
PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]
Intergenerational Space ขอพื้นที่ให้คนต่างวัย ได้หายใจภายในพื้นที่ครอบครัว
จากการ ‘เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี ของมนุษย์ต่างวัย’ ในงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี…ชีวิต ซีซัน 2 It’s Okay To Be You’ เมื่อวันที่ 21 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่ามูฟเมนต์การขับเคลื่อนสังคมสูงวัยเกิดขึ้นได้จากการสะสมเรื่องเล่าจากผู้คนในวัยต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน หรือแม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อคำว่า ‘วัยใหม่’ เพราะ ‘วัย’ ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกเราออกจากกัน แต่คือสิ่งที่เชื่อมเราเข้าหากันผ่านประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลาย ครอบครัวเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีความต้องการเหมือนกัน หนึ่งในหัวข้อที่คนต่างวัยต้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกออกไม่ได้คือ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเมื่อมีความเป็น ‘ครอบครัว’ มาเกี่ยวข้องทีไร มักโยงใยไปถึง ‘ความกตัญญู’ อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาของการเก็บข้อมูลภายในเพจมนุษย์ต่างวัยพบว่า ความกตัญญูยังเป็นค่านิยมที่ลูกๆ ยึดถือ และการแสดงออกถึงความกตัญญูมักมาพร้อมกับการอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ เพื่อดูแลและแบ่งปันการใช้ชีวิตกับพ่อแม่ในบ้านหลังเดียวกัน จากผลการวิจัยในปี 2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล […]
เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน
ภาพบันไดวนสีขาวใหญ่โตตรงหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น 7 ถึงชั้น 9 คือภาพที่คุ้นเคยกันดีของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) หรือที่เรารู้จักในนาม ‘BACC’ สถานที่ที่ใครๆ ต่างเคยมีความทรงจำร่วม ไม่ว่าจะมาเยือนในฐานะผู้ชมงานศิลปะ หรือแวะเวียนมาใช้พื้นที่เป็นจุดนัดพบเพื่อนฝูงหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่ง BACC อยู่มานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทวีความครึกครื้นมากขึ้นไปเท่านั้น สังเกตได้จากจำนวนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มาเยือนพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่มาชมงานศิลปะและเดินเข้าเดินออกร้านรวงต่างๆ ภายในบริเวณ สอดคล้องไปกับปริมาณของร้านค้าและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมือนจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 4 – 5 ปีก่อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แต่การมา BACC ของคอลัมน์ One Day With… ในครั้งนี้จะแตกต่างออกไปจากครั้งอื่นๆ อย่างแน่นอน เพราะเราจะมาล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานของหอศิลปกรุงเทพฯ ผ่านคนวงใน เพื่อทำความรู้จักตึกใหญ่โตสีขาวใจกลางเมืองแห่งนี้ในมุมอินไซต์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านซีรีส์ MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์ ไปพร้อมกัน เป็นที่รู้กันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่นึกถึงเสมอเมื่อใครหลายคนมองหาพื้นที่สงบใจกลางเมือง ทำให้ทุกครั้งที่เรามา BACC มักจะมีเป้าหมายในใจอย่างการตรงดิ่งเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 7, 8 และ 9 ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแวะอัปเดตสินค้างานคราฟต์บริเวณชั้นร้านค้า artHUB เป็นต้น […]
‘ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกระบบ แรงงานก็คือแรงงาน’ คุยถึงปัญหาแรงงานนอกระบบกับตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
