หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

LGBTQ+ หางานยาก? คุยกับ โกโก้ กวินตรา Trans Woman ผู้สมัครงาน 200 ที่แต่ไม่มีใครเรียก

สมัยนี้อย่าเลือกงานมากเลย แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศ?  โดนกาหัวใบสมัครงาน เพราะไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย ตำแหน่งงานที่จะโปรโมตสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เธอไม่ใช่ผู้หญิง อย่ามาแสดงท่าทางตุ้งติ้ง หรือทำตัวเจ้าฮะให้เห็นตอนทำงานล่ะ ถกประเด็นโอกาสเข้าถึงงานของเพศหลากหลายกับ โกโก้-กวินตรา เทียมไสย์ ผู้หญิงข้ามเพศผู้เป็นนักวิจัยนโยบายให้กับองค์กรระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง พร้อมกับสร้างโปรเจกต์ She Can เพื่อฝึกทักษะและเตรียมพร้อมเยาวชนคนข้ามเพศให้เติบโตเป็นผู้นำในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากเธอเรียนจบปริญญาโทด้าน Gender Studies ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS University of London) ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก้าวชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ใครจะคิดว่าเธอเคยเป็นเด็กจบใหม่ที่ร่อนสมัครงานไปมากกว่า 200 ใบแต่กลับไม่มีใครเรียกไปสัมภาษณ์ จะว่าคุณสมบัติที่มีไม่เหมาะสมกับงานทั้งสองร้อยงานเลยก็คงไม่ใช่ เธอจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากเหตุแห่งเพศ เพราะสังคมไทยที่เป็นอยู่ไม่มีทั้งกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ ยังคงเหยียด เลือกปฏิบัติ และมอง LGBTQ+ ไม่เท่ากับคนอื่น ไหนว่าอย่าเลือกงาน แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศได้? เธอพร้อมแล้วที่จะถกประเด็นให้คุณได้รู้ งานเลือกเพศ งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทยปี 2561 จากธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคนที่ไม่ใช่ LGBTQ+ รวม 3,502 […]

“ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง ถ้าสังคมไม่ยอมรับ ประชาธิปไตยก็จอมปลอมต่อไป” อั้ม เนโกะ

บทความนี้มีประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง” 7 ประโยค เทียบไม่ได้กับประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” ที่พวกเธอทั่วโลกฟังมาตลอด เฉลี่ย 10 – 20 ปี ตั้งแต่จำความ ซึ่งคุณไม่สามารถนับนิ้วได้แน่นอนว่ากี่ครั้ง เพราะคงเกินแสนล้าน  “ทำไมไม่เคารพความเห็นที่แตกต่าง พวกเรามีสิทธิ์ไม่ยอมรับผู้หญิงข้ามเพศเป็นผู้หญิง มันคือเสรีภาพทางความคิด” สังคมชายเป็นใหญ่อ้างแบบนั้น ฮึ ขอสบถแด่เสรีภาพทางความคิดที่กำลังผลิตซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิงข้ามเพศ ตั้งแต่คำพูดที่ทำให้เจ็บปวด ขยายไปสู่การเลือกปฏิบัติในสังคม แผ่กว้างไปถึงการกีดกันทางกฎหมาย ถ้าเป็น ‘ไทย’ เข้าโรงเรียนก็ถูกบังคับสวมชุดไม่ตรงเพศสภาพ โตมาหน่อยถูกทำให้จนด้วยการกาหัวใบสมัครงานทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านความสามารถ แทบทุกเดือนต้องจ่ายสวัสดิการทางสุขภาพเองทั้งฮอร์โมนและค่าผ่าตัด ต่างจากฝรั่งเศส มอลตา แคนาดา และหลายประเทศแถบยุโรปที่การรักษาพยาบาลเหล่านี้ ‘ฟรี’ ไปให้สุดสำหรับประเทศนี้ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงข้ามเพศสักฉบับ ทั้งการเปลี่ยนคำนำหน้า การรับรองเพศสภาพในทะเบียนราษฎร์ หากถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ ก็ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้  ประโยคที่คุณพูดกันว่า “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” แน่นอน คุณมีสิทธิ์คิดได้ในใจ แต่คุณไม่มีสิทธิ์แผ่ขยายความอัปยศนี้จนทำให้ผู้หญิงข้ามเพศเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความรุนแรงและถูกฆ่าตายมากที่สุดใน ‘โลก’ และมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 35 ปี เพราะความรุนแรงทางเพศ สังคม เศรษฐกิจ และการไม่เข้าถึงการรักษาพยาบาล ที่ทำให้พวกเธอจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย (ข้อมูลจาก […]

