“เสียงของคุณมีความหมาย” 5 อีเวนต์ลงชื่อขับเคลื่อนสังคม

คุณเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีไหน? บางคนไปชุมนุมเพื่อแสดงพลัง บางคนใช้สมาร์ตโฟนในมือเป็นช่องทางแชร์ข้อมูลข่าวสาร บางคนใช้เสียงของตัวเองโพสต์ถึงปัญหาบ้านเมืองให้คนได้คิดตาม และบางคนใช้ศิลปะหรือเนื้อเพลงขับเคลื่อนสังคม สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าคุณมี ‘สิทธิ์’ อยู่ในมือ โปรดจงเชื่อมั่นในเสียงของตัวเอง  Urban Creature ขอเป็นหนึ่งเสียงแสดงจุดยืนอยู่ข้างประชาธิปไตย จึงอยากแนะนำหนึ่งวิธีแสดงพลังที่เห็นเป็นรูปธรรม นั่นคือการ ‘ลงชื่อ’ คัดค้าน เรียกร้อง และเสนอร่างเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเราเชื่ออย่างเต็มหัวใจว่าลายเซ็นของทุกคนเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่อยากเห็นคนในประเทศไทยทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพราะอนาคตที่ดี ใครๆ ก็อยากมี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี 01 #NoCPTPP #คัดค้านCPTPP CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก  แม้ข้อดีของ CPTPP จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศที่ไม่เคยมีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย เช่น แคนาดา และเม็กซิโก ดึงดูดการลงทุนจากประเทศสมาชิก CPTPP และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียที่ตามมา Greenpeace ประเทศไทย ได้สรุปผลกระทบหากประเทศไทยเข้าร่วมภาคี CPTPP ไว้ว่า ถือเป็นการยอมรับอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV […]

Ananda For Urban Hero

ปีสองปีที่ผ่านมา การใช้ชีวิตของมวลมนุษยชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไป และต้องบอกว่า “มันไม่ง่ายเลย”

มีบ้างที่คิดถอดใจ เพราะสิ่งที่มุ่งหวังไว้ล้มไม่เป็นท่า หันไปมองคนใกล้ชิด หรือแม้แต่เพื่อนร่วมโลกก็ต่างล้มลุกคลุกคลานไม่แพ้กัน บ้างพลิกวิกฤตเป็นโอกาส บ้างต้องพักใจชั่วคราวแล้วกลับมาฮึดสู้ใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นและสัมผัสได้ คือหัวใจของความเป็น Hero

นิยามของ Hero ใน พ.ศ. นี้ อาจไม่ใช่คนที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ต้องดีเลิศเลอ หรือเป็นไอดอลที่ใครก็อยากทำตาม แต่ความเป็นจริงแล้วทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นใคร กำลังทำอะไร หรือเป็นฟันเฟืองเล็กใหญ่แค่ไหน ก็ล้วนมีพลังฮีโร่อยู่ในจิตวิญญาณทั้งสิ้น

แม้วันนี้โลกจะไม่แสนดีต่อเราสักเท่าไร แต่เรายังเชื่อมั่นในทุกพลังความเป็น Urban Hero ที่อยู่ในหัวใจทุกคน ว่าจะสามารถส่งต่อพลังบวกเหล่านั้นไปยังคนที่เรารัก คนที่รักเรา และชาวเมือง ให้ลุกขึ้นมาอีกครั้ง
.
เหมือนกับ Ananda แบรนด์ที่คิดเพื่อชีวิตคนเมือง ซึ่งขอส่งต่อพลังอันยิ่งใหญ่ กับบทเพลงให้กำลังใจฮีโร่ชาวเมืองทุกคน ให้กลับมายิ้มได้และพร้อมลุยอีกครั้ง เมื่อมวลความรู้สึกดี ๆ จากหลากหลายหัวใจมารวมกัน เชื่อเลยว่าทุกคนจะผ่านมันไปได้ และเราจะผ่านมันไปด้วยกัน

#UrbanCreature #เพราะคุณคือHEROในทุกๆวัน

Pica Pen ลอกคราบความเชยของเครื่องเขียนให้อยากพกติดตัว

เปิดประสบการณ์ใหม่ผ่านเครื่องเขียนกับเจ้าของและนักออกแบบแบรนด์ Pica Pen ‘ก้อง-พิชชากร มีเดช’ ที่ตกหลุมรักเครื่องเขียนตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอ จนสานต่อมาเป็นผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Leonardo DiCaprio แท็กทีมกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เปย์งบ $43M เพื่อฟื้นฟูหมู่เกาะกาลาปากอส

