
Green Insight
เจาะลึก ตีแผ่ ประเด็นสิ่งแวดล้อมทั้งในไทยและทั่วโลก
8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน
คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]
ดอกไม้จากธรรมชาติ อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอไป
‘ดอกไม้’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท จึงมักถูกนำมาใช้ในโอกาสสำคัญและเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี แสดงความรัก ให้เป็นของขวัญ หรือแม้แต่การมูเตลูเองก็ต้องใช้ดอกไม้ในการกราบไหว้ขอพรด้วยเหมือนกัน แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ดอกไม้แสนสวยเหล่านี้คือตัวการที่ทั้งสร้างขยะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถึงแม้ว่าผลผลิตจากธรรมชาติเหล่านี้จะย่อยสลายกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง แต่กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายนั้น ทั้งดอกไม้และขยะจากดอกไม้กลับสร้างมลพิษที่ค่อยๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม ดอกไม้สร้างมลพิษ ในบางภูมิประเทศไม่สามารถปลูกดอกไม้บางประเภทได้ ทำให้ต้องอาศัยการขนส่งดอกไม้ทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในกระบวนการขนย้ายนั้นจำเป็นต้องใช้การทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของดอกไม้เอาไว้ แม้ว่าตัวดอกไม้จะไม่ได้ปล่อยมลพิษออกมาโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นพาหนะอย่างเครื่องบิน รถยนต์ หรือเครื่องทำความเย็นจากการขนส่งนั้น ต่างก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกมา ไม่ใช่แค่การขนส่งดอกไม้ข้ามพื้นที่เท่านั้นที่ปล่อยของเสียซึ่งไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การสะสมของดอกไม้สดที่รอวันย่อยสลายเอง เมื่อถูกทับถมกันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นขยะอินทรีย์นั้น ก็ยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว หรือในประเทศอินเดียที่มักใช้ดอกไม้ในการสักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ดอกไม้ที่นำไปบูชาไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ สุดท้ายจึงถูกนำไปคืนสู่ธรรมชาติด้วยการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ โดยที่เราไม่รู้เลยว่าในดอกไม้แต่ละดอกนั้นมียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้างอยู่มากเท่าไหร่ และสารเคมีเหล่านั้นจะแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่ผู้คนนำน้ำมาใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย เปลี่ยนขยะจากดอกไม้ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง การจะห้ามใช้ดอกไม้เพื่อลดการสร้างขยะอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีวิธีลดขยะดอกไม้ลงได้บ้าง ก็อาจจะช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีธุรกิจที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของดอกไม้ไปพร้อมๆ กับการหาทางแก้ไขปัญหาขยะดอกไม้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนดอกไม้ที่ดูเหมือนจะนำไปใช้งานต่อไม่ได้แล้วให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อย่างในประเทศอินเดียที่ในแต่ละปีมีจำนวนดอกไม้หลายล้านตันจากการบูชาเทพเจ้า และกลายเป็นมลพิษทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็มีธุรกิจอย่าง ‘Phool.co’ ที่นำขยะดอกไม้เหล่านั้นมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นธูปหอม กระดาษ และสีน้ำ ทำให้ช่วยลดดอกไม้ที่กำลังจะถูกทิ้งไปได้ในปริมาณมาก และยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพได้ด้วย หรือในประเทศไทยเองก็มีร้านดอกไม้อย่าง ‘Flower in […]
Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้
ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]
ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ช่วยสร้างสมดุลชีวิตคนทำงานและลดการใช้พลังงานได้จริง
เมื่อปีที่แล้วฝั่งยุโรปเผชิญปัญหาอากาศที่ร้อนจัดกว่าปกติ ทางฝั่งปากีสถานเจอฝนตกหนักจนน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ มองไปที่ธารน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกก็ก่อตัวในระดับต่ำกว่าที่เคยมีมา รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศหรือมลพิษต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงานและทรัพยากรของเราทุกคน นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus องค์กรสังเกตการณ์ความเป็นไปด้านธรรมชาติของโลก บอกว่า ‘โลกร้อนไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันคือปัญหาในปัจจุบัน’ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความท้าทายให้เราทุกคนในฐานะประชากรโลก เพื่อหาวิธีรับมือ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่นำไปสู่ความยั่งยืนให้ได้มากยิ่งขึ้น