‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ เกมทางเลือกที่อยากให้สังคมเข้าใจความกลัวของผู้หญิงทุกคน

ทุกครั้งที่ต้องแยกทางกับเพื่อนโดยเฉพาะช่วงกลางคืน เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงไม่ลืมที่จะกำชับและเตือนกันว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วย’ จนประโยคนี้แทบจะกลายเป็นอีกหนึ่งคำบอกลาที่ติดปากไปแล้ว บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมประโยคเหล่านี้ถึงกลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงหลายๆ คน ทำไมต้องอยากรู้ว่าเพื่อนถึงบ้านแล้วหรือยัง หรือทำไมถึงบ้านแล้วต้องบอกให้คนอื่นรับรู้ด้วย ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ อาจจะดูเป็นประโยคธรรมดาๆ แต่ความจริงแล้วแฝงไปด้วยความห่วงใย และสะท้อนถึงความอันตรายจากการเดินทางในเมืองนี้ เพราะการบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าตัวเอง ‘ถึงบ้านแล้ว’ เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราปลอดภัยและกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ จากความเป็นห่วงเป็นใยในชีวิตประจำวันที่กลายเป็นความคุ้นชิน ‘ต้า-พิมพิศา เกือบรัมย์’ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเลือกทำธีสิสที่ชื่อว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ ซึ่งมาในรูปแบบของ ‘เกมทางเลือก’ ที่จำลองสถานการณ์การกลับบ้านคนเดียวในช่วงเวลากลางคืน โดยผู้เล่นต้องตัดสินใจแทนตัวละครเมื่อเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ท้ายที่สุดเกมนี้จะทำให้ผู้เล่นตระหนักและเข้าใจถึงความกังวลใจของผู้หญิงหลายๆ คนที่ต้องเดินทางกลับบ้านคนเดียว ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนก็ตาม วันนี้ คอลัมน์ Debut ขอชวนทุกคนไปพูดคุยกับต้าถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงความตั้งใจที่จะทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ ปัญหาการคุกคามไม่ได้เกิดจากเหยื่อ “อยากลองทำอะไรสักอย่างให้สังคมได้พูดถึงปัญหาการคุกคามทางเพศหรืออันตรายของการเดินทางคนเดียวมากขึ้น อยากให้สังคมเลิกโทษเหยื่อและเข้าใจว่าการถูกคุกคามไม่ได้เกิดขึ้นจากเหยื่อ” ต้าเล่าถึงจุดเริ่มต้นของเกมนี้ซึ่งเกิดจากประเด็นเรื่อง ‘ความปลอดภัยของผู้หญิง’ ที่กลายเป็นปัญหาในสังคมของเรามานาน เนื่องจากประเทศไทยมีอาชญากรรมและความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่รอบตัวทุกวัน และส่วนใหญ่เหยื่อจะเป็นเพศหญิง ทำให้เด็กและผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังให้ระมัดระวังตัวกันมาโดยตลอด แต่ไม่ว่าจะระวังตัวแค่ไหน เหตุการณ์อันตรายก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม สังคมของเราอาจยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจความกลัวและความกังวลเหล่านี้ ไม่ว่าจะในสื่อหลักหรือสื่อออนไลน์ เราเชื่อว่าข่าวที่ถูกหยิบมานำเสนอบ่อยครั้งคือเหตุการณ์ที่หญิงสาวถูกคุกคามทางเพศ ในสถานการณ์และสถานที่ที่ต่างกันไป แต่แทนที่จะตั้งข้อสงสัยกับการลงมือของคนร้าย สังคมกลับมักตั้งคำถามถึงการแต่งกายของผู้เสียหายก่อนเป็นอย่างแรก ทำให้ต้าเล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่เข้าใจของคนในสังคมว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร […]

ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]

คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา

แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]

‘หัวร้อน เครียดง่าย ไม่อยากทำอะไรเลย’ อาจไม่ใช่นิสัย แต่เกิดขึ้นได้เพราะอากาศร้อน

