ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จัก ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’

นัดเพื่อนเก่ากินข้าวว่ายากแล้ว นัดไปเดินสำรวจเมืองด้วยกันคงเป็นเรื่องยากกว่า งั้นจะง่ายกว่าไหม ถ้าเราลองไปเดินดูเมืองกับเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยพบหน้าค่าตามาก่อน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วม ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’ ที่มีคอนเซปต์เก๋ไก๋ด้วยการพาไปพบเจอเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน กิจกรรมนี้เกิดจากการจับมือกันระหว่าง ‘ไอแอลไอยู’ และ ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เพิ่งจบไป เกิดเป็นทริปในรูปแบบ ‘Self-guided Tour Manual’ หรือการเดินเที่ยวเองตามคู่มือโดยไม่มีไกด์นำทัวร์ เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้คนที่ชอบท่องเที่ยวให้ลองซอกแซกเข้าซอยนู้น โผล่ซอยนี้ได้อย่างอิสระ ไปพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมทางแปลกหน้า รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา ทำให้ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ จากเดิมที่มีเพียงการสุ่มสถานที่เท่านั้น กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชัน 2.0 โดยเพิ่ม 4 เส้นทางตัวแทนเรื่องราวในย่าน ไม่ว่าจะเป็น Nameless Street Food เส้นทางนักกิน, Back to the 90s เส้นทางบันเทิง, Caffeine Calling เส้นทางกาแฟ และ History Nerds เส้นทางประวัติศาสตร์ ในครั้งนี้เราและเพื่อนใหม่ถูกสุ่มให้เจาะเวลาเดินทางย้อนไปในเส้นทาง History Nerds […]

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

สำรวจบทเพลงอมตะตลอดกาล ‘The Moon Represents My Heart’ ผ่านเรื่องราวของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ พระจันทร์แทนใจที่ไม่เคยหายไป

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน (Lunar New Year) วันขึ้นปีใหม่จีนตามปฏิทินจันทรคติ หนึ่งในเทศกาลสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากทั่วทุกมุมโลกออกมาร่วมกันเฉลิมฉลอง ถ้าไม่นับรวมเพลง ‘หมวยนี่คะ’ จาก China Dolls ศิลปินดูโอชาวไทย ที่มีเนื้อร้องติดหูจนคนต้องเผลอร้องตาม มั่นใจเลยว่าเพลงจีนที่หลายคนได้ยินในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเพลง ‘The Moon Represents My Heart’ หรือ ‘พระจันทร์แทนใจฉัน’ เพลงนี้เป็นบทเพลงอมตะในตำนานของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ (邓丽筠) บุคคลผู้ได้รับสมญานามว่า ‘ราชินีแห่งเพลงเอเชีย’ นักร้องชาวไต้หวันที่มักมาพร้อมกับแนวเพลงป็อปแมนดาริน (Mandopop) ด้วยเทคนิคการใช้เสียงร้องที่แผ่วเบาแต่หวานปานน้ำผึ้ง เติ้ง ลี่จวิน ถือเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากช่วงปี 1970 – 1990 และเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับประเทศแถบเอเชีย จนบางเพลงของเธอถูกนำไปถ่ายทอดด้วยภาษาต่างประเทศถึง 7 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน แมนดาริน กวางตุ้ง ญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย หรืออังกฤษ และแม้ว่าบางบทเพลงจะไม่มีคำร้องภาษาไทย แต่เสียงของเธอก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยไม่ต่างกัน ขนาดผ่านมาเกือบ 30 ปี […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

นวัตกรรมการออกแบบพื้นที่ ที่สร้างประสาทสัมผัสทั้ง 4 เพื่อชีวิตที่อยู่ดีมีสุข จากเอพี ไทยแลนด์

นิทรรศการ LIVE WELL SPACE by AP THAILAND เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ผู้คนให้ความสนใจกันอย่างคึกคัก ในงาน BKKDW 2024 ที่ผ่านมา ด้วยแนวคิดการออกแบบพื้นที่ ที่มอบประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งรูป สัมผัส กลิ่น และเสียง ให้ผู้ร่วมงานทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น นวัตกรรมที่เรียกว่า Biophilic Design ที่เชื่อมต่อธรรมชาติอย่างแสง ลม พืชพรรณสีเขียวมาใกล้ตัวเรา หรือจะเป็นนวัตกรรม Micro Greenscape ที่จัดสวนสีเขียวบนพื้นที่เล็กๆ ที่อิงกับสถานที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรม New Universal Design ที่ออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับทุกคน รวมถึงมีพื้นที่ Pet Parking สำหรับน้องๆ สัตว์เลี้ยงด้วย ยังไม่นับรวมนวัตกรรมการออกแบบพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย เพราะเอพีเชื่อว่าพื้นที่ที่ดีนั้น นอกจากที่ตาเห็นแล้ว ควรเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเพื่อมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ งาน BKKDW 2024 ได้ปิดฉากลงไปแล้ว เราขอใช้โอกาสนี้เก็บภาพบรรยากาศและสรุปสิ่งที่เราชอบเป็นพิเศษใน LIVE WELL SPACE […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

จับรถไปเดินชม Bangkok Design Week 2024 กับกิจกรรมไฮไลต์ 4 ย่านในหนึ่งวัน

สองวันสุดท้ายกับ ‘Bangkok Design Week 2024’ เทศกาลงานออกแบบประจำปีของชาวกรุงเทพฯ ที่ชวนให้เราได้ออกจากบ้านไปเดินชมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง ภายใต้คอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ปีนี้ Bangkok Design Week ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, เยาวราช, หัวลำโพง, อารีย์-ประดิพัทธ์, บางโพ-เกียกกาย, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู, เกษตรฯ-บางบัว, พร้อมพงษ์, สยาม-ราชเทวี, บางกอกใหญ่-วังเดิม, พระโขนง-บางนา, บางมด และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ กับ 500 โปรแกรมที่ต่างหยิบยกของดีประจำย่านมานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะไปจอยน์งานนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้ง แต่ใครที่ยังอยากไปอีก หรือใครที่กำลังเล็งว่าจะไปย่านไหนดี Urban Creature ขออาสานำเส้นทางเดินเที่ยวงาน BKKDW 2024 ในหนึ่งวัน พร้อมกับกิจกรรมไฮไลต์ที่ห้ามพลาดจาก 4 ย่านยอดฮิตอย่างเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, ปากคลองตลาด […]

1 4 5 6 7 8 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.