ไบรอัน ตัน อินฟลูฯ สายลักซูฯ ที่จัดเวทีเพื่อความเท่าเทียมและทำเพลงเพื่อสานฝันวัยเด็ก

บ่ายวันที่เรานัดคุยกับ พลากร แซ่ตัน หรือ ไบรอัน ตัน เขาปล่อยซิงเกิลล่าสุดอย่าง ‘ต๊าช (Touch)’ มาแล้วหนึ่งสัปดาห์ สารภาพตามตรงว่า ทุกวันในสัปดาห์นั้นที่เรารอจะคุยกับเขาด้วยใจจดจ่อ ไม่มีวันไหนที่เราจะไม่นึกถึงภาพของไบรอันก้าวลงจากรถด้วยท่าทางหัวรัดฟัดเหวี่ยง พอดนตรีขึ้นก็เดินสับๆ ประหนึ่งฟุตพาทที่ย่ำอยู่คือรันเวย์ ยิ้มแบบลักซูฯ (นิยามการยิ้มแบบไบรอันที่ชาวเน็ตตั้งให้) ให้กล้องสลับกับร้องอย่างมั่นใจ  รู้ตัวอีกที เราก็กดฟัง ‘ต๊าช’ ซ้ำๆ จนถึงวันที่ได้คุยกัน ไบรอันบนหน้าจอปรากฏตัวด้วยชุดสบายๆ ต่างจากคนในยูทูบอย่างชัดเจน แต่เมื่อบทสนทนาดำเนินไป จริต อินเนอร์ น้ำเสียง และคำตอบของคนตรงหน้าก็ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย นี่แหละคือหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ตัวท็อปของแวดวงนางงาม โฮสต์ของเรียลลิตี้ประกวดนางงาม Miss Fabulous Thailand ที่เป็นไวรัลไปทั่วอินเตอร์ เจ้าของประโยค ‘เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์’ ที่ถูกนำมาต่อยอดเป็นซิงเกิลฮิต ในขณะเดียวกัน บางช่วงของบทสนทนานี้ ไบรอันก็เล่าเรื่องชีวิต ความฝัน และมุมมองต่อการงานที่เรามั่นใจว่าหลายคนไม่เคยได้ยินจากที่ไหน ชาวเน็ตหลายคนบอกว่าชอบคุณเพราะจริตแบบลักซูฯ คำว่าจริตแบบลักซูฯ ในความหมายของไบรอันเป็นยังไง ตามความหมายแล้วจริตลักซูฯ มันแปลว่าจริตของการเป็นคนรวยถูกไหม ซึ่งเราน่าจะได้มาจากเวลาเราขายสินค้าแบรนด์เนมและเครื่องประดับ เราต้องพรีเซนต์สินค้าเหล่านั้นออกมาให้คนซื้อ […]

ชุดนักเรียนไทย สะท้อนความเท่าเทียม หรือซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ?

