คุยเรื่องหนังสือเด็กกับ ศรีสมร โซเฟร หรือ ‘สองขา’ ผู้ร่วมก่อตั้งวาดหวังหนังสือ

หลังเหตุการณ์ไล่บี้หนังสือเด็กในเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มวาดหวังหนังสือยังคงผลิตหนังสือสม่ำเสมอ ขณะนี้มีถึงชุดที่ 4 ‘เป็นสุขที่สงสัย’ และมีแพลนทำหนังสือเด็กต่อไป นิทานเด็กของกลุ่มวาดหวังหนังสือช่วยเปลี่ยนภาพจำของหนังสือเด็กที่มักเล่าเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะเรียบง่าย เพราะหนังสือเด็กนี่เองที่สามารถปูความรู้เรื่องชีวิต การเมือง หรือเพิ่มแง่มุมสดใหม่ในเรื่องเดิมๆ อย่างการเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ขณะเดียวกัน ช่วงโควิด-19 หนังสือเด็กกลายเป็นเทรนด์ของพ่อแม่ยุคใหม่ที่พร้อมลงทุนให้ลูกและได้ใช้เวลาด้วยกัน ก่อนคุยกับ ‘หมอน-ศรีสมร โซเฟร’ เจ้าของนามปากกา ‘สองขา’ ผู้เขียนหนังสือเด็กและผู้ก่อตั้งวาดหวังหนังสือ เธอเปรยว่า ต้องขออภัยหากมีเสียงเครื่องบินรบกวน เพราะนับตั้งแต่เธอเป็นครูโรงเรียนรัฐไทยบนดอยของชาวกะเหรี่ยง สอนเด็กที่อเมริกา ปัจจุบันเธอและครอบครัวอยู่ที่อิสราเอล (บ้านเกิดของสามี) ท่ามกลางสงครามฮามาส-อิสราเอล ที่กำลังดำเนินไป เราคุยกันเรื่องหนังสือนิทานเด็ก ชวนมองถึงวงการหนังสือเด็กไทย ความสำคัญของนิทานและการดูแลเอาใจใส่เด็ก เพราะเชื่อว่าในท้ายสุด เด็กๆ ย่อมเติบโตเป็นผีเสื้อในโลกกว้าง โบยบินสู่อนาคตที่ต้องแบกรับโลกของผู้ใหญ่ในวันนี้ คุณเริ่มต้นจับงานหนังสือเด็กได้อย่างไร เราจบปริญญาตรีประวัติศาสตร์ที่ ม.เกษตรฯ พอเรียนจบก็ทำงานที่เชียงใหม่ เมื่อถึงวันหยุดได้เดินทางท่องเที่ยว ได้เจอครูดีในหลายๆ แห่ง จึงอยากเป็นครู ตอนนั้น (พ.ศ. 2530) เป็นปีแรกที่จบสาขาอะไรมาก็สอบเป็นข้าราชการครูได้ เป็นแล้วชอบ ติดใจ เรารู้สึกว่าเด็กมีความจริงใจ คิดอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

มุมมองการสร้าง ‘City Branding’ ผ่านสายตานักวิจัยจากคณะสถาปัตย์ที่ทำเรื่องนี้มานับไม่ถ้วน

ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจับจ่ายใช้สอยมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นขาช้อปชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหนีอากาศหนาวมาพักตากอากาศที่ไทยเป็นเวลานาน พอโควิด-19 ระบาดอย่างหนักจนทำให้สนามบินปิด ชายแดนปิด คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยครึกครื้นกลับซบเซา ร้านค้าถูกทิ้งร้าง ถนนคนเดินหลายเส้นเงียบเหงาจนน่าใจหาย ระยะเวลาผ่านไปสักปีกว่าๆ โควิด-19 ถูกประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดรับแขกอีกครา แต่คราวนี้ตลาดการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงเม็ดเงินมาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักหรือสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแต่ออกแบบเมืองใหม่ เหลาให้แหลมคมด้วยเครื่องมือชื่อ ‘City Branding’ Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อยากให้นิยาม City Branding ในเวอร์ชันของคุณทั้งสองคน อาจารย์อั๋น […]

แม้แต่ผีก็ยังต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย คุยกับพี่แจ็ค The Ghost ถึงวิวัฒน์ของผีในเรื่องเล่าสยองขวัญ

กลางดึกคืนนี้ก็เป็นเหมือนทุกคืน ‘วัชรพล ฝึกใจดี’ หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ‘พี่แจ็ค’ นั่งอยู่หลังไมค์ อุณหภูมิเย็นต่ำ ห้องทั้งห้องเงียบสงัด เกือบจะใช้คำว่าวังเวงได้ หากไม่มีเสียงสนทนาปลายสายที่โทรติดต่อเข้ามาคุยกับเขา “เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับพี่แจ็ค…” ริมฝีปากเม้ม คิ้วขมวดมุ่น จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ความวังเวงอันตรธานไปกลายเป็นความรู้สึกเสียวสันหลัง บ้างเผลออุทานตอนถึงจุดพีกของเรื่องเล่าสยองขวัญ คืนแล้วคืนเล่าของ ‘พี่แจ็ค’ เป็นแบบนั้น ถึงจะลุ้นและตื่นเต้นจนหายใจไม่ทั่วท้อง แต่เขาก็บอกว่ามีความสุขทุกครั้งที่ได้จัดรายการ The Ghost Radio ของพี่แจ็คถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน ถึงจะไม่ใช่รายการวิทยุที่ชวนคนโทรมาเล่าเรื่องผีรายการแรกในไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า The Ghost คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้รายการเรื่องเล่าผีบูมขึ้นมาในบ้านเรา คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ในยุคที่สังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ทำไมรายการเรื่องเล่าผีจึงได้รับความนิยม และมีทีท่าว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วัดจากช่วงหลายปีมานี้ มีรายการเล่าเรื่องผีเกิดขึ้นมากมาย กลางดึกสงัดที่ว่างเว้นจากการจัดรายการ เราชวนพี่แจ็คมาคุยกันเรื่องความหลงใหลในเรื่องสยอง ผีที่พี่แจ็คกลัวที่สุด และวิวัฒนาการของผีในเรื่องเล่าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสังคมเมือง พี่แจ็คเคยเจอผีไหม ชีวิตนี้ไม่เคยเจอผี เป็นคนไม่มีเซนส์เรื่องผีเลย แล้วเชื่อไหมว่าผีมีจริง ผมเชื่อ 50 – 50 ว่าผีมีหรือไม่มีจริง เพราะเราไม่เคยเจอผีเลยไม่รู้ว่าตกลงแล้วผีมีจริงหรือเปล่า และเราก็ฟังเรื่องผีมาเยอะจากคนหลายคน เราเลยอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง และเพราะเราเป็นผู้ดำเนินรายการด้วยแหละ […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

