‘ไทยเด็ด’ โครงการที่พาสินค้าท้องถิ่นเด็ดๆ มาอยู่ใกล้กับทุกคนมากขึ้นที่ PTT Station กว่า 300 สาขาทั่วประเทศ

เราทุกคนต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า บ้านเรามีของดีของเด็ดของแต่ละพื้นที่ซุกซ่อนตัวอยู่ทั่วประเทศ แต่ปัญหาคือรู้แล้วก็ใช่ว่าจะหากินได้ง่ายๆ เพราะการส่งออกสินค้าจากจังหวัดหนึ่งไปสู่จังหวัดหนึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเหล่าผู้ประกอบการรายเล็ก รวมไปถึงผู้บริโภคต่างถิ่นที่อยากสนับสนุนสินค้าจากท้องถิ่น แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาแหล่งซื้อขายสินค้าที่ไหน จะสั่งสินค้าโดยตรงก็กลัวต้องใช้เวลาส่งนาน แถมกว่าสินค้าจะมาถึงมือก็ไม่รู้ว่าจะเกิดความเสียหายระหว่างทางอีกไหม ทาง ‘บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR)’ ซึ่งเป็นองค์กรที่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน ได้นำเอาเพนพอยต์เหล่านี้มาแก้ไข รวมถึงต้องการขยายโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านโครงการ ‘ไทยเด็ด’ เพื่อผลักดันการสร้างเศรษฐกิจของคนในชุมชนทั่วประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน สินค้าจากชุมชนท้องถิ่นไทย หาซื้อง่ายๆ ในโครงการไทยเด็ด โครงการไทยเด็ด เป็นโครงการ CSR ที่เป็นการร่วมมือของ OR กับพันธมิตรอีก 8 หน่วยงานที่เล็งเห็นถึงปัญหาการซื้อขายสินค้าของชุมชนที่หายาก บางอย่างเป็นของเด็ดของดังในชุมชน แต่คนนอกพื้นที่กลับไม่รู้เลยว่าจะอุดหนุนได้จากที่ไหน ไทยเด็ดจึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นและผู้บริโภค ภารกิจของโครงการคือ การเฟ้นหาและคัดสรรผลิตภัณฑ์เด็ดๆ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และเครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ เพื่อนำมาเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้สินค้าเหล่านี้กระจายตัวสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศได้มากกว่าแค่กระจุกอยู่ในชุมชนเท่านั้น โดยทาง OR จะรับหน้าที่เป็นตัวกลางในการสนับสนุนช่องทางการขายให้กับชุมชน ผ่านการวางขายที่ ‘PTT Station’ หรือ ‘ร้านคาเฟ่อเมซอน’ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น และส่งต่อสินค้าให้ถึงผู้บริโภคอย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น […]

FYI

อัปสกิลวิสาหกิจชุมชนไทย ปลดล็อกความรู้ มุ่งสู่ความยั่งยืน โครงการ ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ สร้างคุณค่าร่วมแบบ Ecosystem

‘ผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจชุมชน’ คือแรร์ไอเทมประจำท้องถิ่นที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพราะนอกจากจะทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย แต่ถ้าถามว่า แล้วการยกระดับที่ว่าเป็นแบบไหน เราขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ผู้ประกอบการจาก 2 วิสาหกิจชุมชนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจต่อจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ ‘หนิง-ธนพร วงค์เขื่อน’ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรุ่นที่ 1 ในเขตภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรท่าสุด (ท่าสุดเฮิร์บ) จ.เชียงราย ธนพรทำให้เราเห็นภาพความสำเร็จของโครงการนี้ชัดขึ้น ด้วยแนวทางการสร้างความร่วมสมัยให้ผลิตภัณฑ์ บริการแปรรูปสมุนไพร และบริการด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น เพื่อส่งให้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมไปถึงผู้คนในวงกว้าง โดยวิธีการที่ว่าคือ การมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะด้านการขาย และการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ มีการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียล สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ตามสโลแกน ‘ผ่อนที่กาย คลายที่ใจ By Tasud Herb’ อีกทั้งยังมีการจับมือกับเครือข่ายสายสัมพันธ์มาช่วยเสริมธุรกิจในหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โมเดิร์นน่าใช้ เพิ่มช่องทางตลาดและจุดจำหน่าย ไปถึงยกระดับมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบและสินค้า ทั้งหมดนี้ทำให้แบรนด์ Tasud Herb (ท่าสุดเฮิร์บ) ของวิสาหกิจชุมชนเติบโตฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว […]

‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว

การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]

เรียนรู้ความเป็นมาและสัมผัสความสวยงามของผ้าไหมไทย Colors of Buriram

เมื่อพูดถึง ‘ผ้าไหม’ หรือ ‘ผ้าไทย’ ภาพที่เราจะได้เห็นผู้คนสวมใส่ชุดผ้าไหมนั้นมักเป็นโอกาสสำคัญๆ อย่างงานพิธีการ มากกว่าที่จะนำมาใส่ในชีวิตประจำวัน ด้วยภาพจำที่มีต่อผ้าไทยที่ดูไม่ทันสมัยหรือสวมแล้วดูเป็นทางการเกินไป ทำให้ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ที่ให้ความสนใจกับผ้าประเภทนี้ คอลัมน์ประจำจังหวัดจะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องราวผ้าไทยกับงาน ‘Colors of Buriram’ เพื่อเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไหมของชาวบุรีรัมย์ที่มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีความทันสมัย ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ผ่านการถักทอด้วยความประณีต ออกแบบและตัดเย็บอย่างสวยงาม เพื่อต่อยอดโครงการ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ ให้อยู่คู่กับชุมชนและชาวบุรีรัมย์ รวมถึงสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ‘Colors of Buriram’ สีสันและชีวิตของผ้าไหมทอมือ Colors of Buriram นั้นเป็นงานสุดยอดมหกรรมผ้าไทย ที่จัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด จัดแสดงผ้าทอนานาชนิดและงานหัตถกรรมผ้า 2,000 กว่าชิ้น ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์มาจากทั้ง 23 อำเภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 19 – 21 มีนาคม บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ ไม่เพียงแต่จัดแสดงผลงานผ้าไทยเท่านั้น แต่ผู้ที่เข้าร่วมงาน Colors of Buriram ทั้งชาวบ้านในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวก็ยังจะได้สัมผัสและเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าทอนานาชนิด รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตผ้าไหมไทยตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพและความสามารถในการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน ที่ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยใช้ในชีวิตประจำวันได้ […]

FYI

ชวนดู ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ พลิกโฉมรีเทลครั้งใหญ่ด้วยโครงการระดับโลก ลงทุนต่อเนื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจนั้นไม่ใช่แค่การมองเห็นแต่ประโยชน์ของธุรกิจของตัวเอง แต่ยังรวมไปถึงการขยายโอกาสให้ธุรกิจหรือภาคส่วนอื่นๆ ได้เติบโตไปด้วยกัน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ถึงใช้โมเดล The Ecosystem for All กลยุทธ์ที่เชื่อมโยงธุรกิจหลักอย่างศูนย์การค้าที่เป็นหัวใจหลักในการสร้างความแข็งแกร่งของระบบทั้งหมด เข้ากับธุรกิจที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม หวังตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน พร้อมทั้งมีการลงทุนในระยะยาวเพื่อสร้างอนาคตแห่งการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชวนไปดูกันว่า เซ็นทรัลพัฒนามีกระบวนการดำเนินงานอย่างไร ที่ทำให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน และส่วนการลงทุนที่ว่านั้นมีโครงการอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง สร้างสรรค์และพัฒนาโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งแล้วก็ตาม แต่ด้วยบทบาทของการเป็น Place Maker ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ๆ เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาโปรเจกต์และสร้างประโยชน์ในวงกว้าง จึงเกิดเป็นไอเดียและการวางแผนลงทุนบุกเบิกย่านต่างๆ ผ่านการสร้างโครงการมิกซ์ยูสเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในแต่ละพื้นที่อยู่เสมอ ถือเป็นการสร้างย่าน ผลักดันศักยภาพทั้งเมืองหลัก-เมืองรองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั่วประเทศ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนและเมืองให้ดีขึ้น ลงทุนในระยะยาวเพื่อรองรับการสร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ก่อนหน้านี้ ทางเซ็นทรัลพัฒนาได้ลงทุนสร้างโครงการมิกซ์ยูสไปแล้วกว่า 20 โครงการทั่วประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่เซ็นทรัลพัฒนาเชื่อว่าสามารถพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกมาก โดยภายใน 5 ปีนี้ เซ็นทรัลพัฒนามีแผนการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 – ปี 2571 ด้วยจำนวนเงินกว่า 121,000 ล้านบาท ในการเปิดโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ […]

FYI

‘โตโยต้า’ มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตจุฬาฯ เป็นปีที่ 51 ขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของบริษัทอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงการเติบโตของสังคมผ่านการดำเนินธุรกิจของตนเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา ช่วยเหลือ หรือขับเคลื่อนสังคมไทยให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกันกับ ‘บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด’ ก็เป็นหนึ่งในบริษัทรถยนต์ ที่ไม่ได้ใส่ใจแค่เพียงคุณภาพของรถยนต์เท่านั้น แต่ยังดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมไทยให้ไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการตระหนักถึงการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะพาให้เยาวชนของไทยเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ อย่างการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนและความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ นับเป็นครั้งที่ 51 แล้ว ที่ทางโตโยต้า ได้มอบทุนสนับสนุนแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 รวมทั้งสิ้น 1,615 ทุน เป็นมูลค่า 21,522,000 บาท โดย ปีนี้ ‘นายโนริอากิ ยามาชิตะ’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย‘นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ’ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และ ‘นายสุรภูมิ อุดมวงศ์’ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี […]

PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

kintaam ไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่หยิบวัตถุดิบไทยมาสร้างสรรค์เมนูให้คนกินตามอัธยาศัย

ลัดเลาะเข้ามาในซอยสาทร 11 ท่ามกลางเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ และภาพคนทำงานเดินขวักไขว่ ร้านไอศกรีมเล็กๆ ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนน ประตูหน้าร้านถูกเปิดเข้า-ออกเป็นระยะ ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ใช้ในร้าน ผู้คนที่เดินเข้าไปต่างกลับออกมาพร้อมกับแซนด์วิชหนึ่งชิ้นและรอยยิ้มกว้าง kintaam (กินตาม) คือชื่อร้านที่เราพูดถึง นี่คือแบรนด์ไอศกรีมแซนด์วิชของ น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา และ น้ำทิพย์ ไชยจินดา สองพี่น้องชาวเชียงใหม่ผู้รักไอศกรีม ขนมอบ และการทดลองเป็นชีวิตจิตใจ พวกเธอไม่ได้เป็นนักธุรกิจ ก่อนจะเปิดร้านก็ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญในการทำไอศกรีม มีเพียงความชอบกิน ความสนุกจากการสร้างสรรค์ และความกล้าบ้าบิ่นอีกหนึ่งหยิบมือที่เป็นส่วนผสมในการสร้างแบรนด์ขึ้นมา กินตามเกิดขึ้นจากธุรกิจไอศกรีมพรีออเดอร์ช่วงโควิด เติบโตสู่ไอศกรีมฝากขายในร้านอาหารเหนือ หอมด่วน และร้านขายของชำสุดชิก The Goodcery เพียงสองขวบปี สองสาวก็สร้างร้านของตัวเองที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ คอลัมน์ประจำจังหวัดครั้งนี้ขอชวนทุกคนล้างมือให้สะอาด แล้วตามไปกินกินตาม ไอศกรีมแซนด์วิชที่เรารับรองว่าไม่มีใครเหมือน พลางฟังน้ำอบและน้ำทิพย์เล่าเรื่องการทำแบรนด์ไอศกรีมที่เรามั่นใจว่าไม่เหมือนใคร เตือนอีกครั้งก่อนกินว่า วิธีกินที่ถูกต้องคือกินแบบเบอร์เกอร์ ไม่ต้องใช้ช้อนส้อม แค่จับด้วยสองมือแล้วกัดเท่านั้น เชื่อเถอะว่าจะเลอะสักนิดสักหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก กิน’ติม kintaam มาจาก ‘กินตามอัธยาศัย’ วลีที่คนในครอบครัวของน้ำอบและน้ำทิพย์ชอบใช้บ่อยๆ ครอบครัวของสองพี่น้องไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับไอศกรีมมาก่อน หากจะมีอะไรที่จุดประกาย คงเป็นความชอบในการกินและทำขนมของน้ำทิพย์ เรื่องมีอยู่ว่า หน้าร้อนในปีที่โควิดระบาดหนัก […]

FYI

45 ปีสยามคูโบต้า กับการส่งต่อสิ่งดีๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรไทย

