PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

‘Q-CHANG’ แพลตฟอร์มรวมสารพัดช่างซ่อมให้บริการทั่วไทย ที่วางตัวเป็น ‘แบ็คอัพทุกเรื่องบ้าน’

หลังคาบ้านโดนลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูรั่ว แต่ไม่รู้จักช่างซ่อมหลังคาที่ไว้ใจได้เลย แอร์ที่บ้านไม่เย็น พอเรียกช่างมาล้างเขากลับเติมน้ำยาแอร์ให้ แถมคิดตังค์เพิ่มอีก! ก๊อกในห้องน้ำมีรอยแตก แต่ภารกิจชีวิตเยอะจนไม่มีเวลาซ่อม หากคุณเคยเจอปัญหาอีหรอบเดียวกัน เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Q-CHANG (คิวช่าง)’ แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจที่จะช่วยแก้ปัญหาในที่อยู่อาศัยของคุณได้แบบครบจบในที่เดียว เกริ่นมาอย่างกับสปอตโฆษณา แต่สัญญาว่าไม่ได้พูดเกินเลยสักนิด นั่นเพราะแพลตฟอร์มนี้รวบรวมช่างสารพัดแบบเอาไว้ ไล่ตั้งแต่ช่างล้างแอร์ ช่างซ่อมหลังคา ไปจนถึงแม่บ้านทำความสะอาด Q-CHANG เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากในการหาช่างฝีมือดีและไว้ใจได้ นั่นคือเป้าหมายแรก ทว่ามากกว่าการอำนวยความสะอาดให้เจ้าของที่พักเพื่อให้พวกเขากดจองคิวช่างได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก Q-CHANG ยังมีฝันใหญ่คือการสร้างงานสร้างอาชีพให้ช่างไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพียง 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง Q-CHANG มีลูกค้าใช้แพลตฟอร์มเรือนแสน มีช่างในระบบกว่าพันคนกระจายไป 77 จังหวัดทั่วไทย และมีรายได้มากกว่า 250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา  มองเผินๆ ตัวเลขเหล่านี้อาจบอกว่าตลาดของลูกค้าที่ต้องการช่างนั้นแสนกว้างใหญ่ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการทำงานหนักของทีมงาน และการเอาใจใส่ทั้งลูกค้าและช่างอย่างจริงจัง อะไรทำให้ Q-CHANG มาถึงจุดนี้ได้ บ่ายวันฟ้าเปิด เราบุกออฟฟิศ Q-CHANG ไปคุยกับ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ช่างคิด ก่อนจะมาเป็นผู้ก่อตั้ง Q-CHANG อย่างเต็มตัว […]

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

‘มูเตเวิร์ล’ ธุรกิจที่ปลุกกระแสการมูฯ ให้ป็อปด้วยวอลล์ฯ เสริมดวง ไปถึงนะหน้าทองแบบ DIY

เพราะเป็นคนรักงานที่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีผลต่อ Work-life ไม่แพ้ความพยายาม หน้าจอโน้ตบุ๊กของฉันจึงตั้งวอลล์เปเปอร์เสริมดวงที่ (เชื่อว่า) ช่วยเรียกโชคลาภด้านงานและเงินเข้ามาเป็นพิเศษ วอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้มีส่วนประกอบเป็นไพ่สามใบ นั่นคือ Nine of Pentacles, Wheel of Fortune และ Ace of Cups ส่วนมุมขวาล่างมีโลโก้ ‘มูเตเวิร์ล’ ครีเอเตอร์ของวอลล์เปเปอร์แปะอยู่ ทุกเช้า ในพิธีกรรม Manifesting ก่อนเริ่มงาน นอกจากจะได้จินตนาการภาพความสำเร็จกับไพ่ก่อนลงมือทำงานให้สำเร็จจริงๆ ฉันจะชอบแวะขอบคุณทีมมูเตเวิร์ลที่ช่วยทำวอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ใครจะคิดว่าหลังจากตั้งวอลล์ฯ มาได้แรมปี การงานจะพาให้ฉันมาขอบคุณพวกเขาถึงสำนัก เพราะคอลัมน์ Trouble Solver คราวนี้ ฉันมีนัดกับทีมผู้ก่อตั้ง ‘แม่หมอแอเรียล-พิมฉัตร์ วิบูลย์ธนินกุล’ Chief Operation Officer, ‘ฝน-สุภัทร์พร โปสกนิษฐกุล’ Chief Creative Officer และ ‘กูโร่-อภิชา อินทรกำแหง’ Chief Officer Technology เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างธุรกิจมูฯ สุดปังของพวกเธอกัน ศูนย์มูฯ ซัปพอร์ตจิตใจในวันไร้ที่พึ่ง […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