เมื่อพูดถึงฤดูร้อน ภาพจำจากสื่อต่างๆ อาจเป็นภาพของช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ความสนุกสนาน ความสดใส หรือการใช้เวลาไปกับการนั่งรับลมริมทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน (จัด) อย่างเต็มตัว นอกจากสุขภาพกายที่เราต้องคอยระวังโรคลมแดดหรือฮีตสโตรกแล้ว สุขภาพจิตเองก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หากรู้สึกว่าช่วงนี้หงุดหงิดง่าย ไม่มีอะไรได้ดั่งใจสักอย่าง ขี้โมโหจนเหมือนเป็นคนละคน หรือรู้สึกขี้เกียจจนไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ก็อย่าเพิ่งตกใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางทีมันอาจไม่ได้เป็นที่นิสัยลึกๆ ของตัวเองโดยตรง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน อ่านแล้วดูเหมือนเป็นการโทษอากาศและธรรมชาติ แต่ Dr.Nick Obradovich นักวิทยาศาสตร์สังคมเชิงคำนวณจาก Max Planck Institute for Human Development อธิบายว่า ความร้อนนั้นเป็นอันตรายต่อทุกคนอยู่แล้ว และอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความเหนื่อยล้า ความก้าวร้าว และการฆ่าตัวตาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบได้บ่อยในผู้คนที่อาศัยในบริเวณที่มีอากาศร้อนตลอดเวลา และถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างลงมติว่า ความร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลงแน่นอน อากาศยิ่งร้อน ผู้ป่วยสุขภาพจิตยิ่งเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ Amruta Nori-Sarma นักวิทยาศาสตร์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจาก Boston University School of Public Health […]

Mu-Center ออกแบบศูนย์มูเตลูครบวงจร รับจบที่เดียวด้านความเชื่อ และเป็นมิตรต่อเมือง

งานไม่เลิศ เงินไม่ปัง ความรักไม่รอด หาทางแก้ไขปัญหามาทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ดี ที่พึ่งสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการ ‘มูเตลู’ ถึงอย่างนั้นการมูฯ ก็มีหลายสาขา หลายความเชื่อ หลายศาสนา สถานที่มูฯ ก็มีมากมายกระจายตัวทั่วเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สาขาอะไร ชาวมูฯ ทั้งหลายล้วนต้องเจอกับปัญหาไม่น้อย ตั้งแต่คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวตามสถานที่มูฯ จนแทบจะไม่มีที่ยืนขอพร การแบ่งโซนที่ไม่เป็นระเบียบ ไปจนถึงของไหว้ของถวายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Urban Sketch ขอจำลองพื้นที่ Mu-Center ศูนย์รวมการมูเตลูครบจบในที่เดียวภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับสายมูฯ หลากหลายสาขา นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานและผู้คนรอบนอกสถานที่แล้ว ที่นี่ยังเป็นมิตรกับเมืองอีกด้วย ก่อนจะไปดู Mu-Center ของเรา อย่าลืมกด 99 รับโชคดีกันด้วยล่ะ 1) แยกทางเข้าและทางออก เมื่อมูเซ็นเตอร์ของเราเป็นทั้งศูนย์กลางและศูนย์รวมของการมูเตลู ย่อมต้องมีคนเวียนกันเข้ามาบูชาองค์เทพทั้งวัน ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของคนที่เดินเข้า-ออกตลอดเวลา เราจึงแยกทางเข้าและทางออกไว้อย่างละทาง เพื่อสร้างโฟลว์ให้คนสัญจรง่าย และใช้สถานที่อย่างสะดวกสบาย 2) แบ่งโซนตามความเชื่อ ไม่ว่าจะมูฯ แบบไหน ไทย จีน ฮินดู ก็สามารถเก็บครบจบที่มูเซ็นเตอร์ เพราะเราจะรวมทุกการมูฯ เอาไว้ในที่เดียว โดยแบ่งโซนแยกไว้ตามแต่ละศาสนาและความเชื่อ เลือกได้เลยว่าจะมูฯ […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข

