เมืองสำหรับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว การออกแบบและองค์ประกอบของเมืองแบบไหนที่จะช่วยคู่หย่าร้างเลี้ยงลูกได้ดี

เวลาคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่มักจะได้ยินคำสอนปนบ่นว่า ‘คนสมัยนี้อดทนน้อยลง’ ทั้งในเรื่องการงาน การเงิน หรือแม้กระทั่งความรัก ที่เราไม่อาจอดทนกับคนเคยรัก กล้ำกลืนฝืนทนให้อยู่คู่กันไปจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรดังคุณปู่คุณย่าสมัยก่อน ด้วยปัญหามากมายหลากหลายของชีวิตหลังแต่งงาน ความไม่ลงรอยกันเรื่องการเงิน เรื่องที่ให้ความสำคัญ หรือเป้าหมายในชีวิต ทำให้คู่ที่เคยรักมักไม่หวานดังเก่า สวนทางกับอัตราการสมรสที่น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งคงมาจากหลากหลายปัจจัยเช่นเดียวกันที่ทำให้คนไม่อยากแต่งงาน ทั้งเรื่องรายได้ที่อยู่คนเดียวน่าจะสบายกว่า ค่านิยมที่สามารถอยู่ก่อนแต่งโดยไม่จำเป็นต้องเห็นการแต่งงานเป็นเรื่องสำคัญอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งปัจจัยทั่วๆ ไปอย่างการหาแฟนได้ยากเพราะแทบไม่ได้ออกไปพบเจอใครที่ถูกใจเลยด้วยซ้ำ สถิติการสมรสและหย่าร้างในประเทศไทย ปี 2563          สมรส   271,352        หย่าร้าง   121,011 ปี 2564          สมรส   240,979        หย่าร้าง   110,942 ปี 2565          […]

ออกแบบศูนย์ส่งด่วน เตรียมความพร้อม ให้เหล่า Porter ในเกม Death Stranding

ในอนาคตปรากฏการณ์ ‘Death Stranding’ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงกับสังคมมนุษย์ เมื่อวิญญาณของมนุษย์ไม่สามารถผ่านไปสู่ภพแห่งความตายได้ เนื่องจากติดอยู่บริเวณพื้นที่กึ่งกลางระหว่างความตายที่เรียกว่า ‘The Beach’ เหล่าวิญญาณที่ยังติดอยู่และพยายามกลับมาในโลกของคนเป็นจะถูกเรียกว่า ‘BT’ (Beached Thing) ซึ่งถ้า BT สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่หรือ ‘Voidout’ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้มนุษย์ต้องกระจายตัวกันอยู่ ไม่สามารถอยู่รวมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ ส่งผลให้สังคมมนุษย์ขาดการเชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้ ‘United Cities of America (UCA)’ นำโดยองค์กร ‘Bridges’ ได้มีความพยายามรวบรวมอเมริกาให้เป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง โดยใช้โครงข่าย Chiral Network เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ในอเมริกาได้สำเร็จ เป็นเวลา 11 เดือนต่อมาหลังจาก Bridges เชื่อมต่อ UCA ได้แล้ว พวกเขามีแผนเชื่อมต่อพื้นที่ไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างเม็กซิโก และใช้ ‘Plate Gate’ ในการเดินทางข้ามซีกโลกไปยังทวีปออสเตรเลีย ดินแดนรกร้างที่ยังไม่ถูกเชื่อมต่อ นี่จึงกลายเป็นหน้าที่ของเหล่า ‘Porter’ ที่จะออกเดินทางไปยังดินแดนแห่งใหม่นี้ และเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน ในโลกที่มนุษย์ต้องแยกกันอยู่ Porter หรือคนส่งของกลายเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเดินทางในดินแดนรกร้างเป็นเรื่องอันตราย ทั้งจากสภาพแวดล้อม […]

‘Aa kaan-อาคาร’ เพจของชาวเกมเมอร์ตัวเหลี่ยม ที่เนรมิตสถาปัตยกรรมไทยขึ้นในเกม Minecraft

