




เติมหมาเติมแมววันละนิดจิตแจ่มใส ไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองก็สุขภาพจิตดีได้ ถ้าเมืองมีพื้นที่ Pet Friendly ให้เจอกับน้องๆ บ้าง

ยกระดับชีวิตมังกรจากแอนิเมชัน How to Train Your Dragon จะคนหรือสัตว์ (วิเศษ) ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

‘T77 Community’ ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ ใช้ Quality Time ในเมืองเล็กๆ ย่านสุขุมวิท เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ท่ามกลางความสงบ

ออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผึ้งและผองเพื่อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ดีต่อผึ้งและดีต่อใจเรา

เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
POPULAR
กว่าจะเลี้ยงยูนิคอร์นให้โตในไทย บทเรียนสำคัญจาก ‘สงคราม ส่งด่วน’ ที่อยากชวนสำรวจว่าเมืองแบบไหนเหมาะกับสตาร์ทอัพ
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เคยเห็นแมลงวันที่อยากเป็นยูนิคอร์นไหม ทั้งๆ ที่สัตว์สองชนิดนี้ดูเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้เลย แถมยังห่างกันไกลโขทั้งในด้านลักษณะ ถิ่นที่อยู่ ไปจนถึงนิยามหรือความหมายที่มนุษย์อย่างเราๆ ตีความ และการที่มันห่างและต่างกันไกลขนาดนี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นหรือความน่าสนใจสำคัญที่ทำให้สัตว์สองชนิดนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกันในตลาด ซึ่งเป็นแก่นหลักในซีรีส์เรื่อง สงคราม ส่งด่วน (Mad Unicorn) ซีรีส์เรื่องนี้มีจำนวน 7 ตอนสั้นๆ โดย ‘ณฐพล บุญประกอบ’ ที่ตั้งใจเล่าเรื่องแต่งจากแรงบันดาลใจของธุรกิจ Flash Express บริษัทขนส่งสีเหลืองเลื่องชื่อที่กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวแรกของไทยในเวลาเพียง 4 ปี โดยข้อความแรกที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมจากซีรีส์เรื่องนี้คือ ยูนิคอร์น (น.)สัตว์ลึกลับในตำนานปัจจุบันใช้เรียกบริษัทสตาร์ทอัพ จากนั้นจึงค่อยพาเราเดินทาง (ที่เรียกได้ว่ากระชากแขนผู้ชม) ล้มลุกคลุกคลานจากเหมืองทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ไปสู่ความบ้าระห่ำของผู้ชายคนหนึ่งที่อยากทำธุรกิจขนส่งแต่เป็นเพียงแมลงวันตัวเล็กในตลาดนี้ ก่อนจะใช้ความแค้นเป็นเชื้อเพลิง ก่อร่างสร้างตัวจนเป็นยูนิคอร์นตัวแรกที่ล้มยักษ์ได้สำเร็จ นอกจากชีวิตลุ้นๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ผสมด้วยความกล้า ความบ้า และแรงตั้งใจในการคว้าชัยชนะอย่างไม่มีจังหวะเบรก จนทำให้ผู้ชมต้องจิกมือจิกเท้ากันตลอดทั้งเรื่องแล้ว ช่วงเวลา 7 ตอนนี้ยังเป็นบทเรียนที่ดีต่อสายธุรกิจและผู้ที่สนใจเรื่องเมืองอย่างเราอีกด้วย ประโยคนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ‘สันติ’ ตัวละครหลักกระโดดเข้าสู่วงการขนส่ง โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า ในประเทศไทยนั้นมีอุปสรรคมากมาย ทั้งในซีรีส์ที่เราเห็นได้ชัดอย่างทุนใหญ่ที่พร้อมเข้ามารวบทุกกิจการที่มีแนวโน้มเติบโต การกลั่นแกล้งในทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเจ้าตลาดที่จ้องมองธุรกิจเล็กดิ้นแทบเป็นแทบตาย ไม่ต่างอะไรจากการมองแมลงวันในขวดแก้วที่บินหนีไม่ได้ รอวันร่วงตกมาตายเท่านั้น […]
ออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผึ้งและผองเพื่อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ดีต่อผึ้งและดีต่อใจเรา
เวลาที่ไปสวนแล้วเห็นต้นไม้หรือดอกไม้สวยๆ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วเคยสังเกตกันไหมว่า ในชีวิตประจำวันเราพบเห็นแมลงชนิดไหนบ้าง พบเห็นผึ้งหรือผีเสื้อบ้างไหม และเพื่อนตัวน้อยเหล่านั้นทำอะไรอยู่ ผึ้งเป็นเพื่อนตัวเล็กๆ ที่มีอิทธิพลมากต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและต้นไม้ ซึ่งให้อากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และอาหารที่เรากิน จากภาวะโลกเดือด ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้จำนวนประชากรผึ้งและแมลงผสมเกสรลดลง และการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวส่งผลให้ถิ่นที่อยู่ของแมลงและสัตว์ต่างๆ ลดน้อยลง ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวนและชนิดของแมลงก็ลดลงตามไปอีก อีกทั้งยังทำให้ความหลากหลายทางอาหารลดลงอีกเช่นกัน เป็นวงจรที่กำลังดำเนินไป และเรากำลังเผชิญกับผลกระทบเหล่านั้น จากคำกล่าวที่ว่า ‘ถ้าไม่มีผึ้งจะไม่มีเราอีกต่อไป’ ดูจะไม่ไกลเกินจริงซะแล้ว ในโอกาสวันผึ้งโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป และวันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก คอลัมน์ Urban Sketch อยากชวนเพื่อนๆ มาดูกันว่า เราจะสามารถออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเราอย่างไร ให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนตัวน้อยนักผสมเกสรของเรา และยังสร้างความเพลิดเพลินใจให้เราด้วย มาเปิดใจให้เหล่าผองผึ้งและแมลงตัวนั้นตัวนี้ ให้เราได้รักรักมันทุกตัวกัน ปลูกดอกไม้และต้นไม้ที่หลากหลายให้ผองผึ้ง ดอกไม้และต้นไม้บางชนิดเป็นแหล่งอาหารที่โปรดปรานของผึ้ง การออกแบบสวนที่มีดอกไม้ ผัก และต้นไม้ที่ให้เรณูเกสรและน้ำหวานแก่ผึ้ง ผีเสื้อ และแมลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง สวนสาธารณะ สวนในบ้าน สวนริมทางเท้า หรือ Pocket Park ลองเพิ่มต้นไม้ผลไม้เข้ามา สลับกับไม้พุ่มให้ดอก ผักที่กินผล และดอกไม้หอมที่ล่อแมลงและผึ้งอย่างต้นไม้วงศ์ส้ม […]
ศิลป่า Khao Yai Art Forest แกลเลอรีศิลปะกลางพื้นที่สีเขียวไร้พรมแดน ที่ซึ่ง ผู้คน/ศิลปะ/ธรรมชาติ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
