Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

รวมบทแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพ จับไต๋กลโกง ไม่โดนหลอกเอาเงิน

แก๊งคอลเซ็นเตอร์และ SMS มิจฉาชีพ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยเจอบ่อยที่สุดในช่วงที่ผ่านมานี้ บางคนอาจแค่รู้สึกรำคาญเวลามีสายโทรหรือ SMS เข้ามา แต่กับบางคนอาจโดนหลอกเสียเงินไปหลายหมื่นหลายแสน ถึงขนาดหมดตัวเลยก็มี แม้ว่าจะมีทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนออกมาให้ความรู้และเตือนถึงกลวิธีของมิจฉาชีพเหล่านี้แล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะช่วยป้องกันประชาชนได้ เพราะมิจฉาชีพเองก็มีหลายขบวนการ รวมถึงมีวิธีหลอกลวงใหม่ๆ มาใช้อยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนมารู้เท่าทันกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพ และเข้าใจว่าเวลาหน่วยงานหรือบริษัทที่มักถูกมิจฉาชีพใช้ชื่อแอบอ้างอยู่บ่อยๆ มีนโยบายการติดต่อผู้ใช้งานอย่างไร จะได้ระแวดระวัง ไม่ถูกหลอกกัน มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่ง DHL มุกนี้น่าจะเป็นหนึ่งในมุกคลาสสิกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้เลยก็ว่าได้ จนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้คุ้นเคยกับบริษัทขนส่ง DHL Express นัก ต่างติดภาพจำไปแล้วว่าชื่อบริษัทนี้คือชื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการขนส่งจริงๆ DHL Express เป็นที่รู้จักในแง่ของบริการขนส่งด่วนและบริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งนี่อาจทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้อุบายทำนองว่ามีพัสดุจากต่างประเทศติดศุลกากร หลอกว่าคุณได้รับรางวัลและของอยู่ในระหว่างจัดส่ง กล่าวหาว่าคุณส่งของผิดกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีการขอข้อมูลส่วนตัว รวมถึงตรวจสอบเงินในบัญชีแล้วจะคืนให้เมื่อสอบสวนแล้วพบว่าบริสุทธิ์ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ มียอดผู้เสียหายจากการหลอกลวงประเภทนี้กว่าร้อยคนแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายเกือบ 40 ล้านบาท ถึงจะมีการให้ความรู้จาก DHL Express และเป็นข่าวใหญ่มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังตกเป็นเหยื่อ จากข้อมูลการประกาศเตือนภัย DHL Express แจ้งว่าไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าผ่านระบบอัตโนมัติและไม่ให้ลูกค้าแอดไลน์ ใครที่ได้รับสายแนวนี้ […]

เปิดมุมมองใหม่ ‘เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา’ ทำไมทุกรูปแบบของชีวิตถึงมุ่งตรงมาที่นี่

พอเอ่ยชื่อเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา หรือที่เรียกกันติดปากอย่าง ‘เลียบด่วน’ ขึ้นมา ก็พาให้คิดถึงย่านสุด Creative ที่มีคาแรกเตอร์ของย่านที่เด่นชัดน่าสนใจ รายล้อมด้วยแหล่งไลฟ์สไตล์และสถานที่สุดเก๋ ทั้ง public space สำหรับทำกิจกรรม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่สีเขียว แถมยังเป็นย่านรวมที่อยู่อาศัยระดับ luxury เรียงรายตลอด 2 ฝั่งถนน ไม่แปลกใจเลยที่ย่านนี้จะคึกคัก เพราะย่านเลียบด่วนอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองและโซนสำคัญๆ ย่าน CBD ของกรุงเทพฯ แค่เอื้อม ทั้งสุขุมวิท เอกมัย ทองหล่อ พระราม 9 ลาดพร้าว ไปจนถึงแถบเกษตร-นวมินทร์ เรียกได้ว่าถนนประดิษฐ์มนูธรรม เส้นทางสายหลักของย่านที่เลียบคู่ไปกับทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เป็นเสมือนจิ๊กซอว์ที่มาเติมเต็มให้เส้นทางสัญจรของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เดินทางเชื่อมถึงกันได้สะดวกสบายง่ายขึ้นมาก คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ เลยอยากชวนไปทำความรู้จักกับเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมสนุกๆ สำหรับทุกรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งอัปเดตเทรนด์งานดีไซน์และของแต่งบ้าน แวะเล่นกับน้องหมาน้องแมวที่ Pet Park ของคนรักสัตว์เลี้ยง และสำรวจความกรีนของคนในย่านที่มีทั้งเลนจักรยานทางไกลและร้านค้าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ ใครมีจักรยานก็เตรียมเอามาปั่นเยี่ยมย่านพร้อมกันได้เลย! Creative District จุดประกายไอเดียบนย่านแห่งการสร้างสรรค์ มีโอกาสได้มาถึงย่านแห่งการสร้างสรรค์ เราไม่พลาดที่จะเริ่มต้นหมุดหมายที่ […]