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

บอล ธิติกรณ์ 20 ปี ‘คนหาโลเคชัน’ ผู้พลิกเมืองกาญจน์เป็นอินเดีย เนปาล ใน The Serpent

‘ตื่นเต้นว่ะ’ คำถามในสมุดที่จดไว้ตั้งแต่เมื่อคืน แบตสำรองชาร์จเต็มเพื่อกันเครื่องดับระหว่างอัดเสียง และความอิน The Serpent ซีรีส์ฆาตกรรมจากเรื่องจริง ว่าด้วยฆาตกรต่อเนื่องยุค 70 อย่าง ชาร์ล โสภราช aka อาแลง (แสดงโดย Tahar Rahim) และแฟนสาว มารี อังเดร aka โมนิค (แสดงโดย Jenna Coleman) คู่รักที่ฉาบหน้าเป็นเศรษฐีขายอัญมณี ช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาหาอิสระใน ‘ไทย’ แต่เบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งลงมือฆ่าพร้อมชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น ทั้งหมด พาฉันมายืนอยู่ใน Kanit House หรือ บ้านคณิต อะพาร์ตเมนต์เลขที่ 77/5 สถานที่หลักที่ทั้งคู่หลอกเหยื่อมาสร้างเวทีฆาตกรรม ซึ่งดูได้ใน Netflix ถ้าอิงเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 บ้านคณิตตั้งอยู่แถวศาลาแดง แต่หากอิงจากสถานที่ถ่ายทำของซีรีส์ปี 2021 สองเท้าที่กำลังสัมผัสพื้นบ้านเบลล่าวิน อะพาร์ตเมนต์เล็กๆ เกือบท้ายซอยสุขุมวิท 4 คือคำตอบ สระว่ายน้ำคุ้นตากลางอะพาร์ตเมนต์ในซีรีส์ ตอนนี้ไม่มีน้ำสักหยด มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรอกนะ แค่กลับไปเป็นแบบเดิมก่อนถ่ายทำ เพราะสระนี้ร้างมานานแล้ว! […]

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

เป็นผู้ใหญ่ก็ขอโทษเด็กได้ เมื่อการยอมรับผิดไม่ได้วัดจากช่วงวัย

ตั้งแต่เล็ก ฉันและคุณอีกจำนวนไม่ถ้วนถูกพร่ำสอนให้รู้จักขอโทษเสมอเมื่อทำผิด แต่ยิ่งเติบโต ยิ่งได้มองเห็นโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพบพานกับคนหลายช่วงวัย ฉันกลับพบบางแง่มุมที่บอกเป็นนัยว่า เมื่อโตเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว การขอโทษกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องพูดกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะไม่เอ่ยคำนี้ออกไปเพียงเพราะความคิดว่า ‘ฉันอายุมากกว่าเธอ’ “การที่ผู้ใหญ่ขอโทษเด็ก มันเป็นเรื่องน่าอับอายมากเลยเหรอครับ” “เด็กต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอ ทั้งๆ ที่คนผิดไม่ใช่เด็กเหรอครับ”“ทำไมคนไทยที่แก่กว่า ขอโทษคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ ไม่เป็น” นี่เป็นเพียงกระทู้ส่วนหนึ่งจาก pantip.com ที่ตั้งคำถามถึงการขอโทษไม่เป็นของผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคำตอบไหลเข้ามาในหลากแง่มุม บ้างถกประเด็น บ้างเห็นด้วย และบ้างก็สงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ใหญ่ถึงขอโทษเด็กไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ขอโทษเด็กได้ไหม – ชวนฟังทัศนะของ แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนดับเบิลซีไรต์จากสองวรรณกรรมเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ตามด้วยหนังสือเรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก และ ทะเลสาบน้ำตา เธอยังเป็นคุณแม่แห่งยุคสมัยที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ของแม่-ลูกซึ่งเต็มไปด้วยความต่างของช่วงวัย ชนชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นเด็ก “ประเทศไทยก็เหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ คือให้ความสำคัญกับวัยวุฒิ เช่นเดียวกับการมีลำดับขั้นชนชั้น” คำตอบของคำถามถึงต้นตอของความคิดที่ว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำไมการขอโทษเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ต้องทำก็ได้จากแหม่ม ก่อนเธออธิบายต่อว่า เมื่อวัยวุฒิและลำดับขั้นรวมตัวกัน มันก่อให้เกิดชนชั้นผู้ใหญ่ และชนชั้นเด็กที่มีเส้นกั้นไม่ให้เด็กเทียบเท่าผู้ใหญ่ได้ “เมื่อมีชนชั้น เด็กก็ล่วงละเมิดผู้ใหญ่ไม่ได้ และเพื่อดำรงชนชั้นนั้นไว้ ผู้ใหญ่จะไม่ถูกสอนให้ขอโทษเด็ก เพราะการขอโทษคือการยอมรับว่าผิด และเมื่อผู้ใหญ่ทำผิดบ้าง […]

