ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.