เอามือทุบต้นไม้ สร้างบ้านดิน ขุดเหมือง สู้กับครีปเปอร์ เดินตกลาวา แย่งบ้าน Villager ทำเรดสโตน เหล่านี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่เหล่าผู้เล่นเกม ‘Minecraft’ (ไมน์คราฟต์) ต่างคุ้นเคยกันดี แต่นอกเหนือจากโหมดเอาชีวิตรอด (Survival) ที่เป็นเหมือนสตาร์ทเตอร์แพ็กของชาวเกมเมอร์ ในเกมยังมีโหมด ‘สร้างสรรค์’ (Creative) ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสร้างและทำลายสิ่งก่อสร้างและกลไกต่างๆ ได้อย่างอิสระ นี่จึงเป็นเหมือนหลุมหลบภัยให้กับสายครีเอทีฟได้ระเบิดพลังสร้างโลกและสิ่งปลูกสร้างในเกมเป็นของตัวเอง คอลัมน์ Art Attack ขอพามาบุกแมปเทพๆ ของ ‘ณัฐ-ณัฐวุฒิ เอื้อธีรมงคล’ และ ‘น้ำมนต์-ศิวัช สุขเลิศกมล’ 2 ตัวแทนแอดมินจากเพจ ‘Aa kaan-อาคาร’ ที่แม้จะเปลี่ยนชื่อเพจมาแล้วถึง 2 ครั้งจาก ‘Minecraft สถาปัตยกรรม’ และ ‘Minecraft Architecture’ แต่ยังคง DNA ของการลงงานสถาปัตยกรรมไทยในเกมอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อคุยถึงเบื้องหลังการสร้างสถาปัตยกรรมไทยในเกมไมน์คราฟต์ที่ทำเอาลูกเพจอ้าปากค้างทุกครั้งที่เห็น เริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่เล็กประสบการณ์ “แต่ละคนเริ่มเล่นเกมไมน์คราฟต์กันตั้งแต่เมื่อไหร่” คำถามแรกที่ไม่ถามคงไม่ได้เมื่อเริ่มบทสนทนากับชาวเกมเมอร์ ณัฐวุฒิและศิวัชบอกกับเราว่า เพจ Minecraft สถาปัตยกรรม […]

‘Bangkok World Expo 2032’ ธีสิสว่าด้วยการจัดงานมหกรรมระดับโลกที่จะพลิกโฉมมักกะสันในฐานะหัวใจเชื่อมเมือง

‘Osaka World Expo 2025’ กลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญในปีนี้ที่คนพูดถึงกันทั่วโลก และน่าไปเยือนสักครั้งหากมีโอกาส  เพราะนอกจากเป็นหนึ่งในงานมหกรรมระดับโลกที่แต่ละประเทศได้ร่วมเวทีประกาศความสำเร็จในแบบของตัวเองแล้ว ยังเป็นสปอตไลต์ที่ฉายความพร้อมในหลากหลายมิติของประเทศเจ้าภาพอีกด้วย แต่ที่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้คือ จริงๆ แล้วไทยเองก็เคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพงานนี้ถึงสองครั้งสองคราในปี 2020 และ 2028 แต่สุดท้ายกลับไปไม่ถึงฝั่งฝัน เนื่องจากความไม่พร้อมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านทุนสนับสนุนหรือด้านโครงสร้างพื้นฐานในเมือง ทว่าความหวังนี้ยังคงไม่หายไป แม้จะมีคำถามว่า แล้วตอนนี้ไทยเราพร้อมหรือยังที่จะขึ้นสู่การเป็นเจ้าภาพงานระดับโลก แต่อีกคำถามที่น่าสนใจและชวนจินตนาการต่อไม่แพ้กันคือ แล้ว ‘Bangkok World Expo’ จะหน้าตาเป็นยังไงกันนะ  คอลัมน์ Debut พาไปพูดคุยกับ ‘ธีร์-ธนกฤต กาญจนารมย์’ นิสิตจากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะทำให้เราเห็นภาพอนาคตและศักยภาพของไทยมากขึ้น ผ่าน ‘Bangkok World Expo 2032’ ธีสิสจบการศึกษาของเขา วาระพิเศษพลิกโฉมประเทศไทย การทำธีสิสเกี่ยวกับงานมหกรรมระดับโลกของธนกฤตเริ่มต้นจากความชอบในการดูบอล และเห็นว่าการจัดงานมหกรรมขนาดใหญ่อย่างบอลโลกหรือบอลพรีเมียร์ลีกมักตามมาด้วยอีเวนต์ที่ช่วยดึงดูดให้คนมาใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันได้ ในขณะเดียวกัน ธนกฤตเองก็อยากทำงาน Redevelopment หรืองานพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ที่หยิบเอาพื้นที่ว่างมาฟื้นฟูพัฒนากลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เขาจึงเล็งเป้าไปที่ ‘World Expo’ ซึ่งเป็นงานมหกรรมขนาดใหญ่ระดับโลก สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจว่า World […]

