The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

FiNESSE โปรเจกต์ธีสิสวงไอดอลระยะสั้น ที่อยากให้คนรับรู้ความแตกต่าง และยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง

“เฟทอยากให้สังคมรับรู้ว่า ‘ความต่าง’ ที่โดนปฏิเสธมาตลอด จริงๆ แล้วมันโดนปฏิเสธเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่เป็นเพราะวงการไอดอลยังห่างไกลกับการยอมรับ Self-determination (สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง)” ในวันที่อุตสาหกรรม T-POP กำลังเติบโตและถูกจับตามองจากทั่วโลก ใครหลายคนอาจกำลังเดินตามความฝันของตัวเองอย่างสุดกำลัง แต่สำหรับใครบางคน ความฝันของพวกเขาอาจดับลงไปแล้ว เพียงเพราะพวกเขา ‘แตกต่าง’ จากสิ่งที่สังคมต้องการ ‘FiNESSE’ คือธีสิสวงไอดอลระยะสั้นจากฝีมือการโปรดิวซ์ของ ‘เฟท-ฐิตา เกษรสมบัติ’ อดีตสมาชิกไอดอลวง Siamese Kittenz ที่ปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีสุดท้ายจากคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโปรเจกต์นี้ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมไอดอลที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่ที่เพศสภาพ อายุ หรือบิวตี้สแตนดาร์ด คอลัมน์ Debut ขอพาไปรู้จักธีสิสวงไอดอล FiNESSE ให้มากขึ้นผ่านบทสนทนาของหญิงสาว ถึงแนวคิดจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดย์วันของการตัดสินใจทำธีสิสว่า อะไรคือสิ่งที่อยากนำเสนอ จนถึงวันนี้ที่เธอพยายามผลักดันให้วงนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงได้จริงในอนาคต ได้เวลาทำวงไอดอลระยะสั้น หลายคนคงเคยเห็นธีสิสที่ทำขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากไอดอลที่ชอบ แต่สำหรับธีสิสของเฟทแตกต่างออกไป เพราะ ‘FiNESSE’ คือธีสิสที่เกิดจากเศษเสี้ยวความฝันการเป็นไอดอลของเธอเอง “อดีตเฟทเคยเป็นไอดอลมาก่อน แต่ในตอนนี้ ต่อให้อยากกลับไปเป็นอีกมันก็ไม่ง่ายแล้ว ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกินเพดานการสมัคร และเรารู้สึกว่ามันคงมีคนที่เป็นแบบเราเยอะ เลยตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมา” เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้น ธีสิสในรูปแบบวงไอดอลระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในคณะ […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

‘เฮ็ดหยังอยู่’ โปรเจกต์จดหมายเหตุกรุงเทพฯ ในหัวข้อฉูดฉาด ‘สวัสดี ข้นE-3’

มีใครสงสัยเหมือนเราบ้างว่า ทำไมในกรุงเทพฯ ถึงมีร้านส้มตำอยู่ทุกหัวมุมถนน ทุกหนแห่ง แค่นึกอยากจะกินก็มีให้เลือกอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากที่ที่เราอยู่เสมอ ทำไมเนื้อหาของละครทีวีช่วงค่ำยุคปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนจากเซตติงที่เป็นคุณหญิงคุณชายในรั้ววัง มาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะหมอลำซึ่งมีฉากหลังเป็นทุ่งนาต่างจังหวัดกันมากขึ้น มากไปกว่านั้นคือตัวละครทั้งหมดล้วนพูดภาษาถิ่นอีสานกันทั้งหมด ทั้งที่ฉายไปทั่วประเทศ ขยับเข้ามาในระดับที่แคบขึ้นอีกนิด ทำไมคนขับแท็กซี่มักเป็นคนร้อยเอ็ด ทำไมนางแจ๋วในละครถึงต้องเป็นคนอีสาน ทำไมถึงมีคำศัพท์ใหม่อย่าง ‘v้นE-3’ แพร่หลายเป็นมุกตลกทั่วไปของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม จนกลายเป็นชนวนของการทะเลาะใหญ่โตบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วันเวลาผ่านไป ตั้งแต่ยุคที่คนกุลายังร้องไห้ จนมีลูกหลานเป็นสาวน้อยหัวใจติดดิน สวมกางเกงยีนส์เก่าๆ ใส่เสื้อตัว 199 มุ่งหน้าไปสู่การเป็นนางเอกละครเย็นในช่วงเรตติงดีที่สุด ประดับซับไตเติลเป็นภาษาไทยกลาง เพราะเว้าภาษาอีสานกันทั้งเรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับคนอีสานอพยพใน ค.ศ. 2022 ตามมาเบิ่งปรากฏการณ์นี้ในหนังสือ ‘เฮ็ดหยังอยู่’ ธีสิสจบการศึกษาของ ‘ข้าวตัง-ศศิตา มณีวงษ์’ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กันแหน่เด้อ เฮ็ดหยังอยู่ ก่อนจะพูดถึงโปรเจกต์ที่ช่วยไขสารพัดข้อสงสัยเรื่องคนอีสานอพยพ เราขอย้อนความก่อนว่า ศศิตาหรือผู้เขียนบทความนี้เป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่มีตาเป็นคนอำนาจเจริญ และยายเป็นคนสุรินทร์ เติบโตมากับเรื่องเล่าของการถูกปลิงกัดเมื่อดำนา การซักผ้าด้วยขี้เถ้า และการเดินเท้าเกือบสิบกิโลเพื่อไป-กลับโรงเรียน ตายายหยิบเอาเรื่องราวการดำรงชีวิตอยู่ในอำเภอห่างไกลความเจริญเมื่อห้าสิบปีก่อนมาใช้แทนนิทานเรื่องเจ้าหญิงต่างๆ ก่อนจะเข้านอนทุกคืน ในวัยนั้นเราต้องยอมรับว่าเรื่องที่ทั้งคู่เล่าสนุกกว่านิทานพวกนั้นมาก แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่บันทึกมันไว้เมื่อยังมีโอกาส ไม่มีใครทราบได้ว่าโอกาสนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของการศึกษาศิลปะ […]

