กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”

“เราอาจไม่ได้ไปต่อ”  พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287  ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน  ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’  ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

ลำกระโดงสโมสร คลับคนแม่กลองที่จะพาไปรู้จักและใกล้ชิดเมืองแม่กลองผ่านลำน้ำและการพาย

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันเดียวกับที่กรมอุตุฯ ประกาศว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว อากาศยามเย็นของแม่กลองพอจะกล่าวได้ว่าเย็นสบาย มีสายลมอ่อนโบกโบยเป็นระยะ และฝนเจ้ากรรมทำท่าว่าจะยังไม่หนีหายไปไหน ส่อเค้าลางเป็นเมฆสีดำที่ลอยอยู่ไกลๆ และเรดาร์น้ำฝนจากแอปพลิเคชันก็การันตีเลยว่าราตรีนี้ไม่รอดแน่  “โห กำลังมาเลย” ก๊อก-กึกก้อง เสือดี ชายหนุ่มเจ้าของคลับลำกระโดงสโมสรกล่าวก่อนเดินไปที่ท่าน้ำของ อบต.แหลมใหญ่ เพื่อยกเรือคายัคสีสดลงจากหลังคารถเอสยูวี ก่อนจะอธิบายทีมงานผู้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับการคมนาคมทางน้ำที่คราวนี้ต้องรับบทเป็นฝีพายถึงเทคนิคในการพายเรือให้ได้แรงดี กฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน พร้อมอธิบายเส้นทางคร่าวๆ ให้ฟัง เริ่มต้นด้วยเลาะไปตามท่าเรือที่สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยเรือหาปลาลำใหญ่ ต้านทางน้ำขึ้นดูประวัติศาสตร์ชุมชนแม่กลอง หยุดอยู่ริมฝั่งนั่งบนเรือเพื่อขอผูกมิตรกับหิ่งห้อยที่วิบวับราวกับแสงไฟจากงานเทศกาล ก่อนจะไหลตามสายน้ำกลับสู่จุดเริ่มต้น ทั้งหมดนี้คือน้ำจิ้มจากลำกระโดงสโมสรที่เราจะได้เจอกันในวันนี้  “เราอธิบายความเป็นแม่กลองจากการพายเรือร่วมกัน วันนี้เรามาที่แหลมใหญ่ก็เลยชวนเป้ (ชาวแม่กลองอดีตนักกีฬาคายัคที่วันนี้เป็นไกด์กิตติมศักดิ์) มาด้วย อยากให้เป้ได้เห็นศักยภาพของบ้านตัวเองว่าเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เขามีนะ (ยิ้ม) มันเป็นโอกาส เป็นอนาคต แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรจากสิ่งที่เรามีอยู่ เราจะพามันไปด้วยได้อย่างไร” ตะวันทำท่าจะคล้อยต่ำ เรากระชับเสื้อชูชีพสีส้มก้าวลงบันไดอย่างมั่นคง แล้วขึ้นเรืออย่างโคลงเคลงตามประสาคนไม่คุ้นเคย เมื่อจำนวนสมาชิกครบถ้วนไม้พายก็เริ่มออกแรงต้านสู้กับสายน้ำ เรือคายัคทั้งแบบสมัครเล่น มืออาชีพ และกระดานซัปบอร์ดไหลไปข้างหน้าทีละนิด เมื่ออยู่ติดผิวน้ำเรือแต่ละลำใหญ่ขึ้นถนัดตา และหนึ่งวันกับลำกระโดงสโมสรก็เริ่มต้นขึ้น… 01 ปฐมบทลำกระโดง เราเดินทางกันอย่างไม่เร่งรีบ เสียงพายกระทบน้ำ ควบคู่ไปกับเสียงสนทนาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของผู้มาเยือน หากฟังจากที่พี่ก๊อกเล่า เรารู้สึกได้ว่าแม่กลองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Active Citizen ที่พยายามทำสิ่งที่ตัวเองถนัดในการพัฒนาให้เมืองดีขึ้น แน่นอนว่าลำกระโดงสโมสรก็เป็นหนึ่งในนั้น  “แม่กลองเรามีฐานเป็นคนขับเคลื่อนเมืองอยู่แล้ว […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

1 7 8 9 10 11 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.