“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

พาไปเที่ยว 10 ร้านหนังสือทั่วโลกที่ขายคอนเซปต์จัดๆ จับคู่กับหนังสือภายในร้าน

เหตุผลที่คุณจะเข้าร้านหนังสือสักแห่งคืออะไร อาจเป็นเพราะมีหนังสือที่อยากได้ มีการตกแต่งร้านที่สวยงาม หรือบังเอิญเจอจนต้องลองแวะเข้าไป ทว่าบางร้านไม่ได้มีแค่หนังสือหรือการออกแบบร้านที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังจัดจ้านด้วยคอนเซปต์เฉพาะตัว จนกลายเป็นร้านหนังสือที่มาพร้อมกิมมิกแบบที่หลายคนอาจไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีใครทำ คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปรู้จัก 10 ร้านหนังสือจากทั่วโลก ที่ไม่ได้ขายแค่หนังสืออย่างเดียว แต่ยังขายคอนเซปต์ที่ยูนีกแบบสุดๆ ตั้งแต่ร้านที่ขายหนังสือประเภทเดียว ร้านที่ขายหนังสือสัปดาห์ละหนึ่งเรื่อง ร้านที่มีแต่หนังสือและสินค้าเกี่ยวกับแมว ไปจนถึงร้านหนังสือลอยน้ำที่เปลี่ยนโลเคชันไปเรื่อยๆ The Ripped BodiceCulver City, USA ถ้าให้พูดถึงร้านหนังสือที่สวยที่สุดในสหรัฐอเมริกาคงจะยากไปสักหน่อย เพราะมีหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็นร้านหนังสือที่โรแมนติกที่สุดในสหรัฐฯ คำตอบคงหนีไม่พ้น ‘The Ripped Bodice’ ใน Culver City รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นร้านหนังสือเพียงแห่งเดียวที่ทั้งร้านมีขายเฉพาะหนังสือโรแมนติกเท่านั้น หนังสือโรแมนติกใน The Ripped Bodice มีเนื้อหาให้เลือกหลากหลายประเภท เช่น หนังสือแนวโรแมนติกอิงประวัติศาสตร์ แนวโรแมนติกร่วมสมัย แนวโรแมนติกอาถรรพ์ แนวไซไฟ และเรื่องราวที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ รวมทั้งยังมีให้เลือกหลายภาษา นอกจากหนังสือแล้ว ร้านค้ายังมีสินค้าอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย โดยจะเน้นการสนับสนุนธุรกิจอิสระที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของเป็นหลัก ไม่เพียงเท่านั้น ที่นี่ยังเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ของเหล่าคนรักหนังสือแนวโรแมนติก […]

Sexualbulary 8 คำศัพท์ที่บอกเล่าถึงความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ

หากพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ ‘เซ็กซ์’ แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือเรื่องของรสนิยมทางเพศ ซึ่งเป็นการนิยามถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจทางเพศ ของแต่ละบุคคล โดยรสนิยมทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ระบุเพศตัวเองว่าตรงกับเพศกำเนิด หรือคนที่อยู่ในกลุ่มของ LGBTQIA+ ก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วรสนิยมทางเพศแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ รักต่างเพศ รักร่วมเพศ รักสองเพศ และไม่ฝักใฝ่ทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้กลุ่มใหญ่เหล่านี้ยังมีรสนิยมทางเพศกลุ่มย่อยอีกมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน คอลัมน์ Urban’s Pick ขอพาไปเรียนรู้ 8 คำศัพท์เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้และเห็นความหลากหลายในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ คำศัพท์ที่เรายกตัวอย่างมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความหลากหลายเท่านั้น ยังมีรสนิยมทางเพศอีกมากมายที่รอให้ทุกคนได้ทำความรู้จัก และค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน Asexual  เริ่มกันด้วยคำศัพท์ที่หลายคนอาจคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในตัวย่อของ LGBTQIA+ นั่นคือ ตัว A ที่ย่อจากคำว่า ‘Asexual’ ซึ่งเป็นรสนิยมทางเพศที่ช่วงหลังมานี้ถูกพูดถึงบ่อยขึ้น แต่คนจำนวนไม่น้อยยังอาจสับสนในความหมายอยู่ดี  Asexual คือรสนิยมทางเพศที่ระบุถึงคนที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ ไม่สนใจการมีเซ็กซ์กับใคร แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถมีเซ็กซ์ได้เลย เพียงแค่จะมีอารมณ์ทางเพศน้อยไปจนถึงไม่มี ทั้งนี้ Asexual อาจมีทั้งคนที่มีความรู้สึกรักใคร่ในตัวบุคคลอื่น และคนที่ไม่มีความรู้สึกนั้น ทั้งนี้ […]

