Deinfluencer เทรนด์รีวิวสินค้าและโฆษณาที่จริงใจ เพื่อไม่ทำให้ใครตกเป็นทาสการตลาด

‘อินฟลูเอนเซอร์’ (Influencer) ถูกนิยามว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่โซเชียลมีเดียครองโลก เพราะเมื่อใดก็ตามที่บรรดาอินฟลูฯ สร้างคอนเทนต์ พูดถึงสิ่งต่างๆ หรือยกย่องสิ่งใดๆ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อสาวกหรือผู้ติดตามอย่างแน่นอน ยิ่งกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อการรีวิวหรือโฆษณาสินค้าทั้งหลาย ย่อมมีส่วนทำให้การมองเห็นหรือการเข้าถึงสินค้านั้นๆ มีมากยิ่งขึ้น The Influencer Marketing Benchmark Report 2023 ได้ทำการสำรวจผู้คนทั่วโลก ทั้งจากแบรนด์สินค้าที่นิยมใช้อินฟลูเอนเซอร์มาเป็นพรีเซนเตอร์ เหล่าบริษัทเอเจนซี และหลากหลายหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตในมูลค่า Influencer Marketing ของสหรัฐอเมริกา จากในปี 2016 มีมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ เคลื่อนสูงถึง 16.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 และคาดว่าจะขยับเพิ่มเป็น 21.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 อันดับหนึ่งของการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์คือ ‘แฟชั่นและความงาม’ รองมาคือ ‘เกม’ ตามด้วย ‘การท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์’ อีกลำดับเป็น ‘กีฬา’ ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าปีที่แล้วถึงสามเท่า ส่วนต่อมาเป็นเรื่อง ‘ครอบครัวและบ้าน’ ต่อด้วย ‘สุขภาพ’ และ ‘อื่นๆ’ โดยโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่มักจะพบเจอเหล่าอินฟลูเอนเซอร์คือ TikTok, […]

10 สถานที่ขอพรฉบับคนเมืองสายมูฯ ที่ไปถึงทั้งที ต้องดีต้องปัง 

คนไทยกับเรื่องดวงเป็นของคู่กันอยู่แล้ว ที่ไหนที่เขาว่ามูฯ แล้วดี ไปแล้วปัง ทั้งความรัก การงาน สุขภาพ และการเงิน มีหรือจะพลาด สำหรับชาวมูเตลูที่กำลังประสบปัญหาชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่ ด้านไหนก็ตาม และต้องการที่พึ่งทางใจ Urban Creature ชวนไปรับพลังงานดีๆ เสริมดวงชะตาผ่าน 10 สถานที่ขอพรฉบับคนเมืองสายมูฯ ที่เราคัดมาให้แล้ว ดูฤกษ์งามยามดีในโพสต์แล้วปักหมุด บุ๊กวัน เคลียร์คิวกันเลย! 01 | พระสทาศิวะ หน้าห้างฯ เซ็นทรัลเวิลด์  พระตรีฯ ในนาม ที่ใครก็ไปขอเรื่องความรัก ถ้าพูดถึงองค์เทพที่ประทับอยู่หน้าห้างฯ เซ็นทรัลเวิลด์ หลายคนคงนึกถึง ‘พระตรีมูรติ’ ที่ใครๆ ต่างไปขอพรเรื่องความรัก แต่แท้จริงแล้ว พระตรีฯ ที่ใครๆ พูดถึงนั้น กลับไม่ใช่พระตรีฯ จริงๆ อย่างที่เราเข้าใจและเรียกกันจนติดปาก  เพราะเทพบริเวณหน้าห้างฯ เซ็นทรัลเวิลด์นั้น ความจริงแล้วเป็น ‘พระสทาศิวะ’ รูปเคารพปางหนึ่งของพระศิวะ ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าสามารถขอพรได้ทุกอย่าง และผู้ที่ได้รับพรจากพระองค์จะสมหวังดังปรารถนาทุกประการ แตกต่างจากที่หลายคนเข้าใจว่าท่านเด่นเรื่องความรัก อย่างไรก็ตาม เมื่อจิตอธิษฐานของคนไหว้ตั้งมั่นเรื่องการขอความรัก พากันเอาดอกกุหลาบแดง […]

FYI

‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ โครงการเติมฝันและมอบโอกาสด้านกีฬาให้เยาวชนไทย

ช่วงบ่ายที่สภาพอากาศร้อนจัดและแสงแดดจ้า บรรยากาศรอบๆ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ปกติเงียบสงบ มีผู้คนบางตา วันนี้กลับคึกคักไปด้วยนักเรียนและคนในท้องถิ่นที่มารวมตัวกัน แถมยังมีเสียงดังกระหึ่มจากการตีกลองและการแสดงศิลปะพื้นบ้านของเหล่านักเรียนเป็นระยะๆ ดูเป็นไดนามิกของพื้นที่ที่ต่างไปจากทุกวัน เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของพิธีมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลภายใต้โครงการ ‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ จัดโดย ‘คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย’ ภายใต้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ซึ่งโรงเรียนบ้านแซววิทยาคมคือโรงเรียนแห่งที่ 88 ที่ได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาด 7 คนเล่นจากโครงการนี้ โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ทางกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เดินหน้ามอบสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับสากล ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ ‘THE POWER OF POSSIBILITIES ชีวิตไม่หยุดค้นหาความเป็นไปได้’ Urban Creature อยากพาทุกคนลงสำรวจพื้นที่เล็กๆ ของจังหวัดเชียงรายอย่างโรงเรียนบ้านแซววิทยาคม เพื่อสัมผัสบรรยากาศที่เปลี่ยนไปหลังได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งใหม่ รวมถึงพูดคุยกับคนในพื้นที่ถึงโอกาสในการพัฒนาฝีเท้าของเยาวชนนักเตะไทยให้มีศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลอย่างมีประสิทธิภาพ  สนามฟุตบอลที่จุดประกายและเติมฝันด้านกีฬา ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า โรงเรียนที่จะได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลจากโครงการ 100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย ต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกต่างๆ เช่น […]

