Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี

เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

หยุดวงจร Sextortion บนโลกออนไลน์ด้วยความสงสัย เอะใจเมื่อไหร่ ปลอดภัยเมื่อนั้น

ภัยจากโลกออนไลน์อาจใกล้ตัวกว่าที่เราคิด แม้จะผ่านวันส่งเสริมความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตแห่งชาติ หรือ Thailand Safer Internet Day มาแล้วในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่ไม่ว่าวันไหน เราต่างก็พบเจอภัยบนโลกออนไลน์ได้เสมอ เพราะยิ่งมีอัตราการใช้งาน Online Platform สูงมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งพบว่ามีรายงานการเกิดภัยคุกคามทางเพศออนไลน์สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ทำให้แม้เราจะคุ้นเคยกับการใช้งาน Online มากแค่ไหน แต่ในขณะเดียวกันก็ควรต้องมีสติ อย่ารีบไว้ใจ และสงสัยไว้ก่อนเสมอ และเพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก ทาง UNICEF มีความตั้งใจจะทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักที่ช่วยแบ่งปันความรู้การใช้อินเทอร์เน็ตให้ทุกคนได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ เพราะหลายครั้ง การไม่สงสัยอาจนำไปสู่การเป็นภัยคุกคามทางเพศออนไลน์ที่เรียกว่า ‘Sextortion’ ได้ เนื่องจากคนร้ายที่อาจเป็นใครก็ได้ ล้วนมีสารพัดวิธีในการล่อลวงให้เราทำตาม #สงสัยไว้ก่อน ปลอดภัยมากขึ้น หลายคนอาจมองว่า ‘การขู่กรรโชกทางเพศ’ หรือ ‘Sextortion’ เป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด เพราะคนร้ายอาจเป็นใครก็ได้ และมีสารพัดวิธีในการเข้าหาเรา นอกจากนี้ การกระทำใดๆ ของเราบนโลกออนไลน์ ทั้งการค้นหา โพสต์ อัปโหลด แชร์ หรือแม้กระทั่งการคลิกถูกใจบนโซเชียลมีเดีย ก็ถือเป็นการสร้าง ‘รอยเท้าดิจิทัล’ (Digital Footprint) […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน

“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

แวะคาเฟ่ เดินดูฝาท่อ ตะลุยตลาด นั่งเรือไฟฟ้าคลองผดุงฯ ชมวิถีชีวิตย่านเก่า แวะท่องเที่ยวเลียบคลองแบบ Low Carbon

การเดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ นับว่าสะดวกสบายเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับต่างจังหวัด เพราะนอกจากขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้าที่พาเราไปยังสถานที่ต่างๆ แล้ว ก็ยังมีขนส่งสาธารณะอีกประเภทที่พาเราเดินทางบนผิวน้ำลำคลองอย่าง ‘เรือ’ ด้วย เรือขนส่งในกรุงเทพฯ มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือหางยาว เรือเจ้าพระยา หรือแม้กระทั่ง ‘เรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์’ ที่ ‘คลองผดุงกรุงเกษม’ ก็มีให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง ชวนให้ชาวเมืองได้ออกไปสนุกกับการสัมผัสวิถีชีวิต ‘เลียบคลองผดุงกรุงเกษม’ ผ่านการท่องเที่ยวแบบลดการปล่อยมลพิษทางน้ำและอากาศ สุดสัปดาห์นี้ ใครกำลังมองหาที่เที่ยวอยู่แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนไปล่องเรือไฟฟ้าแบบ Low Carbon ที่คลองผดุงกรุงเกษม เปิดรูต One Day Trip พร้อมแวะพักผ่อนท่องเที่ยวชิลๆ กับ 3 ตลาด 3 คาเฟ่ตลอดทั้งเส้นทางล่องเรือกัน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เลียบคลองผดุงกรุงเกษม มีต้นสายที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่ท่าเรือตลาดเทวราช รวมทั้งสิ้น 11 ท่าเรือ ประกอบด้วยท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง, ท่าเรือหัวลำโพง, ท่าเรือนพวงศ์, ท่าเรือยศเส, ท่าเรือกระทรวงพลังงาน, ท่าเรือแยกหลานหลวง, ท่าเรือนครสวรรค์, ท่าเรือราชดำเนินนอก, ท่าเรือประชาธิปไตย, ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือตลาดเทวราช ในระยะทาง […]

Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

1 2 3 4 5 6 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.