(ไม่) แก่ ใจดี สปอร์ต USA! ต้องยกตำแหน่งบุคคลแห่งการเปย์ให้ ‘Leonardo DiCaprio’ เจ้าของบทบาท ‘แจ๊ก ดอว์สัน’ จากภาพยนตร์เรื่องไททานิก และยังเป็นสปอนเซอร์ที่ให้เงินช่วยเหลือโครงการสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ โดยรอบนี้ เขากลับมาแท็กทีมกับมูลนิธิและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดมทุน 43 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1,350 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูสัตว์ป่าในหมู่เกาะกาลาปากอส การทุ่มเงินจำนวนมหาศาลของ Leonardo ไม่ได้ให้เพราะเงินเหลือใช้ แต่เป็นความมุ่งมั่นที่อยากอนุรักษ์ธรรมชาติเอาไว้ก่อนสายเกินไป เขามองว่าตอนนี้สัตว์ป่าทั่วโลกกำลังลดลง เพราะมนุษย์ใช้พื้นที่ป่าไปกว่า 3 ใน 4 ของโลก ทำให้สัตว์มากกว่าหนึ่งล้านชนิดต้องสูญพันธุ์  Leonardo จึงเริ่มก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า Re: wild โดยให้หมู่เกาะกาลาปากอส สถานที่ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นสนามแรกที่พวกเขาต้องการฟื้นฟู แน่นอนว่า Leonardo ดึงเหล่าสมาชิกมากฝีมือ ไปจนถึงกลุ่มชาวบ้านของเอกวาดอร์เข้าร่วมทีมด้วย  โดยจำนวนเงินทั้งหมดถูกจัดสรรออกไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการรื้อฟื้นสัตว์สูญพันธุ์ในท้องถิ่น 13 ชนิด โครงการเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของ ‘อีกัวนาสีชมพู’ หรือเพิ่มการดูแลและปกป้องทรัพยากรทางทะเลจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของมนุษย์ รวมถึงฟื้นฟูเกาะฟลอรีนา […]

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

Tadao Ando เปลี่ยนตลาดหุ้นเก่าในปารีสเป็นมิวเซียม ‘Bourse de Commerce’ โชว์ของสะสมทั้งชีวิตของเจ้าของ Gucci

เมื่อ ‘François Pinault’ มหาเศรษฐีชาวฝรั่งเศสเจ้าของกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมขวัญใจหลายคน อย่าง Gucci, Saint Laurent, Bottega Veneta หรือ Balenciaga สร้างพิพิธภัณฑ์ไว้แสดงคอลเลกชันศิลปะส่วนตัวที่เขาสะสมมาทั้งชีวิตกว่า 10,000 ชิ้น Bourse de Commerce คือชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะน้องใหม่ที่ตั้งอยู่กลางเขต 1 ของปารีส เดิมเป็นอาคารตลาดหลักทรัพย์เก่าในสมัยศตวรรษที่ 18 ก่อนถูกนำมาบูรณะใหม่โดย ‘Tadao Ando’ สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่งานออกแบบของเขามักแฝงไปด้วยปรัชญาทางธรรมชาติ หลังใช้ระยะเวลาในการวางแผนและดำเนินการก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ขึ้นในวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ พร้อมกับโชว์นิทรรศการแรกที่มีชื่อว่า ‘Ouverture’ โดยจะจัดแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยหลายคน เช่น Kerry James Marshall, Marlene Dumas, Luc Tuymans และ Cindy Sherman Sources :CNN | https://cnn.it/3bEHfOhDesignboom | https://bit.ly/3wiRcsM

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

‘Soul Salt’ Paint Bar กลิ่นอายทะเลที่ยกหาดทรายมาไว้ริมเจ้าพระยาให้ทุกคนนั่งละเลงสี

รู้จัก Soul Salt เบนต์บาร์ริมเจ้าพระยา ที่ยกหาดทรายมาไว้กลางกรุง พื้นที่ที่ต้อนรับทุกคน

