Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ส่องกลยุทธ์ลดคาร์บอนของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อมุ่งสู่สายการบินที่ยั่งยืน

การสั่งสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คือตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้เอง หลายองค์กรจึงหันมาจริงจังกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ‘บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส’ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการ ‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ที่มาพร้อมกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ การบินแต่ละครั้งต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมากในการขับเคลื่อนเครื่องบิน ซึ่งโดยปกติแล้ว เชื้อเพลิงอากาศยานจะผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มี Carbon Footprint สูง เพื่อติดปีกสู่การเป็นสายการบินโลว์คาร์บอน บางกอกแอร์เวย์สจึงจับมือกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR มาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) SAF ที่บางกอกแอร์เวย์สใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) โดย SAF […]

‘Climate Migrants’ เมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป บีบบังคับให้คนต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อการอยู่รอด

วิกฤตโลกร้อนในตอนนี้เรียกได้ว่าก้าวเข้าสู่ภาวะโลกเดือดอย่างเต็มตัว จากกิจกรรมของมนุษย์ทุกคนที่ส่งผลกระทบให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนทำให้ในหลายพื้นที่ต้องหาทางรับมือให้ได้ และไม่ใช่แค่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่และภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องอพยพจากบ้านเดิมออกไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ เพราะผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้วย ออกจากบ้านเพื่อหลบไปตั้งหลักชั่วคราว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าปัจจุบัน สภาพอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนต้องบอกลาบ้านเก่าเพื่อหาที่อยู่ใหม่ภายในประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงกว่าเดิมหรือเกิดบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ หรือคลื่นความร้อน จนทำให้ผู้ประสบภัยต้องโยกย้ายถิ่นฐานออกไปตั้งหลักในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  เห็นได้ชัดจากรายงาน Global Report on Internal Displacement 2020 โดย Internal Displacement Monitoring Centre (IDMC) ที่ระบุว่า ในปี 2562 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นใหม่จากเหตุภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่า 24.9 ล้านคนใน 140 ประเทศและเขตการปกครองเลยทีเดียว ที่มีจำนวนมหาศาลขนาดนั้นเพราะภัยพิบัติเหล่านี้กระทบการใช้ชีวิตหลายส่วน ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ เศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ต้องเจอกับระบบนิเวศเสียหาย หรือกลุ่มชาวประมงที่ต้องเจอกับทะเลเป็นกรด จนไม่สามารถทำงานได้ เหล่าผู้ได้รับผลกระทบจึงต้องหาทางในการดำเนินชีวิตต่อ การย้ายถิ่นฐานชั่วคราวเพื่อการดำรงชีพเลยกลายเป็นทางเลือกของใครหลายคน รอจนเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่ที่จากมาเริ่มฟื้นฟูเป็นปกติ ถึงจะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิม จากการย้ายชั่วคราว อาจกลายเป็นถาวรในอนาคตอันใกล้ […]

Sustainable Coffee Project โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ที่ทำให้แค่การดื่มกาแฟแก้วเดียวก็ถือว่าช่วยโลกแล้ว

วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)’ เพื่อสร้างความตระหนักและตื่นตัวด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกให้กับทุกคน เพราะแค่เราเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมแล้ว ยิ่งในปีนี้ที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นจากภาวะโลกเดือด การรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่คู่เราไปนาน ๆ การเปลี่ยนแปลงจึงต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีอำนาจ ตัวเราเอง หรือกระทั่งผู้ประกอบการรายเล็กหรือใหญ่ ‘OR’ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ผ่านแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน หรือ OR SDG ด้วยการพัฒนา ‘โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Project)’ ที่มีส่วนช่วยทำให้การดื่มกาแฟเพียงหนึ่งแก้วจาก Café Amazon ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ และนำเสนอผ่านโฆษณา จุดเริ่มต้นของโอกาส บนช่องทางของ OR Official ว่าแต่ โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน จะช่วยให้การดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียวช่วยขับเคลื่อนสังคมได้อย่างไร Urban Creature ขอพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันในบทความนี้ ก่อนอื่นเราอยากพูดถึงความน่าสนใจของหนังโฆษณา ‘จุดเริ่มต้นของโอกาส’ ที่ชวนให้เราอยากติดตามต่อ กับการเปิดด้วยสองพ่อลูกใน Café Amazon ที่เพียงแค่คนพ่อยกกาแฟแบล็คคอฟฟี่ร้อนขึ้นดื่ม ทันใดนั้นฝุ่น PM […]

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

The Body Shop แบรนด์สกินแคร์สายกรีน ลมหายใจเฮือกสุดท้ายกับจิตวิญญาณที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องประทินผิวหลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการรณรงค์งดใช้กลิตเตอร์ผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดขยะไมโครพลาสติก หรือการยกเลิกการทารุณกรรมสัตว์จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องประทินผิวและเครื่องสำอาง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามีแบรนด์เครื่องประทินผิวแบรนด์หนึ่งที่ยึดมั่นและมุ่งมั่นทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมาก่อนกาล จนต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมทางธุรกิจ ล้มพับหน้าร้านในหลายประเทศทั่วโลกไป หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร The Body Shop ที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลังจากที่บริษัทประกาศล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2024 ทำให้ต้องปิดสาขากว่า 198 สาขาในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันในประเทศไทยก็ไม่มีสาขาเหลืออยู่แล้ว จะหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจความโปร่งใสเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น Urban Creature ขอพาไปสำรวจที่มาที่ไปของแบรนด์ที่เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจรักษ์โลกมาช้านาน และสิ่งที่พวกเขาพยายามขับเคลื่อนพร้อมกับการทำธุรกิจ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ล้มละลาย The Body Shop แบรนด์สกินแคร์ที่แคร์โลก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 ร้าน The Body Shop แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นริมถนนเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ โดย ‘แอนนิตา ร็อดดิก’ (Anita Roddick) ผู้ขับเคลื่อนวงการเครื่องสำอางในยุคนั้น แอนนิตามีแนวคิดที่อยากมอบทั้งความงามจากภายในสู่ภายนอก ไปพร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะเธอเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถเป็นแรงผลักดันไปสู่สิ่งดีๆ ได้ ภายใต้อุดมการณ์ ‘การค้าปลีกอย่างมีจริยธรรม’ (Ethical Retailing) ว่าด้วยการสร้างแบรนด์ที่เป็นธรรม ยึดถือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

‘ทีทีบี’ กับการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ผ่านปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ มุ่งสร้างตามกรอบ B+ESG

ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากขึ้น แนวคิดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ ที่ใส่ใจประเด็นนี้มาอย่างยาวนาน ได้ตอกย้ำในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิด ‘B+ESG’ ที่ผสมผสาน B (Business) เข้ากับ ESG (Environment, Social และ Governance) เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง นอกจากกลยุทธ์ B+ESG แล้ว ทีทีบียังทำงานภายใต้ปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ ล่าสุดได้สร้างสรรค์นำวัสดุรีไซเคิลมาต่อยอดผลิตของที่ระลึก เพื่อส่งมอบความสุขให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้งานได้จริง รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสังคมและโลกของเราน่าอยู่มากกว่าเดิม ประชากรมากขึ้นทำให้ขยะกลายเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอยู่ตลอด แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ยังคงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จนเกิดปัญหาตามมา คือขยะพลาสติก ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งในการทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณขยะทั้งหมด หรือมีประมาณ 12 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้มีประมาณ 0.5 […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

1 2 3 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.