กว่าจะเลี้ยงยูนิคอร์นให้โตในไทย บทเรียนสำคัญจาก ‘สงคราม ส่งด่วน’ ที่อยากชวนสำรวจว่าเมืองแบบไหนเหมาะกับสตาร์ทอัพ

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* เคยเห็นแมลงวันที่อยากเป็นยูนิคอร์นไหม ทั้งๆ ที่สัตว์สองชนิดนี้ดูเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้เลย แถมยังห่างกันไกลโขทั้งในด้านลักษณะ ถิ่นที่อยู่ ไปจนถึงนิยามหรือความหมายที่มนุษย์อย่างเราๆ ตีความ และการที่มันห่างและต่างกันไกลขนาดนี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นหรือความน่าสนใจสำคัญที่ทำให้สัตว์สองชนิดนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกันในตลาด ซึ่งเป็นแก่นหลักในซีรีส์เรื่อง สงคราม ส่งด่วน (Mad Unicorn) ซีรีส์เรื่องนี้มีจำนวน 7 ตอนสั้นๆ โดย ‘ณฐพล บุญประกอบ’ ที่ตั้งใจเล่าเรื่องแต่งจากแรงบันดาลใจของธุรกิจ Flash Express บริษัทขนส่งสีเหลืองเลื่องชื่อที่กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวแรกของไทยในเวลาเพียง 4 ปี โดยข้อความแรกที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมจากซีรีส์เรื่องนี้คือ ยูนิคอร์น (น.)สัตว์ลึกลับในตำนานปัจจุบันใช้เรียกบริษัทสตาร์ทอัพ จากนั้นจึงค่อยพาเราเดินทาง (ที่เรียกได้ว่ากระชากแขนผู้ชม) ล้มลุกคลุกคลานจากเหมืองทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ไปสู่ความบ้าระห่ำของผู้ชายคนหนึ่งที่อยากทำธุรกิจขนส่งแต่เป็นเพียงแมลงวันตัวเล็กในตลาดนี้ ก่อนจะใช้ความแค้นเป็นเชื้อเพลิง ก่อร่างสร้างตัวจนเป็นยูนิคอร์นตัวแรกที่ล้มยักษ์ได้สำเร็จ นอกจากชีวิตลุ้นๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ผสมด้วยความกล้า ความบ้า และแรงตั้งใจในการคว้าชัยชนะอย่างไม่มีจังหวะเบรก จนทำให้ผู้ชมต้องจิกมือจิกเท้ากันตลอดทั้งเรื่องแล้ว ช่วงเวลา 7 ตอนนี้ยังเป็นบทเรียนที่ดีต่อสายธุรกิจและผู้ที่สนใจเรื่องเมืองอย่างเราอีกด้วย ประโยคนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ‘สันติ’ ตัวละครหลักกระโดดเข้าสู่วงการขนส่ง โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า ในประเทศไทยนั้นมีอุปสรรคมากมาย ทั้งในซีรีส์ที่เราเห็นได้ชัดอย่างทุนใหญ่ที่พร้อมเข้ามารวบทุกกิจการที่มีแนวโน้มเติบโต การกลั่นแกล้งในทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเจ้าตลาดที่จ้องมองธุรกิจเล็กดิ้นแทบเป็นแทบตาย ไม่ต่างอะไรจากการมองแมลงวันในขวดแก้วที่บินหนีไม่ได้ รอวันร่วงตกมาตายเท่านั้น […]

