่หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน แต่ที่จริง การเปล่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรม และตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม คือเครื่องสะท้อนความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันการเพิ่มพลังใจให้พร้อมต่อการใช้ชีวิต ก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะถ้าไม่มีพลัง…จะเอาแรงที่ไหนไปสู้ล่ะ  เหมือนที่ ฝ้าย-กันตพร สวนศิลป์พงศ์, น้ำผึ้ง-กิตินัดดา อิทธิวิทย์ และ กัญ-วรกัญ รัตนพันธ์ สามนักจิตวิทยาการปรึกษาจากศูนย์ให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา MASTERPEACE ผู้มีประสบการณ์ดูแลใจคนยุคโควิด-19 และยุครัฐบาลชุดนี้บอกกับฉันไว้ว่า ‘การหาความสุขเล็กๆ ใส่ตัวไปพร้อมๆ กับการใช้เสียงของตัวเองให้เป็นประโยชน์สามารถเดินไปคู่กันได้’ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราตอนนี้ส่งผลทำให้คนไม่กล้ามีความสุข เครียด หดหู่มากกว่าที่เคย […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

‘หนังไทยไปไกลกว่านี้ ถ้าไม่ถูกปิดปาก’ คุยกับ หมู ไก่ พี่น้องผู้กำกับบ้านบุญประกอบ

เอหิปัสสิโก (Come And See) เป็นภาพยนตร์สารคดีตีแผ่มุมมองความศรัทธาในสถาบันบางอย่างผ่านคดีพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ที่เกือบถูกเซนเซอร์โดยรัฐไทย แต่ตอนนี้กำลังจะได้ลง Netflix วันที่ 1 สิงหาคม 2564  Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน เป็นภาพยนตร์โรแมนติกคอเมดี้ว่าด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของสองเพื่อนสนิทที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซน ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ หมู-ชยนพ บุญประกอบ ที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ถึง 13 ประเทศทั่วเอเชีย ‘ไก่’ คนน้อง ชอบเล่าเรื่องจริงในสังคมผ่านสารคดี เพราะอยากเพิ่มจำนวนสารคดีในประเทศไทยที่มีน้อย (มาก) ด้วยปัจจัยเสี่ยงยาวนับพันข้อ ‘หมู’ คนพี่ ชอบทำหนังคอเมดี้ เพราะอยากเห็นคนไทยหัวเราะออกมาดังๆ และการลุ้นว่าคนดูจะขำมุกที่ใส่ไว้ในเรื่องไหม นั่นแหละคือความท้าทาย ทั้งสองมีมุมมองการกำกับ ลีลา และจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่การเป็นคนทำหนังเหมือนกันนี่แหละ คือจุดร่วมที่ทำให้ฉันนัดสองพี่น้องบ้านบุญประกอบมาคุยถึงการเลือกให้คุณค่างานศิลปะของรัฐไทย การปิดปากงานสร้างสรรค์ และการไม่ยอมรับความจริง จนทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยติดปัญหา ยังไปได้ช้าพอๆ กับการมีวัคซีนโควิด-19 ดีๆ ในประเทศ วงการหนังไทยแบบไหนที่พวกคุณอยากเห็น หมู : อยากเล่าอะไรก็ได้ เพราะคอนเทนต์ดีๆ […]

1 9 10 11 12 13 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.