Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี

เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน

“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

‘รถแดงพาร์ค’ กับไอเดียปลูกต้นไม้บนพาหนะเดินทางประจำย่านสุขุมวิทใต้ ที่ทำให้เห็นว่าอยู่ที่ไหนก็ปลูกต้นไม้ได้

สิ่งปลูกสร้างในเมืองยิ่งมีมากขึ้นเท่าไร สีเขียวของต้นไม้ก็ลดน้อยลงไปเท่านั้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีโครงการตึกสูงมากมาย ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่หรือการดูแลรักษา ทำให้หลายคนล้มเลิกแผนการปลูกต้นไม้ และไม่ได้สนใจที่จะเติมสีเขียวให้เมืองเพิ่มขึ้น ‘ภิรัชบุรี กรุ๊ป’ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวภายในเมือง ได้นำเสนอโปรเจกต์ ‘รถแดงพาร์ค’ ในรูปแบบของสวนสาธารณะเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลงานหนึ่งในเทศกาล ‘Bangkok Design Week 2024’ เพื่ออยากเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความรู้สึกต่อชุมชนย่าน ‘สุขุมวิทใต้’ ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องไกลตัว แต่เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับ ‘รถแดง’ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางของคนในชุมชน ‘รถแดงพาร์ค’ เป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ ‘รถแดง’ เอกลักษณ์ของขนส่งสาธารณะที่ชาวสุขุมวิทใต้คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ให้กลายเป็นสวนเคลื่อนที่สู่ชุมชน กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อเติมเต็มสีเขียวให้กับย่านและเชื่อมโยงชุมชนด้วยธรรมชาติ ใน 6 ทำเลตลอดทั้งย่านสุขุมวิทใต้ ไอเดียเริ่มต้นมาจากจำนวนต้นไม้ในเมืองที่มีน้อยลงทุกวัน ด้วยรูปแบบการอยู่อาศัยในคอนโดฯ และอพาร์ตเมนต์ที่มีมากขึ้น ทำให้หลายคนมองข้ามการปลูกต้นไม้ในบ้านไปเพราะพื้นที่มีน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ไม่ว่าจะมีพื้นที่จำกัดแค่ไหนเราก็ปลูกต้นไม้ได้เหมือนเดิม ทางโครงการจึงนำเอารถแดงมาเชื่อมโยงเข้ากับต้นไม้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับคนเมืองได้เห็นว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปลูกต้นไม้ได้ ไม่เว้นแม้แต่ในรถแดงเองก็ตาม อีกกิมมิกน่ารักๆ ของกิจกรรมนี้คือ ต้นไม้กระถางเล็กๆ บนรถแดงไม่ได้นำมาประดับรถเพื่อเป็นผลงานการออกแบบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาสามารถแวะซื้อต้นไม้กลับบ้านไปเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ที่อยู่อาศัยได้ด้วย […]

