เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

‘เบียร์เป็นมากกว่าความมึนเมา’ อ่าน Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์

ย้อนกลับไปในวัยของนักดื่มผู้ไร้เดียงสา วันนั้นเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนจะจับกลุ่มรวมกันเพื่อสังสรรค์และกระทำการรื่นเริง อาหารและกับแกล้มคือสิ่งที่ต้องมี ส่วนที่ขาดไปไม่ได้เลยในปาร์ตี้ก็คือ ‘เบียร์’ (จำนวนหลายลัง) และวันนั้นไม่ว่าจะดื่มไปเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดสิ้น ยิ่งกินยิ่งสนุก บางคนเสียงดังขึ้น บ้างเริ่มหยอกล้อเพื่อนด้วยการตบหัว กระแทกไหล่ หรือบางคนก็เริ่มพูดความจริงในใจออกมา ส่วนใครบางคนเช่นเรา เมื่อดื่มด้วย กินด้วย เวลาผ่านไปทุกอย่างก็พวยพุ่งออกมาเป็นเศษซากเนื้อย่างจำนวนมหาศาล ทุกครั้งที่ร่างกระตุกเกร็งเพื่อขย้อนของที่กินออก การนอนเล่นอ้วกแบบนั้นเป็นความรู้สึกที่แสนทรมาน และเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาความแฮงก็ตามมาราวีจวบจนครึ่งค่อนวันก็ยังไม่หายดี  เมื่อเติบโตมีการงานและทำเงินได้มากขึ้น เราจึงได้รู้ว่าเบียร์ที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำในหมู่บ้านที่เคยดื่มด่ำเมื่อวันวานเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของประเภทเบียร์บนดาวดวงนี้ และคำกล่าวที่บอกว่า ‘กินอะไรก็เมาเหมือนกัน’ เป็นความจริงแบบหนึ่ง ทว่าเราสามารถออกแบบความเมาและรับรู้ความเมาได้ เมื่อเราพบประเภทและรสชาติเบียร์ที่ต่างออกไปจากสองสามยี่ห้อที่พบเจอเป็นปกติของระบบทุนผูกขาด ปัจจุบันเสรีภาพในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขยายขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น มีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่ม มีการต่อสู้เรียกร้อง มีเทศกาลงานเบียร์และสุราให้เลือกดื่มด่ำกับรสชาติแปลกใหม่ รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้ชื่นชอบการดื่มได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป  คอลัมน์ อ่านอะไร ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนังสือ ‘Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์’ ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในรอบสิบปีของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ นักเขียนผู้ลุ่มหลงในรสชาติเบียร์ที่ตระเวนชิมไปทุกสารทิศทั่วโลก ซึ่งเราคิดว่านี่คือคัมภีร์หรือคู่มือที่เหมาะยิ่งแก่การเปิดอ่านประกอบการดื่มด่ำนานารสชาติ  “ทุกครั้งที่ดมกลิ่น จิบรส และดื่ม เราเอาวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์ของเบียร์เข้าไปในกระแสเลือดด้วย” คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดและเราเองก็คิดเห็นเช่นนั้นไม่ต่างกัน ขอชวนพลิกหน้ากระดาษพร้อมจิบเบาๆ ท่องไปในความสุนทรีย์แห่งเบียร์กับหนังสือเล่มนี้กัน Writer’s Tasteดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

ผจญภัยและสำรวจความหมายของความรักอีกครั้งกับ ‘นกก้อนหิน’ โดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’