‘ต้า Paradox’ ร็อกสตาร์แห่งวงการพระเครื่อง ผู้กำลังเขียนหนังสือพระฉบับเยาวชน

ย้อนกลับไปเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว กองบรรณาธิการ Urban Creature ได้ให้กำเนิดคอลัมน์ Another Me เพื่อเล่าอีกมุมของคนดังในแบบที่เราไม่รู้จักมาก่อน และประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากระหว่างการประชุม คือการค้นพบว่าชีวิตล่างเวทีของ ต้า พาราด็อกซ์ หรือ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นิยมชมชอบการส่องพระอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าการส่องพระ เล่นพระ จะเป็นงานอดิเรกของใครก็ได้ แต่เวลาไปดูคอนเสิร์ตพาราด็อกซ์ สิ่งที่เราเห็นคือความบ้าคลั่งในการแสดง และใส่กันไม่ยั้งทั้งคณะ ปลุกอารมณ์แฟนเพลงให้พลุ่งพล่านมากว่า 20 ปี จนแทบนึกไม่ออกว่าฟรอนต์แมนผู้สับสายกีตาร์อย่างเมามัน นั้นอยู่ในโหมดไหนในวงการพระ จะเป็นแนวนักเลงเก๋าๆ ห้อยพระเต็มคอ หรือเป็นเซียนพระมืออาชีพด้านการแลกเปลี่ยนทำกำไร  สารภาพตรงนี้ว่าเดาไม่ถูกจริงๆ จนต้องต่อสายถึงพี่ต้าในวันที่โลกข้างนอกยังไม่อนุญาตให้เราออกมาเจอกัน และขออนุญาตชวนคุณผู้อ่านที่ไล่สายตาถึงตรงนี้มารู้ไปพร้อมกันว่า จากยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย พี่ต้าของเราหันมายืนส่องพระหน้าแผงได้ยังไง  เดบิวต์เข้าวงการ ผมไม่แน่ใจนักว่านักดนตรีที่เดินทางทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยจะได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน ถ้าเป็นกรณีทั่วไปเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมนึกถึงของฝากประเภทของกิน เช่น โรตีสายไหมของอยุธยา ไส้อั่ว แคบหมูจากเชียงใหม่ ขนมหม้อแกงของบรรดาแม่กิม แต่ลองได้ชื่อว่าเป็นร็อกสตาร์ อะไรแบบนั้นคงธรรมดาไป  “ตั้งแต่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไปไหว้พระ แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก อาศัยว่าเจอวัดไหนก็เข้าวัดนั้น พระเครื่องเป็นของฝากที่รู้สึกว่าแปลกดี เพราะต้องไปให้ถึงวัด ไม่ใช่จะไปเช่าที่ไหนก็ได้ […]

นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำคนแรกๆ ผู้ถ่ายความมหัศจรรย์ใต้ทะเลตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม

ขอชวนคนบนฝั่งทุกคนเรียนรู้โลกใต้ทะเลแบบไม่ต้องเปิดตำราเล่มหนา ผ่านบทสนทนากับ นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำไทย

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

1 10 11 12 13 14 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.