The Alphabet Book Café ดื่มกาแฟ จิบค็อกเทล อ่านวรรณกรรม ที่สอดแทรกไปด้วยอุดมการณ์คนทำหนังสือ

“มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่” ประโยคจากหนังสือ ‘The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า)’ โดย Kate Chopin (เคต โชแปง) ที่ ‘เอก-เอกสิทธิ์ เทียมธรรม’ ผู้จัดการร้าน ‘The Alphabet Book Café’ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘สมมติ’ เลือกให้เป็นคำนิยามที่อธิบายภาพบรรยากาศของคาเฟ่หนังสือแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรา คาเฟ่หลังสีดำแซมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลังนี้ คือสถานที่หลบภัยชั้นดีของผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เสียงเพลง และหนังสือสักเล่ม ก่อนกลับไปลุยงานต่อในวันถัดไป แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเสียหน่อย แต่รับประกันว่ามาแล้วไม่รู้สึกเสียเที่ยวอย่างแน่นอน จาก ‘สมมติ Book Café’ สู่ ‘The Alphabet Book Café’ ถึงแม้ว่าร้าน The Alphabet Book Café จะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่องการทำ Book Café ภายใต้สำนักพิมพ์สมมตินั้นถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว “จุดที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่องานหนังสือปี 2558 เราพยายามดีไซน์ตัวบูทขายหนังสือ ให้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว” เอกเล่าถึงช่วงเริ่มต้นที่ไอเดียเรื่องนี้เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง […]

เปลี่ยน King’s Landing ใน House of the Dragon ให้ปลอดภัย ไม่แออัด และยกระดับชีวิตของทุกคน

ขอต้อนรับเข้าสู่ King’s Landing เมืองที่โสมมที่สุดในเจ็ดอาณาจักร หากใครเป็นแฟนซีรีส์ Game of Thrones และ House of the Dragon ก็ต้องรู้จัก ‘มหานคร King’s Landing’ เมืองหลวงซึ่งเป็นที่ตั้งของบัลลังก์เหล็ก ศูนย์กลางการปกครองแห่งทวีป Westeros เป็นอย่างดี  นอกจากความเจริญรุ่งเรืองที่ได้เห็นใน King’s Landing กันแล้ว เมืองนี้ยังมีชื่อเสียงด้านลบเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องของความปลอดภัย ความแออัดของเมือง หรือแม้แต่ความสกปรก ชนิดที่ว่าหากไม่ใช่คนในพื้นที่ก็คงจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ ถึงขนาดที่ว่า Lady Olenna Tyrell หัวหน้าตระกูล Tyrell หนึ่งในเจ็ดตระกูลใหญ่ของเรื่องต้องเอ่ยปากเมื่อพูดถึง King’s Landing ว่า “คุณสามารถได้กลิ่นเหม็นเน่าในระยะห้าไมล์จากเมืองนี้” เลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะสวมบทบาทเป็น ‘หัตถ์แห่งพระราชา’ ผู้คอยให้คำปรึกษางานบริหารบ้านเมืองในด้านต่างๆ แก่พระราชา ผู้ซึ่งมีอำนาจเป็นอันดับสองในทั้งเจ็ดอาณาจักร โดยเราจะแก้ปัญหาในเมือง King’s Landing ให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น […]

ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

บัตรคนจน ช่วยคนจนหรือสร้างความเหลื่อมล้ำ?

เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีการเปิดรับลงทะเบียน ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ หรือ ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่ในปี 2565 โดยครั้งนี้คณะรัฐมนตรีวางเป้าหมายคนลงทะเบียนบัตรประเภทนี้ไว้ 20 ล้านคน เพื่อเยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้คนตกงานมากมาย และคนหันไปทำงานอิสระมากกว่าเคย จึงคาดการณ์ว่าจะมีคนจนมากกว่าแต่ก่อน รวมถึงคาดว่าจะมีคนรับสิทธิ์จริงประมาณ 17 ล้านคน ซึ่งตั้งงบประมาณเอาไว้ 5,337 ล้านบาท ว่าด้วยตัวเลข 20 ล้านคนที่คณะรัฐมนตรีตีกรอบเอาไว้สำหรับคนที่ลงทะเบียนบัตรคนจนปี 2565 เมื่อย้อนดูสถิติจำนวนคนถือบัตรคนจนตั้งแต่ปี 2560 – 2564 จากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2560 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2561 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 11 ล้านคนปี 2562 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 15 ล้านคนปี 2563 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2564 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 13 ล้านคนปี 2565 ครม.ตั้งเป้าไว้ 20 ล้านคน (คาดว่ารับจริง […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ

สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]

อสังหาฯ กรุงเทพฯ ชาติไหนครองมากที่สุดในปฐพี?

