FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

FYI

ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพกับ Westgate Community ที่เชื่อมต่อชีวิตกับธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ‘Westgate’ ได้กลายเป็นทำเลเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับลูกบ้านเป็นอันดับแรกอย่าง ‘แสนสิริ’ เล็งเห็นถึงการสร้างวิถีชีวิตที่มีคุณภาพผ่านการอยู่อาศัยในบรรยากาศธรรมชาติ แต่ยังรายล้อมด้วยความสะดวกสบาย เกิดเป็นโครงการ ‘Westgate Community’ ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่กับพื้นที่สีเขียวแบบอยู่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก Westgate Community จากแสนสิริ  สามารถตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้ในทุกมิติ ทั้งการอยู่อาศัย การเดินทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกชีวิตในโครงการแห่งนี้ได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย นำไปสู่การอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน Westgate Community เป็นคอมมูนิตี้แห่งใหม่ของแสนสิริในโซนเวสต์เกต ทำเลที่เข้าสู่การเป็นศูนย์กลางความเจริญทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ (WBD) โดย Westgate Community นั้นตั้งอยู่บริเวณซอยเลียบคลองบางไผ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่ รวมถึงอยู่ไม่ไกลจากทางด่วน และเชื่อมต่อถนนเส้นหลักได้หลายสาย ทั้งถนนกาญจนาภิเษก ถนนชัยพฤกษ์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนนครอินทร์ ทำให้เดินทางง่ายทั้งขนส่งสาธารณะและรถยนต์ส่วนตัว นอกจากจะเดินทางง่ายแล้ว Westgate Community ยังอยู่ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกรอบโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล รวมไปถึงศูนย์การค้าแลนด์มาร์กของโซนนี้อย่างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกตอีกด้วย ความพิเศษที่ทำให้ Westgate Community เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง คือแนวคิด Sustainability, Security และ Living […]

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

FYI

‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ โครงการเติมฝันและมอบโอกาสด้านกีฬาให้เยาวชนไทย

ช่วงบ่ายที่สภาพอากาศร้อนจัดและแสงแดดจ้า บรรยากาศรอบๆ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ปกติเงียบสงบ มีผู้คนบางตา วันนี้กลับคึกคักไปด้วยนักเรียนและคนในท้องถิ่นที่มารวมตัวกัน แถมยังมีเสียงดังกระหึ่มจากการตีกลองและการแสดงศิลปะพื้นบ้านของเหล่านักเรียนเป็นระยะๆ ดูเป็นไดนามิกของพื้นที่ที่ต่างไปจากทุกวัน เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของพิธีมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลภายใต้โครงการ ‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ จัดโดย ‘คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย’ ภายใต้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ซึ่งโรงเรียนบ้านแซววิทยาคมคือโรงเรียนแห่งที่ 88 ที่ได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาด 7 คนเล่นจากโครงการนี้ โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ทางกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เดินหน้ามอบสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับสากล ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ ‘THE POWER OF POSSIBILITIES ชีวิตไม่หยุดค้นหาความเป็นไปได้’ Urban Creature อยากพาทุกคนลงสำรวจพื้นที่เล็กๆ ของจังหวัดเชียงรายอย่างโรงเรียนบ้านแซววิทยาคม เพื่อสัมผัสบรรยากาศที่เปลี่ยนไปหลังได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งใหม่ รวมถึงพูดคุยกับคนในพื้นที่ถึงโอกาสในการพัฒนาฝีเท้าของเยาวชนนักเตะไทยให้มีศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลอย่างมีประสิทธิภาพ  สนามฟุตบอลที่จุดประกายและเติมฝันด้านกีฬา ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า โรงเรียนที่จะได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลจากโครงการ 100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย ต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกต่างๆ เช่น […]

FYI

#LetHerGrow แคมเปญว่าด้วยเส้นผมที่สะท้อนว่า ‘ค่านิยมของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว’