Jollynn ชุดชั้นในบรรเทาอาการหนักอก ที่ออกแบบมาให้คนใส่ ไม่ใช่คนมอง

ปัญหาหนักอกของการต้องใส่บราเป็นอะไรที่คงไม่ต้องสาธยายให้ฟังมากมาย เพราะแค่คำว่าบราก็น่าจะสร้างปฏิกิริยาในใจบางอย่างขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความอึดอัด รัดแน่น ร้อนเหนอะ ไม่พอดีตัว กดเจ็บ หรือแม้แต่เรื่องเงินมหาศาลที่เสียไปเพื่อซื้อเจ้าเครื่องมือทรมานตัวเองนี้มา เป็นอย่างนี้แล้ว ทำไมเราถึงยังทนใส่บราออกจากบ้านทุกวัน? วันไหนที่อากาศประเทศไทยร้อนจัด ฉันมักเกิดคำถามว่า เราทำร้ายร่างกายตัวเองแบบนี้กันไปทำไม และคำตอบที่ได้ก็มีตั้งแต่เรื่องค่านิยมของสังคม ความเคยชิน และท้ายที่สุดแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบรายังมีประโยชน์ของมันในการช่วยพยุงอกของเราให้อยู่กับที่กับทาง สิ่งเดียวที่ทำได้เลยเป็นแค่การอดทนไปตามนั้น ในระหว่างที่ฉันได้แต่อดทน ช่วงกลางปี 2021 ก็มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่ตัดสินใจลุกขึ้นมาหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว ตัดภาพมาปีนี้ แบรนด์ Jollynn ของพวกเขาได้ขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ขายดีอันดับ 2 ในหมวดหมู่ชุดชั้นในของ LAZADA  แปลว่าในเวลาไม่ถึงปี บราของพวกเขาได้พิสูจน์ตัวเองจนคนมีหน้าอกแห่กันไปซื้ออย่างล้นหลาม ซื้อแล้วก็กลับมาซื้อซ้ำ ซื้อทีเดียวหลายตัว ซื้อแล้วบอกต่อ กลายเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ท้าชนกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาดได้แบบไม่น้อยหน้า การเติบโตอันก้าวกระโดดทำให้ฉันเกิดสงสัยขึ้นมาว่า เขาทำอะไรถึงได้ตอบโจทย์คนได้เป็นวงกว้างขนาดนี้ จนต้องชวนไปเปิดอกคุยกันดู ปัญหาสุมอกคนไทย ตัวแทนของทีม Jollynn ที่มาคุยกับฉันคือ Tiffany Chien ผู้เป็น Marketing Director ให้แบรนด์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เธอเริ่มต้นจากการอธิบายว่า แท้จริงแล้วทีมเบื้องหลังแบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่มีหน้าที่รับดูแล e-commerce ให้แบรนด์อื่นๆ เนื่องจากความคร่ำหวอดในวงการ E-commerce […]

Chumanee (ชูมณี) : รถซักผ้าที่อยากให้ทุกคนเข้าถึงความสะอาด

8 มิถุนายนที่ผ่านมาคือ ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ เป็นครั้งแรกที่สถาปนาวันนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นความสำคัญของการซักผ้าและอาบน้ำ เราเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ เป็นคนที่มีโอกาสได้อาบน้ำและซักผ้าทุกวันโดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ มารบกวนใจอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันเหล่านี้ และมีคุณภาพชีวิตที่แย่กว่าคุณจะจินตนาการถึงได้ เพียงเพราะไม่ได้ซักผ้าและอาบน้ำอย่างที่ควรจะเป็น ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ คืองานที่ Otteri wash & dry (อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย) ร้านสะดวกซักที่มีมากกว่า 700 สาขาทั่วไทย ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา นำรถซักผ้าเคลื่อนที่ ‘ชูมณี (Chumanee)’ มาบริการคนไร้บ้านให้อาบน้ำและซักผ้ากันฟรีๆ เป็นครั้งแรก ที่บริเวณหลังศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ในเขตพระนคร ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่เยอะ เราถือโอกาสมาร่วมงานและนัดพบกับ กวิน นิทัศนจารุกุล ผู้บริหารของ Otteri Wash & Dry ที่งานนี้ เพื่อฟังเรื่องราวเบื้องหลังการเปิดตัวรถซักผ้าเคลื่อนที่คันแรกของไทย และพูดคุยถึงการยกเรื่องซักผ้าและอาบน้ำมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อสื่อสารกับคนทั้งประเทศ งานวันนี้มูลนิธิกระจกเงาได้ออกเดินแจกบัตรเชิญให้กับคนไร้บ้านมาเข้าร่วมงาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมีคนไร้บ้านเข้าร่วมมากกว่า 200 คน ภายในงานจะแบ่งออกเป็นหลายสเตชันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนไร้บ้านเป็นหลัก โดยเริ่มจากบูทแรกที่ทุกคนต้องมาแวะคือ ‘แฟชั่นสัญจร’ ที่เปิดให้คนไร้บ้านได้ช้อปชุดใหม่ได้ฟรีๆ คนละ 1 […]

MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก

“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี”  คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข  เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ  3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]

ลดมลภาวะ แต่ไม่ละความเก๋ Reviv แพลตฟอร์มซ่อมเสื้อผ้าออนไลน์ที่จะช่วยทำให้ชุดเดิมสนุกกว่าเดิม

หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา  แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม  ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า  Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น  ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.