ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

NODE OF MUSIC CITY ธีสิสที่อยากทำให้ย่านเจริญกรุงรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองดนตรีสร้างสรรค์

เป็นเวลาสองปีกว่าๆ ที่เราต้องทำงานที่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น แต่แล้ววันเวลาที่ต้องเว้นระยะห่างเหล่านั้นก็ดูจะคลี่คลายกลับกลายเป็นความปกติ เห็นได้จากชาวต่างชาติจำนวนหลายล้านคนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย ไหนจะอีเวนต์ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ออกมาใช้ชีวิตกัน อย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงปลายปีนี้ ก็คงเป็นขบวนคอนเสิร์ตที่หลั่งไหลมาจัดในไทยแบบไม่ให้พักเก็บเงินกันเลย ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปช่วงเวลาก่อนหน้าที่โรคระบาดจะมาเยือน กรุงเทพฯ ก็เรียกได้ว่าเป็นเมืองดนตรีที่มีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศให้ผู้คนได้เลือกชมกันอย่างไม่ขาดสาย ในเดือนเดือนหนึ่งอาจมีมากกว่าสิบงานด้วยซ้ำไป ‘เบนซ์-จิรศักดิ์ จุลมณี’ นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเป็นผู้ที่คลุกคลีกับการเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยเรียน มีผลงานเพลงของตัวเองและมีงานแสดงในสถานที่ต่างๆ รวมถึงได้เห็นการทำงานของทีมผู้จัดงานดนตรี  ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจและเกิดเป็นการตั้งคำถามในใจของเขาว่า “ในยุคสมัยที่ศิลปินกับผู้ฟังเข้าถึงกันง่ายขึ้น ทำไมสถานที่สำหรับการแสดงดนตรีในไทยยังมีน้อย ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่มีพื้นที่ในการแสดงออกมากกว่า”  เพื่อตอบคำถามข้อนั้น เบนซ์ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล โดยใช้ความรู้ในสิ่งที่เรียนและความสนใจในเรื่องดนตรี ทำธีสิสที่มีชื่อว่า ‘NODE OF MUSIC CITY’ เพื่อหวังสร้างเมืองดนตรีให้เกิดขึ้นจริง NODE OF MUSIC CITY NODE OF MUSIC CITY คือการสร้างเมืองดนตรีที่เชื่อมถึงกันเป็นจุดต่อจุด โดยโปรเจกต์นี้เลือก ‘เจริญกรุง’ หนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ ที่มีศักยภาพและเหมาะควรต่อการจัดงานดนตรี เพราะมีทั้งร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ และพื้นที่ต่างๆ ที่มักจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนสำคัญคือ เจริญกรุงมีอาคารและสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’

มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?

เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา  ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช  ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]

ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เวิร์กจริงไหม

ในแต่ละสัปดาห์ กว่าหลายคนจะผ่านพ้น 5 วันทำงานไปได้ก็แทบจะไม่เหลือเรี่ยวแรง ร่างกายเหนื่อยล้าแบบสุดๆ จนอดใจรอวันหยุดสุดสัปดาห์แทบจะไม่ไหว แต่ช่วงวันหยุด 2 วันก็ผ่านไปไวเหลือเกิน ยังไม่ทันจะเคลียร์งานบ้าน พักผ่อนให้หายเหนื่อย ก็ต้องกลับไปสู่วงจรการทำงานอีกแล้ว หากสัปดาห์ไหนมีวันหยุดพิเศษเพิ่มมาให้อย่างน้อย 1 วัน ก็รู้สึกเหมือนโชคหล่นทับ เพราะรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจได้ชาร์จพลังจนเต็ม พร้อมสู้งานในสัปดาห์ต่อไปอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว แล้วถ้าได้ทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน ทุกสัปดาห์ และยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม จะช่วยให้เราพร้อมสู้งานกว่านี้ไหมนะ เชื่อว่าในปัจจุบันหลายคนคงจะเริ่มตระหนักถึง Work-life Balance หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและชีวิตส่วนตัวมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกใจที่คนยุคใหม่จะมองว่า การทำงานโดยมีวันหยุดเพียง 2 วัน/สัปดาห์นั้นไม่ตอบโจทย์และไม่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนหรือลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เลย หลายคนและหลายองค์กรคงเคยนึกถึงการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเมื่อวันทำงานลดน้อยลงแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะยังมีเท่าเดิมไหม หรือหากจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลดลงจะมีผลต่อรายได้หรือเปล่า แนวคิดการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์นี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า สรุปแล้วมันเวิร์กสำหรับสังคมการทำงานจริงๆ หรือไม่ หลายประเทศทั่วโลกทดลองลดวันทำงาน ประเด็นการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์โควิด-19 หลายองค์กรก็ต้องปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]