Arcade Game Center จากตู้เกมอาเขตในตำนานสู่ Game Center

เด็กรุ่นใหม่คงไม่คุ้นชินกับคำว่าอาเขต แต่สำหรับคนรุ่นเราแล้ว อาเขตถือเป็นความเจริญขั้นสุดในยุคนั้น เพราะเป็นสถานที่ที่อัดแน่นไปด้วยสินค้าและบริการมากมาย รวมถึงเป็นพื้นที่ตู้เกมค่อนข้างใหญ่ น่าตื่นตา หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าเกมโซนหรือเกมเซ็นเตอร์ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนจากคำว่าอาเขตเป็นห้างสรรพสินค้า ดังนั้นภาพจำที่เกี่ยวกับอาเขตของเราจึงมีภาพตู้เกมอยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าสมัยรุ่นๆ เราจะไม่เคยสนใจตู้เกมในอาเขตเลย แต่เมื่อเริ่มถ่ายภาพก็พบว่าเกมโซนในห้างฯ คือทำเลทองในการบันทึกภาพความทรงจำอย่างแท้จริง ทั้งเหล่าตู้เกมหน้าตาแปลกประหลาด บรรยากาศที่มืดสลัว ดูลึกลับ จนเหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ แสงสีที่กะพริบระยิบระยับน่ามอง เสียงเพลงดังสนั่น เสียงกดปุ่มไม่ยั้ง หรือแม้แต่เสียงคนพูดคุยกันอึกทึกครึกโครม แต่สำหรับตากล้องมือใหม่อย่างเรา เสน่ห์ที่ดึงดูดให้เข้าไปมากที่สุดก็คือผู้คนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น ไม่มีใครสนใจใคร ต่างก็ปลดปล่อยความเป็นเด็กในตัวออกมา และทุกวันนี้เกมเซ็นเตอร์หลายๆ แห่งก็ไม่ได้มีแค่เด็กนักเรียนที่แอบไปเล่นเกมเท่านั้น เพราะ Game Zone ได้กลายเป็น Family Zone ไปแล้ว พื้นที่แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต เด็กตัวโต และคนที่เคยผ่านช่วงวัยเด็กมาเนิ่นนาน ทุกคนล้วนเข้ามาหาความสุข ขณะที่หลายคนก็มาเพื่อย้อนคิดถึงวันวานอีกครั้ง เรารู้สึกว่าถ้าเก็บภาพเหล่านี้ไว้ตั้งแต่ตอนนี้ ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าที่ปัจจุบันกลายเป็นอดีต และเรื่องเล่าของคนในยุคนั้น หากมีบันทึกภาพถ่ายเอาไว้ก็น่าจะช่วยให้พวกเขาเห็นภาพและรู้สึกถึงช่วงเวลาที่ไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัส *หมายเหตุ คำว่า ‘อาเขต’ มาจาก Arcade ซึ่งหมายถึงทางเดินที่มีหลังคาช่องโค้งเรียงรายโดยต่อกันเป็นแถวยาว หรือทางเดินภายในอาคารที่มีร้านรวงต่างๆ ข้างทาง และคนสมัยก่อนก็นิยมเรียกห้างสรรพสินค้าที่มีลักษณะนี้ว่าอาเขต เช่น […]

Still Light – Still Life แสงอาทิตย์ยังคงอยู่

‘Still Light – Still Life (II) (แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (II)), 2022’ เป็นบันทึกภาพถ่ายในชีวิตประจำวันในช่วงเวลาหนึ่งของฉัน โดยพัฒนามาจากผลงาน ‘แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (I), 2021’ ทว่าในภาพถ่ายชุดที่ 2 นี้เป็นการเริ่มต้นขยายขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ ซึ่งการมีอยู่ของมันทำให้ฉันมีความหวัง ที่ผ่านมาฉันได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์อันหลากหลาย ที่ทำให้เกิดทั้งความรู้สึกสบายใจเหมือนมีแสงอาทิตย์คอยเยียวยา ความรู้สึกหดหู่ใจเหมือนโดนเงามืดของแสงกลืนกิน และการไม่รู้สึกถึงอะไรจนเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง ทั้งหมดเป็นผลมาจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ฉันตั้งใจพาตัวเองเข้าไป รวมถึงปล่อยให้สถานการณ์นำพาให้ไปพบเจอกับความสัมพันธ์นั้นเอง หากลองขยายมุมมองให้กว้างขึ้น นอกจากเป็นความหวัง แสงอาทิตย์ก็ยังมีเงาเป็นอีกด้านของความสว่าง ทำให้ฉันนึกถึงบางเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด แสงเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้ว แสงอาจไม่ได้สะท้อนแค่ความหวังจนทำให้ฉันยึดติดอยู่กับการไขว่คว้ามันมาเพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนมุมมองในแบบอื่นๆ ที่ทำให้ฉันเดินไปข้างหน้า พร้อมหันหลังกลับไปมอง และแสงยังช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องการมีชีวิตอยู่มากขึ้น จากบทเรียนนี้ ทำให้ฉันอยากเล่าเรื่องความรู้สึกที่ได้เผชิญในตอนนั้นผ่านชุดภาพถ่าย บันทึกห้วงความทรงจำ โดยไล่เรียงเป็นเส้นของความรู้สึกที่ไร้จุดจบ จนก่อเกิดมาเป็นผลงานแสงอาทิตย์ยังคงอยู่ทั้ง 2 ชุด ถือเป็นผลผลิตที่ได้จากการมองหาและทำความเข้าใจเรื่องราวชีวิตในระหว่างที่ฉันเป็นนักศึกษา ซึ่งปัจจุบันฉันยังคงถ่ายภาพต่อไปตามช่วงวัยที่เติบโตขึ้นภายใต้สถานการณ์และดวงอาทิตย์ที่เป็นแสงให้แก่โลกใบนี้ ติดตามผลงานของ ศิริน ม่วงมัน ต่อได้ที่ Instagram : perthsirin และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

1 2 3 28

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.