
One Day With…
การเรียนรู้หนึ่งวันเต็มนอกห้องเรียนกับคุณครูผู้เป็นนักเปลี่ยนเมือง
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]
เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน
ภาพบันไดวนสีขาวใหญ่โตตรงหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น 7 ถึงชั้น 9 คือภาพที่คุ้นเคยกันดีของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) หรือที่เรารู้จักในนาม ‘BACC’ สถานที่ที่ใครๆ ต่างเคยมีความทรงจำร่วม ไม่ว่าจะมาเยือนในฐานะผู้ชมงานศิลปะ หรือแวะเวียนมาใช้พื้นที่เป็นจุดนัดพบเพื่อนฝูงหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่ง BACC อยู่มานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทวีความครึกครื้นมากขึ้นไปเท่านั้น สังเกตได้จากจำนวนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มาเยือนพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่มาชมงานศิลปะและเดินเข้าเดินออกร้านรวงต่างๆ ภายในบริเวณ สอดคล้องไปกับปริมาณของร้านค้าและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมือนจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 4 – 5 ปีก่อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แต่การมา BACC ของคอลัมน์ One Day With… ในครั้งนี้จะแตกต่างออกไปจากครั้งอื่นๆ อย่างแน่นอน เพราะเราจะมาล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานของหอศิลปกรุงเทพฯ ผ่านคนวงใน เพื่อทำความรู้จักตึกใหญ่โตสีขาวใจกลางเมืองแห่งนี้ในมุมอินไซต์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านซีรีส์ MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์ ไปพร้อมกัน เป็นที่รู้กันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่นึกถึงเสมอเมื่อใครหลายคนมองหาพื้นที่สงบใจกลางเมือง ทำให้ทุกครั้งที่เรามา BACC มักจะมีเป้าหมายในใจอย่างการตรงดิ่งเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 7, 8 และ 9 ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแวะอัปเดตสินค้างานคราฟต์บริเวณชั้นร้านค้า artHUB เป็นต้น […]
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
เวลาได้ยินเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคาร์บอนไดออกไซด์เอย ไหนจะก๊าซเรือนกระจกเอย มนุษย์ตัวเล็กๆ ในเมืองจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลกที่กว้างใหญ่ได้กันนะ แต่บ้านปูไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ้านปูร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพาเวอร์กรีน หรือ Power Green Camp ภายใต้แนวคิด ‘วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-เรียนรู้สู่การปฏิบัติ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อค่ายนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นโครงการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2549 และในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ค่ายเพาเวอร์กรีนได้พัฒนาผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 1,200 คนแล้ว เพื่อเฉลิมฉลอง 20 ปีของโครงการเพาเวอร์กรีน บ้านปูได้จัดงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ (Decarb Festival) โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเพาเวอร์กรีนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นปัจจุบันมาร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เวิร์กช็อปรักษ์โลกจากเยาวชนเพาเวอร์กรีน รวมทั้งมีเวทีทอล์กจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน และอินฟลูเอนเซอร์สายกรีน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมช่วยโลก ทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในบ้าน เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) และห้องทดลองโมเดลจำลองพลังงานทดแทนในสวน ถ้าอยากรู้ว่าทำไมโครงการนี้ถึงดำเนินการมายาวนานถึง 20 […]
หนึ่งวันกับ ‘นาเกลือ’ ย่านเก่าแก่กว่า 100 ปี ใจกลางพัทยา พื้นที่ประมงเชิงอนุรักษ์ และชุมชนวิถีชีวิตคนจีน
