รถโรงเรียนในต่างประเทศ ออกแบบอย่างไรถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสาร

จากกรณีรถบัสนักเรียนทัศนศึกษาเกิดไฟไหม้ท่วมคัน จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 ราย ทำให้สังคมกลับมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้สำหรับขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งเด็กนักเรียนกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่เด็ก ‘รถโรงเรียน’ ที่เรารู้จักมักมาในรูปแบบรถตู้ รถสองแถว หรือรถหกล้อแบบดัดแปลง แตกต่างกับต่างประเทศที่มีรถบัสคันสีเหลืองที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรับ-ส่งเด็กนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้การเดินทางของเด็กในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยมาก เห็นได้จากสถิติเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโรงเรียนเฉลี่ยเพียง 6 คนต่อปีเท่านั้น คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูรูปแบบรถโรงเรียนและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในต่างประเทศว่า เขามีการออกแบบหรือข้อบังคับอย่างไร ถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสารได้อย่างทุกวันนี้ ออกแบบเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ความแตกต่างแรก เริ่มจากในต่างประเทศมีผู้ผลิตรถโรงเรียนโดยเฉพาะให้เลือกหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Blue Bird, Thomas Built Buses หรือ IC Bus ที่ทำให้รถยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อโดยสารเด็กโดยเฉพาะ แตกต่างจากไทยที่ต้องดัดแปลงรถให้กลายเป็นรถโรงเรียน การออกแบบที่เห็นอย่างเด่นชัดคือ ภายนอกตัวรถจะทาด้วยสีเหลืองสดใส มีไฟส่องสว่าง เพื่อให้คนมองเห็นได้ชัดเจนและแยกออกทันทีว่าคือรถโรงเรียน เพื่อระมัดระวังในการขับขี่ รวมไปถึงรถโรงเรียนแต่ละคันจะติดตั้งป้ายหยุด (Stop Arm) บริเวณด้านข้าง ที่เมื่อรถหยุดบริเวณป้ายจอดรับ-ส่งนักเรียน ป้ายหยุดจะถูกกางออกมาทันที ขณะที่ภายในออกแบบมาในลักษณะที่นั่งหันหน้าไปทางเดียวกัน ยึดติดกับตัวรถอย่างแน่นหนา บุด้วยวัสดุดูดซับแรงกระแทก มีพนักพิงสูงเพื่อป้องกันศีรษะและคอในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะเว้นทางเดินภายในรถให้กว้างมากพอเดินสวนกันสะดวกและลุกออกได้ง่าย มีราวจับช่วยในการทรงตัวระหว่างรถเคลื่อนที่ มีช่องเก็บของเหนือศีรษะหรือใต้ที่นั่งสำหรับเก็บสัมภาระ […]

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

ทำไมซอยแคบถึงเป็นตัวร้ายในการพัฒนาเมือง และเมืองที่จัดการกับความคับแคบให้กลายเป็นประโยชน์

‘ความแคบ’ เป็นคำที่ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ หลายต่อหลายคนเกลียดความแคบจนเกิดเป็นโรคกลัวที่แคบ เพราะใครจะอยากนำตัวเองเข้าไปในที่แสนอึดอัด โดยเฉพาะ ‘ซอยแคบ’ ที่ทั้งเดินเท้าลำบาก รถยนต์เข้ายาก แต่ดันง่ายต่อการหลงทางอย่างที่ Google Maps ก็ช่วยไม่ไหว ทางแคบเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดการจัดการผังเมืองที่ดีจนนำไปสู่ปัญหาซอยขนาดเล็กผุดขึ้นทั่วทั้งเมือง รวมถึงซอยตันซึ่งเกิดจากเอกชน เมื่อดินเริ่มพอกหางหมู ปัญหาอื่นๆ ก็เดินเท้าเรียงตามกันมา แต่ทุกเมืองย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน ในบางครั้งซอยแคบดันกลายเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาอย่างคาดไม่ถึงทั้งเรื่องความปลอดภัยและมลภาวะ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมองว่าซอยแคบเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ดังนั้นคอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลงเดินสำรวจซอยแคบทั่วโลก เพื่อส่องปัญหาและการจัดการในแต่ละบริบท จนไปถึงด้านสว่างของซอยแคบ ซอยแคบ ซอยตัน กับการเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ’ คือความโกลาหล ซอยเล็กถนนน้อยหรือตึกพาณิชย์ที่ตั้งติดกับบ้านคน อาจเรียกได้ว่าเราเริ่มผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก ซึ่งซอยแคบคือหนึ่งในผลพวงที่ตามมา ทั้งการจราจรที่ติดขัดในซอย ความปลอดภัยในการเดินเท้า ขนส่งสาธารณะที่เข้าไม่ถึง ทำให้รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น ยังไม่นับรวมความแออัดของชุมชน ลามไปถึงรถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถดับเพลิงที่บางครั้งไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะความคับแคบของถนน ‘ปัญหาเมืองแตก’ เรื้อรังอยู่กับกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน อีกทั้งการคิดแก้ปัญหาโดยการวางผังและรื้อเมืองใหม่ทั้งหมดยิ่งฟังดูเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตัวอย่างเมืองในต่างประเทศที่เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันคือ อิตาลีกับการมีซอยแคบในเขตเมืองเก่า ที่เกิดจากการตัดถนนในสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับรถยนต์ในการสัญจรบนทางรถม้าที่คับแคบและถนนไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางซอยแคบเสียจนยานพาหนะปัจจุบันไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้จราจรติดขัดอยู่เป็นครั้งคราว แต่จะให้มองเพียงแง่ร้ายคงไม่ได้ เพราะซอยแคบตัวแสบกลับใช้ข้อจำกัดของตัวเองสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้อย่างน่าสนใจในหลายๆ […]

‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

สำรวจเหตุผล ทำไมหลายประเทศถึงใช้ธุรกิจทางศาสนาพัฒนาเมืองได้

ศาสนาและความเชื่อเหนือธรรมชาติกำเนิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จากความเกรงกลัวในธรรมชาติ สู่การกำเนิดเทพเจ้า ไปจนถึงหนทางของการดับทุกข์ เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของมนุษย์และศาสนาที่ฝังรากลึกในตัวเรา นั่นทำให้คุณค่าของศาสนาไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้ เพราะผู้คนที่ศรัทธายอมจ่ายทุกสิ่งอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเองเพื่อเป้าประสงค์ที่ต้องการ แน่นอนว่าเรื่องเงินทองเป็นเพียงเรื่องขี้ปะติ๋ว หากเทียบกับการได้พบกับพระเจ้าหรือขึ้นสวรรค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาลแต่ต้นทุนน้อยนิด สร้างโมเดลธุรกิจอันเก่าแก่ที่มีมานานกว่าพันปี ตั้งแต่มนุษย์กำหนดให้ทองและเงินเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็เริ่มอ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์และนำมาเป็นจุดขายของเมือง ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักแสวงบุญจากทั่วโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สวยงาม การขายของฝากที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นพื้นที่สำหรับความหวังในการขอพร ทำให้ไม่แปลกที่เหล่าองค์กรทางศาสนาทั่วโลกจะมีฐานะร่ำรวยเป็นพิเศษ จวบจนปัจจุบัน ศาสนายังคงมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระบอบทุนนิยม หลายเมืองมีการพัฒนาจัดการธุรกิจศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการป้องกันการทุจริตที่จริงจัง คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงความเป็นมาของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ การสร้างแบรนดิ้งด้านความเชื่อในเมืองเล็ก และการบริหารจัดการกับธุรกิจแห่งความศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตัวอย่างของเมืองแห่งศาสนาจากทั่วทุกมุมโลก นครศักดิ์สิทธิ์ จุดเริ่มต้นของธุรกิจศาสนา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามักมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เหมาะแก่การตามรอยแสวงบุญหรือเข้าร่วมพิธีในศาสนานั้นๆ ผู้คนมากมายจึงต่างหลั่งไหลเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มศาสนาที่มีความนิยมและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่างกลุ่มศาสนาตระกูลอับราฮัม (Abrahamic Religions) นั่นก็คือ ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ที่ทั้งสามศาสนามีความเชื่อถึงต้นกำเนิดของศาสนาตนว่า มาจากชายนามอับราฮัมที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าและออกเดินทางอพยพไปยังดินแดนคานาอัน (Canaan) ซึ่งต่อมากลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญานาม ‘อิสราเอล’ (Israel) และศูนย์กลางของอาณาจักรคือนครศักดิ์สิทธิ์ ‘เยรูซาเลม’ (Jerusalem) ภายใต้ดินแดนแห่งพันธสัญญา ได้เกิดเรื่องราวสำคัญทางศาสนามากมาย ส่งผลให้สถานที่ต่างๆ ในเมืองเยรูซาเลมกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วม […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

ต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ ทำได้เลยหรือต้องขออนุญาตก่อน