ในหลายอุตสาหกรรมต่างตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดตามวาระที่กำหนด อีกหลายภาคส่วนก็พยายามรณรงค์ลดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีการหาแนวทางการแก้ปัญหาโลกร้อนนี้กันอีกมากมายหลายวิธี คอลัมน์ Green Insight อยากพาไปดูอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ นั่นคือ การลดเวลาการทำงานให้เหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ สิ่งนี้จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน ลดเวลางาน เพิ่มเวลาชีวิตให้คนทำงาน ช่วงโควิดที่ผ่านมา รูปแบบการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และในช่วงเวลาวิกฤตของโรคระบาดก็ทำให้เห็นแล้วว่า ‘การทำงาน’ ได้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางอื่นๆ เช่นกัน 4 Day Week Global กลุ่มองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยบอสตันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าและวิจัยการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จนกลายเป็นต้นแบบของการทำงานรูปแบบใหม่กับหลายประเทศทั่วโลก หลังจากการทดลองครั้งแรกในสหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ และพบว่าการทำงาน 4 […]
ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม
อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]
Deinfluencer เทรนด์รีวิวสินค้าและโฆษณาที่จริงใจ เพื่อไม่ทำให้ใครตกเป็นทาสการตลาด
‘อินฟลูเอนเซอร์’ (Influencer) ถูกนิยามว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่โซเชียลมีเดียครองโลก เพราะเมื่อใดก็ตามที่บรรดาอินฟลูฯ สร้างคอนเทนต์ พูดถึงสิ่งต่างๆ หรือยกย่องสิ่งใดๆ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อสาวกหรือผู้ติดตามอย่างแน่นอน ยิ่งกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อการรีวิวหรือโฆษณาสินค้าทั้งหลาย ย่อมมีส่วนทำให้การมองเห็นหรือการเข้าถึงสินค้านั้นๆ มีมากยิ่งขึ้น The Influencer Marketing Benchmark Report 2023 ได้ทำการสำรวจผู้คนทั่วโลก ทั้งจากแบรนด์สินค้าที่นิยมใช้อินฟลูเอนเซอร์มาเป็นพรีเซนเตอร์ เหล่าบริษัทเอเจนซี และหลากหลายหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตในมูลค่า Influencer Marketing ของสหรัฐอเมริกา จากในปี 2016 มีมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ เคลื่อนสูงถึง 16.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 และคาดว่าจะขยับเพิ่มเป็น 21.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 อันดับหนึ่งของการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คือ ‘แฟชั่นและความงาม’ รองมาคือ ‘เกม’ ตามด้วย ‘การท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์’ อีกลำดับเป็น ‘กีฬา’ ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าปีที่แล้วถึงสามเท่า ส่วนต่อมาเป็นเรื่อง ‘ครอบครัวและบ้าน’ ต่อด้วย ‘สุขภาพ’ และ ‘อื่นๆ’ โดยโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่มักจะพบเจอเหล่าอินฟลูเอนเซอร์คือ TikTok, […]
การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม
รายงานประจำปี 2021 ของ thredUP แพลตฟอร์มตัวกลางออนไลน์สำหรับซื้อขายเสื้อผ้ามือสองคุณภาพสูง พบว่า ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี (2021 – 2022) ตลาดเสื้อผ้ามือสองเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะขยายตัวจนมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ (7 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 การคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจการซื้อสินค้ามือสองมากขึ้น และตัวเลขเหล่านี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ อันเป็นผลมาจากการตระหนักรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าตามกระแส (Fast Fashion) และปัญหาสิ่งแวดล้อม ทว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดมือสองในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ อาจไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูอีกแง่มุมหนึ่งของตลาดสินค้ามือสองที่หลายครั้งอาจไม่ได้กรีน แต่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอยู่ คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้เทรนด์การซื้อสินค้ามือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่หลังจากธุรกิจขายของออนไลน์เติบโตขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ฐานลูกค้าสินค้ามือสองที่แต่เดิมมีเพียงส่วนน้อย เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์มาแรงของผู้คนทั่วโลก โดยผลสำรวจจาก GlobalData 2022 พบว่า ตลาดมือสองในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตลาดที่เติบโตขึ้นจากการประมาณการเติบโตถึง 8 เท่าในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าโดยทั่วไปในท้องตลาด รองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรปตามลำดับ […]