ทำไม ‘แรงงานนอกระบบ’ ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเทียบเท่ากับ ‘แรงงานในระบบ’ กันนะ ในเมื่อไม่ว่านายกฯ ตำรวจ วิศวกร กรรมกร หรืออาชีพใด ต่างล้วนเป็น ‘แรงงาน’ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมด้วยกันทั้งนั้น คำถามนี้คือจุดตั้งต้นที่ทำให้ Urban Creature ตัดสินใจติดต่อไปยัง ‘องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)’ เพื่อพูดคุยกับ ‘เปิ้ล-จิตติมา ศรีสุขนาม’ เจ้าหน้าที่บริหารโครงการอาวุโสประจำประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถึงสถานการณ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทยที่ต้องเผชิญ และสิ่งที่ ILO พยายามผลักดันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง รับหน้าที่ตัวกลางประสาน เข้าไปพูดคุยกับนายจ้าง หรืออยู่ข้างลูกจ้างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งหมดนี้ ILO ทำโดยมีหัวใจหลักที่มีชื่อว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน “เวลาพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน คำแรกที่เจอเลยคือ ‘มนุษย์’ เพราะฉะนั้นคนทุกคนที่ทำงานก็ต้องมีสิทธิเหล่านี้ มันไม่ใช่ควรได้ แต่ต้องมี” ก่อนอื่นอยากให้คุณอธิบายก่อนว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นองค์การแบบไหน ILO เป็นหนึ่งใน ‘องค์การชำนาญการพิเศษประจำสหประชาชาติ (Specialized UN […]
เติมหมาเติมแมววันละนิดจิตแจ่มใส ไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองก็สุขภาพจิตดีได้ ถ้าเมืองมีพื้นที่ Pet Friendly ให้เจอกับน้องๆ บ้าง
รู้สึกเหมือนกันไหมว่า การเล่นกับน้องหมา น้องแมว หรือสัตว์อื่นๆ ช่วยชุบชูใจให้วันเทาๆ ของเราสดใสขึ้นมาได้ทันที เพราะว่าบางครั้งวิธีการคลายเครียดอย่างการนอน เล่นเกม หรือฟังเพลงก็อาจไม่ได้ช่วยให้เลิกโฟกัสกับความเครียดได้ขนาดนั้น แต่ในขณะเดียวกัน การเติมหมาเติมแมวกลับทำให้เราลืมความขมุกขมัวในใจไปได้ เหมือนกับว่าในความน่ารักของสัตว์เหล่านี้ซ่อนพลังพิเศษที่ช่วยไล่ความเครียดที่ติดอยู่กับเราให้หายไปอย่างไม่น่าเชื่อ สุขภาพจิตดีเพราะมีสัตว์เลี้ยง การที่รู้สึกสบายใจสดใสแฮปปี้จากการเล่นกับสัตว์เลี้ยงนั้นไม่ใช่การรู้สึกไปเอง เพราะข้อมูลจาก National Library of Medicine พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ได้ยินเสียง หรือแม้แต่การมองเห็นความน่ารักของน้องๆ ก็ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นแล้ว ยิ่งถ้าได้สัมผัสตัวสัตว์ ลูบคลำ หรือเล่นด้วย จะช่วยส่งผลต่อการลดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และระดับความวิตกกังวลก็จะลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับการศึกษาของ University of Washington ที่พบว่าเพียงแค่ระยะเวลา 10 นาทีที่ปล่อยให้นักศึกษาได้ใช้เวลากับน้องหมาน้องแมว สามารถช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดลง และเพิ่มเซโรโทนินกับโดพามีน สารที่ทำให้มีความสุขและสร้างความผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้น หากใครกำลังรู้สึกเครียดกับเรื่องราวต่างๆ แค่วางทุกอย่างลงและเดินไปเล่นกับสัตว์เลี้ยงตัวน้อยใหญ่ คอยเกาพุงหรือลูบหัวให้น้องๆ สักพัก เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้แล้ว Pet Friendly พื้นที่บูสต์เอเนอร์จีทั้งคนและสัตว์ แล้วถ้าไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองล่ะ จะเยียวยาจิตใจอย่างไรได้บ้าง คาเฟ่สัตว์อาจเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุดในการไปเล่นกับน้องหมาน้องแมว แต่การเข้าคาเฟ่แต่ละครั้งย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าถ้าครั้งสองครั้งก็คงพอจ่ายไหว […]
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
