‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

‘คบคนในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องน่ากลัว’ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน และไม่มีกฎตายตัว

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ออกจะดูไปในแนวคำขู่ ถึงอันตรายของการคบกับคนที่ทำงานในที่เดียวกัน ต้องเจอหน้ากันทุกวัน และอาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายหากรักไปไม่รอด เนื่องในเดือนแห่งความรักนี้ ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องราวที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง แต่ทำให้ใจฟูกันบ้าง นั่นคือ ‘ความรักที่เกิดในที่ทำงาน แล้วมันเวิร์ก สวยงาม และยาวนานยั่งยืน’ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับชายหนุ่มวัย 30 กลางๆ ขอเรียกเขาว่า ‘พี่บี’ แล้วกัน ตั้งแต่รู้จักกับเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ก็สัมผัสถึงความหอมหวานอบอุ่นของความรักระหว่างเขาและแฟน ซึ่งปัจจุบันคือภรรยาของเขา ที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด จากบทสนทนาในครั้งนี้ บอกเลยว่าเราได้อะไรกลับไปมากกว่าแค่เคล็ดลับการทะนุถนอมความรักในที่ทำงานเยอะเลย ถ้าความรักดี การได้อยู่กับคนรักเพิ่มขึ้นเท่ากับได้เวลาที่ดีเพิ่มขึ้น “ความรักในที่ทำงาน มันคือตัวคูณ ถ้ามันดี มันจะมีความสุขแบบทวีคูณ แต่ถ้ามันแย่ มันก็พังเป็นเท่าตัวด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มาเป็นเส้นแบ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ความรักหลงเดินไปในทางที่แย่คือ วุฒิภาวะของทั้งคู่” พี่บีเริ่มต้นบทสนทนาไว้อย่างนี้ และอธิบายเพิ่มว่า ในประเทศไทย เวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานนับเป็นประมาณ 40 กว่าชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้ามันดี ก็เท่ากับได้เวลาที่ดีที่ได้อยู่กับคนรักตั้ง 40 กว่าชั่วโมง แต่ถ้ามันแย่ เต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ น้อยใจ วุ่นวายใจ ฯลฯ แปลว่า 40 กว่าชั่วโมงนั้นจะเกิดการฝ่าฟันทรหดอยู่พอตัว “แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวเลย ว่าคบคนที่ทำงานต่างที่กันจะดีเสมอไป หรือคบคนที่ทำงานที่เดียวกันแล้วจะแย่เสมอไป” […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

รับมือหัวใจอันบอบบาง กับความเหงาในเมืองใหญ่

“คนเราต้องได้รับการกอดถึงสี่ครั้งต่อวัน เพื่อการมีชีวิตรอด” เวอร์จีเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir) นักจิตบำบัดครอบครัวชื่อดังคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ “และพวกเราก็ยังจำเป็นต้องได้รับการกอดถึงแปดครั้ง เพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ และการกอดถึงสิบสองครั้ง เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของเรา” โห…คุณเวอร์จีเนีย เอาแค่เบสิกการกอด 4 ครั้งของคุณยังยากเลย เพราะวันๆ นี้ แค่ทำงานให้ทันเดดไลน์เอย เตือนตัวเองให้หยุดทำงานแล้วมาทานข้าวบ้างเอย นั่งเฉาอยู่ในรถที่ติดหนึบเป็นชั่วโมงๆ เอย หลายชีวิตในเมืองกรุงแทบไม่มีเวลาหรือกะจิตกะใจจะมานั่งนับ ‘การกอด’ ในหนึ่งวันกันหรอก ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่เขาว่า ก็ไม่น่าแปลกใจที่ถึงหลายคนจะอยู่ในเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่านมากมายขนาดไหน ในใจลึกๆ ก็โดนแทรกซึมไปด้วยพลังแห่งความเหงาอยู่ดี ก่อนกลับมากรุงเทพฯ เมืองแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ฉันเคยอยู่ก็ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ หากใครเคยดูหนังเรื่อง LA LA LAND เมื่อหลายปีที่แล้ว คงเห็นว่าใครต่อใครจากเมืองหรือประเทศอื่น มักใฝ่ฝันอยากมาตามล่าหาฝันกันในเมืองแห่งนี้ เมืองที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเชื้อชาติ หลากศาสนา หลายความสามารถ ฯลฯ โดยเฉพาะอาชีพที่ดื่มด่ำอยู่ในแสงสีเสียงของวงการมายา ต่างก็มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ ฟังดูเหมือนเป็นเมืองแห่งความสนุกสนาน รื่นเริงในทุกหย่อมหญ้า แต่ภาพที่ฉันจำได้แม่นเลยคือ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ก็มักสัมผัสกลิ่นอายความเหงาจากใครบางคนที่นั่งอยู่ ไม่ว่าจะคนเดียวหรือกับเพื่อนฝูงเสมอ Connection-สายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง เมื่อนึกถึงเด็กๆ […]