ย่ำสนธยาวันนั้นฟ้าสีสวย นกหลายฝูงกำลังบินกลับรัง เบื้องหน้าภูเขาสูงซ้อนกัน ดวงจันทร์กลมโตลอยเด่นในวันพระใหญ่  “ความงามทั้งหลายที่เราเห็นต่างบันทึกกันคนละแบบ ช่างภาพลั่นชัตเตอร์ จิตรกรละเลงสีบนเฟรมผ้าใบ ศิลปินบรรเลงเป็นบทเพลง และนักเขียนบันทึกผ่านตัวอักษร”  เรานึกถึงประโยคนี้อีกครั้งยามสามนาฬิกา หลังปิดหน้าสุดท้ายของ ‘นกก้อนหิน’ ที่เขียนโดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’ นวนิยายแอ็กชันลุ้นระทึกที่เคลือบด้วยเรื่องรักแสนโรแมนติก นกก้อนหิน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์วงกลม ในปี 2552 อีกสามปีถัดมาพิมพ์ครั้งที่สองโดยสำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ และในเดือนมิถุนายนปีนี้ หนังสือเล่มนี้ก็พิมพ์เป็นครั้งที่สามโดยสำนักพิมพ์บางลำพู (banglumpoo) ของ ‘หนึ่ง-วรพจน์ พันธุ์พงศ์’  “เมื่อคุณบอกว่าอยากพิมพ์ หนึ่ง, ผมดีใจ สอง, ผมต้องกลับไปขวนขวายอ่าน ประเมินมัน ว่ามันยังอยู่ในวิสัยที่คนจะเสพสุนทรียะหรือเสพความคิด เรื่องเล่าที่เราต้องการส่งมอบและตั้งคำถามให้เขาได้อยู่มั้ย ถ้าได้ก็โอเค…กับ ‘นกก้อนหิน’ ผมไม่คิดว่ามันจะมีคำถาม หรือมีปัญหาในเรื่องที่ผมกังวลอยู่ โดยสรุปก็คิดว่าน่าจะยังผ่านอยู่ ยังอ่านได้ แต่บางทีผมก็ไม่กล้าพูดตรงๆ” – บางบทสนทนาของบินหลา ที่วรพจน์บันทึกไว้ในช่วงท้ายเล่มนกก้อนหินพิมพ์ครั้งล่าสุดว่าไว้แบบนี้ จากการสอบถามผู้อ่านหน้าใหม่วัยละอ่อน หลายคนเห็นด้วยกับข้อความของนักเขียนว่านิยายเล่มนี้ยังไม่ตกยุคสมัย และยังทำหน้าที่มอบสุนทรียะระหว่างบรรทัดให้ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเรื่องเล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อ 14 – 15 ปีที่แล้ว “เบรกแตก, รวดเดียวจบ, […]

‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ นิยายที่บอกว่าถ้าใจเป็นยังไงบ้านก็เป็นอย่างนั้น

หากพูดถึงการจัดบ้านขึ้นมาเมื่อไหร่ หลายคนน่าจะนึกถึงชื่อ ‘มาริเอะ คนโดะ’ นักจัดบ้านชาวญี่ปุ่นเจ้าของหนังสือ The Life-Changing Magic of Tidying Up ที่โด่งดังไปทั่วโลก ขนาดเราเองยังหยิบยืมคำ Spark Joy ที่เธอใช้เวลาเจอสิ่งของที่จุดประกายความสุขมาพูดอยู่บ่อยๆ แต่สำหรับ คุณโทมาริ นักจัดบ้านในหนังสือ ‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ เราคิดว่าเธอไม่ได้เหมือนคุณมาริเอะเท่าไหร่หรอกนะ “คนที่เก็บกวาดห้องให้เรียบร้อยไม่ได้คือคนที่มีปัญหาทางใจ” ด้วยความเชื่อเช่นนี้ งานหลักของ โทมาริ โอบะ นักจัดบ้านหญิงวัย 54 จึงไม่ใช่การช่วยทำความสะอาดบ้านให้เหล่าลูกค้า แต่เป็นการแนะแนววิธีจัด “เก็บ” หรือเลือก “ทิ้ง” ข้าวของรอบตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนมุมมองความคิดในการใช้ชีวิตของผู้คนเหล่านั้น อ่านคำโปรยเท่านี้ เราก็ทราบได้ทันทีว่านิยายหนา 300 กว่าหน้าเล่มนี้ไม่ได้มาสอนฮาวทูการจัดบ้านเท่านั้น แต่น่าจะช่วยจัดความรู้สึกข้างในหรือ ‘ใจ’ ของผู้คนควบคู่ไปด้วย และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราเลือกหยิบเล่มนี้มาอ่านในช่วงคาบเกี่ยวของท้ายปีเก่า-ต้นปีใหม่ที่เป็นช่วงทำความสะอาดห้องและปัดเป่าเรื่องในใจครั้งใหญ่ของเรา หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาทิ้งของไม่ลง เก็บของไว้ในบ้านจนเต็มไปหมดทั้งที่ไม่ได้ใช้ ซื้อของใหม่ทั้งที่มีของที่คล้ายกันอยู่แล้ว หรือกระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าของที่ซื้อมาหมดอายุการใช้งานไปนานแล้ว ทั้งหมดนี้ถ้ามองเผินๆ ก็คงดูเป็นเรื่องปกติที่ใครก็เป็นกัน ทว่าความจริงแล้วมันต่างยึดโยงกับปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิงบำบัดความเครียดที่คนทำงานออฟฟิศจำนวนมากประสบ หรือบางคนอาจสาหัสขนาดมีอาการโรคเก็บสะสมของ ไม่กล้าทิ้งของอะไรเลยเพราะกลัวไม่มีใช้ จนต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการ […]

เข้าใจ 2 ทศวรรษวิกฤตการเมืองไทย กับ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