9 นโยบายฟื้นฟูเมือง Hawkins ใน Stranger Things ให้ปลอดภัย ไร้กังวล

จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปเกิดเป็นชาวเมือง Hawkins ในซีรีส์ยอดฮิต Stranger Things ประเดิมงานชิ้นแรกในคอลัมน์ Urban Isekai ที่จะพาทุกคนสวมบทบาทไปในต่างโลก เพื่อชี้ประเด็นหรือปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขแบบเมืองๆ แน่นอนว่านาทีนี้หากพูดถึงซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Stranger Things ซีซัน 4 ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราเลยขอหยิบซีรีส์ยอดฮิตเรื่องนี้มากระทำการอิเซไกซะหน่อย แฟนซีรีส์ Stranger Things ย่อมรู้อยู่แล้วว่า Hawkins เมืองเล็กๆ กลางป่าในรัฐ Indiana นั้นเกิดเรื่องลึกลับ และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าขัดข้องอย่างไม่มีสาเหตุ เสียงร้องแปลกประหลาดจากชายป่ายามค่ำคืน ชาวเมืองหายสาบสูญ กระทั่งมีเหตุฆาตกรรมภายในเมือง จนเมืองนี้ ได้รับฉายาว่า ‘เมืองต้องคำสาป’ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอรับบทเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Hawkins ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลพัฒนาเมืองให้ดี โดยขอเสนอเป็น 9 นโยบายที่จะช่วยล้างคำสาป ทำให้ Hawkins กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย 1. ตรวจสอบหน่วยงานในพื้นที่ เรื่องลึกลับใน Stranger Things มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลองแห่งชาติ […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

FYI

#LetHerGrow แคมเปญว่าด้วยเส้นผมที่สะท้อนว่า ‘ค่านิยมของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว’

“เรื่องหนึ่งที่เราเพิ่งค้นพบระหว่างทำแคมเปญนี้คือ การได้รู้ว่าปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกกฎการตัดผมไปแล้ว แต่คนที่ไม่ยอมเลิกคือโรงเรียน” ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เราเห็นว่า ต้นตอของปัญหาเรื่องทรงผมนั้นไม่ได้อยู่ที่กฎข้อบังคับ แต่อยู่ที่ค่านิยม ความเชื่อของคนไทย ซึ่งกำลังกดทับคนไทยด้วยกันเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และมันยังถูกส่งต่อไปให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในรั้วโรงเรียนอีกด้วย นี่จึงเป็นที่มาของแคมเปญโฆษณา #LetHerGrow ล่าสุดของ Dove ซึ่งเป็นที่พูดถึงในสังคมวงกว้างตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว เพราะนอกจากภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ ไก่–ณฐพล บุญประกอบ มารับหน้าที่ผู้กำกับแล้ว ก็ยังมีการต่อยอดแคมเปญไปสู่สื่ออื่นๆ อย่างหนังสือพิมพ์ และจัดทำไมโครไซต์ ให้ทุกคนได้เข้าไปแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเส้นผมอีกด้วย เมื่อมีโอกาส เราจึงชวนณฐพล และตัวแทนผู้อยู่เบื้องหลังอย่าง แฟร์-พาณิภัค ศิริรัตนชัยกูล ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์โดฟ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และปุ้ย–สราพร เอี่ยวภิรมย์กุล ผู้อำนวยการแผนกบริหารงานลูกค้า ซีเลคท์ สตาร์ท มาพูดคุยกันถึงที่มาที่ไป กระบวนการ และเรื่องราวสนุกๆ เบื้องหลัง เพราะกว่าที่จะออกมาเป็นแคมเปญนี้ พวกเขาซุ่มทำกันแบบข้ามปีเลยทีเดียว ความสวยงามที่แท้จริง เริ่มต้นจากความมั่นใจ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2564 แคมเปญนี้เริ่มต้นขึ้นจากแก่นความเชื่อของโดฟนั่นคือ Real Beauty หรือความงามที่แท้จริง ไม่ได้มาจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันต้องเกิดขึ้นจากความมั่นใจ ไม่ใช่ความวิตกกังวลว่าเราจะแตกแถวออกจากบิวตี้สแตนดาร์ดของสังคมหรือไม่ “จากโจทย์แรกของเรา ทางแบรนด์มีไอเดียหลักมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าเขาอยากตั้งคำถาม คือมันจะไม่ใช่การสรุปว่าอะไรถูกอะไรผิด […]