เมื่อพูดถึงชื่อ ‘สยามคูโบต้า’ คุณนึกถึงอะไร เครื่องจักรกลการเกษตรคุณภาพดีที่ตั้งอยู่กลางไร่นา ช่วยผ่อนแรงเกษตรกรไทยมาหลายสิบปี อาจเป็นภาพแรกที่หลายคนนึกถึง กับคนในแวดวงทำไร่ทำสวนคงรู้กันดีว่าสยามคูโบต้ามีเครื่องจักรกลการเกษตรแทบทุกรูปแบบ ใช้คำว่าครบวงจรก็ไม่ผิด นอกจากจะทำให้ชีวิตคนทำเกษตรง่ายขึ้นมาก สยามคูโบต้ายังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง หากจะเติบโตได้ดีต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สยามคูโบต้าเชื่อว่าการจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน แบรนด์ต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับชุมชน นั่นคือเหตุผลที่นอกจากจะพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรแล้ว สยามคูโบต้ายังมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชุมชนเกษตรต้นแบบที่เข้มแข็ง มากกว่านั้นคือการมอบความรู้และส่งเสริมเยาวชนให้กลายเป็นบุคลากรด้านการเกษตรที่ดีในอนาคต และสุดท้ายคือการตอบแทนสังคมอย่างยั่งยืน เพราะสยามคูโบต้ามีอายุครบ 45 ปี คอลัมน์ FYI ครั้งนี้ ขอชวนสำรวจโครงการต่างๆ ที่สยามคูโบต้าจัดขึ้นมาตลอด อ่านจบแล้วอาจทำให้คุณรู้จักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกนิด และถ้าเป็นไปได้ อาจจะทำให้คุณรักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกหน่อย โครงการแรกเกิดขึ้นที่สุดเขตแดนสยาม ไกลออกไปในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีโรงเรียนเล็กๆ ตั้งอยู่ โรงเรียนนี้ชื่อว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง เป็นโรงเรียนที่หากเดินเท้าไปอีกนิดจะเข้าเขตประเทศพม่า บริเวณรอบๆ จึงมีเด็กๆ ชาติพันธุ์อาศัยอยู่ และต่างเดินทางมาเรียนในรั้วเดียวกัน เมื่อมีเด็กๆ ชาติพันธุ์มาเรียนมากมาย หนึ่งในปัญหาของที่นี่คือทรัพยากรอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผักสวนครัวที่หาเก็บไม่ได้เพราะไร้แหล่งปลูก สยามคูโบต้ามองเห็นความขาดแคลนนี้ จึงจัดตั้ง ‘ค่ายอาสาโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยพนักงานสยามคูโบต้า’ ขึ้นมา เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกผักในโรงเรียนจนเพียงพอต่ออาหารกลางวัน เพิ่มความสะดวกให้นักเรียนบ้านไกล และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับพวกเขา มากกว่านั้น […]

FYI

‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ มุมมองใหม่กับ Protex ที่อยากพาทุกคนออกจากความกังวลใจ ไปกล้าเปื้อนและลองทำสิ่งใหม่ด้วยกัน

การเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ แต่ละครั้ง ล้วนต้องอาศัยความกล้า ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ต้องออกจากคอมฟอร์ตโซน ไม่คุ้นเคยมาก่อน ยิ่งต้องใช้พลังเอาชนะความกลัวและความกังวลเป็นอย่างมาก นอกจากความไม่กล้าทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อนแล้ว ความกลัวและความกังวลใจต่อความสกปรก โดยเฉพาะเวลาที่ต้องออกไปเลอะเปรอะเปื้อน อาจตีกรอบความคิดของเราให้พลอยกลัวที่จะทำเรื่องอื่น ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ เพราะกังวลว่าจะส่งผลเสียกับตัวเราเอง ธรรมชาติของมนุษย์สอนให้เราปกป้องตัวเองแบบนั้นเสมอ แต่การทดลองสิ่งใหม่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป หากมัวแต่อยู่ในคอมฟอร์ตโซน ไม่ผลักดันตัวเองให้ออกไปลองทำสิ่งใหม่ เราอาจไม่เคยค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวมานาน มากกว่านั้น เราอาจไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้ตัวเองและคนรอบข้าง Protex คือแบรนด์ที่เชื่อในพลังแห่งความกล้าและการออกไปสัมผัสสิ่งใหม่ นอกจากจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ช่วยชำระล้างคราบเปื้อนออกจากร่างกายจนสะอาดสดชื่น ลดการสะสมของแบคทีเรีย ไม่นานมานี้ Protex ได้คลอดหนังโฆษณาขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องราวของพลังจากการสัมผัสที่ได้รับการปกป้อง ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงของกลุ่มบุคคลที่กล้าสัมผัสแม้จะมีข้อจำกัดบางประการ นั่นคือ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นในประเทศไทย โฆษณาชุดนี้เล่าเรื่องราวของครูผู้สอนเด็กๆ ผู้บกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘ครูยศ’ ที่มีตัวตนอยู่จริง ท่ามกลางข้อจำกัดและความท้าทายมากมายที่เด็กๆ ได้เจอ ครูยศเชื่อในพลังของการเรียนรู้จากการสัมผัส และพลังของการลงมือทำอย่างไม่กลัวเปื้อน Protex เชื่อในจุดเดียวกัน พวกเขาจึงสร้างโฆษณาที่อยากส่งต่อความกล้าให้กับผู้คนผ่านเรื่องราวของเด็กๆ ที่พาตัวเองไปลองประสบการณ์ใหม่อย่างไม่กลัวเกรง แม้จะเป็นประสบการณ์ที่เปื้อนแต่สนุกและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากนอกห้องเรียน ทั้งการปั้นหม้อ เตะฟุตบอล ทำขนม ไปจนถึงการสัมผัสสิ่งละอันพันละน้อยในป่าใหญ่ ตั้งแต่เห็ดไปจนถึงช้างตัวโต นอกจากโฆษณาที่ปล่อยออกมา งานนี้ Protex […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

1 2 3 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.