คุณคิดว่าชุดนักเรียนไทยยังจำเป็นต้องใส่อยู่หรือไม่? หลังจากข่าวกระทรวงมหาดไทยมอบหมายผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดสำรวจครอบครัวที่ขาดแคลนเครื่องแบบนักเรียน และจึงจะระดมกำลังภาคีเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัดจัดหาชุดเครื่องแบบให้ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว และอาจไม่ได้ช่วยคลายปมให้ถูกจุดในระยะยาวเท่าไหร่นัก สำหรับเด็กไทย ชุดนักเรียนคือเสื้อผ้าที่ต้องใส่แทบทุกวัน แถมเครื่องแต่งกายยังมีหลายรูปแบบ เช่น ชุดลูกเสือ ชุดเนตรนารี ชุดพละ หรือเสื้อผ้าใส่ในวันพิเศษอย่างชุดกีฬาสี ชุดผ้าไหมไทย หรือชุดอาเซียนร่วมใจก็มี ความหลากหลายของชุดตามมาด้วยราคาที่ต้องจ่ายเองแสนหนักอึ้ง สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ที่ซบเซาและค่าครองชีพที่พุ่งสูงมากกว่าเคย 8,840 บาท/คน ค่าชุดนักเรียน (ขั้นต่ำ) ที่พ่อแม่ต้องจ่าย จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลราคาเฉลี่ยเครื่องแบบนักเรียนไทยเบื้องต้น ชุดนักเรียน 3 ชุด ชุดลูกเสือ/เนตรนารี 1 ชุด และชุดพละ 1 ชุด เริ่มจากวัยอนุบาลประมาณ 1,697 บาท วัยประถมศึกษาประมาณ 1,949 บาท และวัยมัธยมศึกษาประมาณ 2,180 บาท รวมกับค่าใช้จ่ายจุกจิก เช่น เครื่องประดับชุดนักเรียน ชุดกิจกรรม กระเป๋า และรองเท้า ตีรวมเป็นเลขกลมๆ ประมาณ 1,000 บาทคูณสามวัยการศึกษา สรุปได้ว่า หากคุณเป็นผู้ปกครองเด็กคนหนึ่งต้องเก็บเงินเผื่อค่าชุดนักเรียน […]

Chumanee (ชูมณี) : รถซักผ้าที่อยากให้ทุกคนเข้าถึงความสะอาด

8 มิถุนายนที่ผ่านมาคือ ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ เป็นครั้งแรกที่สถาปนาวันนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นความสำคัญของการซักผ้าและอาบน้ำ เราเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ เป็นคนที่มีโอกาสได้อาบน้ำและซักผ้าทุกวันโดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ มารบกวนใจอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันเหล่านี้ และมีคุณภาพชีวิตที่แย่กว่าคุณจะจินตนาการถึงได้ เพียงเพราะไม่ได้ซักผ้าและอาบน้ำอย่างที่ควรจะเป็น ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ คืองานที่ Otteri wash & dry (อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย) ร้านสะดวกซักที่มีมากกว่า 700 สาขาทั่วไทย ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา นำรถซักผ้าเคลื่อนที่ ‘ชูมณี (Chumanee)’ มาบริการคนไร้บ้านให้อาบน้ำและซักผ้ากันฟรีๆ เป็นครั้งแรก ที่บริเวณหลังศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ในเขตพระนคร ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่เยอะ เราถือโอกาสมาร่วมงานและนัดพบกับ กวิน นิทัศนจารุกุล ผู้บริหารของ Otteri Wash & Dry ที่งานนี้ เพื่อฟังเรื่องราวเบื้องหลังการเปิดตัวรถซักผ้าเคลื่อนที่คันแรกของไทย และพูดคุยถึงการยกเรื่องซักผ้าและอาบน้ำมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อสื่อสารกับคนทั้งประเทศ งานวันนี้มูลนิธิกระจกเงาได้ออกเดินแจกบัตรเชิญให้กับคนไร้บ้านมาเข้าร่วมงาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมีคนไร้บ้านเข้าร่วมมากกว่า 200 คน ภายในงานจะแบ่งออกเป็นหลายสเตชันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนไร้บ้านเป็นหลัก โดยเริ่มจากบูทแรกที่ทุกคนต้องมาแวะคือ ‘แฟชั่นสัญจร’ ที่เปิดให้คนไร้บ้านได้ช้อปชุดใหม่ได้ฟรีๆ คนละ 1 […]