วาร์ปกรุงเทพฯ 2569 เมืองจะพัฒนาแบบไหนในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ขออาสาพาชาวกรุงฯ ไปสำรวจเมืองในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 7 ท่านที่มีแนวคิดโดดเด่นอยากจะปรับเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นในปี 2569 ระยะเวลา 4 ปีของการทำงาน พวกเขาจะพัฒนาเมืองอะไรบ้างด้วยแนวคิดของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นเมืองคนเท่ากัน เมืองแห่งความสุข เมืองสวัสดิการทันสมัย เมืองแห่งความหวัง เมืองหยุดโกง เมืองน่าอยู่ และเมืองมั่งคั่ง ตามไปดูกัน! เมืองคนเท่ากันเบอร์ 1 | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประเดิมเมืองแรกยินดีต้อนรับเข้าสู่ ‘เมืองคนเท่ากัน’ ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 จากพรรคก้าวไกลที่มีเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียม จากการมีสิทธิ์เข้าถึงสวัสดิการดีๆ ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 1. สร้างที่อยู่ไม่เกิน 10,000 บาทใจกลางเมือง ด้วยราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ แพงมากจนคนทั่วไปซื้อไม่ไหวและต้องย้ายออกไปอยู่นอกเมือง ทำให้เกิดปัญหาวนลูปทั้งแบกค่าโดยสารแพงและรถติดสุดเรื้อรัง วิโรจน์จึงสร้างโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยในเมือง 10,000 ยูนิตราคาไม่เกิน 3,500 – 9,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัว) เริ่มจากขอเช่าที่ราชพัสดุหรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้คนเมืองในระยะยาว 2. ใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้าทุกสาย ตั๋วรถเมล์จ่าย […]

บรรทัดทอง ถนนเส้นอาหารของมือเก๋าและหน้าใหม่ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

สำหรับคอลัมน์ Neighboroot ผู้อ่านทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Urban Creature จะออกเดินทางเข้าไปพูดคุยกับผู้คนในแต่ละย่าน เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้พื้นที่ที่คนอาจจะมองข้ามไปบ้าง ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งต่างกับการเดินทางครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะถนนบรรทัดทองก็เป็นเส้นทางที่สุดแสนจะคึกคัก อย่างแรกก็อาจจะเป็นเพราะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง มีผู้คนแวะเวียนไปมาอยู่ตลอด แถมยังอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่แล้ว เราจึงมานั่งคิดกันครับว่า ถ้าพูดถึงถนนที่เป็นเส้นสำนักงานหรือมหาวิทยาลัยเนี่ยจะมีอะไรให้พูดถึงบ้าง คำตอบที่พุ่งเข้ามาแทบจะเป็นอย่างแรกๆ ก็คือ อาหาร! ลองนึกถึงร้านอาหารหน้ามอ หลังมอ หรือร้านข้าวแถวออฟฟิศ ก็น่าสนุกแล้วใช่ไหมครับ แต่บรรทัดทองกลับพิเศษขึ้นไปอีกเพราะมีทั้งร้านสุดเก๋าที่อยู่มาเนิ่นนาน กินกันตั้งแต่พ่อเรียนมหา’ลัย จนมาส่งลูกรับน้อง แถมโลเคชันที่อนุญาตให้คนเก๋าจริงเท่านั้นถึงจะอยู่ได้ ก็เลยมีร้านหน้าใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย แค่ได้เอ่ยถึงท้องก็ร้องหิวแล้วล่ะครับ งั้นก็ไม่ขอรอช้า เราเริ่มต้นด้วยการมา Swap แบตฯ ให้พร้อมที่ PTT Station สามย่าน แล้วออกเดินทางสู่บรรทัดทองกันเลยดีกว่าครับ สำหรับใครที่อยากขับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go มาเที่ยวแถวนี้ก็บอกเลยว่าสะดวกมากครับ เพราะถ้าแบตเตอรี่ใกล้หมดเมื่อไหร่ก็มีสถานีชาร์จไว้คอยให้บริการอยู่ที่ PTT Station สามย่าน ซึ่งก็อยู่ในละแวกเดียวกันนี้แหละ เปลี่ยนแบตฯ ทีเดียวก็วิ่งได้อีกตั้ง 50 กิโลเมตร ใช้งานต่อได้ทั้งวันแบบสบายๆ  ยักษ์ […]

น้ำมันแพง คนใช้รถสาธารณะลำบาก เมื่อค่ารถไฟฟ้าสูงลิบและค่ารถเมล์ขึ้นรวดเดียว 17 บาท

