New Year’s Revolution จับตามองนวัตกรรมและมูฟเมนต์ปฏิวัติการใช้ชีวิต ปี 2023

Midjourney ChatGPT แนวคิดการทำงานแบบ Quiet Quitting การเคลื่อนไหวของผู้หญิงในอิหร่าน และการลุกขึ้นมาต่อต้านการฟอกเขียวของภาคธุรกิจ ทั้งหมดนี้ต่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและได้รับความสนใจในปีนี้  เพราะหลังจากทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาด โลกออนไลน์ก็ดูจะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น รวมไปถึงนวัตกรรมต่างๆ ก็ได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างก้าวกระโดด  คอลัมน์ Urban’s Pick จึงขอหยิบเอานวัตกรรม เทรนด์การใช้ชีวิต และการเคลื่อนไหวของสังคมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลคาดการณ์ถึงนวัตกรรมและมูฟเมนต์ที่อาจเกิดขึ้นในปี 2023 ซึ่งอาจพลิกโฉมวิถีชีวิตของเราไปตลอดกาล Fractional NFT Real Estate ซื้อ-ขายที่ดินดิจิทัล ในช่วงปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ NFT หรือสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสนใจจากนักสะสมและนักลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่นอกจากการซื้อ-ขายเหรียญหรืองานศิลปะ ในปีหน้าเราอาจได้เห็นการลงทุนกับของที่ใหญ่ขึ้นอย่าง ‘ที่ดินดิจิทัล’ ในชื่อ ‘Fractional NFT Real Estate’ กับราคาที่จับต้องได้มากขึ้น หลักการของ Fractional NFT Real Estate คือการลงทุนในที่ดินจริงผ่านทาง NFT ในรูปแบบของการแบ่งเค้ก หรือการที่ที่ดินผืนหนึ่งสามารถมีผู้ถือครองได้หลายคน แตกต่างจากเดิมที่มีผู้ถือโฉนดได้เพียงคนเดียว ทำให้คนทั่วไปเป็นเจ้าของที่ดินได้ง่ายขึ้น และทำกำไรจากที่ดินนั้นๆ ได้ตามสัดส่วนที่ตนเองถือครองเปอร์เซ็นต์ของที่ดินเอาไว้ Fractional NFT Real […]

อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป  สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น  ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]

ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี Nevermore Academy ใน Wednesday เชื่อมสัมพันธ์ชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho

สวัสดีชาว Outcast และชาวเมือง Jericho ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปี 1791 ที่ Nevermore Academy ของเราได้ก่อตั้งขึ้นในเมือง Jericho เพื่อให้การศึกษากับพวก Outcast คนพิลึก และสัตว์ประหลาด เวลาก็ผ่านล่วงเลยมากว่า 231 ปีแล้ว แต่ทำอย่างไรความสัมพันธ์ระหว่างชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho ก็ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นสักที ด้วยเหตุนี้ Urban Creature เลยขอทำการอิเซไกในโลก Wednesday ซีรีส์จาก Netflix ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยการสวมบทบาทเป็นครูใหญ่แห่ง Nevermore Academy ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี 6 วิชา ที่เปิดให้ชาวเมืองและเด็กจากโรงเรียน Jericho School ได้มีโอกาสเลือกลงเรียนตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ชาวเมืองได้ทำความรู้จักฝั่ง Outcast มากขึ้น เราหวังว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ Jericho กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคนอย่างแท้จริง เพื่อให้ตรงกับวิสัยทัศน์ของครูใหญ่ ‘ลาริสซา วีมส์’ ที่ว่า “Nevermore is a […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ

‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย  แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น  Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]

บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม

แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

NODE OF MUSIC CITY ธีสิสที่อยากทำให้ย่านเจริญกรุงรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองดนตรีสร้างสรรค์

เป็นเวลาสองปีกว่าๆ ที่เราต้องทำงานที่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น แต่แล้ววันเวลาที่ต้องเว้นระยะห่างเหล่านั้นก็ดูจะคลี่คลายกลับกลายเป็นความปกติ เห็นได้จากชาวต่างชาติจำนวนหลายล้านคนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย ไหนจะอีเวนต์ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ออกมาใช้ชีวิตกัน อย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงปลายปีนี้ ก็คงเป็นขบวนคอนเสิร์ตที่หลั่งไหลมาจัดในไทยแบบไม่ให้พักเก็บเงินกันเลย ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปช่วงเวลาก่อนหน้าที่โรคระบาดจะมาเยือน กรุงเทพฯ ก็เรียกได้ว่าเป็นเมืองดนตรีที่มีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศให้ผู้คนได้เลือกชมกันอย่างไม่ขาดสาย ในเดือนเดือนหนึ่งอาจมีมากกว่าสิบงานด้วยซ้ำไป ‘เบนซ์-จิรศักดิ์ จุลมณี’ นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเป็นผู้ที่คลุกคลีกับการเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยเรียน มีผลงานเพลงของตัวเองและมีงานแสดงในสถานที่ต่างๆ รวมถึงได้เห็นการทำงานของทีมผู้จัดงานดนตรี  ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจและเกิดเป็นการตั้งคำถามในใจของเขาว่า “ในยุคสมัยที่ศิลปินกับผู้ฟังเข้าถึงกันง่ายขึ้น ทำไมสถานที่สำหรับการแสดงดนตรีในไทยยังมีน้อย ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่มีพื้นที่ในการแสดงออกมากกว่า”  เพื่อตอบคำถามข้อนั้น เบนซ์ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล โดยใช้ความรู้ในสิ่งที่เรียนและความสนใจในเรื่องดนตรี ทำธีสิสที่มีชื่อว่า ‘NODE OF MUSIC CITY’ เพื่อหวังสร้างเมืองดนตรีให้เกิดขึ้นจริง NODE OF MUSIC CITY NODE OF MUSIC CITY คือการสร้างเมืองดนตรีที่เชื่อมถึงกันเป็นจุดต่อจุด โดยโปรเจกต์นี้เลือก ‘เจริญกรุง’ หนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ ที่มีศักยภาพและเหมาะควรต่อการจัดงานดนตรี เพราะมีทั้งร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ และพื้นที่ต่างๆ ที่มักจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนสำคัญคือ เจริญกรุงมีอาคารและสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ […]

1 7 8 9 10 11 17

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.