ทะเล เมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองที่เต็มไปด้วยสีสันความบันเทิง และภาพชาวต่างชาติที่นั่งอยู่เต็มหาด พร้อมสถานที่ท่องเที่ยวเก๋ๆ มากมาย คือภาพจำของ ‘พัทยา’ ที่ถามร้อยคนก็คงตอบทำนองนี้เกือบร้อยคน แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ท่ามกลางความเจริญในพัทยาแห่งนี้ จะมี ‘ชุมชนนาเกลือ’ ชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตซ่อนตัวอยู่ที่นี่ด้วย คอลัมน์ One Day With… ขอพักปอด หนีฝุ่นในเมืองไปสูดกลิ่นทะเลที่ชุมชนนาเกลือ ชุมชนชาวจีนเก่าแก่ใจกลางพัทยากับกิจกรรม ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ ที่จะพาทุกคนมาร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาเกลือตั้งแต่การกิน การอยู่ ไปจนถึงการมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในชุมชน ผ่านการนำชมของ ‘ไกด์คุณป้า’ ที่เกิดและเติบโตในชุมชน การันตีว่าเราจะได้รู้ทุกซอกทุกมุมที่น่าสนใจของชุมชน แถมการมาเที่ยวที่นี่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนให้ชุมชนนาเกลือแห่งนี้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วย ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ เป็นกิจกรรมจากกลุ่มปั้นเมืองที่ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมืองพัทยา และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนาเกลือ ในการขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ‘นาเกลือย่านเก่าสร้างสรรค์ (Na Kluea-Creative Old Town)’ เพื่อฟื้นฟูย่านนาเกลือ รักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้ย่านนาเกลือแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เหล่าไกด์คุณป้าที่เกิดและเติบโตมาเป็นอย่างดีในชุมชนนาเกลือ เป็นผู้ที่จะพาเราเดินทางในกิจกรรมวันนี้ การเดินสำรวจชุมชนนาเกลือเริ่มต้นด้วยการสักการะ ‘องค์เซียนซือ’ องค์ประธานของ ‘มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน’ และเป็นเทพเจ้าที่ชาวบ้านในย่านนี้นับถือ เนื่องจากเป็นเทพเจ้าแห่งการกุศลและช่วยเหลือคน “ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของทุกเดือนจะมีพิธีทรงเจ้า คนส่วนใหญ่มักมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์และเอารถมาให้คนทรงช่วยเจิมให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต” […]
พาไปดูชีวิตคนเมืองที่ต้องรออะไรสักอย่าง นาน น้าน นาน จนตายไปเป็นผีแล้วก็ยังต้องรออยู่
เวลาดูหนังผี นอกจากความน่ากลัวก็มักมีความเศร้าแฝงมาด้วยตลอด เพราะผีแต่ละตัวมักมีห่วงให้ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ตั้งแต่การตายโดยไม่รู้ตัวแล้วยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ตัดใจจากใครสักคนไม่ได้ ต้องคอยไปเฝ้ามอง หรือกระทั่งยังรออะไรบางอย่างอยู่อย่างนั้น รอรถติด รอรถเมล์ รอต่อคิวบีทีเอส รอถนนซ่อมเสร็จ นี่คือตัวอย่างการรอที่คนเมืองต้องประสบพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งถ้าลองเอาเวลาเหล่านั้นมาต่อกันคงน่าทึ่งไม่ใช่น้อย ที่เราต้องเสียเวลาไปกับการรอมากขนาดนี้ และแน่นอนว่า เวลาที่เรารออะไรนานๆ ก็มักนึกถึงการเปรียบเทียบทำนองว่า รอนานขนาดนี้ ตายแล้วเกิดใหม่ไปหลายรอบก็ยังไม่เสร็จหรือไม่ได้ไปเลยมั้ง แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ผีๆ ในเมืองจะยังคงวนเวียนไม่ไปไหน เพราะรอนั่นโน่นนี่จนตายแต่ไม่รู้ตัว คอลัมน์ One Day With… เลยขอใช้โอกาสช่วงฮาโลวีนหยิบเอาสาเหตุการรอจนตายของเหล่าผีในเมืองมาตีแผ่ให้ทุกคนดู ใครเคยมีประสบการณ์ร่วมกับผีตัวไหนก็ไปปลอบใจพี่ผีเขากันได้ เป็นอะไรตายมาล่ะ? ฉันรอ รถเมล์ จนตาย 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง คุณเคยรอรถเมล์นานสุดเท่าหร่ายยย (ทำเสียงยานให้สมกับเป็นผี) รู้ไหม ฉันรอรถเมล์นานมากที่สุดเป็นเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะบางคันก็ไม่ยอมจอดที่ป้าย หรือบางคันก็แน่นจนเบียดตัวขึ้นไปไม่ได้แล้ว รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผีรอที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งจากที่สังเกตการณ์มา คนก็ยังรอรถเมล์นานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคืองุนงงสับสนกับสีและสายรถเมล์ที่ปรับใหม่ ทำเอาคนที่ใช้รถเมล์บ่อยๆ มึนไปตามๆ กัน ยังไม่นับประเด็นรถเมล์ร้อนที่นี่ก็ปาไปปี 2024 ภาวะโลกร้อนข้ามขั้นไปยังภาวะโลกเดือด คนไทยก็ยังต้องใช้รถเมล์ร้อนที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นสาเหตุของ PM […]
ออกไปฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืนไปกับ ‘โพรเทคส์’