เวลาได้ยินเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคาร์บอนไดออกไซด์เอย ไหนจะก๊าซเรือนกระจกเอย มนุษย์ตัวเล็กๆ ในเมืองจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลกที่กว้างใหญ่ได้กันนะ แต่บ้านปูไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ้านปูร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพาเวอร์กรีน หรือ Power Green Camp ภายใต้แนวคิด ‘วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-เรียนรู้สู่การปฏิบัติ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อค่ายนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นโครงการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2549 และในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ค่ายเพาเวอร์กรีนได้พัฒนาผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 1,200 คนแล้ว เพื่อเฉลิมฉลอง 20 ปีของโครงการเพาเวอร์กรีน บ้านปูได้จัดงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ (Decarb Festival) โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเพาเวอร์กรีนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นปัจจุบันมาร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เวิร์กช็อปรักษ์โลกจากเยาวชนเพาเวอร์กรีน รวมทั้งมีเวทีทอล์กจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน และอินฟลูเอนเซอร์สายกรีน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมช่วยโลก ทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในบ้าน เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) และห้องทดลองโมเดลจำลองพลังงานทดแทนในสวน ถ้าอยากรู้ว่าทำไมโครงการนี้ถึงดำเนินการมายาวนานถึง 20 […]
ออกไปมองฟ้ากว้างยามค่ำคืน มีเรื่องเครียดอะไรก็ปล่อยให้ลอยไปกับดวงดาวและท้องฟ้าตอนมืดมิด
เวลาเครียดๆ ทุกคนทำอะไรกัน เล่นเกม? ฟังเพลง? หรือจะลองออกจากห้องไปหยุดยืนมองผืนฟ้ายามค่ำคืนบ้างดี เรารู้กันอยู่แล้วว่า พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งกว้าง หรือแม้แต่ท้องฟ้าแจ่มใสนั้นช่วยให้สภาพจิตใจของเราดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่ท้องฟ้าสดใสในช่วงกลางวันเท่านั้นที่ส่งผลดีต่อจิตใจของเรา เพราะที่จริงแล้วท้องฟ้าในช่วงกลางคืนเองก็มีส่วนช่วยฟื้นฟูให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โฟกัสที่ดวงดาวแทนความเครียดที่มี มีการศึกษาหนึ่งในปี 2564 ที่เผยแพร่ใน Journal of Destination Marketing & Management พบว่า การดูดาวเป็นกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แถมยังมีส่วนช่วยฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิตในการจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบัน เพราะความคิดและความสนใจในเวลานั้นจะมุ่งไปยังดวงดาว ทำให้เราดื่มด่ำกับภาพตรงหน้าอย่างเต็มที่ สนใจความสวยงามและความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า มากกว่าใช้เวลาไปกับการวิตกกังวลหรือสนใจกับสิ่งที่คิดวนเวียนอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่แค่เพิ่มความสงบทางจิตใจเท่านั้น แต่การดูดาวยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ออกห่างแสงจากจอ และไปสัมผัสกับแสงจากธรรมชาติแทน ช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีด้วย ท้องฟ้าไม่มีดาวก็ใช้วิธี Skychology แทน จะให้ไปมองดวงดาว แต่ปัญหาใหญ่ของคนเมืองนอกเหนือจากการไม่มีเวลามองฟ้าแล้ว พอเข้าสู่ช่วงกลางคืน มลภาวะทางแสงในเมืองยังรบกวนจนทำให้การดูดาวกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้น การจะลดความเครียดไม่จำเป็นต้องดูดาวอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีแนวคิด Skychology ที่จะช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน Skychology เป็นแนวคิดและสาขาวิชาที่สร้างขึ้นโดย Paul Conway นักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาว่า การมองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา และยังเป็นการทำสมาธิในทางหนึ่ง เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ […]