ทำไม Walkable City ถึงเป็นแนวทางสำหรับเมืองสมัยใหม่ และเป็นความเหลื่อมล้ำของเมืองเล็กที่ถูกลืม

เป็นเวลากว่าล้านปีที่มนุษย์ค่อยๆ วิวัฒนาการสรีระเพื่อรองรับการเดินตัวตรง เหล่าบรรพบุรุษใช้พรสวรรค์ในการเดินทนเดินไกล ขยับขยายอาณาเขตและเอาตัวรอดในสมัยบรรพกาล หรือเรียกได้ว่าเป็นเผ่าพันธุ์นักเดินตัวยง กระทั่งเมื่อลูกหลานของป้าลูซี (Lucy) คิดค้น ‘ล้อ’ ตัวช่วยการเคลื่อนที่แสนสะดวก บทบาทของการเดินเท้าจึงเริ่มถูกคัดทิ้งและลืมเลือน เมื่อรถยนต์แพร่หลายกลายเป็นพาหนะประจำครัวเรือน การตัดถนนครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นทั่วโลก กรุงรัตนโกสินทร์เองก็เขยื้อนตัวเช่นกัน เริ่มจากการขยายเมือง ถมคลองสร้างถนนรองรับ ‘รถเก๋ง’ แต่ดันลืมนึกถึง ‘คนเดิน’ เวลาผ่านมาเพียงหนึ่งชั่วอายุคน ความนิยมของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมหาศาลได้แปรสภาพเมืองหลวงไทยให้กลายเป็น ‘ตัวอย่างของความล้มเหลวทางการจราจร’ ลืมเรื่องการเดินอย่างสบายเท้าบนฟุตพาทไปได้เลย เพราะบางครั้งชาวสยามยังจำเป็นต้องเดินบนถนนขณะรถวิ่ง การเดินเท้าบนฟุตพาทในกรุงเทพฯ กลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างน่าละเหี่ยใจ นอกจากขนาดและสภาพของทางเท้าแบบ ‘Old School’ เก่าพังราวของวินเทจ ระยะทางของแต่ละย่านสำคัญก็ห่างไกลระดับน้องๆ มาราธอน แม้แต่ทางเลือกอย่างจักรยานก็อาจต้องเสี่ยงดวงเบียดบี้กับจักรยานยนต์บนถนน และขาดไม่ได้คืออากาศร้อนราวอบเซานาตลอดกลางวัน จึงไม่แปลกที่รถยนต์ส่วนตัวปรับอากาศเย็นสบายจะติดชาร์ตสิ่งของอันดับหนึ่งที่ใครๆ ล้วนปรารถนา อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเศร้ากว่าปัญหาข้างต้นคือ การหารือบนโต๊ะประชุมมักมีเพียงการแก้ปัญหาในบริบทของกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลับกันใน ‘จังหวัดอื่นๆ’ กลายเป็นผู้ถูกลืม บางพื้นที่ไม่มีแม้แต่ระบบขนส่งสาธารณะ บีบบังคับให้ทุกบ้านต้องมีรถยนต์หรือจักรยานยนต์เป็นอย่างน้อย ทั้งที่แนวคิด Walkable City ไม่ควรถกเถียงอยู่แค่บริเวณเมืองหลวง เพราะประชากรทุกจังหวัดควรได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ทั้งนั้น การสร้างเมืองเดินได้ในทุกบริบทย่อมตั้งต้นด้วยการเปลี่ยนวิถีการคมนาคม เริ่มจากรถยนต์ผู้ครองตำแหน่งแชมป์ที่เป็นก้างชิ้นโต ทำให้ผู้สันทัดกรณีเสนอการแก้ปัญหาอย่างกำปั้นทุบดินคือ ‘กำจัดรถยนต์บนท้องถนน’ […]

จำลองตัวเองเป็นนักปลูกผัก ใช้ชีวิตในเกม Farming Sim ช่วยจัดระเบียบชีวิต ชุบชูใจด้วยการพิชิตชัยชนะเล็กๆ