จะเป็นยังไงถ้าเราได้เดินดูงานศิลปะในแกลเลอรีที่ปราศจากสถาปนิกในการออกแบบ แต่เป็นพื้นที่ที่ถูกสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยธรรมชาติ หากพูดถึงสุนทรียศาสตร์ ‘ศิลปะและธรรมชาติ’ คงเป็นความงามที่ปรากฏให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ และ ‘ศิลป่า เขาใหญ่’ Khao Yai Art Forest คือสถานที่ที่ผนวกสิ่งเหล่านี้ ผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินระดับโลกและศิลปินไทยในพื้นที่ป่าและธรรมชาติ พื้นที่นี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘มาริษา เจียรวนนท์’ ที่อยากสนับสนุนและผลักดันศิลปินให้ได้สร้างผลงานท่ามกลางธรรมชาติ และสร้างประสบการณ์รอบด้านให้ผู้มาเยือน ที่นี่จึงเป็นมากกว่าแกลเลอรีจัดงานศิลปะ เพราะยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิด พร้อมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ ปัจจุบันทาง Khao Yai Art Forest จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยจากทั้งศิลปินไทยและศิลปินระดับโลกจำนวน 7 ชิ้น ได้แก่ 1) Maman โดย หลุยส์ บูร์ชัวส์ : ประติมากรรมแมงมุมบรอนซ์ขนาดยักษ์ หลายคนอาจคุ้นตาจากการจัดแสดงประติมากรรมชิ้นนี้ที่ Louisiana Museum of Modern Art ประเทศเดนมาร์ก แต่ตอนนี้ขาทั้งแปดได้เดินมาหาเราที่เขาใหญ่แล้ว ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางทัศนียภาพสีเขียว ครั้งแรกที่งานชิ้นนี้จัดแสดงกลางแจ้ง 2) Khao Yai Fog Forest, Fog Landscape […]
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
เวลาได้ยินเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคาร์บอนไดออกไซด์เอย ไหนจะก๊าซเรือนกระจกเอย มนุษย์ตัวเล็กๆ ในเมืองจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลกที่กว้างใหญ่ได้กันนะ แต่บ้านปูไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ้านปูร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพาเวอร์กรีน หรือ Power Green Camp ภายใต้แนวคิด ‘วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-เรียนรู้สู่การปฏิบัติ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อค่ายนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นโครงการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2549 และในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ค่ายเพาเวอร์กรีนได้พัฒนาผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 1,200 คนแล้ว เพื่อเฉลิมฉลอง 20 ปีของโครงการเพาเวอร์กรีน บ้านปูได้จัดงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ (Decarb Festival) โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเพาเวอร์กรีนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นปัจจุบันมาร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เวิร์กช็อปรักษ์โลกจากเยาวชนเพาเวอร์กรีน รวมทั้งมีเวทีทอล์กจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน และอินฟลูเอนเซอร์สายกรีน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมช่วยโลก ทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในบ้าน เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) และห้องทดลองโมเดลจำลองพลังงานทดแทนในสวน ถ้าอยากรู้ว่าทำไมโครงการนี้ถึงดำเนินการมายาวนานถึง 20 […]
ชาว Neighbourmart และย่านเจริญกรุง รวมสถานที่โปรดใกล้ร้านซัพสินค้ากรุงเทพฯ ที่อยากให้ทุกคนแวะไปซัพพอร์ต
หลังจากแนะนำสถานที่โปรดของชาว Urban Creature ในถิ่นที่อยู่ไปแล้ว คอลัมน์ Add to My List คราวนี้ก็ถึงทีแวะเวียนขอให้เพื่อนบ้านน่ารักๆ อย่างชาว ILI.U ที่ตั้งแต่ช่วงต้นปีไปประจำการอยู่ห้างซัพสินค้า Neighbourmart ในตึก TCDC กรุงเทพฯ มาแนะนำสถานที่โปรดของแต่ละคนในย่านเจริญกรุง บางรัก ตลาดน้อยกันบ้าง ขอบอกว่าร้านรวงและสถานที่แต่ละแห่งที่ชาวเนเบอร์มาร์ทเลือกมา นอกจากจะเด็ดดวงสมกับเป็นคนลงพื้นที่ไปเสาะหาของดีในกรุงเทพฯ มาให้ทุกคนเลือกอุดหนุนแล้ว ยังมีสตอรีที่น่ารัก อบอุ่น ชวนให้อมยิ้ม แล้วอยากไปตามรอยความผูกพันของพวกเธอที่แอบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบอดีตของเหล่าสถานที่ที่เลือกกันมา ใครที่อยากรู้ว่าพื้นที่ชุบชูใจของชาวห้างซัพสินค้าสีเหลืองสดใสแห่งนี้เป็นที่ไหนกันบ้าง หรือถ้าถึงขนาดอยากแวะไปตามรอยตอนหลังจากซื้อของที่เนเบอร์มาร์ทเรียบร้อยแล้ว ก็ไปตามอ่านกันได้เลย ชื่อ : จิราภรณ์ วิหวาตำแหน่ง : Co-Founder & Content Designerสถานที่โปรด : หว่าโถ่ว น้ำขมหยั่นหว่อหยุ่น บางรัก 2474ตำแหน่งที่ตั้ง : maps.app.goo.gl/GKEy8xQTBGJnxqfs8 สมัยยังเป็นวัยรุ่นหัดเดินเล่นย่านกรุงเทพฯ ใหม่ๆ ป้ายรถเมล์บางรักตรงข้ามโรบินสันคือจุดสตาร์ทที่ดี มีซอกซอยเต็มไปด้วยของอร่อย แถมมีรถสองแถววิ่งวนตรอกจันทน์ให้เลือกสุ่มขึ้นหลายสาย ซึ่งก่อนขึ้นรถต้องแกล้งทำเป็นคุณน้าเก๋าๆ สั่งน้ำขมที่เคาน์เตอร์หินลายภาษาจีนตัวเป้งๆ กิน และพบว่ามันขมมาก […]
‘T77 Community’ ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ ใช้ Quality Time ในเมืองเล็กๆ ย่านสุขุมวิท เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ท่ามกลางความสงบ
