COP26 the Other Side: 5 ประเด็นชวนเอ๊ะ! สรุปรักษ์โลกกันจริงไหมในการประชุม COP26

ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร

วัดที่มีหลักคิดทำ Space ให้เป็น Public ได้ส่งต่อปัญญา I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP5

ปัญหาใหญ่อีกหนึ่งปัญหาของบ้านเราที่ต่างรู้กันดี คือการขาดพื้นที่สาธารณะ ขาดพื้นที่ที่คนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายๆ แต่หากเรามองอีกมุมว่าพื้นที่สาธารณะเหล่านั้นคือ ‘วัด’ ล่ะ วัดคือสถานที่ที่อยู่คู่กับชุมชนไทยแทบทุกอำเภอ ทุกตำบล หากเราสามารถเปลี่ยนวัดให้เป็นมากกว่าพื้นที่ของศาสนพิธี แต่เป็นพื้นที่ที่ทุกคนจะได้เข้ามาเพื่อสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ส่งต่อความรู้สู่สังคม พื้นที่ของวัดจะช่วยเข้าไปเพิ่มพื้นที่สาธารณะที่ยังขาดได้ทั่วทั้งประเทศ วัดชลประทานฯ ด้วยแนวคิดที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยจึงสร้างพื้นที่เหล่านั้นขึ้นภายในวัด ตัวอย่างที่สำคัญคือสถาบันปัญญาวิชชาลัย สถาบันที่เป็นเหมือนพื้นที่ความรู้ที่คนสามารถนำปัญญามาส่งต่อกันได้ ที่นี่มีตั้งแต่คอร์สสุขภาพจนไปถึงคอร์สกราฟิกพาวเวอร์พอยต์ เพราะเรื่องของธรรมะไม่ได้เป็นแค่เรื่องในตำราธรรม แต่คือชีวิตประจำวันของทุกคน การสร้างพื้นที่ที่ความรู้ได้สอดแทรกไปกับธรรมะจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกของยุคสมัย #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #สถาบันปัญญาวิชชาลัย

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น  แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

FYI

ครบรอบ 120 วัน ไทยพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?

ถึงเส้นตายของ ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ กับทิศทางและนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลจะลงมือทำ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อม (?) เปิดประเทศภายใน 120 วัน! จะ ‘พัง’ หรือ ‘รอด’?

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ

5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

FYI

LIFE ASOKE HYPE ไฮป์กับชีวิตแนวตั้งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ

รูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนและพัฒนาไปตามกาลและเวลา จากเดิมที่เคยอยู่บ้านหลังใหญ่ที่มีสวนอยู่หลังบ้านและใช้ชีวิตกันในแนวราบ ความเป็นเมืองค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในแนวตั้งมากขึ้นอาทิ ตึกแถว อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมในที่สุด จนเกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Vertical Living’  ซึ่งข้อดีของการอยู่อาศัยในวิถีชีวิตแนวตั้ง คือการที่เราสามารถเลือกทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยได้หลากหลาย สามารถเลือกอยู่ใจกลางย่าน CBD ที่อุดมไปด้วยแหล่งงานและการศึกษา ที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึง ช่วยลดความตึงเครียดจากการเดินทางในระยะไกล เข้าถึงระบบสาธารณสุข หรือปัจจัยพื้นฐานอย่างอื่นได้ง่ายตามไปด้วย และเมื่อการอยู่อาศัยแบบ Vertical Living กลายมาเป็นปัจจุบันและอนาคตในการใช้ชีวิตของมนุษย์ โจทย์ของที่อยู่อาศัยยุคใหม่จึงต้องไม่ใช่แค่การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่หมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยแบบ Vertical Living ให้ดีขึ้นด้วย การออกแบบจึงต้องสามารถเชื่อมแนวคิดความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิด ทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ของคอนโดฯ ให้เข้ามาสู่ธรรมชาติให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในเวลาเดียวกัน เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักความตื่นเต้น ไม่เหมือนใครในการอยู่อาศัยไปกับ LIFE ASOKE HYPE โดยบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บูทีกคอนโดฯ แห่งแรก ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สะดุดทุกสายตาตั้งแต่ดีไซน์ภายนอกแรกเห็นด้วยตัวอาคารสี RED HYPE สีแดงเข้มสุดพิเศษ จากห้องแล็บสีของโจตัน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มอบความรู้สึกกระตือรือร้น […]

1 17 18 19 20 21 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.