มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

ชวนดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ดีไซน์เด่น ฟังก์ชันครบครัน แถมประหยัดพลังงาน

ด้วยเหตุผลเรื่องประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ค่าดูแลรักษาต่ำ ไร้มลภาวะทางเสียงและกลิ่นควัน ทำให้ ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่ป็อปปูลาร์ในยุคนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ระบุว่า ยอดจดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสะสมถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 อยู่ที่ 1.8 หมื่นคัน ซึ่งก้าวกระโดดไกลกว่าปี 2564 ที่มียอดจดทะเบียนราว 7,302 คัน ถือได้ว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่อีกยุคของยานพาหนะยอดฮิตในไทย ในช่วงที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าถูกพูดถึงมากขึ้น คอลัมน์ City by Numbers พาไปดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นยอดฮิต ที่เราคัดเลือกมาให้ตามความหลากหลายของดีไซน์ ราคา ขนาด และสมรรถนะการทำงาน เพื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่กำลังมองหารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่ AJ – C-LION จากแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง ‘AJ’ สู่การเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ราคาจับต้องได้และเน้นฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ AJ รุ่น C-LION มีมอเตอร์ 2,000 วัตต์ วิ่งได้ด้วยความเร็ว 50 – 60 กม./ชม. ชาร์จไฟราว […]

‘Hangles’ ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่อยากให้ทุกคนรักโลกไปพร้อมๆ สนุกกับการแต่งตัว

หลายคนประสบปัญหาเปิดตู้เสื้อผ้ามาแต่ไม่มีอะไรจะใส่ ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่ตลอด จนกลายเป็นว่ามีเสื้อผ้ามากมายล้นตู้ เพราะบางตัวใส่ไปแค่ครั้งเดียว บางตัวซื้อมาแค่ลองใส่ บางตัวใส่จนเบื่อ หรือบางตัวเก็บเอาไว้นานจนลืมไปแล้วว่าเคยมี แต่จะให้ทิ้งเสื้อผ้าเหล่านั้นไปเฉยๆ ก็รู้สึกเสียดายเงินทองที่จ่ายไปจำนวนไม่น้อย ทว่าจะให้รวบรวมไปวางขายก็อาจไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘Hangles’ ตัวกลางการโละตู้ที่ทำให้เราไม่ต้องหอบเสื้อผ้าไปหาสถานที่ขาย ไม่ต้องเปิดโซเชียลมีเดียใหม่ทำเป็นร้านค้า แค่เข้าไปขายหรือตามหาเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน Hangles เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนจากความสนใจด้านแฟชั่น ความยั่งยืน และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสองพี่น้อง ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ โดยทั้งคู่เริ่มต้นทำตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ใครที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้นำสิ่งของของตัวเองเข้ามาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อส่งต่อสินค้าเหล่านั้นให้ได้กลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ พวกเธอยังอยากให้ทุกคนที่ซื้อสินค้าต่อจากแพลตฟอร์มนี้ได้สนุกกับแฟชั่นโดยยังคงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนไปด้วย ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่เปิดพื้นที่ให้คนมาส่งต่อของให้คนที่สอง สาม สี่ จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นจากปัญหาที่สาวๆ หลายคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ที่มีเยอะจนไม่รู้จะไปเก็บไว้ที่ไหน หรือบางตัวก็ลืมไปแล้วว่าเคยมี ซึ่งสองพี่น้องลูกน้ำกับนุ่นก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าทั้งคู่ชอบแต่งตัวและเป็นสายแฟชั่นอยู่แล้ว ทว่าในช่วงที่นุ่นไปเรียนต่อต่างประเทศ เธอเริ่มมีความสนใจและศึกษาเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) อย่างจริงจัง ประกอบกับพี่สาวอย่างลูกน้ำเองก็มีความสนใจในการทำสตาร์ทอัพ นั่นจึงทำให้สองพี่น้องนำความสนใจทั้งสามอย่างมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน และกลายมาเป็น Hangles แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฟชั่นมือสองทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าอย่างในตอนนี้ “การใช้สินค้ามือสองมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ […]

มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

มุมมองการศึกษาไทยในทัศนคติของ เฌอปราง BNK48 | Unlock the City Special EP.

