คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ

สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]

อสังหาฯ กรุงเทพฯ ชาติไหนครองมากที่สุดในปฐพี?

ใกล้จะถึงเดือนกันยายน ที่รัฐบาลเคาะผลบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีกำลังทรัพย์ (คนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจไม่ น้อยกว่า 3 ปี) หรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบ้านเรา พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติในไทยเป็น 1 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเก็บภาษีมากกว่าเดิมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันตัวเลขมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดชาวต่างชาติปี 2564 ในกรุงเทพฯ มากที่สุดต้องยกให้ ‘ประเทศจีน’ มีมูลค่า 19,588 ล้านบาท และจำนวนห้องชุดทั้งหมด 3,526 หน่วย เรียกได้ว่าทั้งมูลค่าการถือครองเป็นเจ้าของและจำนวนห้องมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับอันดับที่ 2 อย่าง ‘ประเทศวานูอาตู’ มีมูลค่า 1,111 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 58 หน่วย และอันดับที่ 3 คือ ‘ประเทศสิงคโปร์’ มีมูลค่า 786 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 117 หน่วย ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในไทยทุกวันนี้ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาติยุโรปมีสัดส่วนถึง […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

ไทยอัตราการเกิดต่ำสุดใน 50 ปี จำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด จุดเริ่มต้นหลังรัฐประหาร 2557

สมัยนี้หากคุณมีครอบครัวจะอยากมีลูกไหม? หากคุณตอบว่า ‘ไม่’ เป็นคำตอบที่ไม่แปลกเลยสำหรับยุคนี้ ไม่ใช่แค่คนไทยแต่รวมถึงทั่วโลกต่างมีอัตราการเกิดลดลง เพราะคนไม่อยากมีลูกและอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ ที่ผ่านมาปี 2564 ทำลายสถิติอัตราการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 50 ปี หนักถึงขั้นมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิดเสียอีก สังเกตได้จากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลที่เผยว่า อัตราการเกิดปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 540,000 คน น้อยลงจากที่เคยเกิดเมื่อ 50 ปีที่แล้วประมาณ 1,200,000 คน และเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย (ประมาณ 560,000 คน) จากข้อมูลคนเกิดน้อยลง มองเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน หากคิดอีกมุมหนึ่ง ก็น่าตั้งคำถามไม่น้อยว่า ทำไมอัตราการเกิดในไทยถึงได้มีจำนวนดิ่งลงจนติดลบขนาดนี้ เศรษฐกิจไม่ดี ดูแลตัวเองให้ดีก่อน หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนไม่อยากมีลูกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเด็ก ครอบครัว และเลี้ยงดูตนเองที่ไม่เพียงพอ อ้างอิงจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง และค่าตอบแทนต่ำ หากต้องส่งลูกเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลถึงระดับปริญญาโทควรต้องมีเงินอย่างน้อย 1.3 ล้านบาท และระดับปานกลางประมาณ 6.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป) ปัจจัยค่าจ้างแรงงาน เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนจะตัดสินใจในการมีลูก […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ศูนย์รวมต้นไม้จากทั่วไทยมาไว้ใจกลางกรุง

เทรนด์ปลูกต้นไม้กำลังมาแรง หลังจากนโยบายของพ่อเมืองคนใหม่ที่ชักชวนชาวกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนมาร่วมกันปลูกต้นไม้ทั่วเมืองให้ถึง 1 ล้านต้น เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองหลวงควันและฝุ่นมากมายของเรา ซึ่งตอนนี้เห็นว่ามีผู้สนใจร่วมเป็นจำนวนมากทะลุยอดที่หวังไปเยอะแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้มนุษย์กรุงเทพฯ อยากจับจอบเสียม มานั่งเปลี่ยนดินในกระถาง เตรียมปลูกต้นไม้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสนักปลูกเวียนมาเรื่อยๆ ทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ที่ต้องหากิจกรรมยามว่างระหว่าง Work from Home หรือกระแสไม้ด่าง ไม้มงคล และไม้ฟอกอากาศ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ตลอด ในวาระที่กรุงเทพฯ กำลังจะเป็นเมืองสีเขียว (ขึ้น) คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ถือโอกาสร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวให้เข้าเทรนด์ ชวนไปพูดคุยกับเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่ ‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ทำความรู้จักที่มาที่ไปของแหล่งค้าต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ แห่งนี้ อัปเดตสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมออกไปมองหาต้นไม้ไซซ์พอเหมาะๆ มาวางไว้สักกระถางริมระเบียงของคอนโดฯ หรือจัดมุมเล็กๆ ของบ้านให้เป็นพื้นที่สีเขียวส่วนตัว ส่วนใครที่มีต้นไม้อยู่แล้ว อยากฟังเคล็ดลับวิธีปลูกให้สวยคู่บ้านไปนานๆ ตามมาฟังพร้อมกัน ตลาดนัดจตุจักร เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานในฐานะตลาดนัดวันหยุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ของใช้วินเทจ หนังสือเก่า เสื้อผ้ามือหนึ่ง-มือสอง ไปจนถึงของที่ระลึกและของฝากที่นิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาพคุ้นตาคือทั่วบริเวณของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่สำหรับขายสินค้าชนิดต่างๆ กว่า 27 โครงการ […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

