EDeaf : Education for the Deaf โครงการที่อยากเห็นเมืองเป็นมิตรกับคนหูหนวก

กลับมาอีกครั้งกับ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ’ หรือ ‘Bangkok Design Week’ ที่จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และชวนเหล่านักสร้างสรรค์ไปร่วมกิจกรรมมากมายใน 9 ย่านกันตั้งแต่วันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Bangkok Design Week 2023 ในปีนี้มาพร้อมกับธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ เพื่อสร้างความน่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยวใน 6 มิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การเดินทาง วัฒนธรรม ชุมชน ธุรกิจสร้างสรรค์ และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ออกแบบผ่านกิจกรรม 4 รูปแบบคือ Showcase & Exhibition, Talk & Workshop, Creative Market & Promotion และ Event & Program หนึ่งในกิจกรรม Showcase & Exhibition […]

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

ชีวิตออนไลน์กับราคาที่ต้องจ่าย เราเสียเงินเยอะแค่ไหน กับค่า Subscription ในแต่ละเดือน

ในแต่ละวันเราใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากแค่ไหน เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป หลายคนหันไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาความบันเทิง สร้างคอนเทนต์ พบปะผู้คน หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาไว้ในสมาร์ตโฟนของตัวเอง และหากใครที่ต้องการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์แบบไหลลื่น สะดวกสบาย ไร้ข้อจำกัด ก็ต้องยอมจ่ายเงินค่า ‘Subscription’ หรือ ‘ค่าสมาชิกรายเดือน’ เพื่ออัปเกรดแอปฯ ต่างๆ ให้พรีเมียมและเข้าถึงการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าเดิม เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ Subscribe แอปฯ แบบรายเดือนเอาไว้ คงเลือกใช้วิธีชำระเงินด้วยการตัดบัตรเครดิตหรือตัดบัญชี เพื่อความสะดวกสบายและง่ายต่อการต่ออายุการใช้งาน เลยอาจไม่ได้คำนวณว่าพวกเขาต้องเสียเงินให้กับค่าสมาชิกไปทั้งหมดกี่บาท  คอลัมน์ City by Numbers เลยขอรับหน้าที่เป็นฝ่ายบัญชีช่วยคำนวณรายจ่ายสำหรับค่า Subscription ทั้งหลาย ว่าในแต่ละเดือนชาวโซเชียลต้องเสียเงินกับการใช้ชีวิตบนออนไลน์นี้ไปเท่าไรกันบ้าง และทบทวนว่าในอนาคตอันใกล้ที่ช่องทางออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นกว่าเดิมนั้น เราพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการเหล่านั้นหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง หลังจากเลิกงานมาเหนื่อยๆ เราเองก็อยากหลีกหนีความวุ่นวายจากโลกแห่งความจริงด้วยการเข้าไปสิงอยู่ในสตรีมมิงแพลตฟอร์มที่รวบรวมความบันเทิงหลากหลายเอาไว้ ทั้งรายการทีวี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แถมยังนอนดูอยู่บ้านได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงภาพยนตร์ให้เสียเงิน เสียแรง และเสียเวลา  ด้วยเหตุนี้ บริการสตรีมมิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตอนนี้ไปเสียแล้ว โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสตรีมมิงออนไลน์แต่ละเจ้าอยู่ที่ 99 – 419 บาทขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ แต่เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่ได้สมัครสมาชิกแค่เจ้าเดียวเท่านั้น […]

Snowfall in Thailand ถ้าหิมะตกในไทย จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง

ช่วงเวลานับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสและวันปีใหม่แบบนี้ ภาพบรรยากาศฤดูหนาวในต่างประเทศก็เริ่มวนกลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง ภาพผู้คนสวมชุดกันหนาวท่ามกลางสภาพอากาศเย็นจัด และพื้นที่ของเมืองต่างๆ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ชวนให้เราจินตนาการไปไกลว่า ถ้าได้สัมผัสอากาศหนาวพร้อมกับหิมะแบบนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร อากาศเย็นกำลังพัดผ่านมาให้ชาวไทยได้สัมผัสถึงฤดูหนาวในระยะสั้นกันพอดิบพอดี คอลัมน์ Urban Sketch ขอชวนทุกคนมาห่มผ้าหนาๆ หรือคว้าเสื้อกันหนาวมาใส่ แล้วจินตนาการไปพร้อมกันว่า ถ้าหากหิมะตกในประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ จะมีเรื่องราวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง และบรรยากาศจะแตกต่างจากการเป็นประเทศเมืองร้อนขนาดไหนกันนะ เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว สายเลือดนักกีฬาของคนไทยไม่เคยหายไปไหน หากประเทศของเราหนาวจนมีหิมะตก ก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เมื่อบ้านเราอากาศหนาว นักกีฬาของเราก็จะคุ้นชินกับสภาพอากาศ และมีพื้นที่ฝึกซ้อมกีฬาสำหรับการแข่งขันได้ เพราะขนาดการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งเรายังครองแชมป์โลกมาหลายสมัย แม้จะอยู่ในประเทศร้อนก็ตาม ถ้าประเทศหนาวจนมีหิมะจนได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว ไม่แน่ว่าก็อาจจะคว้าแชมป์มาหลายรายการก็ได้ งานวัดในรูปแบบ Winter Festival ชาวไทยอย่างเราผูกพันกับงานรื่นเริงในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงงานที่ทุกคนเข้าถึงได้คงหนีไม่พ้นงานวัด ที่มักจัดขึ้นตามวันสำคัญทางศาสนาหรือโอกาสพิเศษ ซึ่งงานวัดที่เราต่างคุ้นเคยมักจะมาพร้อมกับความเหนียวเหนอะหนะจากสภาพอากาศที่ทั้งร้อนอบอ้าว รวมถึงยังต้องเบียดเสียดผู้คนในงานจำนวนมากอีกด้วย หากเปลี่ยนงานวัดที่คุ้นเคยให้กลายเป็น Winter Festival ในอากาศหนาวๆ เราก็จะใช้เวลากับงานวัดรูปแบบนี้ได้นานขึ้น สนุกกับเครื่องเล่นได้มากกว่าเดิม แถมพ่อค้าแม่ค้าในงานยังจะมีรายได้มากกว่าเดิมจากการใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฤดูหนาวถือเป็นช่วงไฮซีซันของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวจากประเทศร้อนที่อยากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นก็มักจะรอช่วงนี้เพื่อไปเที่ยวและทำกิจกรรมที่ไม่เคยสัมผัสในประเทศตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหนาวในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีหรือญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราหนาวจนมีหิมะ ก็สามารถดึงมาเป็นจุดเด่นในการจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนและท่องเที่ยวในประเทศได้ด้วย แฟชั่นฤดูหนาว สิ่งที่ทุกคนรอคอยเมื่อมีลมหนาวพัดผ่านมาคือ […]

JUST READ นักอ่านที่ไม่ได้แค่อ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนการอ่านผ่านอีเวนต์

ความชอบหนังสือและนิสัยรักการอ่าน พาให้เราไปทำอะไรได้บ้าง บางคนเดบิวต์เป็นนักเขียน บางคนเป็นนักสะสมหนังสือ บางคนลงทุนเปิดร้านขายหนังสือ แต่ความชอบหนังสือของ ‘เวฟ-สหัสวรรษ ธนสุขสวัสดิ์’ เจ้าของเพจ ‘JUST READ’ นั้นพาให้เขาเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการการอ่านผ่านการจัดอีเวนต์ต่างๆ โดยเริ่มจาก Book Club วงเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จนมาถึงงานหนังสือสเกลใหญ่ระดับเมือง อย่างงาน ‘หนังสือในสวน’ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนหลายร้อยคน คอลัมน์ Art Attack ขอชวนทั้งนักอ่านและนักอยากอ่านไปพูดคุยกับผู้ก่อตั้งเพจ JUST READ ถึงจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเรื่องหนังสือและการอ่าน มุมมองการจัดงานหนังสือจากภาคประชาชน และความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการอ่านในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มคนผู้รักการอ่าน แรกเริ่มเดิมที JUST READ เป็นเพียงคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เวฟก่อตั้งขึ้น สำหรับกลุ่มคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อปี 2563 และได้จัด Book Club เป็นครั้งแรกกับกลุ่มคนเล็กๆ เพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะคำว่า Book Club ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย “ขนาดเรายังเพิ่งเคยได้ลองทำอะไรแบบนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ก็เลยไม่แปลกใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยรู้จัก คุ้นชิน […]

‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ

‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]

Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย  แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น  Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.