30 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก ‘รถไฟความเร็วสูง’ ของไทย ต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าจะได้ออกเดินทาง

หลังจากเริ่มสร้างในปี 2559 รถไฟสายลาว-จีน ก็สามารถเปิดให้บริการได้ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รถไฟสายนี้เชื่อมต่อระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว-คุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีระยะทางกว่า 1,035 กม. ใช้งบก่อสร้างราว 2 แสนล้านบาท วิ่งด้วยอัตราเร็ว 160 – 200 กม./ชม.  การเกิดขึ้นจริงของรถไฟสายนี้ทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโต รวมถึงการส่งสินค้าต่างๆ ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยก็จะได้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายลาว-จีนนี้ร่วมกัน  ที่อินโดนีเซีย ในปี 2559 ก็เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางจาการ์ตา-บันดุง ระยะทาง 142 กม. เพื่อหวังใช้ประโยชน์กระตุ้นพัฒนาเศรษฐกิจ ข่าวคราวล่าสุด ทางจีนได้ส่งรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งได้ 350 กม./ชม. ถึงอินโดฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดฯ จึงน่าจะเปิดบริการได้ราวสิ้นปี 2566  ส่วนประเทศไทย เริ่มก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศในปี 2560 เพื่อพัฒนา ‘ระบบคมนาคมขนส่งทางราง’ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนสำคัญที่อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 […]

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

ประเทศไทยมีเหตุกราดยิงบ่อยครั้ง เพราะกฎหมายหละหลวมหรือปืนเข้าถึงง่าย?

เป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ประชาชนชาวไทยอยู่ในความเศร้าจากเหตุการณ์ #กราดยิงหนองบัวลำภู โศกนาฏกรรมที่เกิดจากการบุกเข้าไปกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 ราย และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 10 ราย เป็นหนึ่งในเหตุกราดยิงที่น่าสลดใจที่สุดของโลก เนื่องจากเหยื่อส่วนใหญ่คือเด็กเล็กอายุ 2 – 5 ปีเท่านั้น  ผู้ก่อเหตุคืออดีตข้าราชการตำรวจที่ถูกไล่ออกจากราชการ เพราะมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ทำไมอดีตข้าราชการที่พ้นจากตำแหน่งแล้วจึงไม่โดนยึดอาวุธ และยังสามารถครอบครองปืนได้อยู่ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้เรายังเห็นข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธปืนอยู่เรื่อยๆ จนอดสงสัยไม่ได้ว่า สังคมของเราวนเวียนอยู่กับความรุนแรงจากการใช้ปืน เพราะคนไทยเข้าถึงอาวุธประเภทนี้ได้ง่ายเกินไปหรือเปล่า ไทยครอบครองปืนมากเป็นอันดับ 13 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าอาวุธปืนจะดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่เมื่อ Small Arms Survey (SAS) หรือ องค์กรที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธเบาของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนทั่วโลกกลับพบว่า สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่มี ‘จำนวนปืน’ ในครอบครองมากที่สุดในโลก หรือมากถึง 393.9 ล้านกระบอก ขณะที่ประเทศไทยติดอันดับที่ 13 ของโลก โดยจำนวนดังกล่าวอยู่ที่ 10.3 […]

1 8 9 10 11 12 18

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.