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ เกมทางเลือกที่อยากให้สังคมเข้าใจความกลัวของผู้หญิงทุกคน

ทุกครั้งที่ต้องแยกทางกับเพื่อนโดยเฉพาะช่วงกลางคืน เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงไม่ลืมที่จะกำชับและเตือนกันว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วย’ จนประโยคนี้แทบจะกลายเป็นอีกหนึ่งคำบอกลาที่ติดปากไปแล้ว บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมประโยคเหล่านี้ถึงกลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงหลายๆ คน ทำไมต้องอยากรู้ว่าเพื่อนถึงบ้านแล้วหรือยัง หรือทำไมถึงบ้านแล้วต้องบอกให้คนอื่นรับรู้ด้วย ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ อาจจะดูเป็นประโยคธรรมดาๆ แต่ความจริงแล้วแฝงไปด้วยความห่วงใย และสะท้อนถึงความอันตรายจากการเดินทางในเมืองนี้ เพราะการบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าตัวเอง ‘ถึงบ้านแล้ว’ เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราปลอดภัยและกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ จากความเป็นห่วงเป็นใยในชีวิตประจำวันที่กลายเป็นความคุ้นชิน ‘ต้า-พิมพิศา เกือบรัมย์’ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเลือกทำธีสิสที่ชื่อว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ ซึ่งมาในรูปแบบของ ‘เกมทางเลือก’ ที่จำลองสถานการณ์การกลับบ้านคนเดียวในช่วงเวลากลางคืน โดยผู้เล่นต้องตัดสินใจแทนตัวละครเมื่อเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ท้ายที่สุดเกมนี้จะทำให้ผู้เล่นตระหนักและเข้าใจถึงความกังวลใจของผู้หญิงหลายๆ คนที่ต้องเดินทางกลับบ้านคนเดียว ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนก็ตาม วันนี้ คอลัมน์ Debut ขอชวนทุกคนไปพูดคุยกับต้าถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงความตั้งใจที่จะทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ ปัญหาการคุกคามไม่ได้เกิดจากเหยื่อ “อยากลองทำอะไรสักอย่างให้สังคมได้พูดถึงปัญหาการคุกคามทางเพศหรืออันตรายของการเดินทางคนเดียวมากขึ้น อยากให้สังคมเลิกโทษเหยื่อและเข้าใจว่าการถูกคุกคามไม่ได้เกิดขึ้นจากเหยื่อ” ต้าเล่าถึงจุดเริ่มต้นของเกมนี้ซึ่งเกิดจากประเด็นเรื่อง ‘ความปลอดภัยของผู้หญิง’ ที่กลายเป็นปัญหาในสังคมของเรามานาน เนื่องจากประเทศไทยมีอาชญากรรมและความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่รอบตัวทุกวัน และส่วนใหญ่เหยื่อจะเป็นเพศหญิง ทำให้เด็กและผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังให้ระมัดระวังตัวกันมาโดยตลอด แต่ไม่ว่าจะระวังตัวแค่ไหน เหตุการณ์อันตรายก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม สังคมของเราอาจยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจความกลัวและความกังวลเหล่านี้ ไม่ว่าจะในสื่อหลักหรือสื่อออนไลน์ เราเชื่อว่าข่าวที่ถูกหยิบมานำเสนอบ่อยครั้งคือเหตุการณ์ที่หญิงสาวถูกคุกคามทางเพศ ในสถานการณ์และสถานที่ที่ต่างกันไป แต่แทนที่จะตั้งข้อสงสัยกับการลงมือของคนร้าย สังคมกลับมักตั้งคำถามถึงการแต่งกายของผู้เสียหายก่อนเป็นอย่างแรก ทำให้ต้าเล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่เข้าใจของคนในสังคมว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร […]

