บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

‘Hangles’ ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่อยากให้ทุกคนรักโลกไปพร้อมๆ สนุกกับการแต่งตัว

หลายคนประสบปัญหาเปิดตู้เสื้อผ้ามาแต่ไม่มีอะไรจะใส่ ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่ตลอด จนกลายเป็นว่ามีเสื้อผ้ามากมายล้นตู้ เพราะบางตัวใส่ไปแค่ครั้งเดียว บางตัวซื้อมาแค่ลองใส่ บางตัวใส่จนเบื่อ หรือบางตัวเก็บเอาไว้นานจนลืมไปแล้วว่าเคยมี แต่จะให้ทิ้งเสื้อผ้าเหล่านั้นไปเฉยๆ ก็รู้สึกเสียดายเงินทองที่จ่ายไปจำนวนไม่น้อย ทว่าจะให้รวบรวมไปวางขายก็อาจไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘Hangles’ ตัวกลางการโละตู้ที่ทำให้เราไม่ต้องหอบเสื้อผ้าไปหาสถานที่ขาย ไม่ต้องเปิดโซเชียลมีเดียใหม่ทำเป็นร้านค้า แค่เข้าไปขายหรือตามหาเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน Hangles เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนจากความสนใจด้านแฟชั่น ความยั่งยืน และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสองพี่น้อง ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ โดยทั้งคู่เริ่มต้นทำตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ใครที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้นำสิ่งของของตัวเองเข้ามาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อส่งต่อสินค้าเหล่านั้นให้ได้กลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ พวกเธอยังอยากให้ทุกคนที่ซื้อสินค้าต่อจากแพลตฟอร์มนี้ได้สนุกกับแฟชั่นโดยยังคงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนไปด้วย ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่เปิดพื้นที่ให้คนมาส่งต่อของให้คนที่สอง สาม สี่ จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นจากปัญหาที่สาวๆ หลายคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ที่มีเยอะจนไม่รู้จะไปเก็บไว้ที่ไหน หรือบางตัวก็ลืมไปแล้วว่าเคยมี ซึ่งสองพี่น้องลูกน้ำกับนุ่นก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าทั้งคู่ชอบแต่งตัวและเป็นสายแฟชั่นอยู่แล้ว ทว่าในช่วงที่นุ่นไปเรียนต่อต่างประเทศ เธอเริ่มมีความสนใจและศึกษาเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) อย่างจริงจัง ประกอบกับพี่สาวอย่างลูกน้ำเองก็มีความสนใจในการทำสตาร์ทอัพ นั่นจึงทำให้สองพี่น้องนำความสนใจทั้งสามอย่างมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน และกลายมาเป็น Hangles แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฟชั่นมือสองทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าอย่างในตอนนี้ “การใช้สินค้ามือสองมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ […]

เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ

ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์  ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]

คนไทยกินอะไรก็ได้  แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย

เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]

ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี

วันวันหนึ่งคุณหมดเงินไปกับค่าครองชีพเท่าไหร่ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ที่พอรวมกันก็หลายร้อยบาท จากนั้นลองหันมาดูจำนวนเงิน 300 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ที่แค่ใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เพียงพอแล้ว ไหนจะค่านู่นค่านี่ที่ต่อแถวปรับราคาขึ้นแทบทุกปี แต่ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของคนทำงานในประเทศนี้กลับยังแช่แข็งที่เรตเดิม จริงอยู่ว่ามีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในจำนวนแค่หลักหน่วยถึงหลักสิบเท่านั้น ซึ่งเอาเข้าจริงจำนวนเงินที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เท่าไหร่เลย ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่เริ่มต้น 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการปรับขึ้นไปกี่ครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันหรือไม่ คอลัมน์ City by Numbers หาคำตอบมาให้แล้ว ไทยกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แม้ว่าเราจะเคยชินกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ 300 บาท/วัน แต่ความจริงแล้วอัตราค่าแรงถูกปรับจากปี 2554 ให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วประเทศทุกจังหวัดเมื่อปี 2556 และคงอัตรานี้มานานกว่า 4 ปี จนมีการปรับอีกครั้งในปี 2560 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำในไทยมีการปรับขึ้นทั้งสิ้น 5 ครั้ง ดังนี้ ปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นที่ 300 บาท/วัน (ทั่วประเทศ) […]

เช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัย เสียเงินแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ‘การเช่าบ้านคือการทิ้งเงินเปล่า’ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘พื้นที่อยู่อาศัย’ แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับมองว่า การจ่ายค่าเช่าทุกๆ เดือนนั้นไม่ใช่การลงทุนหรือทำให้ผู้เช่ามีทรัพย์สินที่จับต้องได้ แต่ถ้าหากนำค่าเช่านั้นไปลงทุนซื้อบ้านของตัวเองสักหลัง ท้ายที่สุดแล้วบ้านหลังนั้นก็จะเป็นทรัพย์สินที่เราถือครองได้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านได้ แถมการกู้เงินซื้อบ้านยังอาจสร้างภาระผูกพันให้ผู้ซื้อนานถึง 20 – 30 ปี ซึ่งยอดผ่อนแต่ละเดือนอาจมีราคาสูงกว่าค่าเช่าบ้านรายเดือน ทำให้กว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านเต็มตัว ว่าที่เจ้าของบ้านคนใหม่คงต้องประหยัดอดออมรวมไปกับการซื้อบ้าน จนอาจไม่มีเวลาหรือไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายให้กับกิจกรรมที่ยังไม่จำเป็น ระหว่างการซื้อบ้านหรือการเช่าบ้านอยู่ ตกลงแล้วตัวเลือกไหนจะดีและเหมาะสมกับเราที่สุด เราขอชวนผู้อ่านไปเปรียบเทียบเงื่อนไขและความคุ้มค่าพร้อมกัน ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาสูง จากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Realtor.com พบว่า พื้นที่ของเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้นมีราคาสูง เนื่องจากเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่จนทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตไปด้วย ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่แล้ว การจ่ายค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ซื้อบ้านถาวร เช่นเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ที่แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเมือง ทำให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ต้องเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แน่นอนว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ในทำเลทองหรือใกล้ตลาดแรงงานจึงมีราคาสูงขึ้นตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต ราคาซื้อจะอยู่ที่ 4.29 – 6.8 ล้านบาทต่อห้อง ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงสถานีเดียวกันนั้น หากเป็นราคาเช่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 13,900 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเช่าหรือซื้อขึ้นอยู่กับการวางแผนอนาคต สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ การจะซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาจับต้องได้จึงอาจเป็นไปได้ยากในตอนนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ในตลาดอสังหาฯ ยังมีที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ปล่อยเช่าในราคาหลายระดับ ตั้งแต่ราคาต่ำกว่า […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.