จำลองตัวเองเป็นนักปลูกผัก ใช้ชีวิตในเกม Farming Sim ช่วยจัดระเบียบชีวิต ชุบชูใจด้วยการพิชิตชัยชนะเล็กๆ
นึกภาพตอนที่เราตื่นขึ้นมาในฟาร์มของเรา มีแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิสาดส่อง พร้อมกับเสียงเพลงคลอเบาๆ เริ่มต้นวันด้วยการรดน้ำพืชผักท่ามกลางธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตเตรียมเอาไปแบ่งปันกับชาวเมือง กิจกรรมนี้น่าจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเหล่ามนุษย์เมืองในสังคมเมืองที่เร่งรีบ เกม Farming Simulator หรือเกมจำลองการใช้ชีวิตในฟาร์มจึงเป็นเหมือนอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากพักจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวาย Farming Simulator หรือที่ชาวไทยเรียกง่ายๆ ว่า เกมปลูกผัก เช่น Stardew Valley เกมขวัญใจชาวปลูกผัก, Coral Island หรือ Harvest Moon เกมปลูกผักในความทรงจำของใครหลายคน ซึ่งนอกจากความสนุกแล้ว การเล่นเกม Farming Simulator ยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตได้อีกด้วย ชีวิตที่วางแผนได้จากกิจวัตรในฟาร์ม อย่างที่หลายคนรู้กันว่า การเล่นเกมช่วยลดความเครียดได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของเกมแนว Farming Simulator คือ เราสามารถจัดการวางแผนชีวิตได้ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน To-do List ไปจนถึงการเลือกมีปฏิสัมพันธ์กับชาวเมืองในเกม มากไปกว่านั้น ยังต้องรู้จักเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการวางแผนจัดแจงที่ดีมักจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่เหมือนเป็นรางวัลเล็กๆ ให้เราเสมอ เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เราปลูกเอง การช่วยเหลือชาวเมืองเล็กๆ น้อยๆ การปลดล็อกสูตรอาหารใหม่ๆ ฟังดูอาจเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญอะไร เพราะไม่ส่งผลใดต่อชีวิตจริง แต่สำหรับคนที่ตั้งใจเล่นเกม […]
‘ตลาดพลูดูดี’ กลุ่มนักพัฒนาย่านรุ่นใหญ่หัวใจตลาดพลูที่รวมตัวกันส่งต่อประวัติศาสตร์และสิ่งดีๆ ให้ทุกคนได้ดู
หากเอ่ยถึง ‘ตลาดพลู’ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็นอาหารคาวหวานท้องถิ่นรสเลิศที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด ไม่ว่าจะเป็นกุยช่าย ขนมเบื้อง ขนมชั้น ขนมผักกาด เปาะเปี๊ยะสด หรือข้าวต้มแห้ง เหล่านี้เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ไม่ว่าใครก็ตามที่แวะมาเยือนตลาดพลูมักจะมาลองชิมและอุดหนุนเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไปเสมอ แต่ตลาดพลูไม่ได้มีเพียงอาหารที่เป็นตัวชูโรงความโดดเด่นของย่านเท่านั้น เพราะที่นี่ยังมีประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตลาดพลู ที่คนในย่านอยากส่งต่อเรื่องราวให้คนนอกพื้นที่ได้มาทำความรู้จักและสัมผัสพื้นที่แห่งนี้มากขึ้น ด้วยเสน่ห์ความเป็นย่านชุมชนของตลาดพลู ทำให้ที่นี่ถูกขับเคลื่อนด้วยวิถีชีวิตที่มีอยู่ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดท็อปอันดับต้นๆ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือชาวต่างชาติต่างอยากแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน และถึงแม้กระแสตอบรับจะดีมากก็ตาม แต่ชาวตลาดพลูก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนย่านเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมของพื้นที่นี้เอาไว้ และตั้งใจจะปรับภาพจำของย่านด้วยการส่งเสริมให้ตลาดพลูเป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวตามกระแสชั่วคราว