“เรื่องหนึ่งที่เราเพิ่งค้นพบระหว่างทำแคมเปญนี้คือ การได้รู้ว่าปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกกฎการตัดผมไปแล้ว แต่คนที่ไม่ยอมเลิกคือโรงเรียน” ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เราเห็นว่า ต้นตอของปัญหาเรื่องทรงผมนั้นไม่ได้อยู่ที่กฎข้อบังคับ แต่อยู่ที่ค่านิยม ความเชื่อของคนไทย ซึ่งกำลังกดทับคนไทยด้วยกันเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และมันยังถูกส่งต่อไปให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในรั้วโรงเรียนอีกด้วย นี่จึงเป็นที่มาของแคมเปญโฆษณา #LetHerGrow ล่าสุดของ Dove ซึ่งเป็นที่พูดถึงในสังคมวงกว้างตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว เพราะนอกจากภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ ไก่–ณฐพล บุญประกอบ มารับหน้าที่ผู้กำกับแล้ว ก็ยังมีการต่อยอดแคมเปญไปสู่สื่ออื่นๆ อย่างหนังสือพิมพ์ และจัดทำไมโครไซต์ ให้ทุกคนได้เข้าไปแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเส้นผมอีกด้วย เมื่อมีโอกาส เราจึงชวนณฐพล และตัวแทนผู้อยู่เบื้องหลังอย่าง แฟร์-พาณิภัค ศิริรัตนชัยกูล ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์โดฟ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และปุ้ย–สราพร เอี่ยวภิรมย์กุล ผู้อำนวยการแผนกบริหารงานลูกค้า ซีเลคท์ สตาร์ท มาพูดคุยกันถึงที่มาที่ไป กระบวนการ และเรื่องราวสนุกๆ เบื้องหลัง เพราะกว่าที่จะออกมาเป็นแคมเปญนี้ พวกเขาซุ่มทำกันแบบข้ามปีเลยทีเดียว ความสวยงามที่แท้จริง เริ่มต้นจากความมั่นใจ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2564 แคมเปญนี้เริ่มต้นขึ้นจากแก่นความเชื่อของโดฟนั่นคือ Real Beauty หรือความงามที่แท้จริง ไม่ได้มาจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันต้องเกิดขึ้นจากความมั่นใจ ไม่ใช่ความวิตกกังวลว่าเราจะแตกแถวออกจากบิวตี้สแตนดาร์ดของสังคมหรือไม่ “จากโจทย์แรกของเรา ทางแบรนด์มีไอเดียหลักมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าเขาอยากตั้งคำถาม คือมันจะไม่ใช่การสรุปว่าอะไรถูกอะไรผิด […]

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

FYI

ความนุ่ม Sandbox ของเราไม่เท่ากัน : เสียงสะท้อนที่เจ็บปวดของแรงงานนอกระบบบนเกาะสมุย

0 “ปลายปีนี้ 50% อยู่เหนือ ที่เหลือ 50% อยู่ทะเล” ข้อความทวีตหนึ่งที่บังเอิญเลื่อนเจอขณะที่ตัวผู้เขียนเองกำลังอยู่บนเฟอร์รีข้ามไปสมุย  เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ได้ถูกกำหนดเป็น “สมุยพลัส แซนด์บ็อกซ์” (Samui Plus Sandbox) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง  “แซนด์บ็อกซ์ โมเดล” ถือกำเนิดเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ตรวจสอบการทำงานของระบบ เช่น ก่อนจะมีการปล่อยซอฟต์แวร์สักตัวมาใช้ จะต้องมีการทดลองในแซนด์บ็อกซ์จนมั่นใจก่อนปล่อยใช้งานจริง  แซนด์บ็อกซ์จึงเป็นพื้นที่แห่งการทดลอง และต่อให้ล้มเหลวก็เจ็บตัวไม่มาก เหมือนเวลาที่เด็กๆ เล่นชิงช้าและตกลงในพื้นทรายด้านล่าง  ทว่าพื้นที่ทรายนุ่มๆ เม็ดละเอียดที่ทอดยาวกลายเป็นหาดชื่อดังของสมุย ไม่ว่าจะเป็น เฉวง ละไม บ่อผุด และอื่นๆ กลับไม่นุ่มอย่างนั้น อย่างน้อยในมุมของแรงงานนอกระบบที่อยากชวนทุกคนไปสำรวจพร้อมๆ กัน  1 แขก อายุ 40 ปี เป็นคนหนองคายตั้งแต่กำเนิด ด้วยฐานะที่ค่อนไปทางลำบาก เขาจึงเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาที่สมุย นับตั้งแต่เด็กหนุ่มอีสานเหยียบหาดทรายขาวนุ่มแห่งนี้ เวลาก็ล่วงไปแล้วราว 20 ปี เขายึดอาชีพเดินเร่ขายของในบริเวณหาดเฉวงที่ก่อนหน้าจะมีโควิด […]

FYI

ครบรอบ 120 วัน ไทยพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?