ภารกิจ Zero Waste เริ่มต้นได้ที่บ้าน

ท่ามกลางชีวิตของเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คน รถยนต์ และความวุ่นวายในแต่ละวัน ความเรียบง่ายจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นแนวคิด Minimalism ที่ผู้คนโหยหาความสงบและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ด้วยการตัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออก เมื่อเรามีสิ่งของน้อยชิ้นลง ก็จะเกิดความปลอดโปร่งและเป็นระเบียบทั้งภายในบ้านและภายในจิตใจ แต่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการเติมเต็มความสุขของตัวเอง แต่ยังรวมถึงการหันกลับมาใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ทุกคน คงจะดีหากเราสามารถผสานวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเข้ากับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อคืนประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้ในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เราต่างประสบกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำร้ายโลกอย่างไม่เคยคิดถึงผลของการกระทำ ท่ามกลางภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโลก ในฐานะการเป็นบ้านของสรรพชีวิต แนวคิดการอยู่อาศัยที่เรียกว่า Eco-living จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่การจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยิ่งใหญ่เกินตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากสิ่งเล็กๆ ที่แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตของเรา สิ่งที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า ‘Profit’ ‘Planet’ และ ‘People’ สามองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตที่มีความสุขทั้งกับตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นแห่งความสมดุลแรกคือ ‘Profit’ หรือกำไร ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงกำไรทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงกำไรชีวิตจากการอยู่อาศัยได้ด้วยเช่นกัน หากจะให้พูดถึงบ้าน Como Bianca จากอารียา พรอพเพอร์ตี้ คงต้องยกให้ความสะดวกสบายด้วยทำเลโครงการที่อยู่ติด Mega Bangna และการออกแบบที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์ในสไตล์มินิมอล ภายนอกของตัวบ้านออกแบบมาอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด […]

เป็นผู้ใหญ่ก็ขอโทษเด็กได้ เมื่อการยอมรับผิดไม่ได้วัดจากช่วงวัย

ตั้งแต่เล็ก ฉันและคุณอีกจำนวนไม่ถ้วนถูกพร่ำสอนให้รู้จักขอโทษเสมอเมื่อทำผิด แต่ยิ่งเติบโต ยิ่งได้มองเห็นโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพบพานกับคนหลายช่วงวัย ฉันกลับพบบางแง่มุมที่บอกเป็นนัยว่า เมื่อโตเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว การขอโทษกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องพูดกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะไม่เอ่ยคำนี้ออกไปเพียงเพราะความคิดว่า ‘ฉันอายุมากกว่าเธอ’ “การที่ผู้ใหญ่ขอโทษเด็ก มันเป็นเรื่องน่าอับอายมากเลยเหรอครับ” “เด็กต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอ ทั้งๆ ที่คนผิดไม่ใช่เด็กเหรอครับ”“ทำไมคนไทยที่แก่กว่า ขอโทษคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ ไม่เป็น” นี่เป็นเพียงกระทู้ส่วนหนึ่งจาก pantip.com ที่ตั้งคำถามถึงการขอโทษไม่เป็นของผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคำตอบไหลเข้ามาในหลากแง่มุม บ้างถกประเด็น บ้างเห็นด้วย และบ้างก็สงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ใหญ่ถึงขอโทษเด็กไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ขอโทษเด็กได้ไหม – ชวนฟังทัศนะของ แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนดับเบิลซีไรต์จากสองวรรณกรรมเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ตามด้วยหนังสือเรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก และ ทะเลสาบน้ำตา เธอยังเป็นคุณแม่แห่งยุคสมัยที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ของแม่-ลูกซึ่งเต็มไปด้วยความต่างของช่วงวัย ชนชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นเด็ก “ประเทศไทยก็เหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ คือให้ความสำคัญกับวัยวุฒิ เช่นเดียวกับการมีลำดับขั้นชนชั้น” คำตอบของคำถามถึงต้นตอของความคิดที่ว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำไมการขอโทษเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ต้องทำก็ได้จากแหม่ม ก่อนเธออธิบายต่อว่า เมื่อวัยวุฒิและลำดับขั้นรวมตัวกัน มันก่อให้เกิดชนชั้นผู้ใหญ่ และชนชั้นเด็กที่มีเส้นกั้นไม่ให้เด็กเทียบเท่าผู้ใหญ่ได้ “เมื่อมีชนชั้น เด็กก็ล่วงละเมิดผู้ใหญ่ไม่ได้ และเพื่อดำรงชนชั้นนั้นไว้ ผู้ใหญ่จะไม่ถูกสอนให้ขอโทษเด็ก เพราะการขอโทษคือการยอมรับว่าผิด และเมื่อผู้ใหญ่ทำผิดบ้าง […]