7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต
ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องรอบตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม อีกประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจสุดๆ คือ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตโลกรวน เพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องความยั่งยืนจึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แทบทุกอุตสาหกรรมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดถึง ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ เองก็พยายามชูนโยบายสีเขียวและใส่ดีเอ็นเอความยั่งยืนในมิติต่างๆ ให้บริษัทของตัวเอง ทั้งแง่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปทำความเข้าใจเรื่อง ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ แบบเจาะลึกมากขึ้นผ่าน 7 คำศัพท์ที่กำลังมาแรงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบเขตเชิงระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบทุนนิยมและการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายทำให้วงจรความยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในสังคมของเรา 01 | Eco-district เพราะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ส่วนรวมควรรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘Eco-district’ หรือ ‘เขตเชิงระบบนิเวศ’ ซึ่งหมายถึงการกำหนดวางแผนผังเมือง เพื่อรวบรวมเป้าหมายเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงลดผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวเมือง และภูมิภาคให้น้อยลงด้วย มากไปกว่านั้น Eco-district ยังโฟกัสที่การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย […]
‘อุตสาหกรรม K-POP กับปัญหาขยะพลาสติก’ เมื่อความรักไอดอลเกาหลีไม่ได้มาพร้อมกับการรักษ์โลก
ในขณะที่วัฒนธรรมการฟังเพลงเปลี่ยนผ่านจากการฟังแบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่แค่ปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงเสียงเพลงบนโลกออนไลน์ได้เป็นล้านล้านเพลง แต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งอเมริกา (RIAA) กลับรายงานว่า ชาวอเมริกันซื้อซีดีเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2020 เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นครั้งแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องมานานถึง 17 ปี การเพิ่มขึ้นของตลาดซีดีในอเมริกาหลังจากซบเซามานานนั้นมีเหตุผลหลายประการ แต่จากข้อมูลใน Billboard พบว่า การออกอัลบั้มของวง BTS ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดขายแผ่นซีดีกระโดดขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากการจำหน่ายอัลบั้มของ Adele และ Taylor Swift ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลีมีความแตกต่างจากชาติอื่นๆ โดยมี ‘Physical Album หรือ อัลบั้มแบบจับต้องได้’ เป็นจุดร่วม ผ่านการสร้างเงื่อนไขของอุตสาหกรรมเคป็อปที่ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายอัลบั้มในปริมาณมากๆ จากปกติที่เวลาชอบศิลปินคนไหน เราก็มักสนับสนุนด้วยการซื้ออัลบั้มของเขาสัก 1 – 2 อัลบั้มเพื่อเก็บสะสม ทว่าเมื่อเป็นศิลปินเคป็อปเมื่อไหร่ การที่แฟนคลับคนเดียวซื้ออัลบั้มถึงหลักร้อยก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย เนื่องจากมีคัลเจอร์แฟนด้อมที่เหนียวแน่นมากๆ กับสิทธิพิเศษที่จะตามมาเป็นเหตุผลรองรับ แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดกลุ่มคนที่ออกมารณรงค์ถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการซื้อ-ขายอัลบั้มที่มากเกินความจำเป็นของอุตสาหกรรมเคป็อปอย่างหนัก จนตัวค่ายและศิลปินเองต้องออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวการหลักในการผลิตขยะพลาสติก ในปัจจุบัน ปริมาณขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐบาลในประเทศเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่หลายประเทศกำลังรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ระหว่างปี […]
District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้น สิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด […]
Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน
ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]
จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์
โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้ ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]