ความสัมพันธ์ Ghosting ผีในสังคมดิจิทัล อยู่ดีๆ ก็หาย ตามไม่ตอบ เจ็บยิ่งกว่าถูกบอกเลิก

A : สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้คุณกำลังอยู่ในรายการ ‘Shock Urban Creature’ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสุดสยองขวัญของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกำลังสงสัยว่า คนที่คุยอยู่ตอนนี้เขาเป็น ‘คน’ หรือ ‘ผี’ กันแน่ อ๊ะๆ อ่านแล้วอย่าเพิ่งขนหัวลุก ขอชวนทุกท่านไปช่วยเธอหาคำตอบเรื่องนี้กันก่อนดีกว่า B : ฉันรู้จักเขาผ่านแอปฯ หาคู่ค่ะ ช่วงแรกๆ เราคุยกันดีนะคะ พอผ่านไปสัก 2 – 3 เดือน เขาก็เริ่มมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป ชวนไปเที่ยวก็พูดปัดๆ ว่าไม่เอาไม่อยากไป ให้เหตุผลว่าป่วยบ้างล่ะ เหนื่อยบ้างล่ะ เลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน  ที่สำคัญพอเราทักแชตไปก็เหมือนพูดอยู่คนเดียว รู้ว่าอ่านนะแต่ไม่เคยตอบ แถมหาตัวเขาก็ไม่เจอ ไปถามใครก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น เหมือนไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว พูดแล้วก็ขนลุกเลยค่ะ ล่าสุดที่คุยกัน เขาบอกว่าขอไปอาบน้ำก่อนนะ ตอนนี้ 3 เดือนแล้ว เขายังอาบน้ำไม่เสร็จเลยค่ะพี่ A : อะหรือ หรือ คุณ B คะ คุณกำลังโดนผีหลอกเข้าแล้ว! […]

‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

การเมือง โรคระบาด ความเหลื่อมล้ำ ทำผู้คนอยู่ในภาวะ ‘ไม่กล้ามีความสุข’

นาฬิกาปลุกเสียงคุ้นดังขึ้นยามเช้า บอกสัญญาณวันใหม่ วันก่อนเพิ่งตามข่าวการชุมนุมต่อต้านเผด็จการ เห็นภาพเจ้าหน้าที่ยิงประชาชน คนถูกทำร้าย แกนนำโดนจับ ขนานไปกับสถานการณ์โควิด-19 ผู้คนล้มตายข้างถนน ยอดติดเชื้อพุ่งสูงใกล้แตะสองหมื่น เตียงยังขาด วัคซีนยังพร่อง “นี่กูต้องขับเคลื่อนด้วยการด่าไปอีกนานเท่าไหร่” ฉันพลางคิดในหัวก่อนไถฟีดบนอินสตาแกรมแล้วพบว่าไอดอลเกาหลีที่รักอัปรูปใหม่ สองมือรีบกดแชร์ลงสตอรี่ไอจี และพิมพ์ข้อความ “โดยอง ฉันรักแก ขอบคุณที่ทำให้ยิ้มได้บ้าง แม้ประเทศจะโคตร…” (หยาบนิด เติมเอาเองนะ) ถ้าเป็นก่อนหน้า การหาความสุขใส่ตัวไปพร้อมๆ ขับเคลื่อนสังคม เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะกลัวคนอื่นมองว่าสถานการณ์แบบนี้ ‘ยังกล้ามีความสุขอีกเหรอ’ จนหลายครั้งเลือกเบนหน้าหนีความสุข ฉันเชื่อว่าไม่ใช่แค่ฉันที่เป็น แต่หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน แต่ที่จริง การเปล่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรม และตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม คือเครื่องสะท้อนความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันการเพิ่มพลังใจให้พร้อมต่อการใช้ชีวิต ก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะถ้าไม่มีพลัง…จะเอาแรงที่ไหนไปสู้ล่ะ  เหมือนที่ ฝ้าย-กันตพร สวนศิลป์พงศ์, น้ำผึ้ง-กิตินัดดา อิทธิวิทย์ และ กัญ-วรกัญ รัตนพันธ์ สามนักจิตวิทยาการปรึกษาจากศูนย์ให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา MASTERPEACE ผู้มีประสบการณ์ดูแลใจคนยุคโควิด-19 และยุครัฐบาลชุดนี้บอกกับฉันไว้ว่า ‘การหาความสุขเล็กๆ ใส่ตัวไปพร้อมๆ กับการใช้เสียงของตัวเองให้เป็นประโยชน์สามารถเดินไปคู่กันได้’ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราตอนนี้ส่งผลทำให้คนไม่กล้ามีความสุข เครียด หดหู่มากกว่าที่เคย […]

