Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์

ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

Seibuen Yuenchi สวนสนุกยุคโชวะอายุ 71 ปีที่เอาความคึกคักยุค 60 มาชวนเล่นฉลองวัยเก๋าและวันวาน

โลกแห่งจินตนาการที่พาทุกคนย้อนความทรงจำ คนที่เคยมาเที่ยวโตเกียวน่าจะคุ้นกับชื่อ Seibu กันบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในบริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น คุณเซบุเขาทำสวนสนุกด้วยคือ Seibuen Yuenchi (เซบุเอ็น ยูเอ็นจิ) เริ่มสร้างความสนุกมาตั้งแต่ปี 1950 และเพิ่งอายุครบ 70 ปีเมื่อปีที่แล้วเลยรีโนเวตสวนใหม่เพื่อเฉลิมฉลองวัยเก๋า ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานี้เอง ธีมของสวนเจนฯ ใหม่คือโลกที่บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและชวนให้อบอุ่นหัวใจ คนที่มาจะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศเก่าๆ สไตล์วินเทจที่ชวนให้คิดถึงยุคโชวะของญี่ปุ่นโดยอิงยุค 60 เป็นหลัก  เราชอบสภาพภูมิประเทศของที่นี่มาก มีการเล่นระดับเนินน้อยใหญ่มากมาย แถมมีต้นไม้เขียวขจีชวนสดชื่น เจ้าหน้าที่ของสวนแอบกระซิบบอกเรามาว่า เมื่อก่อนที่นี่เคยเป็นป่าเขา ตอนสร้างสวนสนุกเลยพยายามคงสภาพทางธรรมชาตินั้นไว้ให้ได้มากที่สุดรวมไปถึงต้นไม้ด้วย ถ้าเราขึ้นยูเอฟโอที่ชมวิวได้ 360 องศาหรือชิงช้าสวรรค์จะได้เห็นพื้นที่สีเขียวที่เต็มไปด้วยความร่าเริงของสวนสนุกซึ่งหาดูยากในเมืองใหญ่ ส่วนบรรยากาศวินเทจ ถ้าคิดไม่ออกว่าเป็นยังไง ลองคิดว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของหนังเรื่อง Always Sunset on the Third Street ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 1958 ตอนโตเกียวทาวเวอร์กำลังจะสร้างเสร็จ เราสามารถเดินสำรวจวิถีชีวิตชาวบ้านในย่านที่อยู่อาศัยบนถนนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คน อันเป็นที่มาของความอบอุ่นที่จับใจ  ความวินเทจก็ลงดีเทลมาก เช่น เมนูอาหาร ราคาสินค้าอาหารต่างๆ ปรับให้เข้ากับยุคนั้นทั้งหมด (เราเลยต้องแลกธนบัตรที่น่ารักสุดใจ) มีขนมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนอย่าง shiberia […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด เพราะต้องประจันหน้ากับคุณครูตลอดเวลา […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?

“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]

FYI

ความนุ่ม Sandbox ของเราไม่เท่ากัน : เสียงสะท้อนที่เจ็บปวดของแรงงานนอกระบบบนเกาะสมุย

0 “ปลายปีนี้ 50% อยู่เหนือ ที่เหลือ 50% อยู่ทะเล” ข้อความทวีตหนึ่งที่บังเอิญเลื่อนเจอขณะที่ตัวผู้เขียนเองกำลังอยู่บนเฟอร์รีข้ามไปสมุย  เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ได้ถูกกำหนดเป็น “สมุยพลัส แซนด์บ็อกซ์” (Samui Plus Sandbox) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง  “แซนด์บ็อกซ์ โมเดล” ถือกำเนิดเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ตรวจสอบการทำงานของระบบ เช่น ก่อนจะมีการปล่อยซอฟต์แวร์สักตัวมาใช้ จะต้องมีการทดลองในแซนด์บ็อกซ์จนมั่นใจก่อนปล่อยใช้งานจริง  แซนด์บ็อกซ์จึงเป็นพื้นที่แห่งการทดลอง และต่อให้ล้มเหลวก็เจ็บตัวไม่มาก เหมือนเวลาที่เด็กๆ เล่นชิงช้าและตกลงในพื้นทรายด้านล่าง  ทว่าพื้นที่ทรายนุ่มๆ เม็ดละเอียดที่ทอดยาวกลายเป็นหาดชื่อดังของสมุย ไม่ว่าจะเป็น เฉวง ละไม บ่อผุด และอื่นๆ กลับไม่นุ่มอย่างนั้น อย่างน้อยในมุมของแรงงานนอกระบบที่อยากชวนทุกคนไปสำรวจพร้อมๆ กัน  1 แขก อายุ 40 ปี เป็นคนหนองคายตั้งแต่กำเนิด ด้วยฐานะที่ค่อนไปทางลำบาก เขาจึงเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาที่สมุย นับตั้งแต่เด็กหนุ่มอีสานเหยียบหาดทรายขาวนุ่มแห่งนี้ เวลาก็ล่วงไปแล้วราว 20 ปี เขายึดอาชีพเดินเร่ขายของในบริเวณหาดเฉวงที่ก่อนหน้าจะมีโควิด […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

