หยุดวงจร Sextortion บนโลกออนไลน์ด้วยความสงสัย เอะใจเมื่อไหร่ ปลอดภัยเมื่อนั้น

ภัยจากโลกออนไลน์อาจใกล้ตัวกว่าที่เราคิด แม้จะผ่านวันส่งเสริมความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตแห่งชาติ หรือ Thailand Safer Internet Day มาแล้วในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่ไม่ว่าวันไหน เราต่างก็พบเจอภัยบนโลกออนไลน์ได้เสมอ เพราะยิ่งมีอัตราการใช้งาน Online Platform สูงมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งพบว่ามีรายงานการเกิดภัยคุกคามทางเพศออนไลน์สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ทำให้แม้เราจะคุ้นเคยกับการใช้งาน Online มากแค่ไหน แต่ในขณะเดียวกันก็ควรต้องมีสติ อย่ารีบไว้ใจ และสงสัยไว้ก่อนเสมอ และเพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก ทาง UNICEF มีความตั้งใจจะทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักที่ช่วยแบ่งปันความรู้การใช้อินเทอร์เน็ตให้ทุกคนได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ เพราะหลายครั้ง การไม่สงสัยอาจนำไปสู่การเป็นภัยคุกคามทางเพศออนไลน์ที่เรียกว่า ‘Sextortion’ ได้ เนื่องจากคนร้ายที่อาจเป็นใครก็ได้ ล้วนมีสารพัดวิธีในการล่อลวงให้เราทำตาม #สงสัยไว้ก่อน ปลอดภัยมากขึ้น หลายคนอาจมองว่า ‘การขู่กรรโชกทางเพศ’ หรือ ‘Sextortion’ เป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด เพราะคนร้ายอาจเป็นใครก็ได้ และมีสารพัดวิธีในการเข้าหาเรา นอกจากนี้ การกระทำใดๆ ของเราบนโลกออนไลน์ ทั้งการค้นหา โพสต์ อัปโหลด แชร์ หรือแม้กระทั่งการคลิกถูกใจบนโซเชียลมีเดีย ก็ถือเป็นการสร้าง ‘รอยเท้าดิจิทัล’ (Digital Footprint) […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย

‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]

คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมกับ ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ว่าที่ ส.ส. ที่อยากสร้างสันติภาพ

หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชื่อของ ‘พรรคเป็นธรรม’ ก็ปรากฏตามหน้าข่าวอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากคนไทยที่ติดตามการเมืองอย่างเข้มข้น ที่เป็นแบบนั้นเพราะพรรคเป็นธรรมมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เพียงคนเดียวที่ได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกลเพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนหลายคนมองว่า นี่คือหนึ่งพรรคการเมืองม้ามืดที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเต็มใบอีกครั้ง ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘กัณวีร์ สืบแสง’ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ที่ประชาชนจรดปากกาเลือกให้เป็นผู้แทนเข้าไปทำงานในสภาฯ ก่อนกระโดดเข้ามาทำงานการเมือง กัณวีร์เคยรับราชการที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จากนั้นเขามีโอกาสทำงานด้านมนุษยธรรมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่สงครามและความขัดแย้งนาน 12 ปี ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทย ทำให้กัณวีร์มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ ความมั่นคง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัณวีร์และพรรคเป็นธรรมตั้งใจที่จะสร้าง ‘การเมืองใหม่’ ที่เน้นคุณค่าของประชาธิปไตยและประชาชนเป็นหลัก รวมถึงผลักดันแนวคิดมนุษยธรรมนำการเมือง สันติภาพกินได้ และการสร้างเสรีภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี […]

สนทนาถึงปัญหาสัตว์จรจัดกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ แห่งบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’

ในขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์เลี้ยง’ แทนการมี ‘ลูก’ มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตัวเองได้ แต่จากการพูดคุยกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ เจ้าของบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’ หรือหลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าในชื่อเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ ช่องทางที่ให้ความช่วยเหลือแมวและสัตว์จรจัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เรากลับพบว่าการที่คนให้ความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นแต่ขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสัตว์จรจัดไม่ต่างจากในอดีต แถมยังเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำในช่วงโรคระบาด จากสาเหตุนี้เอง ทำให้ Catster by Kingdomoftigers หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าบ้านพักพิงแมวจร ที่รับดูแลตั้งแต่การปรับนิสัย ปรับพฤติกรรม รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของแมวเพื่อรอการหาบ้าน มีแมวจรจัดต่อคิวเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก “ปัจจุบันคนรักสัตว์มีเยอะขึ้น แต่คนที่ไม่รักและมองว่าสัตว์ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือก็ยังมีอยู่ เราอยากให้คนมีความรู้เกี่ยวกับแมวจรมากขึ้น เพราะเวลาสัตว์เป็นอะไรนิดๆ หน่อยๆ คนจะเริ่มกังวลและไม่ดูแล เอาไปทิ้งก็เยอะ” จากเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ กลายมาเป็น ‘Catster by Kingdomoftigers’ ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของ Catster by Kingdomoftigers มาจากการที่เราทำเพจทูนหัวของบ่าวมาประมาณ 10 กว่าปี และพบว่าแม้เราจะพยายามช่วยเหลือสัตว์จรจัด […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ

หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล  อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]

จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.