ถ้าพูดถึงชีวิตในเมืองย่านสุขุมวิท โซนอ่อนนุช ภาพแรกที่นึกถึงอาจเป็นความวุ่นวายตามสไตล์ชีวิตเมือง ทั้งผู้คนพลุกพล่าน ทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และพื้นที่ที่สะดวกสบายต้องอยู่ใกล้รถไฟฟ้าหรือถนนหลักเท่านั้นถึงจะตอบโจทย์ชีวิตที่เร่งรีบของคนเมือง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในย่านนี้มีพื้นที่ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่แห่งหนึ่งอย่าง ‘T77 Community’ หรือ ‘Sansiri Town Sukhumvit 77’ ตั้งอยู่ด้วย ที่นี่เป็นพื้นที่อันเงียบสงบท่ามกลางความวุ่นวายของเมือง ที่คนจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นเพียงโครงการที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ความจริงแล้วพื้นที่แห่งนี้คือ Quality Community ที่มีความสะดวกสบายมากมายรองรับทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย คอมมูนิตี้มอลล์ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาลทันตกรรม ทั้งสำหรับลูกบ้านและพร้อมต้อนรับคนอื่นๆ ให้แวะเวียนเข้ามาใช้ Quality Time อย่างสงบ คอลัมน์ Urban Guide ขออาสาพาทุกคนไปสำรวจพื้นที่ใน T77 Community กันว่า ถ้าไม่ได้มีแค่โครงการที่อยู่อาศัย ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีพื้นที่ไหนที่น่าสนใจอีกบ้าง คอมมูนิตี้สเปซที่เดินทางง่าย เลือกได้หลายเส้นทาง เมื่อการใช้ชีวิตในเมืองวุ่นวายจนต้องหาที่พักผ่อน T77 Community จึงเป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับความเงียบสงบในโซนอ่อนนุช แม้ไม่ได้อยู่ติดรถไฟฟ้าหรือถนนใหญ่เหมือนกับภาพจำของคอมมูนิตี้สเปซในย่านอื่น แต่การเดินทางเข้ามายัง T77 Community นั้นกลับไม่ยากอย่างที่คิด เพราะล้อมรอบไปด้วยความสะดวกที่เลือกได้ตามสบาย ถ้าขับรถส่วนตัวมาก็สามารถเข้าออกได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเส้นสุขุมวิท […]
‘Loopme’ เทคโนโลยีจากกลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์กรุ๊ป ที่นำเศษฝ้ายจากการผลิตมารีไซเคิล ช่วยลดขยะ ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
การผลิตเส้นด้ายแต่ละครั้ง นอกจากจะได้วัตถุดิบหลักนำไปถักทอเสื้อผ้าแล้ว ระหว่างทางยังเกิดขยะจากเศษด้ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งขยะที่ได้มานั้นสามารถนำไปสร้างมูลค่า รวมถึงนำกลับไปทำเสื้อผ้าได้อีกครั้งจากการรีไซเคิล ผ่านกระบวนการย้อนกลับจากการนำเศษด้ายมาเปลี่ยนให้เป็นเส้นใยฝ้ายแทน ทีม Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเส้นด้ายของ ‘กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์’ และทำความรู้จักเทคโนโลยี ‘Loopme’ ที่เป็นการนำเศษผ้าฝ้ายที่เหลือจากกระบวนการผลิตมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ผลิตเป็นผ้าใหม่อีกครั้ง นับเป็นวิธีการลดขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย เปลี่ยนขยะให้กลับมาเป็นเส้นใย Loopme เริ่มต้นจากโครงการที่ทางบริษัทสนับสนุนให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมของตนเอง โดย ‘อี๋-พิชัย สุวรรณทอง’ Technical Center Division Manager ‘หนึ่ง-ภัคพงศ์ ท้าวเพชร’ Technical Center Department Manager และทีม Technical Center ได้ร่วมกันคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาจากการเห็น Yarn Waste หรือเศษด้ายที่เกิดจากการผลิตเส้นด้าย ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ของเหลือทิ้งเหล่านี้กลับมาเป็นเส้นใยฝ้ายเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ ในเส้นทางการผลิตเส้นด้าย วัตถุดิบที่ใช้คือฝ้ายดิบที่จะผ่านกระบวนการปั่นด้ายประมาณ 8 – 13 ขั้นตอน กว่าจะได้เป็นเส้นด้ายที่ส่งต่อไปยังกระบวนการทอผ้าต่อไป ซึ่งในกระบวนการทำเส้นด้ายที่มีความซับซ้อนแบบนี้ย่อมตามมาด้วยการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตอยู่แล้ว เหตุผลเพราะกว่าจะได้ด้ายแต่ละหลอดที่จะนำไปใช้งานจริงนั้น ต้องผ่านกระบวนการตัดต่อจากเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเส้นด้ายในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งหากเจอส่วนของเส้นด้ายที่ไม่ได้คุณภาพก็จะตัดส่วนเหล่านั้นออก เพื่อให้ได้เส้นด้ายคุณภาพดีที่สุด และแม้ว่าในการตัดทิ้งแต่ละครั้งจะได้เศษด้ายความยาวเพียงหนึ่งคืบ ทว่าเมื่อรวมกันก็ทำให้เกิดเป็นขยะปริมาณมหาศาล […]
จากถนนของรถยนต์สู่เส้นทางจักรยาน เมืองซูริก สวิตเซอร์แลนด์ เปิดทางสัญจรใหม่ อุโมงค์ใต้ทางรถไฟเพื่อชาวสองล้อโดยเฉพาะ
ในขณะที่การเดินทางด้วยจักรยานในกรุงเทพฯ ยังอยู่ในจุดลุ่มๆ ดอนๆ แต่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ออกแรงปั่นไปถึงระดับโครงสร้าง เปิดเส้นทางสัญจรอุโมงค์ใหม่ใต้สถานีรถไฟหลักให้จักรยานและพาหนะสองล้อพลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะแล้ว อุโมงค์ที่ว่านี้เชื่อมระหว่างถนนสองสายที่อยู่กันคนละเขต ซึ่งจริงๆ เดิมทีเส้นทางนี้ได้รับการวางแผนไว้เป็นเส้นทางจราจรของรถยนต์ แต่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นเส้นทางสัญจรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยอุโมงค์นี้มีความยาว 440 เมตร และกว้างสูงสุดถึง 6 เมตร ระดับที่สามารถปั่นจักรยานเคียงข้างกันได้แบบสบายๆ ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัย เพราะเส้นทางนี้ไม่อนุญาตให้คนเดินเท้าเข้าใช้ (ด้านบนอุโมงค์มีถนนและทางเท้าเตรียมพร้อมให้อยู่แล้ว) อีกทั้งยังไม่อนุญาตให้ผู้ที่ขับขี่พาหนะสองล้อพลังงานไฟฟ้าใช้ความเร็วเกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จุดเด่นอีกอย่างคือ พื้นที่จอดจักรยานที่ปลอดภัยขนาด 1,240 คันบริเวณทางเข้าอุโมงค์ พร้อมด้วยไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด และป้ายบอกทางอย่างชัดเจน มากไปกว่านั้น ภายในอุโมงค์ยังติดตั้งไฟ LED ตลอดเส้นทาง แถมยังใช้ศิลปะมาสร้างสีสันให้ระหว่างทางมีความเฟรนด์ลี น่าใช้งาน และสบายตาสบายใจแก่ผู้ใช้งานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ตัวอุโมงค์จักรยานนี้เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการปั่นจักรยานและส่งเสริมการเดินทางอย่างยั่งยืน หลังจากที่ทางรัฐพัฒนาโครงการมานานกว่าทศวรรษ โดยอุโมงค์จักรยานนี้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายการขนส่งของเมืองอย่างไร้รอยต่อ เพื่อทำให้การเดินทางด้วยจักรยานมีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สอดคล้องกับความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างเมืองที่เอื้อต่อการใช้จักรยานและเดินทางอย่างยั่งยืนของซูริกต่อไป Sources :A Piece of Switzerland | tinyurl.com/22at22oaCanadian Cycling Magazine | tinyurl.com/2b8gj8wh