ชวนทำความเข้าใจวิกฤตการเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษตั้งแต่กรณีนิรโทษกรรม ขบวนการเสื้อเหลือง-แดง จนถึงอำนาจนำของกษัตริย์ที่เพิ่มขึ้นผ่านหนังสือ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

วาดหวังหนังสือ: หนังสือเด็กที่วางรากฐานความคิดและไม่เป็นพิษกับเยาวชน

‘ปลุกปั่น ล้างสมอง ทำให้แตกแยก’ นี่คือมุมมองของรัฐที่มีต่อ วาดหวังหนังสือ หนังสือนิทานสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเล่าถึงความฝัน ความแตกต่าง คุณค่าของตัวเอง ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานพร้อมใจกันเรียกสอบผู้ผลิตหนังสือชุดนี้ เพื่อที่จะ ‘แบน’ หนังสือนิทานที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงศึกษาธิการ ไปจนถึงผู้ใหญ่อีกหลายคนที่ร้อนรนเมื่อได้เห็นเนื้อหาในหนังสือเหล่านี้ ข่าวนี้จึงเป็นตัวกระตุ้นให้หนังสือนิทานกว่า 17,000 เล่ม ขายหมดในไม่กี่วัน มีผู้อ่านที่ต้องพลาดโอกาสอีกจำนวนมาก และทีมงานยังไม่มีวี่แววจะผลิตเพิ่มเร็วๆ นี้ เพราะยังต้องสะสางกับเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดขึ้นอยู่  การที่หนังสือเด็กเกือบสองหมื่นเล่มขายหมดสต็อกอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน ไม่ใช่เรื่องง่ายของผู้ผลิตหนังสือในยุคนี้ และเราเชื่อว่าผู้ซื้อเองก็ไม่ได้ซื้อเพราะความเห็นใจ แต่เป็นเพราะเห็นความหวังดีที่หนังสือมีให้กับอนาคตของเด็กๆ เสียมากกว่า  ปกหลังของวาดหวังหนังสือเขียนว่า ‘วาดหวัง เติมพลังด้วยหนังสือดี ที่บอกเล่าถึงความจริง ความงาม ท่ามกลางความเป็นไป’ หนังสือนิทานทั้ง 8 เล่ม จึงเปรียบเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ของสังคมและการเมืองไทย ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านนักเขียนมากประสบการณ์ที่หวังอยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ และบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวการ์ตูนที่วาดโดยนักวาดภาพประกอบไทยฝีมือดีหลายคน  หนังสือทั้ง 8 เล่มนี้สอดแทรกเรื่องพลังพลเมือง และหลักสิทธิมนุษยชนด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย เป็นหนังสือดีที่อ่านได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ได้มีพิษภัยอย่างที่รัฐกล่าวหา และเป็นหนังสือดีที่น่าจะอยู่ในห้องสมุดโรงเรียนเสียด้วยซ้ำ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพทั้งตัวเองและผู้อื่น […]

เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน : สำรวจและเข้าใจ ม.112 ผ่าน INTRODUCTION TO NO.112

คุณคิดว่าตัวอักษร 153 ตัวทำอะไรได้บ้าง? อาจจะนึกออกยากสักหน่อย เราเลยอยากยกข้อความหนึ่งให้เห็นภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” สำหรับคนที่อ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ ข้อความเหล่านี้คือเนื้อหาของ ‘กฎหมายมาตรา 112’ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ กฎหมายหมิ่นเบื้องสูง กฎหมายหมิ่นฯ หรือชื่อใดๆ ก็ตามที่แต่ละคนจะสะดวกเรียก หากสื่อความหมายเดียวกัน ไม่นานมานี้ กระแสการพูดถึงกฎหมายมาตรา 112 นี้ลุกลามและเข้มข้นเคียงคู่ไปกับความร้อนระอุทางการเมืองที่ซัดกระหน่ำมากขึ้นทุกวัน  อาจเพราะมีผู้คนมากมายถูกตีตราต้องโทษ ไปจนถึงจองจำด้วยกฎหมายนี้ ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะความผิดแผกแปลกเพี้ยนของการตีความและการบังคับใช้ ที่หลายๆ ครั้งดูเป็นการตั้งใจปิดปากคนที่พูดเรื่องที่คนส่วนหนึ่งไม่อยากได้ยิน  อาจเพราะชุดตัวอักษรที่มีความยาวเพียง 2 บรรทัดเมื่อถูกพิมพ์ลงบนกระดาษ และสั้นกว่าหลายๆ สเตตัสเฟซบุ๊ก หรือทวีตในทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือกดขี่ ทำร้ายและทำลายชีวิตของใครหลายๆ คนอย่างไม่อาจหวนคืน เมื่อสิ่งที่เคยหลบซ่อนและตั้งอยู่บนที่สูงถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม การทำความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ดังนั้นแล้ว ทาง iLaw จึงจัดทำหนังสือ Introduction to No.112 : 12 คำถามเพื่อทำความเข้าใจกฎหมายอาญา […]