ถึงเส้นตายของ ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ กับทิศทางและนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลจะลงมือทำ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อม (?) เปิดประเทศภายใน 120 วัน! จะ ‘พัง’ หรือ ‘รอด’?

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

FYI

LIFE ASOKE HYPE ไฮป์กับชีวิตแนวตั้งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ

รูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนและพัฒนาไปตามกาลและเวลา จากเดิมที่เคยอยู่บ้านหลังใหญ่ที่มีสวนอยู่หลังบ้านและใช้ชีวิตกันในแนวราบ ความเป็นเมืองค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในแนวตั้งมากขึ้นอาทิ ตึกแถว อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมในที่สุด จนเกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Vertical Living’  ซึ่งข้อดีของการอยู่อาศัยในวิถีชีวิตแนวตั้ง คือการที่เราสามารถเลือกทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยได้หลากหลาย สามารถเลือกอยู่ใจกลางย่าน CBD ที่อุดมไปด้วยแหล่งงานและการศึกษา ที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึง ช่วยลดความตึงเครียดจากการเดินทางในระยะไกล เข้าถึงระบบสาธารณสุข หรือปัจจัยพื้นฐานอย่างอื่นได้ง่ายตามไปด้วย และเมื่อการอยู่อาศัยแบบ Vertical Living กลายมาเป็นปัจจุบันและอนาคตในการใช้ชีวิตของมนุษย์ โจทย์ของที่อยู่อาศัยยุคใหม่จึงต้องไม่ใช่แค่การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่หมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยแบบ Vertical Living ให้ดีขึ้นด้วย การออกแบบจึงต้องสามารถเชื่อมแนวคิดความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิด ทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ของคอนโดฯ ให้เข้ามาสู่ธรรมชาติให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในเวลาเดียวกัน เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักความตื่นเต้น ไม่เหมือนใครในการอยู่อาศัยไปกับ LIFE ASOKE HYPE โดยบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บูทีกคอนโดฯ แห่งแรก ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สะดุดทุกสายตาตั้งแต่ดีไซน์ภายนอกแรกเห็นด้วยตัวอาคารสี RED HYPE สีแดงเข้มสุดพิเศษ จากห้องแล็บสีของโจตัน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มอบความรู้สึกกระตือรือร้น […]

FYI

ชวนดูระบบ SMS ข้อความเตือนภัยฉุกเฉินจาก 4 ทวีปทั่วโลก

ข้อความฉุกเฉินเตือนภัยในแต่ละประเทศจะถูกแจ้งผ่านทางทีมรัฐบาล หรือส่งตรงจากนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วข้อความเหล่านี้ ถูกส่งผ่านระบบ ‘Cell Broadcast (CB)’ ที่เป็นวิธีการส่งข้อความผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ทั้งยังส่งได้ผ่านระบบไร้สายและตามสาย ด้วยความยาวสูงสุดได้ถึง 1,395 ตัวอักษร โดยการส่งต่อข้อความฉุกเฉินถึงผู้คนหลายล้านคน หลากหลายภาษา ตามมาตรฐานจะใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น ซึ่งกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับ Cell Broadcast ได้แล้ว แอบกระซิบว่าสามารถตั้งค่าในโทรศัพท์มือถือได้ทั้งระบบ iPhone และ Android ซึ่งในแต่ละทวีปจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน 01 | ทวีปยุโรป : EU-Alert / Everbridge Public Warning เราเริ่มต้นพาไปส่องการแจ้งเตือนภัยทางฝั่งยุโรป ที่มีเครือข่ายและพื้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ซึ่งมีชื่อว่า ‘EU-Alert’ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยการแทนอักษรย่อประเทศ เช่น NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์GR-Alert : ประเทศกรีซ LT-Alert […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.