LATEST
เงินภาษีของฉันถูกใช้ไปอย่างไรบ้าง ชวนสำรวจทุกสตางค์ของภาษีที่เสียไปกับเว็บไซต์ สำรวจงบประมาณปี 69
ต้อนรับเทศกาลการจัดทำงบประมาณประจำปี ที่จะเกิดการแบ่งสันกันว่า แต่ละจังหวัด แต่ละกระทรวงนั้นจะได้งบเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่และความเป็นอยู่ของประชาชน Urban Creature อยากชวนทุกคนมาลองเช็กงบประมาณ ที่สามารถแยกดูตามหน่วยงานว่า แต่ละกระทรวงจะได้รับงบเท่าไหร่ และภายในกระทรวงนั้นๆ มีการจัดการงบให้แต่ละภาคส่วนงานอย่างไร รวมถึงดูแยกเป็นรายจังหวัด เพื่อเช็กต่อไปว่าจังหวัดนั้นๆ นำงบไปบริหารหรือแก้ปัญหาส่วนใด เพราะทุกบาทของภาษีที่จ่ายไปนั้นมีค่า อย่าลืมติดตามและสำรวจการใช้งบประมาณของภาครัฐ (แบบเข้าใจง่าย) ได้ที่ wevis.info/thbudget69
เติมหมาเติมแมววันละนิดจิตแจ่มใส ไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองก็สุขภาพจิตดีได้ ถ้าเมืองมีพื้นที่ Pet Friendly ให้เจอกับน้องๆ บ้าง
รู้สึกเหมือนกันไหมว่า การเล่นกับน้องหมา น้องแมว หรือสัตว์อื่นๆ ช่วยชุบชูใจให้วันเทาๆ ของเราสดใสขึ้นมาได้ทันที เพราะว่าบางครั้งวิธีการคลายเครียดอย่างการนอน เล่นเกม หรือฟังเพลงก็อาจไม่ได้ช่วยให้เลิกโฟกัสกับความเครียดได้ขนาดนั้น แต่ในขณะเดียวกัน การเติมหมาเติมแมวกลับทำให้เราลืมความขมุกขมัวในใจไปได้ เหมือนกับว่าในความน่ารักของสัตว์เหล่านี้ซ่อนพลังพิเศษที่ช่วยไล่ความเครียดที่ติดอยู่กับเราให้หายไปอย่างไม่น่าเชื่อ สุขภาพจิตดีเพราะมีสัตว์เลี้ยง การที่รู้สึกสบายใจสดใสแฮปปี้จากการเล่นกับสัตว์เลี้ยงนั้นไม่ใช่การรู้สึกไปเอง เพราะข้อมูลจาก National Library of Medicine พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ได้ยินเสียง หรือแม้แต่การมองเห็นความน่ารักของน้องๆ ก็ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นแล้ว ยิ่งถ้าได้สัมผัสตัวสัตว์ ลูบคลำ หรือเล่นด้วย จะช่วยส่งผลต่อการลดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และระดับความวิตกกังวลก็จะลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับการศึกษาของ University of Washington ที่พบว่าเพียงแค่ระยะเวลา 10 นาทีที่ปล่อยให้นักศึกษาได้ใช้เวลากับน้องหมาน้องแมว สามารถช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดลง และเพิ่มเซโรโทนินกับโดพามีน สารที่ทำให้มีความสุขและสร้างความผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้น หากใครกำลังรู้สึกเครียดกับเรื่องราวต่างๆ แค่วางทุกอย่างลงและเดินไปเล่นกับสัตว์เลี้ยงตัวน้อยใหญ่ คอยเกาพุงหรือลูบหัวให้น้องๆ สักพัก เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้แล้ว Pet Friendly พื้นที่บูสต์เอเนอร์จีทั้งคนและสัตว์ แล้วถ้าไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองล่ะ จะเยียวยาจิตใจอย่างไรได้บ้าง คาเฟ่สัตว์อาจเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุดในการไปเล่นกับน้องหมาน้องแมว แต่การเข้าคาเฟ่แต่ละครั้งย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าถ้าครั้งสองครั้งก็คงพอจ่ายไหว […]
เกม ‘Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง’ ช่วยเป็นเสียงสู่ความหวังของการรอคอย ผ่านการติดป้ายตามหาคนหายของมูลนิธิกระจกเงาในเกม
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตัวเลขสถิติคนสูญหายยังคงมีอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี มีหลายครอบครัวที่กำลังรอใครสักคนกลับบ้าน และอีกหลายหน่วยงานที่ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยพาคนกลุ่มนั้นกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย นอกจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการติดตามคนหายแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาชนในการช่วยกันสอดส่องเพื่อนร่วมสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายแสงแห่งความหวังนี้ได้ ‘Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง’ เกมขับรถยามค่ำคืนที่มาพร้อมภารกิจอันท้าทาย ได้ขอเป็นหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ติดตามคนหายเช่นกัน โดยทาง ‘Zebraman555’ ผู้สร้างเกมนี้ชี้แจงว่า หนึ่งในป้ายริมทางที่ผู้เล่นเห็นระหว่างขับรถนั้นคือป้ายตามหาคนหายจริงจากมูลนิธิกระจกเงา ไม่ใช่ป้ายที่ออกแบบจำลองสำหรับเกมเพียงเท่านั้น Zebraman555 เห็นว่าเกมนี้เป็นเกมที่เข้าถึงกลุ่มคนได้มาก และมูลนิธิกระจกเงาเองก็มีเคสคนหายจำนวนมากเช่นกัน เขาจึงใช้ช่องทางนี้เป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และหวังว่าจะมีคนพบเห็นผู้สูญหายในป้ายแล้วแจ้งเบาะแสสำคัญแก่ครอบครัวผู้สูญหายได้ ระหว่างที่กำลังหาทางออกให้ตัวเอง คุณอาจเป็นคนช่วยพาใครกลับบ้านและกลับถูกทางได้ในเวลาเดียวกัน สัมผัสประสบการณ์ขับรถตอนกลางคืนสุดลุ้นระทึกใน Night Drive : คืนหลอน ซ่อนทาง ได้ที่เว็บไซต์ Steam tinyurl.com/an4pz7 Source : Facebook : Zebraman555 | tinyurl.com/2zc3yfp2
ยกระดับชีวิตมังกรจากแอนิเมชัน How to Train Your Dragon จะคนหรือสัตว์ (วิเศษ) ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
“มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับมังกรได้” ประโยคนี้คงเป็นสมมติฐานที่ชาวไวกิงและเหล่ามังกรจากเรื่อง อภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกร (How to Train Your Dragon) ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า ระหว่างคนและมังกร พวกเขาสามารถอยู่ร่วมกันได้ หากใครเคยรับชมแอนิเมชันเรื่องนี้ นอกจากเรื่องราวการต่อสู้ของมังกรและคน เราจะเห็นความสัมพันธ์และรูปแบบวิถีชีวิตร่วมกันระหว่างมนุษย์และสัตว์วิเศษ โดยอยู่ภายใต้การอยู่อาศัยบนเกาะเบิร์ก เกาะต้นกำเนิดของชนเผ่าไวกิง อีกทั้งยังเป็นเหมือนบ้านเฉพาะกิจของเหล่ามังกร แม้ในท้ายที่สุดชาวไวกิงจำเป็นต้องบอกลากับเพื่อนซี้เหล่ามังกร เพื่อให้พวกมันได้กลับไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยและเป็นที่ของพวกมันจริงๆ แต่ในช่วงที่เหล่ามังกรยังอาศัยอยู่บนเกาะเบิร์ก เรื่องราวในแต่ละวันก็ไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นและสวยงามสักเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเมืองแออัด หรือผลกระทบข้างเคียงในพลังงานมหาศาลของเจ้ามังกรที่ต่างส่งผลกระทบต่อทั้งคนและมังกร จนถึงกับทำให้พวกเขามีแผนการตามหาที่อยู่อาศัยใหม่ดังที่ปรากฏในภาค 3 เนื่องในโอกาสการกลับมาของ How to Train Your Dragon ฉบับ Live Action คอลัมน์ Urban Isekai อยากชวนทุกคนนั่งไทม์แมชชีนย้อนคิดไปกับพวกเรา ถ้าหากเหล่ามังกรยังคงอยู่อาศัยร่วมกับชาวไวกิงบนเกาะเบิร์ก เราจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์มีปีกเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง 1) จัดสรรพื้นที่ใหม่ แบ่งสัดส่วนระหว่างคนและมังกร ปัญหาเมืองแออัดดูจะเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในเกาะเบิร์ก หลังจากการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างชาวเมืองและมังกร จนทำให้ชาวไวกิงบางส่วนตั้งคำถามต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนมังกร หากเมืองมีการจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม กำหนดเขตที่พักอาศัยระหว่างมังกรและมนุษย์ จะเป็นทางแก้ที่ช่วยให้มังกรได้ใช้พื้นที่ตามธรรมชาติของร่างกาย และไม่สร้างความเสียหายแก่ชาวเมือง 2) บริการตรวจสุขภาพมังกรประจำปี สุขภาพของคนและสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ สัตว์วิเศษก็เช่นกัน เราจึงควรมีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีเต็มรูปแบบ […]
‘T77 Community’ ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ ใช้ Quality Time ในเมืองเล็กๆ ย่านสุขุมวิท เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ท่ามกลางความสงบ
ถ้าพูดถึงชีวิตในเมืองย่านสุขุมวิท โซนอ่อนนุช ภาพแรกที่นึกถึงอาจเป็นความวุ่นวายตามสไตล์ชีวิตเมือง ทั้งผู้คนพลุกพล่าน ทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และพื้นที่ที่สะดวกสบายต้องอยู่ใกล้รถไฟฟ้าหรือถนนหลักเท่านั้นถึงจะตอบโจทย์ชีวิตที่เร่งรีบของคนเมือง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในย่านนี้มีพื้นที่ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่แห่งหนึ่งอย่าง ‘T77 Community’ หรือ ‘Sansiri Town Sukhumvit 77’ ตั้งอยู่ด้วย ที่นี่เป็นพื้นที่อันเงียบสงบท่ามกลางความวุ่นวายของเมือง ที่คนจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นเพียงโครงการที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ความจริงแล้วพื้นที่แห่งนี้คือ Quality Community ที่มีความสะดวกสบายมากมายรองรับทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย คอมมูนิตี้มอลล์ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาลทันตกรรม ทั้งสำหรับลูกบ้านและพร้อมต้อนรับคนอื่นๆ ให้แวะเวียนเข้ามาใช้ Quality Time อย่างสงบ คอลัมน์ Urban Guide ขออาสาพาทุกคนไปสำรวจพื้นที่ใน T77 Community กันว่า ถ้าไม่ได้มีแค่โครงการที่อยู่อาศัย ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีพื้นที่ไหนที่น่าสนใจอีกบ้าง คอมมูนิตี้สเปซที่เดินทางง่าย เลือกได้หลายเส้นทาง เมื่อการใช้ชีวิตในเมืองวุ่นวายจนต้องหาที่พักผ่อน T77 Community จึงเป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับความเงียบสงบในโซนอ่อนนุช แม้ไม่ได้อยู่ติดรถไฟฟ้าหรือถนนใหญ่เหมือนกับภาพจำของคอมมูนิตี้สเปซในย่านอื่น แต่การเดินทางเข้ามายัง T77 Community นั้นกลับไม่ยากอย่างที่คิด เพราะล้อมรอบไปด้วยความสะดวกที่เลือกได้ตามสบาย ถ้าขับรถส่วนตัวมาก็สามารถเข้าออกได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเส้นสุขุมวิท […]
‘Loopme’ เทคโนโลยีจากกลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์กรุ๊ป ที่นำเศษฝ้ายจากการผลิตมารีไซเคิล ช่วยลดขยะ ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
การผลิตเส้นด้ายแต่ละครั้ง นอกจากจะได้วัตถุดิบหลักนำไปถักทอเสื้อผ้าแล้ว ระหว่างทางยังเกิดขยะจากเศษด้ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งขยะที่ได้มานั้นสามารถนำไปสร้างมูลค่า รวมถึงนำกลับไปทำเสื้อผ้าได้อีกครั้งจากการรีไซเคิล ผ่านกระบวนการย้อนกลับจากการนำเศษด้ายมาเปลี่ยนให้เป็นเส้นใยฝ้ายแทน ทีม Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเส้นด้ายของ ‘กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์’ และทำความรู้จักเทคโนโลยี ‘Loopme’ ที่เป็นการนำเศษผ้าฝ้ายที่เหลือจากกระบวนการผลิตมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ผลิตเป็นผ้าใหม่อีกครั้ง นับเป็นวิธีการลดขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย เปลี่ยนขยะให้กลับมาเป็นเส้นใย Loopme เริ่มต้นจากโครงการที่ทางบริษัทสนับสนุนให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมของตนเอง โดย ‘อี๋-พิชัย สุวรรณทอง’ Technical Center