Tabisuru Kissa ท่องเที่ยวทั่วญี่ปุ่นไปกับแกงกะหรี่และครีมโซดา

โคเอนจิ (Koenji) เป็นย่านหนึ่งในโตเกียวที่เต็มไปด้วยคาเฟ่ แต่บรรยากาศไม่เก๋ชิกแบบ ชิบุย่า (Shibuya) หรือ โอโมเตะซันเด (Omotesando) ส่วนมากจะเป็นคาเฟ่ที่มีบรรยากาศเฉพาะตัว เรโทรนิดๆ วินเทจหน่อยๆ หรือมีธีมเฉพาะทางที่อาจจะดูอะไรเอ่ยไม่เข้าพวกในตัวเมือง แต่ตั้งอยู่ที่นี่ได้อย่างไม่เคอะเขิน  เวลาเดินกลับบ้านหรือแวะซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต เรามักจะค้นพบคาเฟ่เปิดใหม่อยู่เรื่อยๆ แต่ Tabisuru Kissa เป็นร้านที่ตรงกันข้าม เห็นลงสื่อญี่ปุ่นบ่อยแต่หาไม่เจอสักที ได้แต่เดาไปเองจากชื่อร้านอย่าง Tabisuru แปลว่าไปเที่ยว ส่วน Kissa คือร้านคาเฟ่แบบเรโทรของญี่ปุ่น ดังนั้นที่นี่ก็คงเป็นร้านที่เจ้าของชอบไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วนำองค์ประกอบต่างๆ จากแต่ละที่มาขายหรือตกแต่งร้าน มีเมนูจากหลายประเทศให้ลองแน่ๆ ความจริงแล้วเราคิดถูกแค่ครึ่งเดียว Tabisuru Kissa คืออดีตคาเฟ่มีขาที่ตระเวนไปเที่ยว (เปิดร้านป็อปอัป) ตามจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยมีแค่สองเมนู นั่นคือ แกงกะหรี่และครีมโซดา เจ้าของร้านพาความอร่อยไปนำเสนอให้คนในท้องถิ่น โดยใช้วัตถุดิบกรุบกริบสร้างสรรค์เมนูลิมิเต็ดเฉพาะเมืองนั้นๆ  หลังจากร่อนเร่เป็นคาเฟ่พเนจรอยู่เกือบๆ 2 ปี ในที่สุดก็ตัดสินใจลงหลักปักฐาน นำสิ่งที่เรียนรู้จากการเดินทางตะลุยเหนือจรดใต้รวม 13 จังหวัดมาเปิดหน้าร้านจริงจังในโตเกียวช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา คาเฟ่ที่ใช้แกงกะหรี่และครีมโซดานำทาง แค่ฟังก็ทั้งน่ากินและน่าสนุก ทำไป […]

ชุดนักเรียนไทย สะท้อนความเท่าเทียม หรือซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ?

คุณคิดว่าชุดนักเรียนไทยยังจำเป็นต้องใส่อยู่หรือไม่? หลังจากข่าวกระทรวงมหาดไทยมอบหมายผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดสำรวจครอบครัวที่ขาดแคลนเครื่องแบบนักเรียน และจึงจะระดมกำลังภาคีเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัดจัดหาชุดเครื่องแบบให้ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว และอาจไม่ได้ช่วยคลายปมให้ถูกจุดในระยะยาวเท่าไหร่นัก สำหรับเด็กไทย ชุดนักเรียนคือเสื้อผ้าที่ต้องใส่แทบทุกวัน แถมเครื่องแต่งกายยังมีหลายรูปแบบ เช่น ชุดลูกเสือ ชุดเนตรนารี ชุดพละ หรือเสื้อผ้าใส่ในวันพิเศษอย่างชุดกีฬาสี ชุดผ้าไหมไทย หรือชุดอาเซียนร่วมใจก็มี ความหลากหลายของชุดตามมาด้วยราคาที่ต้องจ่ายเองแสนหนักอึ้ง สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ที่ซบเซาและค่าครองชีพที่พุ่งสูงมากกว่าเคย 8,840 บาท/คน ค่าชุดนักเรียน (ขั้นต่ำ) ที่พ่อแม่ต้องจ่าย จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลราคาเฉลี่ยเครื่องแบบนักเรียนไทยเบื้องต้น ชุดนักเรียน 3 ชุด ชุดลูกเสือ/เนตรนารี 1 ชุด และชุดพละ 1 ชุด เริ่มจากวัยอนุบาลประมาณ 1,697 บาท วัยประถมศึกษาประมาณ 1,949 บาท และวัยมัธยมศึกษาประมาณ 2,180 บาท รวมกับค่าใช้จ่ายจุกจิก เช่น เครื่องประดับชุดนักเรียน ชุดกิจกรรม กระเป๋า และรองเท้า ตีรวมเป็นเลขกลมๆ ประมาณ 1,000 บาทคูณสามวัยการศึกษา สรุปได้ว่า หากคุณเป็นผู้ปกครองเด็กคนหนึ่งต้องเก็บเงินเผื่อค่าชุดนักเรียน […]

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติไฟไหม้ปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ที่สีลมซอย 2 บ่อนไก่ ไปจนถึงสำเพ็ง ซึ่งแต่ละครั้งห่างกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ‘ไฟไหม้’ จึงเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่คนกรุงต้องระวังและควรมีแผนป้องกันในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งคือความสูญเสียของประชาชนที่ประเมินค่าไม่ได้  หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมช่วงนี้ถึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีไฟไหม้บ่อยมาก ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่เป็นข่าวเท่านั้น Urban Creature จึงอยากพาไปดูตัวเลขจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าแต่ละปีกรุงเทพฯ ไฟไหม้ไปกี่ครั้ง และเกิดขึ้นที่เขตไหนบ้าง  ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง? ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้งปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้งปี […]

1 15 16 17 18 19 47

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.