‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

‘โมนาโก’ เมืองที่ใช้คาสิโนสร้างชาติ พลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศด้วยธุรกิจการพนัน

‘การพนันไม่เคยทำให้ใครรวย’ ประโยคข้างต้นอาจมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อยสำหรับบางสังคม แต่แนวคิดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับ ‘ราชรัฐโมนาโก’ (Monaco) ประเทศขนาดเล็กอันดับสองของโลก ที่สามารถกู้วิกฤตเศรษฐกิจจนร่ำรวยด้วยธุรกิจคาสิโน ภาพจำของโมนาโกสำหรับหลายคนคือเมืองแห่งความร่ำรวยหรูหรา ท่าเรือที่เต็มไปด้วยเรือยอช์ตจอดเรียงรายริมชายฝั่ง สถาปัตยกรรมที่สวยงามราวกับหลุดมาจากนิยาย หรือเส้นทางถนนเก่าแก่สำหรับการแข่งขัน ‘โมนาโก กรังด์ปรีซ์’ (Monaco Grand Prix) แต่รู้หรือไม่ ก่อนโมนาโกจะกลายเป็น ‘สนามเด็กเล่นของคนรวย’ ประเทศนี้ต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้มหาศาลหลังจากแยกตัวออกจากฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘มอนติคาร์โล’ (Monte Carlo) คาสิโนเก่าแก่ผู้กลายเป็นหัวหอกพลิกฟื้นนำประเทศไปสู่ความร่ำรวยจากเม็ดเงินของนักเสี่ยงโชคทั่วโลก เพราะเหตุใดคาสิโนเพียงหนึ่งแห่งถึงพลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศได้ และความท้าทายของเมืองแห่งความร่ำรวยอย่างโมนาโกมีอะไรบ้าง ตามไปหาคำตอบได้ในบทความนี้ ฟื้นฟูเมืองด้วยธุรกิจคาสิโน ภายหลังการรับรองเอกราชจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1861 ประเทศโมนาโกจำเป็นต้องเริ่มต้นวางระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ใกล้ล้มละลายใหม่อีกครั้ง จากดินแดนเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 0.81 ตารางไมล์ ทรัพยากรธรรมชาติแทบไม่มี พื้นที่ใช้สอยก็น้อยนิด ข้อจำกัดมากมายเหล่านี้นำพวกเขาไปสู่ลู่ทางธุรกิจใหม่ที่ยังคงผิดกฎหมายในประเทศโดยรอบในสมัยนั้นอย่าง ‘คาสิโน’ คาสิโนแห่งแรกของประเทศสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1865 แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาโมนาโกได้สร้างคาสิโนแห่งใหม่อีกครั้งที่เมืองมอนติคาร์โล ผนวกกับเส้นทางรถไฟสายใหม่จากกรุงปารีสมายังโมนาโก ที่สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้นหลายเท่า ทำให้นักเสี่ยงโชคจากทั่วยุโรปหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก คาสิโนมอนติคาร์โลจึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนประเทศกลับมาร่ำรวยอีกครั้ง ถึงอย่างนั้น คาสิโนแห่งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่งที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เนื่องจากรัฐที่เห็นโอกาสตรงนี้ได้ต่อยอดจากเพียงคาสิโนหนึ่งแห่ง กลายเป็นนโยบายและสิทธิประโยชน์เอาใจคนรวยอย่างการ ‘ยกเลิกภาษีเงินได้’ […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

‘หางโจว’ เมืองโบราณที่พัฒนาเป็นฮับเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน

หากพูดถึงประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงสุด ชื่อของ ‘ประเทศจีน’ ต้องติดอยู่ในลิสต์ด้วยแน่นอน หากต้องเจาะไปที่ตัวเมือง หลายคนอาจนึกถึงเซี่ยงไฮ้ เมืองหลวงที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีแบบครบวงจร ทว่าจีนไม่ได้มีแค่เซี่ยงไฮ้เท่านั้นที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสุดล้ำ แต่ยังมีอีกหลายเมืองทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หนึ่งในเมืองสำคัญคือ ‘หางโจว’ เมืองทางภาคตะวันออกของจีนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุด จนกลายเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่แพ้เมืองหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หางโจวเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเจ้อเจียง ที่ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในระดับมณฑลเท่านั้น แต่หางโจวยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในระดับประเทศ และยังเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้รับฉายาว่าเป็น ‘Silicon Valley’ ของจีนเลยทีเดียว เชื่อว่าหลายคนก็คงจะคุ้นหูกับชื่อเมืองนี้เป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้จักหางโจวมากเท่าไรนัก Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนผ่านบทความนี้กัน เมืองเศรษฐกิจสำคัญของประเทศจีน หางโจวเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเป็นเส้นทางการคมนาคมทางน้ำที่ใช้ขนส่งสินค้า และเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย แต่ในยุคปัจจุบัน ประเทศจีนเปิดรับการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น ทำให้ทั่วประเทศรวมถึงเมืองหางโจวเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ภาครัฐจึงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละด้านของหางโจวให้แข็งแกร่งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเดิมของเมือง ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขตที่สำคัญต่อการพัฒนาหางโจว ได้แก่ – เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งหางโจว (Hangzhou Economic & Technological Development Zone : HETDZ) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน – เขตพัฒนาการส่งออกแห่งหางโจว (Hangzhou Export Processing […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.