‘ถ้าไม่กล้าแล้วจะเปลี่ยนได้ยังไง’ โพรเทคส์ชวนเรากลับมาผจญภัยอีกครั้ง กับภารกิจฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ ที่จัดมาเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ โพรเทคส์พาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศ ล่องเรือชมธรรมชาติ ณ เมืองสายน้ำสามเวลา จังหวัดสมุทรสงคราม ออกไปขุดดินปลูกต้นโกงกาง ฝ่าเนินโคลนชั้นเซียน ลงมือเปื้อนเพื่อเปลี่ยนต้นกล้าให้กลายเป็นป่าชายเลน พร้อมเรียนรู้ความสำคัญของระบบนิเวศที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผืนใหญ่ของโลก การเข้าร่วมกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ ยังคงมีสายฝนเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง อุณหภูมิที่เย็นลง หยาดน้ำฝนที่กระทบหน้าต่าง คล้ายเสียงขับกล่อมให้รู้สึกผ่อนคลาย นั่งรถมาไม่นานก็ถึงที่หมายโดยไม่รู้ตัว ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้น กลิ่นอายธรรมชาติและลมทะเลก็ลอยเข้ามาเตะจมูก พร้อมภาพของ ‘ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน’ ที่รายล้อมด้วยต้นโกงกางน้อยใหญ่ ในละแวกเดียวกันยังมีบ้าน ร้านอาหาร และรีสอร์ต แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่ยึดโยงชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงครามแห่งนี้ หลังจากเปลี่ยนเสื้อและรับหมวกจากโพรเทคส์ เตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม ‘กอล์ฟ-ชวณัฐ มังน้อย’ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์โพรเทคส์ ก็ก้าวขึ้นกล่าวต้อนรับ “แบรนด์โพรเทคส์มีความเชื่อในการออกไปลงมือทำ กล้าเลอะ กล้าเปื้อน เปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยไม่ต้องกังวล ซึ่งเป็นที่มาของแคมเปญกล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน” ชวณัฐ กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมในวันนี้ นอกจากนี้เขายังเสริมอีกว่า การปลูกป่าที่ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน เป็นการต่อยอดจากครั้งก่อนที่ชวนทุกคนไปลงมือปลูกต้นกล้า ฟื้นฟูป่ากันมาแล้ว […]
สำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติไปกับเยาวชนตัวน้อย ในค่าย Power Green Camp ครั้งที่ 19
เพราะป่า เมือง และชีวิตต่างเชื่อมโยงถึงกัน จนขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ การปลูกฝังให้เยาวชนรับรู้ว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ ‘เจ้าของ’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กว่า 19 ปีที่โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) บ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจและหวงแหนสิ่งแวดล้อมรอบตัว และในปีนี้เป็นปีที่เราต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษจากการจราจรที่หนาแน่น ประกอบกับอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสดีที่จะร่วมปลูกฝังให้เยาวชนเห็นความสำคัญของ ‘พื้นที่สีเขียว’ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างป่า-เมือง-ชีวิต Urban Creature ขอใช้โอกาสนี้ร่วมใช้เวลาหนึ่งวันไปกับการสำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติพร้อมเหล่าเยาวชนตัวน้อย ภายใต้ธีม ‘Urban Rewilding ป่า-เมือง-ชีวิต’ ที่มาพร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาดูแลทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ ไอความร้อนภายในเมืองที่หลายคนลงมติว่าปีนี้ร้อนขึ้นกว่าทุกๆ ปี เป็นสัญญาณว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ กำลังทำให้สมดุลของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ยิ่งในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ของเราที่มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่เพียง 3.54 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สีเขียวกลายเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน อีกทั้งเทรนด์ในปัจจุบันที่คนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวในเมืองมากขึ้น การให้ความสำคัญกับป่าในเมือง อีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวของคนเมืองที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มต้นให้ความสนใจตั้งแต่วันนี้ […]
บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5
สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]
กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนป่าชายเลน ที่บางปู ฟื้นฟูธรรมชาติให้เป็นปอดของเมืองไปกับโพรเทคส์
ในวันหยุดแต่ละครั้ง คุณต้องใช้ความกล้าแค่ไหนในการก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซนไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่จะเปื้อนเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้แตกต่างออกไป ฝนที่ตกพรำๆ ในช่วงเช้าตรู่ ทำให้บรรยากาศของการออกไป ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ ในวันนี้แตกต่างออกไป เพราะอากาศในช่วงหน้าร้อนจะไม่ร้อนมากจนเกินไปนัก ใช้เวลาเพียง 10 นาที จาก BTS สถานีเคหะฯ รถก็พาเรามาหยุดกันที่หน้า ‘ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู)’ สถานที่ที่เราจะใช้เวลาหนึ่งวันในการสำรวจธรรมชาติ ไปกับการท่องเที่ยวฟื้นฟูพื้นที่ ‘ป่าชายเลน บางปู’ เพื่อเพิ่มแหล่งสะสมคาร์บอนที่กำลังลดน้อยลง คอลัมน์ One Day With วันนี้อยากชวนทุกคนย่ำเท้าลงไปบนผืนดินเลน แล้วใช้สองมือของเราลงมือเปื้อนปลูกต้นโกงกางกับโพรเทคส์ เพิ่มจำนวนป่าชายเลนให้หนาแน่นขึ้น และหาคำตอบของความสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลนไปพร้อมๆ กันในแคมเปญ ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ หลังจากรถตู้มาส่งเราถึงหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู) ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) ทันทีที่เปิดประตู สิ่งแรกที่ปะทะกับเราคือลมที่หอบเอากลิ่นอายความเป็นธรรมชาติมาด้วย ทำเอาอดรู้สึกตื่นเต้นในกิจกรรมที่จะต้องเจอภายในวันนี้ขึ้นมาไม่ได้ แต่ตื่นเต้นได้ไม่ทันไร ท้องก็ส่งเสียงประท้วงขึ้นมา เป็นสัญญาณของการเติมพลังก่อนไปเปื้อนเพื่อเปลี่ยนกันในช่วงบ่าย หลายคนไม่รู้ว่าป่าชายเลนคือพื้นที่ที่กำลังทำหน้าที่สำคัญในการช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการฟอกอากาศ โดยป่าชายเลน 1 ไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากถึง 9.2 ตัน มากไปกว่านั้น การปลูกป่ายังช่วยลดการพังทลายหน้าดินจากการกัดเซาะ ไปถึงสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลรุ่นใหม่ด้วย ทำให้ป่าชายเลนถือเป็นสวรรค์ของสัตว์และพืชมากมายหลายชนิดเลยทีเดียว […]
My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก
ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]
สำรวจเมืองขอนแก่นกับ Isan BCG Expo เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
ในภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัด ‘ขอนแก่น’ นั้นอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การเกษตร ศิลปะ ดนตรี และอัตลักษณ์อย่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน ฯลฯ จากความรุ่มรวยเหล่านี้เอง ทำให้เกิด ‘Isan BCG Expo 2022’ หรืองานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและเป็นครั้งแรกในไทย เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา Isan BCG Expo 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Collaboration : ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ณ Khon Kaen Innovation Centre (KKIC) โดยกระจายการจัดงานไปยังบริเวณโดยรอบครอบคลุมดาวน์ทาวน์ของจังหวัด เช่น ย่านศรีจันทร์ เทศบาลเมืองขอนแก่น และถนนไก่ย่าง งานครั้งนี้ได้มีการนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนและรากฐานเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยการผสมผสานทุนทางทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการได้ไปสำรวจขอนแก่นผ่านแว่นของงาน Isan BCG Expo 2022 […]
หนึ่งวันกับ ‘PASAYA’ โรงงานสิ่งทอที่เชื่อว่าคุณภาพสินค้าจะดีขึ้นตามคุณภาพชีวิตพนักงาน
เมื่อก้าวขาลงรถ แดดร้อนจ้าต้นฤดูหนาวก็ดูจะเย็นขึ้นบ้างจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีต้นไม้ให้เห็นกว่าในเมือง เช่นเดียวกับสีเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักในโรงงานแห่งนี้ PASAYA (พาซาญ่า) คือแบรนด์สิ่งทอชื่อดังของไทย ก่อตั้งโดย ‘ชเล วุทธานันท์’ ที่มีแนวคิดการส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 1990 ย้อนกลับไปในปี 1986 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ชเลรับช่วงต่อโรงงานชื่อ ‘สิ่งทอซาติน’ ที่ตั้งอยู่แถวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจากพ่อ ที่นั่นเป็นพื้นที่เล็กๆ มีเครื่องจักรทอผ้าเก่าๆ 20 เครื่อง พนักงานไม่ถึง 50 คน โรงงานอยู่ในสภาพไม่ค่อยดีนัก ทว่าการได้ไปใช้ชีวิตในโรงงานแห่งนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดราชบุรีขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ และทำประโยชน์ต่อสังคมรวมถึงโลกใบนี้ด้วย หนึ่งวันในโรงงานพาซาญ่าเริ่มต้นแล้ว เราจะพาไปดูกันว่าเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา PASAYA ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้พลังงานในการผลิตจำนวนมาก และปล่อยมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปรับตัวธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการมีอยู่ของโลกใบนี้ แพศยา ที่หมายถึงความสวย ฉลาด นอกกรอบ และสง่างาม ‘แพศยา’ เป็นคำไทย จำง่าย ทุกชาติออกเสียงตามได้ ชเลจึงเลือกตั้งเป็นชื่อโรงงาน เนื่องจากเขามองเห็นว่าคนที่ถูกด่าด้วยคำนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และมีความสง่างาม ซึ่งตรงกับความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ PASAYA […]