ใกล้จะถึงเดือนกันยายน ที่รัฐบาลเคาะผลบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีกำลังทรัพย์ (คนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจไม่ น้อยกว่า 3 ปี) หรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบ้านเรา พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติในไทยเป็น 1 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเก็บภาษีมากกว่าเดิมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันตัวเลขมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดชาวต่างชาติปี 2564 ในกรุงเทพฯ มากที่สุดต้องยกให้ ‘ประเทศจีน’ มีมูลค่า 19,588 ล้านบาท และจำนวนห้องชุดทั้งหมด 3,526 หน่วย เรียกได้ว่าทั้งมูลค่าการถือครองเป็นเจ้าของและจำนวนห้องมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับอันดับที่ 2 อย่าง ‘ประเทศวานูอาตู’ มีมูลค่า 1,111 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 58 หน่วย และอันดับที่ 3 คือ ‘ประเทศสิงคโปร์’ มีมูลค่า 786 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 117 หน่วย ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในไทยทุกวันนี้ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาติยุโรปมีสัดส่วนถึง […]

Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน

ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

‘Happy Left Hander’s Day’ 10 นวัตกรรม ที่ทำมาเพื่อคนถนัดซ้าย

**เนื้อหาและกราฟิกของบทความนี้ทำขึ้นโดยเหล่ามนุษย์ถนัดซ้าย ไหนใครถนัดซ้ายบ้าง ยกมือซ้ายขึ้น! ตอนนี้ได้เวลายืดอกแล้วบอกกับคนอื่นไปอย่างมั่นใจว่าเรา ‘ถนัดซ้าย’ แล้ว  เพราะวันนี้หรือวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันคนถนัดซ้ายสากล’ เพื่อเฉลิมฉลองให้คนที่ถนัดซ้ายทั่วโลก และบอกกับสังคมว่าเราไม่ได้แตกต่างไปจากคนทั่วไปที่ถนัดขวาเลย ในฐานะที่เป็นคนถนัดซ้ายมาตลอดทั้งชีวิต การถนัดซ้ายถือเป็นเรื่องแสนจะน่าภูมิใจสำหรับเรา เพราะการใช้ชีวิตด้วยอุปกรณ์ของคนถนัดขวา ที่สร้างโดยคนถนัดขวา เพื่อคนถนัดขวา มันช่างชาเลนจ์การใช้ชีวิตประจำวันเสียเหลือเกินเชื่อว่าชาวถนัดซ้ายหลายคนคงจะมีวิธีพลิกแพลง หรือทริกสนุกๆ สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเราอย่างถูกต้องกันอยู่ไม่น้อย ช่วงแรกอาจจะหงุดหงิด ไม่ชินมือกันบ้าง แต่สักพักก็ใช้งานได้เป็นปกติ แต่จะดีกว่าไหม ถ้ามีของที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนถนัดซ้ายจริงๆ โดยไม่ต้องลำบากคิดวิธีใช้ใหม่ให้ยุ่งยาก วันนี้เราจึงขอหยิบ 10 นวัตกรรมของใช้ในชีวิตประจำวันที่ออกแบบมาสำหรับคนถนัดซ้ายมาฝากกัน เผื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้คนถนัดซ้ายรู้สึกว่าโลกนี้ไม่โหดร้ายกับเราจนเกินไป 10 นวัตกรรมสำหรับคนถนัดซ้ายที่เราคัดสรรมามีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! ปากกาน้ำหมึกแห้งไว | ออกแบบตามสรีรศาสตร์ ตั้งแต่เด็กจนโต สิ่งที่ดูเป็นปัญหาสำหรับคนถนัดซ้าย ที่ใครหลายคนตอบเป็นเสียงเดียวกันคือ ‘ปากกา’ ไม่ว่าจะเป็นปากกาแบบไหน ลูกลื่น หมึกเจล หรือหมึกซึม คนถนัดซ้ายก็ทะเลาะด้วยมาแล้วเกือบทั้งนั้น เพราะปากกาที่โฆษณาว่าหมึกแห้งไว ก็ยังไม่ไวเท่ากับสันข้อมือของเราอยู่ดี การเห็นหมึกสีน้ำเงินบ้าง แดงบ้าง ดำบ้าง ติดอยู่ที่มือกลายเป็นเรื่องปกติของชาวถนัดซ้าย แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะปัจจุบันมีปากกาสำหรับพวกเราโดยเฉพาะแล้ว […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

1 9 10 11 12 13 17

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.