3’Orn Co-living ธีสิสหอพักย่านสะพานเหลืองที่อยากลดค่าครองชีพให้ชาว First Jobber

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยเริ่มทำงานคือ การต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่พักที่เดินทางไปทำงานสะดวกในราคาสูง หรือลดราคาที่พักลงมาแต่ต้องแลกกับการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว สุดท้ายอาจไม่คุ้มกันอยู่ดี  จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่อยู่อาศัยที่ทั้งใกล้ขนส่งมวลชน เดินทางง่าย ห้องพักอยู่สบาย และราคาเหมาะสมที่ไม่ถึงกับต้องตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป ‘อัน-อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์’ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาการล่มสลายของชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมในเมืองชั้นใน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองชั้นในถูกรื้อ ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนย้ายออก ร้านค้าซบเซา มีจำนวนตึกว่างให้เช่าหรือขายเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน  เธอจึงนำมันมาเป็นไอเดียสำหรับการทำธีสิสในหัวข้อ ‘โครงการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยสะพานเหลืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรวัยทำงานตอนต้นและผู้อาศัยดั้งเดิม’ และไม่ใช่แค่การออกแบบผ่านโครงงานจนได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2562 เท่านั้น แต่ธีสิสหัวข้อนี้ยังกลายเป็น ‘หอพัก 3’Orn Co-living’ ที่เปิดให้คนเข้าพักได้จริงในย่านสะพานเหลือง ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำที่อยู่อาศัยราคาเข้าถึงได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กลุ่ม First Jobber อย่างตัวเอง First Jobber และปัญหาค่าครองชีพในเมือง “ด้วยความที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับเงินค่ากินอยู่เป็นรายเดือน ทำให้เป็นกังวลต่อการแบ่งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ ยิ่งตอนปี 5 ใกล้จะเรียนจบ ก็เริ่มคิดว่าเราจะไปทำงานที่ไหน จะอยู่ยังไง จะจัดการค่าใช้จ่ายยังไง ซึ่งคาบเกี่ยวพอดีกับช่วงที่ทำธีสิส เราเลยเอาความกังวลและคำถามเหล่านั้นไปศึกษาต่อ  “จริงๆ ทำเพื่อตอบคำถามให้ตัวเองแหละ […]

NODE OF MUSIC CITY ธีสิสที่อยากทำให้ย่านเจริญกรุงรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองดนตรีสร้างสรรค์

เป็นเวลาสองปีกว่าๆ ที่เราต้องทำงานที่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น แต่แล้ววันเวลาที่ต้องเว้นระยะห่างเหล่านั้นก็ดูจะคลี่คลายกลับกลายเป็นความปกติ เห็นได้จากชาวต่างชาติจำนวนหลายล้านคนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย ไหนจะอีเวนต์ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ออกมาใช้ชีวิตกัน อย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงปลายปีนี้ ก็คงเป็นขบวนคอนเสิร์ตที่หลั่งไหลมาจัดในไทยแบบไม่ให้พักเก็บเงินกันเลย ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปช่วงเวลาก่อนหน้าที่โรคระบาดจะมาเยือน กรุงเทพฯ ก็เรียกได้ว่าเป็นเมืองดนตรีที่มีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศให้ผู้คนได้เลือกชมกันอย่างไม่ขาดสาย ในเดือนเดือนหนึ่งอาจมีมากกว่าสิบงานด้วยซ้ำไป ‘เบนซ์-จิรศักดิ์ จุลมณี’ นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเป็นผู้ที่คลุกคลีกับการเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยเรียน มีผลงานเพลงของตัวเองและมีงานแสดงในสถานที่ต่างๆ รวมถึงได้เห็นการทำงานของทีมผู้จัดงานดนตรี  ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจและเกิดเป็นการตั้งคำถามในใจของเขาว่า “ในยุคสมัยที่ศิลปินกับผู้ฟังเข้าถึงกันง่ายขึ้น ทำไมสถานที่สำหรับการแสดงดนตรีในไทยยังมีน้อย ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่มีพื้นที่ในการแสดงออกมากกว่า”  เพื่อตอบคำถามข้อนั้น เบนซ์ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล โดยใช้ความรู้ในสิ่งที่เรียนและความสนใจในเรื่องดนตรี ทำธีสิสที่มีชื่อว่า ‘NODE OF MUSIC CITY’ เพื่อหวังสร้างเมืองดนตรีให้เกิดขึ้นจริง NODE OF MUSIC CITY NODE OF MUSIC CITY คือการสร้างเมืองดนตรีที่เชื่อมถึงกันเป็นจุดต่อจุด โดยโปรเจกต์นี้เลือก ‘เจริญกรุง’ หนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ ที่มีศักยภาพและเหมาะควรต่อการจัดงานดนตรี เพราะมีทั้งร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ และพื้นที่ต่างๆ ที่มักจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนสำคัญคือ เจริญกรุงมีอาคารและสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.