3’Orn Co-living ธีสิสหอพักย่านสะพานเหลืองที่อยากลดค่าครองชีพให้ชาว First Jobber

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยเริ่มทำงานคือ การต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่พักที่เดินทางไปทำงานสะดวกในราคาสูง หรือลดราคาที่พักลงมาแต่ต้องแลกกับการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว สุดท้ายอาจไม่คุ้มกันอยู่ดี  จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่อยู่อาศัยที่ทั้งใกล้ขนส่งมวลชน เดินทางง่าย ห้องพักอยู่สบาย และราคาเหมาะสมที่ไม่ถึงกับต้องตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป ‘อัน-อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์’ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาการล่มสลายของชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมในเมืองชั้นใน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองชั้นในถูกรื้อ ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนย้ายออก ร้านค้าซบเซา มีจำนวนตึกว่างให้เช่าหรือขายเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน  เธอจึงนำมันมาเป็นไอเดียสำหรับการทำธีสิสในหัวข้อ ‘โครงการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยสะพานเหลืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรวัยทำงานตอนต้นและผู้อาศัยดั้งเดิม’ และไม่ใช่แค่การออกแบบผ่านโครงงานจนได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2562 เท่านั้น แต่ธีสิสหัวข้อนี้ยังกลายเป็น ‘หอพัก 3’Orn Co-living’ ที่เปิดให้คนเข้าพักได้จริงในย่านสะพานเหลือง ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำที่อยู่อาศัยราคาเข้าถึงได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กลุ่ม First Jobber อย่างตัวเอง First Jobber และปัญหาค่าครองชีพในเมือง “ด้วยความที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับเงินค่ากินอยู่เป็นรายเดือน ทำให้เป็นกังวลต่อการแบ่งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ ยิ่งตอนปี 5 ใกล้จะเรียนจบ ก็เริ่มคิดว่าเราจะไปทำงานที่ไหน จะอยู่ยังไง จะจัดการค่าใช้จ่ายยังไง ซึ่งคาบเกี่ยวพอดีกับช่วงที่ทำธีสิส เราเลยเอาความกังวลและคำถามเหล่านั้นไปศึกษาต่อ  “จริงๆ ทำเพื่อตอบคำถามให้ตัวเองแหละ […]

เปลี่ยน Hogwarts ให้เป็น The World’s Best Magic School ด้วยการปรับกฎระเบียบให้ทันสมัยมากขึ้น

โลกเวทมนตร์ไม่เคยหายไปไหน ทุกอย่างยังคงดำเนินไปเหมือนทุกๆ วัน แต่โลกมักเกิลพัฒนาไปตลอดเวลา จนก้าวเข้าสู่ปี 2023 ที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความคิดของผู้คน เพราะฉะนั้นฮอกวอตส์เองก็ไม่ควรยึดติดกับกฎและข้อบังคับแบบเดิมๆ หนึ่งในปัญหาใหญ่ของเหล่าพ่อมดแม่มดในโลกเวทมนตร์คือ การปรับตัวให้เข้ากับมักเกิล โดยที่ยังต้องใช้ชีวิตตามระเบียบแบบแผนดั้งเดิมของเหล่าผู้วิเศษ เมื่อถึงเวลาต้องออกมาทำธุระในโลกมักเกิล ผู้วิเศษเหล่านี้จึงกลายเป็นคนล้าหลังกว่า 100 ปี คอลัมน์ Isekai ขออาสาไปสำรวจกฎระเบียบที่ล้าสมัยในโรงเรียนเวทมนตร์ศาสตร์อย่างฮอกวอตส์ และปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับนักเรียนรุ่นใหม่ทั้งเลือดบริสุทธิ์ เลือดผสม รวมถึงมักเกิลที่ใช้เวทมนตร์ได้ จับรถเข็นสัมภาระไว้ให้แน่น ตั้งสมาธิ วิ่งตรงไปที่ผนังชานชาลา 9¾ แล้วเดินทางไปแก้กฎระเบียบ เพื่อทำให้ฮอกวอตส์เป็นโรงเรียนเวทมนตร์ที่ดีที่สุดกัน 🏠 Housing System เลือกบ้านได้เองและมีเกณฑ์การให้คะแนนบ้านที่ชัดเจน ‘ไม่เอาสลิธีริน ให้ไปอยู่กริฟฟินดอร์’  แต่ถ้าแฮร์รี่ในวัย 11 ปี อยากเป็นสมาชิกบ้านเรเวนคลอจะทำยังไง ถึงเวลาเกษียณอายุและปล่อยให้หมวกคัดสรรพักผ่อนบ้าง เพื่อให้เด็กปีหนึ่งได้เลือกบ้านที่อยากอยู่ด้วยตัวเอง และหากอยู่แล้วไม่พอใจก็มีสิทธิ์เปลี่ยนบ้าน เพื่อความสุขตลอดเจ็ดปีของเหล่านักเรียน รวมถึงการให้คะแนนของแต่ละบ้านก็จำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย เพราะถ้ายังให้คะแนนเป็นรางวัลตอบแทนในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบที่ผ่านมา ก็จะทำให้เด็กทั้งสี่บ้านทะเลาะกันตลอดเวลาเพื่อแย่งเป็นบ้านดีเด่นในช่วงปลายปี (โดยเฉพาะบ้านเขียวและบ้านแดง) 🧥 Student Uniform ใส่ยูนิฟอร์มเฉพาะพิธีสำคัญ เราเชื่อว่านักเรียนทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าเพื่อนคนไหนอยู่บ้านไหน ดังนั้นน่าจะไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์มที่บ่งบอกสถาบันและบ้านที่สังกัดอยู่ตลอดเวลา ไหนจะเสื้อคลุมสีดำที่ใช้วัสดุเป็นผ้าหนาน้ำหนักเยอะ […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.