เป็นผู้ใหญ่ก็ขอโทษเด็กได้ เมื่อการยอมรับผิดไม่ได้วัดจากช่วงวัย

ตั้งแต่เล็ก ฉันและคุณอีกจำนวนไม่ถ้วนถูกพร่ำสอนให้รู้จักขอโทษเสมอเมื่อทำผิด แต่ยิ่งเติบโต ยิ่งได้มองเห็นโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพบพานกับคนหลายช่วงวัย ฉันกลับพบบางแง่มุมที่บอกเป็นนัยว่า เมื่อโตเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว การขอโทษกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องพูดกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะไม่เอ่ยคำนี้ออกไปเพียงเพราะความคิดว่า ‘ฉันอายุมากกว่าเธอ’ “การที่ผู้ใหญ่ขอโทษเด็ก มันเป็นเรื่องน่าอับอายมากเลยเหรอครับ” “เด็กต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอ ทั้งๆ ที่คนผิดไม่ใช่เด็กเหรอครับ”“ทำไมคนไทยที่แก่กว่า ขอโทษคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ ไม่เป็น” นี่เป็นเพียงกระทู้ส่วนหนึ่งจาก pantip.com ที่ตั้งคำถามถึงการขอโทษไม่เป็นของผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคำตอบไหลเข้ามาในหลากแง่มุม บ้างถกประเด็น บ้างเห็นด้วย และบ้างก็สงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ใหญ่ถึงขอโทษเด็กไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ขอโทษเด็กได้ไหม – ชวนฟังทัศนะของ แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนดับเบิลซีไรต์จากสองวรรณกรรมเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ตามด้วยหนังสือเรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก และ ทะเลสาบน้ำตา เธอยังเป็นคุณแม่แห่งยุคสมัยที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ของแม่-ลูกซึ่งเต็มไปด้วยความต่างของช่วงวัย ชนชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นเด็ก “ประเทศไทยก็เหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ คือให้ความสำคัญกับวัยวุฒิ เช่นเดียวกับการมีลำดับขั้นชนชั้น” คำตอบของคำถามถึงต้นตอของความคิดที่ว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำไมการขอโทษเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ต้องทำก็ได้จากแหม่ม ก่อนเธออธิบายต่อว่า เมื่อวัยวุฒิและลำดับขั้นรวมตัวกัน มันก่อให้เกิดชนชั้นผู้ใหญ่ และชนชั้นเด็กที่มีเส้นกั้นไม่ให้เด็กเทียบเท่าผู้ใหญ่ได้ “เมื่อมีชนชั้น เด็กก็ล่วงละเมิดผู้ใหญ่ไม่ได้ และเพื่อดำรงชนชั้นนั้นไว้ ผู้ใหญ่จะไม่ถูกสอนให้ขอโทษเด็ก เพราะการขอโทษคือการยอมรับว่าผิด และเมื่อผู้ใหญ่ทำผิดบ้าง […]

บ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน และความผูกพันระหว่างคุณกับคนในบ้าน

ช่วงที่ต้องอยู่บ้านติดต่อกันหลายวัน เพราะสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอยู่บนโลกนี้มาปีกว่าๆ (เมื่อไหร่แกจะไปสักที) ทำให้ความเหนื่อย ความท้อ ความเครียด พุ่งเข้ามาในหัวจนฟุ้งซ่าน บางทีก็รับบทนางจินตนาการล้ำเลิศ คิดเล่นๆ ว่า ร่างกายเรามีหัวปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่ เหมือนพวกสายไฟซ่อนอยู่ไหมเนี่ย หรือบ้านมีระบบบลูทูธส่งพลังมาให้ร่างกายได้บ้างไหม ถ้ามีจะได้รีบควานหาแล้วเสียบชาร์จและกดปุ่มรับพลังใจทันที เพราะตอนนี้รู้สึกหมดไฟจังเลย…เฮ้อ Home is empowering you สโลแกนสั้นๆ จากแคมเปญ 30×30 Home is empowering you ของ เอพี ไทยแลนด์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อว่าบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตให้คุณได้ จึงทำให้ฉันตั้งคำถามกับทุกห้องในบ้านตั้งแต่ห้องน้ำ ครัว ห้องนอน สวน ห้องนั่งเล่น และระเบียง ว่ามันมีพลังอะไรช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้างไหม  สรุป มีจริง! แถมเป็นกิจกรรมเบสิกที่ไม่คิดว่าพิเศษขนาดนี้ ทั้งร้องเพลงในห้องน้ำช่วยคลายกังวล ทำสวนช่วยกระชับความสัมพันธ์ รดน้ำต้นไม้ริมระเบียงลดความเครียด เม้ากันระหว่างกินข้าวเพิ่มความสนิทสนมและแชร์เรื่องราวดีๆ ให้คนที่รักฟังก่อนนอนทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย และกิจกรรมพิเศษที่เอพี ร่วมกับ 30 illustrators นั้นอบอุ่นและพิเศษอย่างไร เราจะพาคุณไปตามหาแรงบันดาลใจจาก 6 […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.