นึกภาพตอนที่เราตื่นขึ้นมาในฟาร์มของเรา มีแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิสาดส่อง พร้อมกับเสียงเพลงคลอเบาๆ เริ่มต้นวันด้วยการรดน้ำพืชผักท่ามกลางธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตเตรียมเอาไปแบ่งปันกับชาวเมือง กิจกรรมนี้น่าจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเหล่ามนุษย์เมืองในสังคมเมืองที่เร่งรีบ เกม Farming Simulator หรือเกมจำลองการใช้ชีวิตในฟาร์มจึงเป็นเหมือนอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากพักจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวาย Farming Simulator หรือที่ชาวไทยเรียกง่ายๆ ว่า เกมปลูกผัก เช่น Stardew Valley เกมขวัญใจชาวปลูกผัก, Coral Island หรือ Harvest Moon เกมปลูกผักในความทรงจำของใครหลายคน ซึ่งนอกจากความสนุกแล้ว การเล่นเกม Farming Simulator ยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตได้อีกด้วย ชีวิตที่วางแผนได้จากกิจวัตรในฟาร์ม อย่างที่หลายคนรู้กันว่า การเล่นเกมช่วยลดความเครียดได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของเกมแนว Farming Simulator คือ เราสามารถจัดการวางแผนชีวิตได้ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน To-do List ไปจนถึงการเลือกมีปฏิสัมพันธ์กับชาวเมืองในเกม มากไปกว่านั้น ยังต้องรู้จักเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการวางแผนจัดแจงที่ดีมักจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่เหมือนเป็นรางวัลเล็กๆ ให้เราเสมอ เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เราปลูกเอง การช่วยเหลือชาวเมืองเล็กๆ น้อยๆ การปลดล็อกสูตรอาหารใหม่ๆ ฟังดูอาจเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญอะไร เพราะไม่ส่งผลใดต่อชีวิตจริง แต่สำหรับคนที่ตั้งใจเล่นเกม […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ถังดักไขมันพกพาร้านรถเข็น แก้ปัญหาแบบ 2 in 1 ทั้งลดท่ออุดตันและได้ทางเท้าคืน

ปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำและการกีดขวางทางเดินของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ด คือสองปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ไม่ว่าจะจัดการเท่าไหร่ก็ไม่หมดไปสักที จะเป็นยังไงถ้าสองปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่เป็นได้ทั้งถังดักไขมันและอุปกรณ์สำหรับเทินล้อร้านรถเข็นให้สามารถจอดคร่อมระหว่างทางต่างระดับ คอลัมน์ Debut ขอดึงตัว ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect Design Studio เจ้าของโปรเจกต์ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากอีเวนต์ Bangkok Design Week 2025 ที่เพิ่งจบไป มาพูดคุยเจาะลึกถึง ‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ออกแบบนวัตกรรมถังดักไขมันแบบพกพา ที่โดนเทน้ำมันใส่ยังไงก็ไม่เล็ดลอดลงสู่ท่อระบายน้ำ แถมยังได้พื้นที่ทางเดินคืนมาให้คนเดินเท้าด้วย จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง สู่การออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาจริง ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ คงต้องย้อนไปถึงหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชวาลเขียนขึ้น โดยมีแกนหลักคือการบันทึกภาพสเก็ตช์และเรื่องราวสั้นๆ ของข้าวของรอบตัวที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทางจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ “เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นร้านรถเข็นมีปัญหาเรื่องฟุตพาททางเท้า เขาเลยมักจะเอาอิฐมวลเบาแถวนั้นมาเทินล้อ เป็นการแก้ปัญหาแบบเมืองๆ” เจ้าของโปรเจกต์เล่าถึงไอเดียตั้งต้น ก่อนจะนำมารวมกับปัญหาที่พ่อค้าแม่ขายมักเทน้ำเสียจากการประกอบอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันลงท่อระบายน้ำของเมืองโดยตรง ‘ตัวโดนเท’ ถือเป็นโปรเจกต์ในลักษณะ Product Design ตัวแรกของทาง Everyday Architect Design Studio ที่ชัชวาลออกแบบร่วมกับ ‘รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา’ และนักศึกษาฝึกงาน ‘มยุรฉัตร […]

1 2 3 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.