Division Manager ‘หนึ่ง-ภัคพงศ์ ท้าวเพชร’ Technical Center Department Manager และทีม Technical Center ได้ร่วมกันคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาจากการเห็น Yarn Waste หรือเศษด้ายที่เกิดจากการผลิตเส้นด้าย ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ของเหลือทิ้งเหล่านี้กลับมาเป็นเส้นใยฝ้ายเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ ในเส้นทางการผลิตเส้นด้าย วัตถุดิบที่ใช้คือฝ้ายดิบที่จะผ่านกระบวนการปั่นด้ายประมาณ 8 – 13 ขั้นตอน กว่าจะได้เป็นเส้นด้ายที่ส่งต่อไปยังกระบวนการทอผ้าต่อไป ซึ่งในกระบวนการทำเส้นด้ายที่มีความซับซ้อนแบบนี้ย่อมตามมาด้วยการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตอยู่แล้ว เหตุผลเพราะกว่าจะได้ด้ายแต่ละหลอดที่จะนำไปใช้งานจริงนั้น ต้องผ่านกระบวนการตัดต่อจากเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเส้นด้ายในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งหากเจอส่วนของเส้นด้ายที่ไม่ได้คุณภาพก็จะตัดส่วนเหล่านั้นออก เพื่อให้ได้เส้นด้ายคุณภาพดีที่สุด และแม้ว่าในการตัดทิ้งแต่ละครั้งจะได้เศษด้ายความยาวเพียงหนึ่งคืบ ทว่าเมื่อรวมกันก็ทำให้เกิดเป็นขยะปริมาณมหาศาล […]
ศิลป่า Khao Yai Art Forest แกลเลอรีศิลปะกลางพื้นที่สีเขียวไร้พรมแดน ที่ซึ่ง ผู้คน/ศิลปะ/ธรรมชาติ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
จะเป็นยังไงถ้าเราได้เดินดูงานศิลปะในแกลเลอรีที่ปราศจากสถาปนิกในการออกแบบ แต่เป็นพื้นที่ที่ถูกสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยธรรมชาติ หากพูดถึงสุนทรียศาสตร์ ‘ศิลปะและธรรมชาติ’ คงเป็นความงามที่ปรากฏให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ และ ‘ศิลป่า เขาใหญ่’ Khao Yai Art Forest คือสถานที่ที่ผนวกสิ่งเหล่านี้ ผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินระดับโลกและศิลปินไทยในพื้นที่ป่าและธรรมชาติ พื้นที่นี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘มาริษา เจียรวนนท์’ ที่อยากสนับสนุนและผลักดันศิลปินให้ได้สร้างผลงานท่ามกลางธรรมชาติ และสร้างประสบการณ์รอบด้านให้ผู้มาเยือน ที่นี่จึงเป็นมากกว่าแกลเลอรีจัดงานศิลปะ เพราะยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิด พร้อมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ ปัจจุบันทาง Khao Yai Art Forest จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยจากทั้งศิลปินไทยและศิลปินระดับโลกจำนวน 7 ชิ้น ได้แก่ 1) Maman โดย หลุยส์ บูร์ชัวส์ : ประติมากรรมแมงมุมบรอนซ์ขนาดยักษ์ หลายคนอาจคุ้นตาจากการจัดแสดงประติมากรรมชิ้นนี้ที่ Louisiana Museum of Modern Art ประเทศเดนมาร์ก แต่ตอนนี้ขาทั้งแปดได้เดินมาหาเราที่เขาใหญ่แล้ว ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางทัศนียภาพสีเขียว ครั้งแรกที่งานชิ้นนี้จัดแสดงกลางแจ้ง 2) Khao Yai Fog Forest, Fog Landscape […]
กว่าจะเลี้ยงยูนิคอร์นให้โตในไทย บทเรียนสำคัญจาก ‘สงคราม ส่งด่วน’ ที่อยากชวนสำรวจว่าเมืองแบบไหนเหมาะกับสตาร์ทอัพ
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เคยเห็นแมลงวันที่อยากเป็นยูนิคอร์นไหม ทั้งๆ ที่สัตว์สองชนิดนี้ดูเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้เลย แถมยังห่างกันไกลโขทั้งในด้านลักษณะ ถิ่นที่อยู่ ไปจนถึงนิยามหรือความหมายที่มนุษย์อย่างเราๆ ตีความ และการที่มันห่างและต่างกันไกลขนาดนี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นหรือความน่าสนใจสำคัญที่ทำให้สัตว์สองชนิดนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกันในตลาด ซึ่งเป็นแก่นหลักในซีรีส์เรื่อง สงคราม ส่งด่วน (Mad Unicorn) ซีรีส์เรื่องนี้มีจำนวน 7 ตอนสั้นๆ โดย ‘ณฐพล บุญประกอบ’ ที่ตั้งใจเล่าเรื่องแต่งจากแรงบันดาลใจของธุรกิจ Flash Express บริษัทขนส่งสีเหลืองเลื่องชื่อที่กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวแรกของไทยในเวลาเพียง 4 ปี โดยข้อความแรกที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมจากซีรีส์เรื่องนี้คือ ยูนิคอร์น (น.)สัตว์ลึกลับในตำนานปัจจุบันใช้เรียกบริษัทสตาร์ทอัพ จากนั้นจึงค่อยพาเราเดินทาง (ที่เรียกได้ว่ากระชากแขนผู้ชม) ล้มลุกคลุกคลานจากเหมืองทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ไปสู่ความบ้าระห่ำของผู้ชายคนหนึ่งที่อยากทำธุรกิจขนส่งแต่เป็นเพียงแมลงวันตัวเล็กในตลาดนี้ ก่อนจะใช้ความแค้นเป็นเชื้อเพลิง ก่อร่างสร้างตัวจนเป็นยูนิคอร์นตัวแรกที่ล้มยักษ์ได้สำเร็จ นอกจากชีวิตลุ้นๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ผสมด้วยความกล้า ความบ้า และแรงตั้งใจในการคว้าชัยชนะอย่างไม่มีจังหวะเบรก จนทำให้ผู้ชมต้องจิกมือจิกเท้ากันตลอดทั้งเรื่องแล้ว ช่วงเวลา 7 ตอนนี้ยังเป็นบทเรียนที่ดีต่อสายธุรกิจและผู้ที่สนใจเรื่องเมืองอย่างเราอีกด้วย ประโยคนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ‘สันติ’ ตัวละครหลักกระโดดเข้าสู่วงการขนส่ง โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า ในประเทศไทยนั้นมีอุปสรรคมากมาย ทั้งในซีรีส์ที่เราเห็นได้ชัดอย่างทุนใหญ่ที่พร้อมเข้ามารวบทุกกิจการที่มีแนวโน้มเติบโต การกลั่นแกล้งในทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเจ้าตลาดที่จ้องมองธุรกิจเล็กดิ้นแทบเป็นแทบตาย ไม่ต่างอะไรจากการมองแมลงวันในขวดแก้วที่บินหนีไม่ได้ รอวันร่วงตกมาตายเท่านั้น […]
ธีสิสจิงเกิลรถไฟฟ้า ‘RailTones’ ใช้เสียงดนตรีบอกจุดเด่นของย่าน ผู้โดยสารรู้ว่าสถานีต่อไปคือที่ไหน