หลายคนรู้จัก ‘เฌอปราง อารีย์กุล’ ในฐานะศิลปินวง BNK48 ที่ตอนนี้เธอได้ขยับมาสวมบทบาทผู้จัดการวง แต่ในอีกด้านหนึ่ง หญิงสาวอายุ 27 ปีคนนี้ก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่เคยผ่านประสบการณ์การศึกษาในรั้วโรงเรียน และกลายมาเป็นคนทำงานในวงการบันเทิงที่เอาเข้าจริงก็มีหน้าที่การงานที่ไม่ต่างจากพนักงานบริษัทคนหนึ่งเหมือนกัน ก่อนจะพักซีซันกันไป ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองแห่งรายการ Unlock the City ขอทิ้งท้ายด้วยเอพิโสดพิเศษ กับการชวนผู้จัดการวง BNK48 คนปัจจุบันมาสนทนาถึงมุมมองเรื่องการศึกษาและการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเมือง ซึ่งเราอาจไม่ค่อยมีโอกาสได้ยินเธอพูดถึงมากนัก ตั้งแต่ทัศนคติที่มีต่อประเภทการศึกษาที่หลากหลาย มุมมองการเป็นเป็ดในโลกการทำงาน กระแส Work-life Balance ไปจนถึงความในใจที่เธออยากบอกคนหลากหลายกลุ่มในสังคม

Urban Eyes 45/50 เขตดุสิต

แค่พูดถึงเขตดุสิตก็ชวนให้นึกถึงเขาดิน (สวนสัตว์ดุสิต) ที่ปิดตัวไปแล้ว ถ้ายังเปิดให้บริการอยู่ เราคงมีภาพถ่ายจากเขาดินมาฝากทุกคนเยอะแน่ๆ แต่ถึงอย่างนั้น เขตนี้ก็ยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาน้อยใหญ่ ถนนสำคัญๆ และรัฐสภา ซึ่งวันนี้เราขอโฟกัสอาคารสิ่งก่อสร้างบนถนนสามเสนเป็นหลัก สะพานกรุงธน (ซังฮี้) ━ สะพานนี้มีจุดชมวิวอยู่หลายแห่ง แต่จุดที่เราคิดว่าสวยที่สุดคงเป็นวิวรัฐสภา เพราะสามารถเห็นโค้งน้ำหน้าอาคารรัฐสภาได้เลย โชคดีว่าวันที่เราไปมีธงชาติปักอยู่ตลอดสองข้างทางของสะพาน ช่วยเพิ่มความหมายให้กับภาพได้อีกหน่อย ส่วนวิวอีกฝั่งก็สวยไม่แพ้กัน เพราะเป็นวิวสะพานพระราม 8 ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า น่าจะเป็นมุมที่น่าสนใจพอสมควร ส่วนตอนหัวค่ำตัวสะพานจะเปิดไฟ มีความสวยงามในอีกบรรยากาศ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ━ วัดนี้มีทั้งสุสานชาวคริสต์ (คาทอลิก) โบสถ์ที่สวยงาม และโรงเรียน St. Francis Xavier Convent กับ Joan of Arc ที่อยู่ติดๆ กัน รวมถึง Saint Gabriel’s College (โรงเรียนเซนต์คาเบรียล) อยู่บริเวณหน้าปากซอย เรียกว่าเป็นแหล่งรวมสถานศึกษาเลยก็ว่าได้ หอสมุดแห่งชาติ ━ เป็นแหล่งความรู้ที่ค่อนข้างสงบเงียบ มีของโบราณที่พบเจอไม่ได้ง่ายๆ อย่างศิลาจารึกและตู้หนังสือเก่าโบราณที่สลักด้วยลายไทยอย่างประณีตสวยงาม แถมยังเข้าไปใช้บริการได้ฟรี […]