เชื่อไหม ถ้าเราบอกว่า เดือนมีนาคม 2565 คือเดือนที่มีแต่ของขึ้นราคา ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะราคาน้ำมันที่กลับมาสูงแตะราคา 50 บาทต่อลิตร ทำให้หน่วยงานรัฐออกมาบอกประชาชนว่าต้องใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดน้ำมันแทน ตัดภาพมาที่อีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 มีการประกาศยกเลิกให้บริการรถเมล์ครีม-แดงในเส้นทาง ‘สาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง’ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เดินรถเมล์ธรรมดาในเส้นทางสายนี้มากว่า 46 ปี โดยได้ส่งไม้ต่อให้กับบริษัทเอกชนที่ใช้รถเมล์ปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการในเส้นทาง ‘สาย 7 ศึกษานารีวิทยา-หัวลำโพง’ ฟังเผินๆ ดูจะมีแต่ข้อดี เพราะการผลัดใบให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำรถเมล์ไฟฟ้าเข้ามาให้บริการแทนรถเมล์เก่า ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในเมืองให้ดียิ่งขึ้น แต่ทำไมรถเมล์ใหม่นี้กลับกลายเป็นเรื่องคนนำมาถกเถียงขึ้นมาได้… ว่าแต่จะเถียงกันเรื่องอะไร ตามเรามาสำรวจการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย รถเมล์ใหม่มาพร้อมราคาใหม่ที่สูงขึ้น แม้ข้อดีของรถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ จะมาพร้อมกับความเป็นมิตรต่อผู้คนในเมืองมากขึ้น ทั้งเรื่องมลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางเสียงที่หายไป ผู้ใช้รถเข็นก็สามารถขึ้นรถได้ง่ายกว่าเดิม เพราะทางขึ้นรถเมล์รุ่นนี้ไม่มีขั้นบันได แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับมาพร้อมกับค่าเดินทางที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรถเมล์ สีครีม-แดงธรรมดา ที่เก็บค่าโดยสารราคา 8 บาทตลอดสาย เมื่อเปลี่ยนเป็นรถใหม่ก็เปลี่ยนการคิดค่าโดยสารมาเป็นเรตตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 15 บาท แตะเรตสูงสุด 25 บาท […]

Inujima เกาะศิลปะที่เลิกถลุงแร่มาดูแลสิ่งแวดล้อม

พูดถึงเกาะศิลปะของญี่ปุ่น ชื่อของ Naoshima คงขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ใครมีเวลามากหน่อย อาจจะเคยแวะไป Teshima หรือ Shodoshima ที่อยู่ใกล้ๆ กัน จริงๆ แล้วในน่านน้ำทะเล Seto Inland ยังมี Inujima เกาะศิลปะอีกแห่งที่กรุบกริบไม่แพ้กัน แถมยังมีสตอรี่เข้มข้นและสภาพแวดล้อมแตกต่างจากเกาะศิลปะอื่นๆ ที่นี่เคยเป็นอดีตที่ตั้งโรงถลุงแร่ทองแดงซึ่งตัวโรงงานยังอยู่ในสภาพดีและถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสุดเท่ แถมยังมี Art House กระจายตัวอยู่ทั่วเกาะอย่างเก๋ ดูเผินๆ ก็กรุบกริบตามมาตรฐานจริตงานอาร์ตร่วมสมัยญี่ปุ่น แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สถาปัตยกรรมและงานศิลปะบนเกาะนี้กำลังพยายามทำคือการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับโรงงานที่อดีตเคยสร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมและนำความเดือดร้อนมาให้คนในชุมชน ถ้ายังไม่เคยไป วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความใส่ใจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของอินุจิมะ เกาะศิลปะไซซ์เอสที่มีความยาวรอบเกาะ 36 กม. พื้นที่ 0.54 ตร.กม. และคนอยู่อาศัยประมาณ 50 คน Inujima Seirensho Art Museum อินุจิมะอยู่ในเขตจังหวัดโอคะยะมะ เป็นเกาะหลักในบรรดาหมู่เกาะอินุจิมะและเป็นเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ เป็นเกาะชิลๆ ที่เดินประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงก็ทั่วแล้ว สมัยก่อนนิยมตั้งบนเกาะเพราะอยากลดมลภาวะทางอากาศในตัวเมืองและเพื่อความสะดวกในการขนส่งวัสดุต่างๆ คนในเกาะลงทุนตั้งโรงงานถลุงแร่ทองแดงในปี 1909 แต่อยู่ได้แค่ […]

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

1 14 15 16 17 18 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.