“เวลาได้ยินชื่อสถานี คนไทยอาจจะพอเดาได้ว่าชื่อนี้มีที่มาจากอะไร แต่ต่างชาติเขาจะได้ยินแค่ชื่อผ่านๆ ไป แต่ไม่รู้เลยว่าสามย่านคืออะไร อิสรภาพมีชื่อมาจากอะไร” RailTones เป็นโปรเจกต์ธีสิสจบการศึกษาของ ‘รักษ์ ศิวรักษ์’ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CommDe) ที่ตั้งใจออกแบบจิงเกิลเพลงสำหรับรถไฟฟ้า MRT แต่ละสถานีให้มีความแตกต่างและดึงอัตลักษณ์ของย่านนั้นๆ ออกมา จากญี่ปุ่นสู่จิงเกิลไทย รักษ์เล่าให้เราฟังว่า เขาได้แรงบันดาลใจในการทำเรื่องนี้จากการเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น และสังเกตว่าสถานีรถไฟฟ้าแต่ละสถานีจะมีเพลงของตนเอง ซึ่งหลังจากหาข้อมูลเพิ่มเติม รักษ์ยังพบว่าเพลงเหล่านั้นประพันธ์โดยมือคีย์บอร์ดวงคาสิโอเปีย ผู้เป็นศิลปินคนโปรดของเขา ประกอบกับตัวรักษ์มีความสนใจเรื่องเพลงและเล่นคีย์บอร์ดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงอยากนำทั้งหมดนี้มาผสมผสานเป็นงานจบปีการศึกษาของตนเอง แต่ความแตกต่างสำคัญระหว่างจิงเกิลของสถานีรถไฟฟ้าญี่ปุ่นและโปรเจกต์ที่รักษ์ตั้งใจทำคือ จุดประสงค์ในการใช้งาน เนื่องจากของญี่ปุ่นเป็นการใช้เพลงความยาว 7 วินาทีที่เท่ากับเวลาก่อนประตูรถไฟฟ้าจะปิด เพื่อเป็นการเตือนให้ประเทศที่มีผู้คนใช้รถสาธารณะหนาแน่นสูงได้รู้ตัวและไม่วิ่งฝ่าเข้าไป รวมถึงจังหวะและทำนองเพลงยังต้องแต่งให้ผู้ได้ยินเกิดความรู้สึกสว่าง สดใส เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในสถานีที่เป็นปัญหาใหญ่ของแดนปลาดิบนั่นเอง เสริมจุดเด่นของย่านด้วยจิงเกิล ในขณะที่ประเทศไทยนั้นมีบริบทที่ต่างออกไป จากข้อมูลที่รักษ์ได้สืบค้นและวิเคราะห์พบว่า ไทยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศสูง การสร้างจิงเกิลโดยเน้นแหล่งท่องเที่ยวหรือจุดเด่นของย่านละแวกสถานีนั้นดูจะเหมาะสมมากกว่า ซึ่งความคิดนี้ก็สอดคล้องกับ MRT หรือรถไฟฟ้าใต้ดินของไทย ที่ตกแต่งบางสถานีให้เป็นธีมตามย่านหรือสถานที่สำคัญบริเวณนั้นๆ เช่น สถานีสามยอดที่มีตึกด้านนอกสถานีเป็นโทนเดียวกันกับตึกโดยรอบ สถานีสนามไชยที่ตกแต่งภายในอาคารด้วยสถาปัตยกรรมไทยโบราณสอดคล้องกับวัดและวังโดยรอบ รักษ์จึงแบ่งประเภทของสถานีรถไฟฟ้า MRT ออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มย่านการค้า […]
ออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผึ้งและผองเพื่อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ดีต่อผึ้งและดีต่อใจเรา
เวลาที่ไปสวนแล้วเห็นต้นไม้หรือดอกไม้สวยๆ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วเคยสังเกตกันไหมว่า ในชีวิตประจำวันเราพบเห็นแมลงชนิดไหนบ้าง พบเห็นผึ้งหรือผีเสื้อบ้างไหม และเพื่อนตัวน้อยเหล่านั้นทำอะไรอยู่ ผึ้งเป็นเพื่อนตัวเล็กๆ ที่มีอิทธิพลมากต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและต้นไม้ ซึ่งให้อากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และอาหารที่เรากิน จากภาวะโลกเดือด ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้จำนวนประชากรผึ้งและแมลงผสมเกสรลดลง และการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวส่งผลให้ถิ่นที่อยู่ของแมลงและสัตว์ต่างๆ ลดน้อยลง ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวนและชนิดของแมลงก็ลดลงตามไปอีก อีกทั้งยังทำให้ความหลากหลายทางอาหารลดลงอีกเช่นกัน เป็นวงจรที่กำลังดำเนินไป และเรากำลังเผชิญกับผลกระทบเหล่านั้น จากคำกล่าวที่ว่า ‘ถ้าไม่มีผึ้งจะไม่มีเราอีกต่อไป’ ดูจะไม่ไกลเกินจริงซะแล้ว ในโอกาสวันผึ้งโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป และวันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก คอลัมน์ Urban Sketch อยากชวนเพื่อนๆ มาดูกันว่า เราจะสามารถออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเราอย่างไร ให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนตัวน้อยนักผสมเกสรของเรา และยังสร้างความเพลิดเพลินใจให้เราด้วย มาเปิดใจให้เหล่าผองผึ้งและแมลงตัวนั้นตัวนี้ ให้เราได้รักรักมันทุกตัวกัน ปลูกดอกไม้และต้นไม้ที่หลากหลายให้ผองผึ้ง ดอกไม้และต้นไม้บางชนิดเป็นแหล่งอาหารที่โปรดปรานของผึ้ง การออกแบบสวนที่มีดอกไม้ ผัก และต้นไม้ที่ให้เรณูเกสรและน้ำหวานแก่ผึ้ง ผีเสื้อ และแมลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง สวนสาธารณะ สวนในบ้าน สวนริมทางเท้า หรือ Pocket Park ลองเพิ่มต้นไม้ผลไม้เข้ามา สลับกับไม้พุ่มให้ดอก ผักที่กินผล และดอกไม้หอมที่ล่อแมลงและผึ้งอย่างต้นไม้วงศ์ส้ม […]
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมในเมืองผ่านการปฏิบัติในงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ ฉลองครบรอบ 20 ปี ค่ายเพาเวอร์กรีน ถอดบทเรียนจากเสวนาเรื่องพลังงาน ส่งต่อความรู้และความรักษ์โลก ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืน
เวลาได้ยินเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคาร์บอนไดออกไซด์เอย ไหนจะก๊าซเรือนกระจกเอย มนุษย์ตัวเล็กๆ ในเมืองจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนโลกที่กว้างใหญ่ได้กันนะ แต่บ้านปูไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะตลอด 20 ปีที่ผ่านมา บ้านปูร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพาเวอร์กรีน หรือ Power Green Camp ภายใต้แนวคิด ‘วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-เรียนรู้สู่การปฏิบัติ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อค่ายนี้กันมาบ้าง เพราะเป็นโครงการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2549 และในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ค่ายเพาเวอร์กรีนได้พัฒนาผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 1,200 คนแล้ว เพื่อเฉลิมฉลอง 20 ปีของโครงการเพาเวอร์กรีน บ้านปูได้จัดงาน ‘ดีค้าบ เฟสติวัล’ (Decarb Festival) โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเพาเวอร์กรีนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นปัจจุบันมาร่วมแสดงพลังผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เวิร์กช็อปรักษ์โลกจากเยาวชนเพาเวอร์กรีน รวมทั้งมีเวทีทอล์กจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน และอินฟลูเอนเซอร์สายกรีน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมช่วยโลก ทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานในบ้าน เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) และห้องทดลองโมเดลจำลองพลังงานทดแทนในสวน ถ้าอยากรู้ว่าทำไมโครงการนี้ถึงดำเนินการมายาวนานถึง 20 […]