9 นโยบายฟื้นฟูเมือง Hawkins ใน Stranger Things ให้ปลอดภัย ไร้กังวล

จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปเกิดเป็นชาวเมือง Hawkins ในซีรีส์ยอดฮิต Stranger Things ประเดิมงานชิ้นแรกในคอลัมน์ Urban Isekai ที่จะพาทุกคนสวมบทบาทไปในต่างโลก เพื่อชี้ประเด็นหรือปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขแบบเมืองๆ แน่นอนว่านาทีนี้หากพูดถึงซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Stranger Things ซีซัน 4 ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราเลยขอหยิบซีรีส์ยอดฮิตเรื่องนี้มากระทำการอิเซไกซะหน่อย แฟนซีรีส์ Stranger Things ย่อมรู้อยู่แล้วว่า Hawkins เมืองเล็กๆ กลางป่าในรัฐ Indiana นั้นเกิดเรื่องลึกลับ และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าขัดข้องอย่างไม่มีสาเหตุ เสียงร้องแปลกประหลาดจากชายป่ายามค่ำคืน ชาวเมืองหายสาบสูญ กระทั่งมีเหตุฆาตกรรมภายในเมือง จนเมืองนี้ ได้รับฉายาว่า ‘เมืองต้องคำสาป’ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอรับบทเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Hawkins ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลพัฒนาเมืองให้ดี โดยขอเสนอเป็น 9 นโยบายที่จะช่วยล้างคำสาป ทำให้ Hawkins กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย 1. ตรวจสอบหน่วยงานในพื้นที่ เรื่องลึกลับใน Stranger Things มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลองแห่งชาติ […]

Baan Plan Cafe คาเฟ่ห้องสมุดย่านสาทร ที่อยากเป็นจุดหยุดพักให้คนเมือง

ทุกวันนี้ห้องสมุดในกรุงเทพฯ พอมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ที่จะเข้าไปใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลถึงกฎระเบียบต่างๆ เดินทางง่าย และมีบรรยากาศเป็นกันเอง ร่มรื่น ชวนให้รู้สึกรื่นรมย์ กลับมีจำนวนแทบนับนิ้วได้ หนึ่งในนั้นคือ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ที่ตอนนี้กลายมาเป็น บ้านแปลนคาเฟ่ คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสาทร ซอย 10 ที่นับว่าเป็นย่านสำคัญทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่นึกถึงสาทร เรามักเห็นภาพรถติด คนทำงานเดินขวักไขว่ ตึกระฟ้ามากมาย  ทว่าเมื่อได้เดินเข้ามาในสาทร ซอย 10 และพบกับ บ้านแปลนคาเฟ่ ที่มีความร่มรื่นจากแมกไม้ใหญ่ และพื้นที่ที่ออกแบบเน้นไปทางเรียบง่าย โปร่งโล่ง ทำให้รู้สึกเหมือนได้หยุดพักจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ไหนจะยังมีชั้นหนังสือเรียงรายให้ใช้บริการฟรี  สำหรับเราที่เป็นคนรักหนังสือและชอบบรรยากาศของคาเฟ่ บอกได้เลยว่าที่นี่คือสถานที่ชุบชูใจชั้นดี ห้องสมุดประชาชนที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แม้ตัวคาเฟ่ห้องสมุดแห่งนี้จะเพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี แต่ใครที่รู้สึกคุ้นชื่อ ‘บ้านแปลน’ เป็นพิเศษก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่นี่คือส่วนหนึ่งของ ‘แปลน’ กลุ่มคนจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ที่รวมตัวกันก่อตั้งธุรกิจด้านการออกแบบหลากหลายแขนง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ เอ-ศิริวรรณ เจือแก้ว สถาปนิกฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้านแปลนคาเฟ่ เล่าให้เราฟังถึงอดีตของร้านว่า […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

Urban Foraging BKK ทริปตามหา ‘พืชกินได้’ สารพัดประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองกรุง

รู้หรือไม่ว่า ‘วัชพืช’ และ ‘สมุนไพร’ นานาชนิดที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูแสนอร่อยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และอาจช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองได้ด้วยนะ 23 เมษายน 2565 เรามีโอกาสไปร่วมทริป ‘Urban Foraging BKK’ ที่จัดโดย สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกิจกรรมเที่ยววันเดียว ‘ครั้งแรก’ ที่สวนผักคนเมืองพาคนเมืองอย่างเราไปลัดเลาะตามหาและทำความรู้จักพืชที่ซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อทริปว่า ‘พืชกินได้นอกสายตา’ เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ เพราะจริงแล้วๆ รอบตัวของเรารายล้อมไปด้วย ‘พืชอาหาร (Edible Plants)’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงผักที่ปลูกในแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัชพืชและสมุนไพรริมทางที่เราอาจคุ้นตา แต่อาจไม่รู้จักชื่อ หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์สารพัด ทริป Urban Foraging BKK จึงอยากแนะนำพืชอาหารที่เติบโตตามธรรมชาติให้เรารู้จัก เพราะไม่แน่ว่าพืชที่เคยแปลกหน้าเหล่านี้อาจมาปรากฏตัวบนโต๊ะอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้ ที่สำคัญ ทริปนี้ยังมีเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ด้านอาหารใหม่ๆ ที่อาจช่วยพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นด้วย  คอลัมน์ Experimentrip จึงอยากพาทุกคนไปติดตามภารกิจตามหาพืชอาหารว่าจะพบพืชชนิดใดบ้าง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชแต่ละชนิดคืออะไร และคนเมืองอย่างเราจะรู้สึกเซอร์ไพรส์กับพืชกินได้ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมขนาดไหน ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาออกเดินทางสู่การเรียนรู้ครั้งใหม่พร้อมกันเลย! ล่องเรือมุ่งหน้าสู่ […]

People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง

สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย  การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

มนุษย์ออฟฟิศอ่าน 5 หนังสือพักจากงานที่เหมาะอ่านในวันหยุด

สำหรับวันหยุดยาวในเดือนที่นับว่าร้อนที่สุดแห่งปีแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการนั่งตากลม พักผ่อนสบายๆ จิบชายามบ่าย พลิกหนังสือสนุกๆ อ่านทีละหน้าอย่างไม่รีบร้อน หลังจากเปิดปี 2022 มา บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ทั้งฝั่งการเมืองที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไหนจะข่าวสารใหญ่ๆ ที่ทำให้สังคมหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ยังไม่นับอากาศที่แปรปรวนจนหลายคนงงไปตามๆ กันอย่างเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา  แน่นอนว่าหลังจากนี้คงมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้นแน่ แต่เราอยากชวนทุกคนมาพักเบรก ชาร์จพลังใจ กับ 5 หนังสืออ่านสบายๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ราบรื่นในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างไม่หนักหนา และตระหนักว่ายังมีคนอีกมากมายที่รู้สึกไม่ต่างจากเรา ‘พักให้ไหว ค่อยไปต่อ’ หนังสือที่บอกว่าใจจะแข็งแรงขึ้นถ้าพักเสียบ้างเขียนโดย Nina Kim ในยุคสมัยที่มีแต่คนบอกให้แอ็กทีฟ ลงทุน ออมเงิน หาเงินเพิ่ม พัฒนาตัวเอง ทำธุรกิจที่สองสามสี่ ฯลฯ จะเป็นอะไรไหมถ้าเราจะขอไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ และให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจ หนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มนี้มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้คนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อต้องทำงาน มีภาระ มีความรับผิดชอบ ชีวิตแสนวุ่นวาย จะหาพื้นที่หายใจอย่างปลอดโปร่งคงยากไปหมด การอดทนอาจเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้มีแรงย่างก้าวไปแต่ละวัน แต่ขณะเดียวกันการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเหนื่อยแล้วรู้จักพัก ร้องไห้บ้างเมื่อรู้สึกเศร้า ระบายความโกรธออกมาบ้าง คงทำให้ใจแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ ลองให้เวลาและพื้นที่ตัวเองบ้าง ลองไม่ต้องอดทนแล้วปลดปล่อยความในใจออกมา อาจทำให้ชีวิตสุขขึ้น […]

Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง

เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี  แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง  เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “​​แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

1 16 17 18 19 20 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.