ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]

ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์

‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]

Public Convenience ดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะที่รับจบทุกการชำระล้าง สะดวกและสะอาดครบในที่เดียว

‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน ซึ่งห้องน้ำสาธารณะทั่วไปที่เราเห็นและเคยใช้งานกันมักมีบริการแค่ห้องน้ำอย่างเดียว แต่ในหลายๆ ครั้ง คนเราอาจต้องการบริการด้านความสะอาดและสุขอนามัยอื่นๆ ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้วยเหมือนกัน อย่างการอาบน้ำหลังออกกำลังกาย การซักเสื้อผ้าที่ต้องรีบทำความสะอาดทันที หรือแม้แต่พื้นที่ในการเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผมแบบเร่งด่วนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะ 24 ชั่วโมงแบบครบวงจรที่มีให้มากกว่าแค่พื้นที่ปลดทุกข์ปล่อยเบา เพราะยังมีบริการอื่นๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในเมืองมีคุณภาพด้านความสะอาดและสะดวกสบายมากขึ้น โซนห้องน้ำ : ทำธุระหนัก-เบา และชำระล้างร่างกายได้ตลอดเวลา โซนแรกของพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นโซนห้องน้ำสำหรับให้บริการใครที่ต้องการปล่อยหนัก-เบา โดยโซนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนห้องน้ำ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป คนแก่ หรือคนพิการ อีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนห้องอาบน้ำ สำหรับให้บริการผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ มีธุระสำคัญต่อ หรือแม้แต่บ้านไหนที่น้ำไม่ไหลแต่จำเป็นต้องอาบน้ำก็เข้ามาใช้บริการที่นี่ได้ โดยห้องอาบน้ำของเรามีการแบ่งโซนเปียกและโซนแห้งไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีพื้นที่ในการอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีสบู่หรือแชมพูกระเด็นไปเลอะเทอะหรือไม่ โซนแต่งตัว : จัดชุด แต่งหน้า เตรียมความพร้อมก่อนออกไปงานสำคัญ อาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว แต่จะให้ออกไปทั้งที่ผมเปียกก็ยังไงอยู่ หรือถ้าใครมีงานสำคัญที่ต้องไปต่อก็ควรต้องเสริมสวยเพิ่มหล่อก่อนหรือเปล่า ดังนั้นเราจึงมีโต๊ะเครื่องแป้งพร้อมกระจกบานใหญ่ให้สำรวจความพร้อมได้อย่างเต็มที่ พร้อมมุมเป่าผมให้บริการในโซนแต่งตัว เพื่อจัดการความเรียบร้อยให้เสร็จสิ้นก่อนออกไปข้างนอก ภายในโซนนี้ยังมีตู้จำหน่ายอุปกรณ์อาบน้ำราคาย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า […]

‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน

‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]

เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ

ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์  ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง

ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]

Mu-Center ออกแบบศูนย์มูเตลูครบวงจร รับจบที่เดียวด้านความเชื่อ และเป็นมิตรต่อเมือง

งานไม่เลิศ เงินไม่ปัง ความรักไม่รอด หาทางแก้ไขปัญหามาทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ดี ที่พึ่งสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการ ‘มูเตลู’ ถึงอย่างนั้นการมูฯ ก็มีหลายสาขา หลายความเชื่อ หลายศาสนา สถานที่มูฯ ก็มีมากมายกระจายตัวทั่วเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สาขาอะไร ชาวมูฯ ทั้งหลายล้วนต้องเจอกับปัญหาไม่น้อย ตั้งแต่คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวตามสถานที่มูฯ จนแทบจะไม่มีที่ยืนขอพร การแบ่งโซนที่ไม่เป็นระเบียบ ไปจนถึงของไหว้ของถวายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Urban Sketch ขอจำลองพื้นที่ Mu-Center ศูนย์รวมการมูเตลูครบจบในที่เดียวภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับสายมูฯ หลากหลายสาขา นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานและผู้คนรอบนอกสถานที่แล้ว ที่นี่ยังเป็นมิตรกับเมืองอีกด้วย ก่อนจะไปดู Mu-Center ของเรา อย่าลืมกด 99 รับโชคดีกันด้วยล่ะ 1) แยกทางเข้าและทางออก เมื่อมูเซ็นเตอร์ของเราเป็นทั้งศูนย์กลางและศูนย์รวมของการมูเตลู ย่อมต้องมีคนเวียนกันเข้ามาบูชาองค์เทพทั้งวัน ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของคนที่เดินเข้า-ออกตลอดเวลา เราจึงแยกทางเข้าและทางออกไว้อย่างละทาง เพื่อสร้างโฟลว์ให้คนสัญจรง่าย และใช้สถานที่อย่างสะดวกสบาย 2) แบ่งโซนตามความเชื่อ ไม่ว่าจะมูฯ แบบไหน ไทย จีน ฮินดู ก็สามารถเก็บครบจบที่มูเซ็นเตอร์ เพราะเราจะรวมทุกการมูฯ เอาไว้ในที่เดียว โดยแบ่งโซนแยกไว้ตามแต่ละศาสนาและความเชื่อ เลือกได้เลยว่าจะมูฯ […]

Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง

ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]

Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.