อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ประเทศไทยวันนี้ : งบสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ย กองขยะสูงลิ่ว

Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]

ขุดคริปโตใช้ ‘ไฟฟ้า’ มากกว่าเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศ

นอกจากข่าวสารอัปเดตเรื่องโควิด-19 นาทีนี้ต้องยกให้กระแสการลงทุนในคริปโตหรือสกุลเงินดิจิทัลที่มาแรงแซงขวา ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ได้ยินศัพท์แปลกๆ ทั้ง “ตกรถ” “ติดดอย” “Moon” หรือ “HODL” เต็มไปหมด

โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?

ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?

ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน

เราสูญเสียป่ากันไปเท่าไหร่กับไฟป่าภาคเหนือ

ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือกินระยะเวลาหลายเดือน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 จนถึงขั้นวิกฤตส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กระทั่งเมื่อต้นเดือนเมษายน มีฝนโปรยปรายลงมาทำให้ไม่พบจุดความร้อนแล้วและมีค่าฝุ่นดีขึ้นในช่วงนี้

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.