ด้วยการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จากจุดยืนที่มุ่งมั่นของชาวตลาดพลูที่จะพัฒนาย่าน คอลัมน์ คนขับเคลื่อนเมือง ครั้งนี้ ขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ต้น-ชลิดา ทัฬหะกาญจนากุล’, ‘พี-พีรวัฒน์ บูรณพงศ์’, ‘จิ๋ม-อรพิณ วิไลจิตร’ และ ‘นก-สมพร เตมีพัฒนพงษา’ สี่รุ่นเก๋าหัวใจตลาดพลูที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในนาม ‘ตลาดพลูดูดี’ กับ 8 ปีที่ขับเคลื่อนย่านตลาดพลูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และอยากให้ทุกคนรู้ว่าย่านที่อยู่ของพวกเขานั้นมีอะไรดีๆ ที่รอให้มาดูอีกมากมาย การรวมตัวของ 4 รุ่นใหญ่หัวใจนักพัฒนาตลาดพลู “เราทุกคนในกลุ่มผูกพันกับตลาดพลูมาก อย่างเราเองเกิดที่นี่ โตที่นี่ ทำงานที่นี่ เห็นทุกความเปลี่ยนแปลงของตลาดพลูมาตลอดชีวิต อยากทำบางอย่างที่ช่วยแชร์ให้ทุกคนรู้จักที่นี่จากข้อมูลของคนที่อาศัยอยู่จริง […]
ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้
หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]
เปลี่ยนกรุงเทพฯ จากเมืองปั่นได้เป็นเมือง ‘ปั่นดี’ ‘BUCA’ ชมรมปั่นจักรยานที่อยากชวนคนมามองเมืองบนอานในความเร็วจากสองแรงขา
ในประเทศไทย ‘จักรยาน’ มักถูกมองเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือการออกกำลังกายซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อไหร่ที่จักรยานลงมาโลดแล่นอยู่บนถนน มันกลับกลายเป็นสิ่งอันตราย ไม่ตอบโจทย์การใช้งานในเมืองหลวงแห่งนี้ในสายตาของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจให้จักรยานเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทาง อีกทั้งยังคงจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้คนมาปั่นจักรยาน และขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพาหนะเดินทางประเภทนี้อยู่ ด้วยความเชื่อว่าจักรยานเป็นตัวเลือกเดินทางที่ดีของคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่านี้ คอลัมน์ Think Thought Thought ชวนกระโดดขึ้นอาน ปั่นจักรยานไปคุยกับ ‘เป้-ธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์’, ‘ปอนด์-วีรภัทร คำรัตน์’, ‘บุ๋น-จิรภัทร จิตวัฒนาศิลป์’ และ ‘แวน-วริทธิ์ธร สุขสบาย’ จากภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok Urban Cycling Alliance) หรือ ‘BUCA’ ที่ต้องการให้จักรยานเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ถูกมองข้าม หากแต่การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีกว่าการเดินทางแบบอื่นอย่างไร ไว้ใจความปลอดภัยได้แค่ไหน แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ ใจดีกับคนปั่นจักรยานบ้างไหม หรือจริงๆ แล้วเมืองนี้ไม่มีทางเป็นเมืองจักรยานได้ ตามไปอ่านในบรรทัดต่อไปนี้ อยากให้พวกคุณเล่าว่า BUCA คือใคร ทำอะไรกันบ้าง ธีรเมศร์ : เริ่มแรกกลุ่มเราเป็นแค่การรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของผู้ใช้จักรยานที่เคยร่วมเป็นอาสาสมัครในนโยบายการปรับปรุงทางจักรยานใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ของ […]
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ฟรีแลนซ์วงการสร้างสรรค์ไม่ได้เล่า
หลายคนอาจไม่รู้ว่า สื่อบันเทิงที่ให้ความสนุกและเอนจอยหลายครั้งต้องแลกมากับความไม่เป็นธรรมที่คนทำงานสร้างสรรค์ได้รับ รายการ Urban Untold อีพีนี้ชวนฟรีแลนซ์สื่อสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็บอกว่าได้เงินเยอะเพราะรับงานเท่าไหร่ก็ได้ แถมสบายเพราะเป็นเจ้านายตัวเอง มาบอกเล่าถึงปัญหาในการทำงานที่พวกเขาต้องเผชิญ ตั้งแต่เรื่องคอนเนกชันที่ทำให้คนทำงานบางส่วนถูกตัดโอกาส สัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการตกลงกันปากเปล่า ไปจนถึงความไม่แน่นอนของรายได้ *วิดีโอชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ในหัวข้อ Business and Human Rights*