ความสัมพันธ์และอำนาจภายใต้เถ้าถ่านความรักใน ‘WALTZ เต้นรำในวอดวาย’

ทำไมเขาไม่รักฉัน ทำไมความสัมพันธ์ของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป เหตุใดถึงคบใครไม่ได้นาน ทำไมโสด พอมีคนเข้ามาก็ไม่ถูกใจ ทำไมเธอคบเผื่อเลือก นอกใจเป็นเรื่องควบคุมได้หรือเปล่า ชู้รักคือหอกแหลมคมหรือหยาดน้ำวาบหวาม แล้วอะไรบันดาลให้สองคนอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระยะยาวไม่น่าเบื่อเกินทน  เพราะอะไรจึงต่างสร้างบาดแผลให้กันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำไมผู้เป็นพ่อมีอำนาจเหนือทุกคนในบ้าน ทำไมจึงใช้ความรุนแรง ความรักเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ และหรือสถาบันย่อยอย่างครอบครัวบ่มเพาะปูดปมลึกร้าวเพียงใดในการสร้างคนออกสู่สังคม แล้วสังคมล่ะ-โครงสร้างของมันกดทับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ คำถามทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงคำถามที่คิดออกอย่างฉับพลัน ซึ่งเชื่อว่าหากได้ลองนั่งคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับปัญหาในแง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เราคงได้คำถามชนิดที่ไม่หวาดไม่ไหวจะนับ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พาผมเดินทางมาพบ เติร์ก-บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น WALTZ เต้นรำในวอดวาย ผลงานจากสำนักพิมพ์ที่ประกาศกร้าวยืนหนึ่งเรื่องความสัมพันธ์ P.S. Publishing เริ่มบรรเลง หนึ่งในสิ่งซึ่งชวนแปลกใจ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือต่อให้ผ่านความเจ็บร้าวปวดแปลบมากเพียงใด ก่อกำแพงในใจสูงลิ่วแค่ไหน เมื่อแผลสดสมานกลายเป็นแผลเป็น ไม่มากก็น้อย แนวโน้มที่คนเราจะสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่งแบบใดขึ้นใหม่ก็ยังไม่เท่ากับศูนย์ WALTZ เต้นรำในวอดวาย จะพาผู้อ่านไปสำรวจฟลอร์ของเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่แก่นแกนอาจกล่าวได้ว่ามักเคลือบหวานที่ท่อนแรกเริ่ม แต่ซ่อนขมตรมที่ปลายเพลง นิยามของบ้านภายในจิตใจ และการเผาไหม้ใครสักคนจนวายวอดในขณะที่บทเพลงเต้นรำบรรเลงถึงโน้ตตัวสุดท้าย  จริงอยู่-ถึงที่สุดแล้วไม่มีความสัมพันธ์ใดเทียบเคียงกันได้ ด้วยความซับซ้อนของมนุษย์ กระนั้น หลังจากอ่านหน้าสุดท้าย เรื่องราวแต่ละเรื่องในหนังสือก็ชวนให้ขยับถอยออกมามองหาทุกโครงสร้างที่มีผลต่อความสัมพันธ์ เมื่อเราต่างไม่อาจเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับใครสักคน-สักรูปแบบ จะเป็นไปได้ไหม-ที่การเต้นรำจะมอบเปลวไฟอบอุ่นแก่เรา โดยไม่ผลาญทำลาย หรือหากต้องผลาญทำลาย-จะมีบ้างไหม บางสิ่งซึ่งยังเหลือในกองเถ้าถ่าน ผมนึกถึงหลายคำถาม […]

ชวนอ่าน ‘Her name is ชื่อของเธอคือ…’ หนังสือที่สอนให้ผู้หญิงใช้ชีวิตเพื่อตัวเธอเอง

เรื่องราวทั้ง 28 เรื่องในหนังสือเล่มนี้ เล่าถึงชีวิตจริงของผู้หญิงเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญการกดทับในสังคมชายเป็นใหญ่ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต ด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ฟูมฟายอย่างที่บทนำเขียนไว้ แต่ยิ่งอ่าน ยิ่งสะสมความรู้สึกอัดอั้นรอวันระเบิด เช่นเดียวกับที่ผู้หญิงในเกาหลีใต้เผชิญมาตลอด

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.