FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]

ความเครียดส่งผลให้ฝันร้าย นอนนานแค่ไหนก็ไม่เต็มอิ่มอยู่ดี

ฝันว่าโดนทวงงาน ฝันว่าวิ่งหนีผีจนเหนื่อย ฝันว่าตื่นสายจนไปทำงานไม่ทัน สารพัดฝันที่ต่อให้นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงก็ยังทำให้ตื่นมารู้สึกเหนื่อยล้าเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม ด้วยอาการ ‘ฝันร้าย’ นั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ย่อยยากก่อนนอน ผลข้างเคียงของยา ความผิดปกติของทางเดินหายใจ รวมไปถึง ‘ความเครียด’ ก็ส่งผลให้เรานอนหลับฝันร้ายเช่นกัน เพราะบางครั้งการฝันแปลกๆ อาจไม่ใช่สัญญาณของเหตุร้าย หรือผลของการที่เราไปลบหลู่ใครโดยไม่รู้ตัวเหมือนในเดอะโกสท์เรดิโอ แต่เป็นการสะท้อนถึงความวิตกกังวลภายในใจ หรือความเครียดที่สะสมไว้แบบไม่รู้ตัวก็ได้ ทำไมความเครียดถึงทำให้ฝันร้าย ข้อมูลจาก Calm Clinic เว็บไซต์ด้านสุขภาพจิต พบว่า ในระหว่างที่เรากำลังนอนหลับ สมองส่วนต่างๆ รวมไปถึง ‘พอนส์’ (Pons) ซึ่งเป็นโครงสร้างหนึ่งของก้านสมองที่มีบทบาทในการฝัน จะมีการเคลื่อนไหวผ่านการส่งสัญญาณ ซึ่งสัญญาณบางส่วนอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำหรือประสบการณ์ ทำให้สมองส่วนหน้าพยายามทำความเข้าใจและเชื่อมโยงสัญญาณเหล่านี้ออกมาเป็นเรื่องราวผ่านความฝัน ฝันร้ายจึงเกิดขึ้นได้จากความคิดมากมายหลากหลายเรื่องราวที่อยู่ภายในสมอง และถูกเปลี่ยนให้เป็นความน่ากลัวในระหว่างที่นอนหลับ โดยสาเหตุของความคิดเหล่านั้นอาจเกิดขึ้นจากแรงกดดันในการเรียน การทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ สุขภาพ การเงิน หรืออื่นๆ ที่เราเก็บไปคิดก่อนเข้านอน และต่อเนื่องไปจนถึงความฝันในยามค่ำคืน จนอาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึกและนอนต่อไม่ได้ หรืออาจต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับไปพักผ่อนได้อีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝันร้ายที่เกิดขึ้นจากความเครียดอาจไม่ได้ออกมาในรูปแบบเรื่องราวของความเครียดต่างๆ อย่างที่กล่าวไปก็ได้ ฝันร้ายอาจเป็นความฝันทั่วๆ ไปที่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเลย แต่กลับมีความเชื่อมโยงกับความกังวลอยู่ลึกๆ เช่น ฝันว่าถูกไล่ล่า […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์

‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]

‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก

เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  โดย […]

สัมผัส ‘สิงคโปร์’ มุมใหม่กับ ‘Made in Singapore’ เดินสำรวจย่านและสัมผัสธรรมชาติในพื้นที่เมือง

‘สิงคโปร์’ ประเทศขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างธรรมชาติให้อยู่ร่วมกับชีวิตในเมืองได้อย่างสมดุล แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อพูดถึงสิงคโปร์และสถานที่ท่องเที่ยว หลายครั้งเราก็มักจะคิดถึงแต่จุดท่องเที่ยวแบบเดิมหรือแลนด์มาร์กที่ไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ต้องแวะไปเยี่ยมชมทุกครั้ง แม้จะคลาสสิกแต่กลับทำให้การท่องเที่ยวนั้นไม่แปลกใหม่ขึ้นเลย เพราะเหตุนี้ แคมเปญ ‘Made in Singapore’ โดย ‘การท่องเที่ยวสิงคโปร์’ (Singapore Tourism Board : STB) จึงเกิดขึ้นเพื่อชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ในสิงคโปร์ได้อย่างเต็มที่และต่างไปจากเดิม ผ่านจุดท่องเที่ยวธรรมชาติต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ในทุกที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมอยู่ในเกาะแห่งนี้ ดังนั้นหากใครมีแพลนจะไปท่องเที่ยวสิงคโปร์เร็วๆ นี้ และยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง คอลัมน์ Urban Guide ขอแนะนำ ‘4 สถานที่’ และ ‘2 กิจกรรม’ ที่จะเปลี่ยนการเที่ยวสิงคโปร์แบบธรรมดาให้พิเศษมากกว่าเดิม รับรองว่าต่อให้เป็นการกลับไปเที่ยวซ้ำอีกครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อหรือจำเจแน่นอน Jewel Changi สัมผัสธรรมชาติกลางศูนย์การค้าในสนามบิน ไปถึงสิงคโปร์ทั้งทีไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กแห่งใหม่อย่าง ‘Jewel Changi’ ที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารโดมกระจก มาพร้อม ‘น้ำตก’ ความสูงกว่า 40 เมตร รายล้อมด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ จนแทบไม่เชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าภายในสนามบิน โดมขนาดใหญ่ที่เห็นประกอบด้วยกระจกกว่า 9,000 […]

