‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ เพราะความรักในงานบ้าน เลยอยากให้ทุกบ้านสะอาดเรียบร้อย

คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่า? ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานบ้าน มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าลุกขึ้นมาจับไม้กวาด หรือหากจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดก็ทำได้แค่ไล่ฝุ่นและความสกปรกออกไปเท่านั้น แต่ข้าวของที่กองรกอยู่เต็มบ้านก็ยังคงนอนแน่นิ่งอยู่ที่เดิม คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนมาช่วยคัดเก็บและคัดทิ้งสิ่งของต่างๆ และช่วยจัดบ้านให้สวยเนี้ยบเหมือนใหม่ ตอนแรกเราคิดว่าบริการจัดระเบียบบ้านนั้นคงจะมีแค่ในซีรีส์ จนกระทั่งได้รู้จักเพจ ‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ จากกรุ๊ปงานบ้านที่รัก ด้วยโพสต์ที่เล่าเรื่องราวการจัดบ้านของลูกค้าคนหนึ่งพร้อมแนบภาพ Before และ After ก็ทำเอาเราตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะภาพแรกที่เห็นนั้นเป็นห้องที่มีของวางระเกะระกะจนเต็มพื้นแทบไม่มีทางเดิน แต่ภาพถัดมากลับเป็นครัวที่โล่งโปร่งสบายและดูเป็นสัดส่วนพร้อมใช้งานทันตาเห็น  เพราะอย่างนั้นเราจึงตัดสินใจติดต่อเพจแมวบินฯ ไปทันที ไม่ใช่เพราะว่าห้องของเรารกมากจนต้องใช้บริการ แต่ตัวงานของพวกเธอต่างหากที่ทำให้เราสนใจและอยากรู้จักนักจัดระเบียบบ้านมากขึ้น เริ่มจากความรักในงานบ้าน บริการแมวบินฯ เริ่มต้นจากการปลูกฝังโดยครอบครัวของ ‘อิม-อิมยาดา เรือนภู่’ ที่มอบหมายความรับผิดชอบให้เธอตั้งแต่ยังเล็ก จนทำให้เธอมีสกิลงานบ้านต่างๆ ติดตัวมา  สมัยที่เรียนอยู่อิมเคยลองไปทำงานเป็นแม่บ้าน เป็นช่วงเวลาที่ได้ตอกย้ำกับตัวเองว่า งานบ้านคือสิ่งที่เธอรักและทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เธอรับทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้านมาเรื่อยๆ  นอกจากงานแม่บ้านแล้ว อิมยังทำงานประจำด้านการโรงแรมตามสายที่เรียนมา และยังได้ลองทำงานสายศิลปะอย่างการตกแต่งภายในด้วย ประกอบกับที่ครอบครัวของเธอก็ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เลยทำให้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตวนเวียนอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด อิมเริ่มทำเพจ แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน อย่างจริงจังช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ซึ่งทำให้ภาระจากงานประจำของเธอลดน้อยลง ประกอบกับการนำเสนอข่าวของสื่อที่พาไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่บ้าน ทำให้เธอได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น และนั่นก็ทำให้เธอรู้สึกว่าปัญหาบ้านรกไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เป็นระเบียบเท่านั้น แต่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ด้วย หากว่าได้จัดระเบียบบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ก็คงจะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดได้เหมือนกัน “ช่วงโควิด เราเห็นสื่อเข้าไปถ่ายตามบ้านผู้ป่วย พอเราเห็นตัวอย่างจากในทีวีแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง […]

The Wall at Songkhla 2022 กิจกรรมเติมแสงไฟให้สงขลาส่องสว่าง ปลุกย่านเมืองเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แสงไฟไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความสว่างอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาเมือง ไปจนถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้กลับมาคึกคักได้ด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของกิจกรรม ‘The Wall at Songkhla 2022’ ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และทีมนักออกแบบแสงจากกลุ่ม Lighting Designers Thailand (LDT) ร่วมมือกับเทศบาลนครสงขลาและภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ชวนทุกคนมาค้นหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ของย่านเมืองเก่าสงขลาในยามค่ำคืน ผ่านการออกแบบแสงไฟเพื่อเปลี่ยนกลางคืนในเมืองเก่าสงขลาให้ส่องสว่างและกลับมามีชีวิตอีกครั้ง การจัดแสดงไฟบริเวณ 3 จุดที่เชื่อมโยงกันครั้งนี้ ช่วยให้ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้เข้าถึง Hidden Gems และอาจต่อยอดไปเป็นการติดตั้งแสงไฟอย่างถาวรในการช่วยให้ร้านรวงต่างๆ ในท้องถิ่นได้ขยายเวลาค้าขายและต้อนรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในอนาคต คอนเซปต์การจัดไฟของแต่ละจุดเป็นอย่างไร แสงสว่างเหล่านี้ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากขึ้นขนาดไหน เราขอชวนทุกคนออกสำรวจเส้นทางเมืองเก่าสงขลาไปพร้อมๆ กัน ภาพงานไฟครั้งนี้แตกต่างจากที่เราจินตนาการกันไว้เล็กน้อย เพราะงานไฟส่วนใหญ่ที่เราเคยได้เห็นมักจะเป็น Installation Art เชิงศิลปะที่เน้นความน่าตื่นตาตื่นใจให้คนได้ถ่ายรูปกัน แต่งานนี้ผู้จัดตั้งใจออกแบบแสงสว่างที่สวยงามและเน้นเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นหลักมากกว่า เริ่มกันที่จุดแรกกับ ‘The Wall 1: The Prime Light’ ที่ชุมชนมัสยิดบ้านบน มัสยิดที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชนเป็นเวลานานกว่า 170 ปี แม้จะเป็นพื้นที่ที่คึกคักมีคนเข้าออกตลอดเวลา แต่เมื่อไม่มีแสงเข้าถึงกลับทำให้บริเวณนั้นมืดมิดจนหลายครั้งคนนอกพื้นที่ไม่รู้หรือดูไม่ออกเลยว่ามีมัสยิดอยู่ตรงนี้ด้วย ทาง LDT จึงเข้ามาออกแบบแสงเพื่อสะท้อนให้เห็นความงามของมัสยิดในยามค่ำคืน […]

คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ

สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]

มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม  อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]

1 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.