อาชีพหมอดูต้องเสียภาษีไหม

ปัจจุบันผู้คนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน และความรัก ทำให้พวกเขาหมดหวังและหาคำตอบให้อนาคตของตัวเองไม่ได้ เมื่อรู้สึกกังวลและไม่รู้ว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิตดี คนจำนวนไม่น้อยจึงหันไปพึ่ง ‘การดูดวง’ ที่อาจช่วยปลอบประโลมให้พวกเขาเตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีคนเชื่อในการทำนายโชคชะตามากกว่าแต่ก่อน หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ตามมาคือ จำนวนของคนทำอาชีพ ‘หมอดู’ ที่ดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมการดูดวงที่ได้รับความนิยมก็มีหลายรูปแบบ ทั้งการอ่านลายมือ การเปิดไพ่ยิปซี การใช้ตัวเลข ฯลฯ ทั้งยังทำได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวต่อตัว การโทรศัพท์และส่งข้อความทางไลน์ ไปจนถึงการดูคลิปวิดีโอที่อัดไว้แล้ว เมื่อบริการดูดวงแพร่หลายจนกลายเป็นประเภทธุรกิจที่น่าจับตามอง ในฤดูเสียภาษีแบบนี้ เราจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า คนที่ทำอาชีพหรือธุรกิจเกี่ยวกับการดูดวงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับมนุษย์ออฟฟิศอย่างเราๆ หรือไม่ ข้อมูลจากช่อง YouTube ชื่อ ‘เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา’ อธิบายไว้ว่า การทำธุรกิจหมอดูในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ ‘การดูดวงออนไลน์’ ซึ่งการเสียภาษีของผู้รับจ้างดูดวงแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) ธุรกิจดูดวงแบบจัดตั้งบริษัท : เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษี VAT กรณีที่ผู้ประกอบการจัดตั้งบริษัท และมีหมอดูหรือซินแสหลายคนให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรือผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีรายได้และต้องเสียภาษี หากบริษัทมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข

“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

KARAVA แบรนด์องค์เทพตั้งโต๊ะของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพจำไอเทมมูฯ ให้ดูโมเดิร์น

ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าสายมูฯ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเราเชื่อมโยงกับการมูเตลูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การไหว้พระและรูปบรรพบุรุษให้คุ้มครองก่อนออกจากบ้าน การตามหาเลขเด็ดก่อนวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หรือการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือก่อนการพิตช์งานใหญ่ เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้ทำเอง ก็ต้องมีคนใกล้ตัวสักคนทำ แน่นอน เรามูฯ เพราะคาดหวังความสำเร็จในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็มูฯ เพื่อหล่อเลี้ยงความหวังและความสบายใจ บางครั้งการมูฯ ก็เป็นการตั้งหลักในใจก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ‘บุ๊ค-หัสวีร์ วิรัลสิริภักดิ์’ และ ‘เคน-นันท์ธร พรกุลวัฒน์’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Karava ก็คุ้นเคยกับการมูเตลูมาตั้งแต่เด็กๆ พวกเขาอินกับการมูฯ มากจนเปิดธุรกิจไอเทมมูเตลูของตัวเอง เริ่มตั้งแต่สร้อยข้อมือหินมงคลพลังงานดี ไปจนถึงองค์เทพตั้งโต๊ะบูชา ที่น่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า องค์เทพของแบรนด์ Karava ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนองค์เทพที่เราเคยเห็นทั่วไป แต่ผ่านการดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ให้นำไปจัดวางไว้กับบ้าน Modern Luxury ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน แนวคิดเบื้องหลังการดีไซน์ไอเทมมูเตลูของทั้งคู่เริ่มต้นยังไง คอลัมน์ Re-desire รอบนี้พาไปหาคำตอบกัน ธุรกิจมูเตลูของสายมูฯ ตัวจริง “ที่บ้านคนนี้เลยครับ” เคนผายมือไปที่บุ๊ค เมื่อเราถามถึงจุดเริ่มต้นการเป็นสายมูฯ ของทั้งคู่ บ้านของบุ๊คเป็นบ้านคนจีน คุณพ่อของเจ้าตัวมีตู้พระตู้ใหญ่ที่สะสมองค์พระดังๆ จากวัดมากมายในหลักร้อยชิ้น […]

สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต

“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]

1 10 11 12 13 14 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.