ช่วงนี้กระแสการซื้อคอนโดฯ เก่าเพื่อรีโนเวตใหม่ค่อนข้างมาแรงในหมู่คนที่ต้องการมีที่พักเป็นของตัวเอง เนื่องจากสู้ราคาที่สูงขึ้นของคอนโดฯ ใหม่ไม่ไหว แถมหลายๆ แห่งยังได้ตารางเมตรน้อยลงอีกต่างหาก เกิดเป็นข้อสงสัยในกลุ่มชาวคอนโดฯ ถึงกรณีการต่อเติมหรือดัดแปลงห้องคอนโดฯ ในครอบครองว่า เราสามารถทำอะไรกับห้องของเราได้บ้าง ทำเองได้เลยไหม หรือต้องไปขออนุญาตใครก่อน คอลัมน์ Curiocity อาสามาไขข้อข้องใจว่า หากต้องการต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ แบบไหนที่ทำได้บ้าง และในระหว่างทางมีขั้นตอนอะไรที่ต้องดำเนินการขออนุญาต ต่อเติมดัดแปลงได้ ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบคอนโดฯ เชื่อว่าหลายคนที่ซื้อคอนโดฯ เป็นของตัวเอง คงมีความคิดอยากตกแต่งปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในห้องให้แสดงออกถึงตัวตนของเรามากที่สุด เพราะเป็นสถานที่ที่เราต้องใช้ชีวิตทุกๆ วันนับต่อจากนี้ หากเป็นเพียงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ หมุนโซฟา เปลี่ยนฮวงจุ้ย ก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เนื่องจากสามารถทำได้เองโดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนห้องอื่นในบริเวณใกล้เคียง หรือถ้ามีความจำเป็นต้องเจาะผนังหรือทำเสียงดังขึ้นมาหน่อย หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าต้องแจ้งทางนิติฯ และทำในวันและเวลาที่ทางคอนโดฯ กำหนด แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น อันนำมาซึ่งการต่อเติมดัดแปลงที่อาจกระทบต่อตัวโครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการทุบผนังกั้นห้อง เพิ่มประตูหน้าต่าง หรือต่อเติมระเบียงให้กลายเป็นห้องด้วยแล้ว เจ้าของห้องอย่างเราๆ อาจต้องตรวจดูดีๆ ว่าการดำเนินการนั้นขัดต่อ ‘พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551’ รวมไปถึง ‘ระเบียบของห้องชุด’ ของคอนโดฯ แต่ละแห่งหรือไม่ เพราะที่พักอาศัยประเภทคอนโดฯ ถือเป็นที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน การปรับเปลี่ยนต่อเติมในบริเวณห้องพักจึงไม่สามารถทำได้ตามใจ เนื่องจากจำเป็นต้องคำนึงถึงส่วนรวมด้วย […]

รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบไหนปลอดภัย สังเกตง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถ

เวลาขับรถแล้วเจอรถบรรทุกที่มาพร้อมตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หลายคนคงใจตุ๊มๆ ต่อมๆ คิดจินตนาการกันไปไกลถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเราเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ความกังวลใจยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกที่ตู้คอนเทนเนอร์พลัดหลุดร่วงลงมาทับรถเล็กข้างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการได้รับข่าวสารมาว่าส่วนใหญ่รถบรรทุกเหล่านี้มักไม่มีการล็อกตู้คอนเทนเนอร์ให้ติดกับตัวรถ เพราะเชื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้รถพลิกคว่ำ จากความอันตรายนี้ก่อให้เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่แล่นอยู่ข้างหน้าเรานั้นมีการล็อกตู้บรรทุกสินค้าอย่างแน่นหนาหรือไม่ เพื่อความสบายใจของการขับขี่บนท้องถนน คอลัมน์ Curiocity มีทริกการสังเกตรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยแบบง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถมาฝากกัน กฎหมายการขนส่งทางบก (พยายาม) คุมเข้ม แม้จะมีข่าวตู้คอนเทนเนอร์ร่วงหลุดจากรถบรรทุกอยู่บ่อยครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วใน ‘พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522’ ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รถบรรทุกที่มีการบรรทุกของนั้นต้องมีอุปกรณ์ตัวล็อกอย่างแน่นหนา และคลุมสิ่งของเหล่านั้นด้วยผ้าที่มีสีทึบ เพื่อไม่ให้ของที่บรรทุกมานั้นตกหล่น ปลิว หรือกระเด็นใส่รถคันอื่นๆ และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกก็ได้ออกโรงประกาศชัดอีกครั้งว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จดทะเบียนใหม่ทุกคันต้องติดตั้ง ‘Twist-lock’ หรืออุปกรณ์ยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติดตั้ง Twist-lock ไม่น้อยกว่า 4 จุดต่อ 1 ตู้บรรทุกสินค้า และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม รวมถึงติดแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสงสีขาว เหลือง และแดง ในรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่น้อยกว่า 50×50 มม. หรือรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า […]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ

หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]

1 2 3 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.