‘A Week at the Knees’ ประติมากรรมซุ้มอิฐในสวนที่ลอนดอน ดูเหมือนผนังบ้านกำลังนั่งชันเข่าพักผ่อน
‘Alex Chinneck’ ศิลปินชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงด้านการสร้างผลงานศิลปะที่มักสร้างความประหลาดใจให้กับผู้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็น ‘From the Knees of my Nose to the Belly of my Toes’ (2013) ผลงานที่ดูราวกับว่าผนังหน้าบ้านเลื่อนลงมาอยู่ด้านล่าง หรือ ‘Take my Lightning but Don’t Steal my Thunder’ (2014) อาคารที่ยังคงตั้งอยู่ได้แม้ว่าเสาที่ยึดอยู่นั้นจะลอยฟ้าก็ตาม และผลงานล่าสุดที่เป็นส่วนหนึ่งของงาน Clerkenwell Design Week 2025 ที่จัตุรัส Charterhouse ก็ยังคงสร้างความสนใจให้ผู้พบเห็นกับ ‘A Week at the Knees’ ซุ้มอิฐความสูง 5.5 เมตร ยาว 13.5 เมตร ที่มีลักษณะคล้ายผนังบ้านที่ประกอบไปด้วยประตูและหน้าต่าง มีท่าทางเหมือนกำลังนั่งชันเข่า เมื่อนำไปตั้งไว้ในสวนสาธารณะจึงอาจเปรียบได้ว่าเป็นตัวแทนของคนที่เข้ามานั่งพักผ่อนอยู่ในสวนแห่งนี้ก็ได้ ถึงแม้ว่าผลงานนี้จะดูเหมือนใช้วัสดุน้ำหนักเบา สามารถโค้งงอได้ตามต้องการ แต่ความจริงแล้วซุ้มนี้ใช้อิฐถึง 7,000 […]
VIDEOS
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ฟรีแลนซ์วงการสร้างสรรค์ไม่ได้เล่า
หลายคนอาจไม่รู้ว่า สื่อบันเทิงที่ให้ความสนุกและเอนจอยหลายครั้งต้องแลกมากับความไม่เป็นธรรมที่คนทำงานสร้างสรรค์ได้รับ รายการ Urban Untold อีพีนี้ชวนฟรีแลนซ์สื่อสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็บอกว่าได้เงินเยอะเพราะรับงานเท่าไหร่ก็ได้ แถมสบายเพราะเป็นเจ้านายตัวเอง มาบอกเล่าถึงปัญหาในการทำงานที่พวกเขาต้องเผชิญ ตั้งแต่เรื่องคอนเนกชันที่ทำให้คนทำงานบางส่วนถูกตัดโอกาส สัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการตกลงกันปากเปล่า ไปจนถึงความไม่แน่นอนของรายได้ *วิดีโอชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ในหัวข้อ Business and Human Rights*
เพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกผ่านการดีไซน์
รู้หรือเปล่าว่า ไม่ว่าจะเป็นพระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น ต่างก็เป็นผลงานของแบรนด์ ‘Qualy’ กันทั้งนั้น! ว่าแต่จุดเริ่มต้นของ Qualy ที่หยิบจับเอาพลาสติกรีไซเคิลมาออกแบบเป็นของใช้ดีไซน์สวยงามที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว จนครองใจคนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีได้ยังไง ตามไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ของแบรนด์ Qualy ที่ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ในคลิปนี้
Acousticity | paiiinntt คืนที่ไม่มีจันทร์ Live Session @พระปกเกล้า สกายปาร์ค
ในเมืองที่มีผู้คนหลากหลาย อาจมีใครหลายคนที่กำลังเศร้าหรือไม่สมหวังกับความรัก บรรยากาศท่ามกลางแสงจันทร์ที่ส่องลงมาอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงวันที่เคยอยู่ด้วยกันกับคนรัก เมื่อจากกันไปแล้วก็ราวกับว่าแสงจันทร์นั้นไม่ส่องลงมาอีก วันนี้ Urban Creature เลยพา ‘paiiinntt’ ศิลปินจากค่าย ‘Kiddo Records’ มาเล่นเพลง ‘คืนที่ไม่มีจันทร์’ บนสวนลอยฟ้า ‘พระปกเกล้า สกายปาร์ค’ เพื่อให้แสงจันทร์สาดส่องให้ความรักนั้นกลับมาอีกครั้ง
Acousticity Playlist Season | 2024
เข้าสู่ช่วงเวลาสิ้นปี บรรยากาศของการเฉลิมฉลองปีใหม่ก็เริ่มมีให้เห็นทั่วทั้งเมือง หลายคนอาจอยากออกนอกบ้านเพื่อไปเฉลิมฉลอง แต่ก็มีอีกหลายคนที่อาจไม่ได้ชอบไปสังสรรค์ข้างนอกเท่าไหร่นัก หากเพื่อนๆ อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน เราขอชวนให้มาฟังเพลงเพราะๆ จากรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาบรรเลงเพลงท่ามกลางเสียงของเมืองกรุงเทพฯ ก่อนปีใหม่กัน
เมืองที่เราอยู่เป็นแบบไหน? | Urban Creature
ในมุมมองของคุณ เมืองของเราเป็นเมืองแบบไหน เมืองของคนรุ่นใหม่ เมืองสีเขียว เมืองแห่งความวุ่นวาย หรือเมืองแห่งการเดินทาง Urban Creature ชวนทุกคนมา Wrap up มุมมองของเราที่มีต่อเมืองแห่งนี้ และหวังว่ามันจะช่วยให้ทุกคนอยากทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ‘Let’s make a better city for better living.’
คุยเรื่องแสงไฟ ชีวิต และเมือง กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
เมืองยามค่ำคืนเต็มไปด้วยแสงสว่างจากหลากหลายที่ จนหลายครั้งก็อาจเป็นมลภาวะทางแสงให้กับเราโดยไม่รู้ตัว จะดีกว่าไหมหากเมืองเรามีการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยชีวิตเราได้ในทุกมิติ “การออกแบบแสงสำหรับเมือง มันก็จะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนในทุกมิติ” Urban Creature คุยกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถึงเรื่องแสงสว่างที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราและควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน
URBAN PODCAST
REPORT
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]