Rock Paper Scissors ช็อปของเนิร์ดแมกกาซีนที่ขายนิตยสาร กาแฟ และไอเทมที่ช่วยให้การอ่านรื่นรมย์

ในยุคที่ใครๆ ต่างบอกว่านิตยสารตาย (ไปนาน) แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นร้านนิตยสารอิสระร้านใหม่ที่ทำให้เรากลับมาใจเต้นกับสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกครั้ง Rock Paper Scissors Store คือร้านที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ และ ‘เฟิม-เฟื่องฟู จิรัฐิติวณิชย์’ คู่รักผู้เป็นเนิร์ดแมกกาซีนอินดี้ที่เชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย (ที่ตายน่ะคือสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าเบื่อเท่านั้นแหละ) เลยเสาะหาซีนน่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกที่คนทำก็เนิร์ดเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ต่างจากพวกเขา ทว่าสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ แต่ละเล่มถูกชูด้วยคอนเซปต์ที่เราฟังแล้วต้องถามว่า ‘แบบนี้ก็มีด้วยเหรอ ทำได้ด้วยเหรอ ต้องรู้ด้วยเหรอ’ เช่น นิตยสารบ้านที่เชื่อว่า Interior ที่ดีที่สุดของบ้านคือชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรือนิตยสารจากโคเปนเฮเกนที่หน้าตาเหมือนหนังสือแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วเล่าเรื่องธุรกิจได้อย่างเข้มข้น สนุกสนาน ด้วยกระบวนท่าใหม่ นอกจากซีนเจ๋งๆ ในร้านของย้วยกับเฟิมยังเต็มไปด้วยสารพัดสิ่งที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การอ่านให้รื่นรมย์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริปฝีมือเฟิม คาเนเลหอมอร่อย หรือไอเทมต่างๆ ที่คนไม่ซื้อนิตยสารก็ช้อปได้อย่างสะดวก อย่างแว่นกันแดดที่พกไปอ่านหนังสือในที่เอาต์ดอร์ โคมไฟแสงอุ่นสุดชิก หรือแก้วกาแฟที่นำของเหลือจากกากกาแฟมาทำน้ำเคลือบให้ได้เทกซ์เจอร์การดื่มที่พิเศษขึ้น ช็อปที่ชูคอนเซปต์ Magazine/Things/Coffee ของทั้งคู่เกิดขึ้นได้ยังไง คอลัมน์ Urban Guide ตอนนี้อาสาพาทุกคนลัดเลาะซอยสุขุมวิท 39 ไปหาพวกเขาที่ร้านกัน Zine Lover แค่ช่วงเริ่มบทสนทนาเราก็เซอร์ไพรส์แล้ว เพราะย้วยบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเป็นเนิร์ดแมกกาซีนทุกวันนี้ไม่ใช่แมกกาซีนเล่มไหน แต่เป็นแฮร์รี่ […]

ปักหลัก

ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักจะไปเล่นซนตามสถานที่ต่างๆ ในละแวกบ้าน แต่คนในครอบครัวนั้นเป็นห่วงผมว่าจะเกิดอันตราย จึงกุเรื่องว่าสถานที่นั้นๆ มีผี และทำให้ผมกลัว ไม่กล้าไปเล่นแถวนั้นอีก ความกลัวในตอนนั้นยังคงติดอยู่กับผมจนถึงปัจจุบัน ผมจึงอยากหาวิธีลบล้างสิ่งนี้ และปักหลักเผชิญหน้ากับมัน โดยนำ ‘ไฟหลัก’ ของงานวัดที่เป็นภาพจำของความสนุกสนาน รื่นเริง เข้าไปติดตั้งในสถานที่เหล่านั้นตอนมืดๆ หรือใกล้ค่ำ สำหรับผม ไฟที่ปักลงท่ามกลางความมืดนั้นเปรียบได้กับความกล้าของตัวเองที่สร้างขึ้นท่ามกลางความกลัวในจิตใจ ติดตามผลงานของ พงศธร บุญโต ต่อได้ที่ Instagram : earthz.quake และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

1 14 15 16 17 18 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.