Glamping in the City แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถ ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมือง

ลมหนาวพัดผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็วสายแคมป์ปิ้งบางคนก็อาจยังไม่ทันได้เตรียมตัวออก ต่างจังหวัดสัมผัสอากาศดีๆ กันเลย แถมโอกาสเที่ยวในวันหยุดยาวช่วงต้นเดือนหายวับ! เป็นที่ เรียบร้อย เพราะงานที่กรูเข้ามาพอดี แต่ไม่เป็นไร ใช่ว่าการไปแคมป์จะต้องออกต่างจังหวัดค้างหลายคืนเสมอไป ในกรุงเทพฯ ก็มีพื้นที่ให้ เราอินการแคมป์เพียงแค่ 1 วันได้เช่นเดียวกัน…อย่ามัวรอช้า แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ขับสบายฟังเพลงชิลๆ มุ่งหน้าสู่ Kamaboko Coffee Camp กัน! ถ้าแต่งตัว แพ็กกระเป๋ากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะพาชาว Urban Creature สตาร์ทวันไปกับรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมืองที่ Kamaboko Coffee Camp ซึ่งความพิเศษในทริปนี้ เราจะเดินทางแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Mitsubishi Outlander PHEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด ที่สามารถผสานการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน จะใช้ไฟฟ้า เพียงอย่างเดียว100%ก็วิ่งได้ไกลถึง55กม.ขับในเมืองหรือออกต่างจังหวดัได้สบายมีอัตราการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่้าที่ 43 กรัม /กม. (รถยนต์ทั่วไปปล่อยอยู่ที่ประมาณ 100 กรัม/กม.ขึ้นไป) […]

Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

Himeji Castle มรดกโลกสุดทันสมัยที่เข้าสู่จักรวาล Metaverse ก่อนใคร

ช่วงนี้หัวข้อ Metaverse กำลังอยู่ในความสนใจ เลยอยากนำเรื่องมินิเมตาเวิร์สที่ปราสาทฮิเมจิ มรดกโลกสุดป็อปที่จังหวัดเฮียวโกะมาแชร์ เพราะพี่เขาชิงนำ VR, AR มาใช้ก่อนใครตั้งแต่บูรณะปราสาทเสร็จใหม่ๆ ในปี 2015 ปราสาทฮิเมจิฉายแววป็อปมาตั้งแต่ตอนบูรณะปราสาทครั้งใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นช่วง ค.ศ. 2009  เขาแสดงความคิดสร้างสรรค์และความใจกว้าง เปิดรับสิ่งใหม่ด้วยการเนรมิตนั่งร้านให้กลายเป็นจุดชมการซ่อมบูรณะมรดกทางวัฒนธรรมแบบเท่ๆ ที่ผู้คนยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเข้าไปดูช่างฝีมือทำงาน  หลังกลับมาเปิดให้ชมเต็มรูปแบบก็พัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เช่นในเว็บไซต์มี AI Chat พร้อมโต้ตอบภาษาอังกฤษ อะไรที่เกินสติปัญญา AI ระบบจะเชื่อมต่อโอเปอเรเตอร์มารับช่วงต่อแทนทันที ว้าวซ่ามากสำหรับการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และตอนนี้มี Virtual Tour ภาษาอังกฤษให้พาคนเที่ยวปราสาทผ่าน Zoom แบบสดๆ อีกต่างหาก ปังอะไรเบอร์นี้ เราเลยโค้งสวยๆ ขอเวลาจาก Masayuki Tsunemine และ Toshikatsu Okada เจ้าหน้าที่จากปราสาทฮิเมจิมาเล่าความกรุบกริบไฮเทคทันสมัยของมรดกโลกอายุหลายร้อยปีกัน! สำหรับคนที่ไม่คุ้นชื่อปราสาทนี้ ขอบรีฟคร่าวๆ ถึงความดีงามของพี่เขาสักเล็กน้อย ปราสาทฮิเมจิตั้งอยู่ในเมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโกะ มีความเป็นดาวได้มงหลายตำแหน่ง เช่น ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยว Travellers’ Choice […]

1 16 17 18 19 20 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.