ไบรอัน ตัน อินฟลูฯ สายลักซูฯ ที่จัดเวทีเพื่อความเท่าเทียมและทำเพลงเพื่อสานฝันวัยเด็ก

บ่ายวันที่เรานัดคุยกับ พลากร แซ่ตัน หรือ ไบรอัน ตัน เขาปล่อยซิงเกิลล่าสุดอย่าง ‘ต๊าช (Touch)’ มาแล้วหนึ่งสัปดาห์ สารภาพตามตรงว่า ทุกวันในสัปดาห์นั้นที่เรารอจะคุยกับเขาด้วยใจจดจ่อ ไม่มีวันไหนที่เราจะไม่นึกถึงภาพของไบรอันก้าวลงจากรถด้วยท่าทางหัวรัดฟัดเหวี่ยง พอดนตรีขึ้นก็เดินสับๆ ประหนึ่งฟุตพาทที่ย่ำอยู่คือรันเวย์ ยิ้มแบบลักซูฯ (นิยามการยิ้มแบบไบรอันที่ชาวเน็ตตั้งให้) ให้กล้องสลับกับร้องอย่างมั่นใจ  รู้ตัวอีกที เราก็กดฟัง ‘ต๊าช’ ซ้ำๆ จนถึงวันที่ได้คุยกัน ไบรอันบนหน้าจอปรากฏตัวด้วยชุดสบายๆ ต่างจากคนในยูทูบอย่างชัดเจน แต่เมื่อบทสนทนาดำเนินไป จริต อินเนอร์ น้ำเสียง และคำตอบของคนตรงหน้าก็ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย นี่แหละคือหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ตัวท็อปของแวดวงนางงาม โฮสต์ของเรียลลิตี้ประกวดนางงาม Miss Fabulous Thailand ที่เป็นไวรัลไปทั่วอินเตอร์ เจ้าของประโยค ‘เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์’ ที่ถูกนำมาต่อยอดเป็นซิงเกิลฮิต ในขณะเดียวกัน บางช่วงของบทสนทนานี้ ไบรอันก็เล่าเรื่องชีวิต ความฝัน และมุมมองต่อการงานที่เรามั่นใจว่าหลายคนไม่เคยได้ยินจากที่ไหน ชาวเน็ตหลายคนบอกว่าชอบคุณเพราะจริตแบบลักซูฯ คำว่าจริตแบบลักซูฯ ในความหมายของไบรอันเป็นยังไง ตามความหมายแล้วจริตลักซูฯ มันแปลว่าจริตของการเป็นคนรวยถูกไหม ซึ่งเราน่าจะได้มาจากเวลาเราขายสินค้าแบรนด์เนมและเครื่องประดับ เราต้องพรีเซนต์สินค้าเหล่านั้นออกมาให้คนซื้อ […]

“หน้าที่ของเราคือต้องทำให้คนรู้สึกมีความหวังกับเมือง” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Urban Creature ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญของทีมนโยบายของชัชชาติ รวมถึงพูดคุยกับชายผู้ควบตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงก่อนเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าฯ กทม. ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่จับพลัดจับผลูขึ้นมาดำรงตำแหน่งในวัย 33 ปี หลังได้รับการชักชวนจากชัชชาติในคืนวันประกาศผลเลือกตั้งที่คะแนนเริ่มทิ้งห่าง ให้ดูแลสำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเรียกรวมๆ ก็คือการดูงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นหลัก  ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศานนท์ได้มาทำงานด้านนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เขาทำงานขับเคลื่อนเมืองและซัปพอร์ตชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม SATARANA (สาธารณะ) ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง และ Mayday กลุ่มผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่  ถึงอย่างนั้น การย้ายฝั่งจากภาคประชาสังคมเข้าสู่ระบบราชการก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายศานนท์เป็นอย่างมาก และทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ จากมันอยู่ไม่น้อย ทั้งข้อจำกัดของระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยากจำนวนมาก งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการไม่มีเวลาปรับตัวเพราะต้องเริ่มต้นทำงานทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง คงไม่ผิดนักถ้าหากจะยกให้เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อีกคนที่ทำงานหนักไม่แพ้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะขนาดช่วงที่เราขอสัมภาษณ์ ก็แทบต้องแย่งชิงเวลาอันน้อยนิดที่แน่นขนัดไปด้วยตารางการทำงานของเขา […]

SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”

“เราอาจไม่ได้ไปต่อ”  พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287  ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน  ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’  ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.