‘Framing Spaces : เรา-เล่า-นางเลิ้ง’ นิทรรศการที่พาไปสัมผัสและรู้จัก ‘นางเลิ้ง’ ให้มากขึ้นกว่าเดิม

‘นางเลิ้ง’ เป็นอีกหนึ่งย่านที่มีประวัติศาสตร์ทางสังคมและมีความหลากหลายด้านศิลปวัฒนธรรม ความบันเทิง มหรสพ รวมเอาไว้ทั้งผู้คน สถานที่ และวิถีชีวิตที่เชื่อมต่อกันผ่านตรอกซอกซอย จนทำให้บริเวณนี้มีความเป็นย่านนางเลิ้งที่มีเอกลักษณ์ที่แข็งแรง แต่จุดเด่นเหล่านี้แทบจะถูกลืมเลือนไปด้วยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนรุ่นใหม่ๆ อาจไม่รับรู้ถึงของดีของเด็ดในย่าน หรือแม้แต่ใช้ศักยภาพของพื้นที่ในย่านได้อย่างไม่เต็มที่ จนทำให้ย่านที่เคยคึกคักกลับเงียบเหงาลงตามกาลเวลา ‘City PopUp’ จึงได้ร่วมมือกับ ‘Urban Studies Lab (USL)’ และ ‘หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (DCE)’ จัดทำนิทรรศการ ‘Framing Spaces : เรา-เล่า-นางเลิ้ง’ เพื่อรังสรรค์ให้ย่านนางเลิ้งกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เรา-เล่า-นางเลิ้ง จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 29 ตุลาคมนี้ วันนี้คอลัมน์ Events จะพาไปทำความรู้จักย่านนางเลิ้งผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เราได้รู้ว่านอกจากกล้วยแขกแล้ว ในย่านเก่าแก่แห่งนี้ก็ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจให้ไปค้นหาอีกมากมาย ‘เรา-เล่า-นางเลิ้ง’ เป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Placemaking Week Bangkok 2023’ ภายใต้ทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ Ford Motor Company Fund และกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์มาร่วมกันเปลี่ยนเมืองผ่าน 5 […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

เปิดรูต One Day Trip ตามรอย Troye Sivan แวะเที่ยว 4 ย่านจากเอ็มวีเพลง Got Me Started

นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในช่วงวันพักผ่อนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำโปรดักชันจากต่างประเทศด้วย ล่าสุดนี้ศิลปินเควียร์ชาวออสเตรเลีย ‘Troye Sivan’ ก็พาเราไปสำรวจมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านเพลง ‘Got Me Started’ ที่เจ้าตัวแอบบอกใบ้ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ใครที่ได้ดู MV เพลงนี้แล้วคงเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ถ่ายทำอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไรนัก บางโลเคชันอย่างสะพานช่องนนทรีหรือถนนเยาวราชก็เป็นสถานที่ที่เห็นผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพที่เพลงนี้นำเสนอออกมาต่างหากที่ทำให้เราค้นพบความสวยงามที่อาจนึกไม่ถึงในเมืองนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเองและความหลากหลายที่กรุงเทพฯ โอบรับผู้คนทุกเพศทุกวัย วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ คอลัมน์ Urban Guide ถือโอกาสพาทุกคน Get Started ออกเดินทางตามรอย Troye Sivan กับ 4 ย่านในกรุงเทพฯ กัน ชม MV ก่อนออกไปเดินเล่นกันที่ : youtube.com/watch?v=mLqPC9Z6C9E เยาวราช Location : maps.app.goo.gl/LSEG5pGD1mNBbQGB7  เริ่มต้นทริปกับย่านที่คุ้นตาที่สุดใน MV ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างป้ายไฟของห้างร้านต่างๆ ที่ทำให้ถนนสายนี้สว่างไสวและคึกคักอยู่ตลอด คงไม่มีใครไม่รู้ว่าหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำนั้นคือย่านนักท่องเที่ยวสุดฮิตที่ถนน ‘เยาวราช’ แม้ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดหลากหลายประเภทในตอนกลางคืน แต่ความเป็นเยาวราชไม่ได้มีแค่นี้ เพราะยังมีสถานที่และกิจกรรมที่น่าสนใจแฝงตัวอยู่ในย่านมากมาย ทั้งวัดไทย วัดจีน ตึกเก่า […]

สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ

หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.