พูดอะไรไว้ อย่านึกว่าไม่มีใครจำได้ ! ‘วิวาทะ โควิด 19’ เว็บไซต์ที่จับตา การทำงานรัฐบาลว่าทำได้ตามที่พูดมั้ย

เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน… เบื่อไหมกับคนที่ไม่รับผิดชอบกับคำพูดตัวเอง นัดหรือรับปากอะไรไว้ “ก็ไม่ทำตามที่พูด” พลอยทำให้เราเสียใจและเสียความรู้สึกตามไปด้วย  เพราะไม่อยากให้ทุกคนผิดหวัง เว็บไซต์ ‘วิวาทะ โควิด 19’ จึงได้รวมเอาไทม์ไลน์ รวมถึงคำพูดต่างๆ ของบุคคลสำคัญไม่ว่าจะของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โฆษก ศบค. CEO ของ Pfizer เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อโชว์ให้ดูว่ารัฐบาลและคนสำคัญเคยพูด สัญญา หรือประกาศอะไรไว้แล้วทำได้ตามที่พูดหรือไม่ เช่น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังไม่วิกฤตถึงขั้นต้องใช้วัคซีนโดยด่วน” หรือในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 “ประชุมแผนการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ มาให้ประชาชน คาดว่าจะได้รับวัคซีน จำนวน 10 – 20 ล้านโดส เริ่มส่งได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 – 4 ปีนี้” และนี่ถือเป็นคำสัญญาที่เราหวังว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะได้วัคซีนมาใช้จริงๆ […]

‘ต้า Paradox’ ร็อกสตาร์แห่งวงการพระเครื่อง ผู้กำลังเขียนหนังสือพระฉบับเยาวชน

ย้อนกลับไปเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว กองบรรณาธิการ Urban Creature ได้ให้กำเนิดคอลัมน์ Another Me เพื่อเล่าอีกมุมของคนดังในแบบที่เราไม่รู้จักมาก่อน และประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากระหว่างการประชุม คือการค้นพบว่าชีวิตล่างเวทีของ ต้า พาราด็อกซ์ หรือ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นิยมชมชอบการส่องพระอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าการส่องพระ เล่นพระ จะเป็นงานอดิเรกของใครก็ได้ แต่เวลาไปดูคอนเสิร์ตพาราด็อกซ์ สิ่งที่เราเห็นคือความบ้าคลั่งในการแสดง และใส่กันไม่ยั้งทั้งคณะ ปลุกอารมณ์แฟนเพลงให้พลุ่งพล่านมากว่า 20 ปี จนแทบนึกไม่ออกว่าฟรอนต์แมนผู้สับสายกีตาร์อย่างเมามัน นั้นอยู่ในโหมดไหนในวงการพระ จะเป็นแนวนักเลงเก๋าๆ ห้อยพระเต็มคอ หรือเป็นเซียนพระมืออาชีพด้านการแลกเปลี่ยนทำกำไร  สารภาพตรงนี้ว่าเดาไม่ถูกจริงๆ จนต้องต่อสายถึงพี่ต้าในวันที่โลกข้างนอกยังไม่อนุญาตให้เราออกมาเจอกัน และขออนุญาตชวนคุณผู้อ่านที่ไล่สายตาถึงตรงนี้มารู้ไปพร้อมกันว่า จากยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย พี่ต้าของเราหันมายืนส่องพระหน้าแผงได้ยังไง  เดบิวต์เข้าวงการ ผมไม่แน่ใจนักว่านักดนตรีที่เดินทางทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยจะได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน ถ้าเป็นกรณีทั่วไปเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมนึกถึงของฝากประเภทของกิน เช่น โรตีสายไหมของอยุธยา ไส้อั่ว แคบหมูจากเชียงใหม่ ขนมหม้อแกงของบรรดาแม่กิม แต่ลองได้ชื่อว่าเป็นร็อกสตาร์ อะไรแบบนั้นคงธรรมดาไป  “ตั้งแต่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไปไหว้พระ แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก อาศัยว่าเจอวัดไหนก็เข้าวัดนั้น พระเครื่องเป็นของฝากที่รู้สึกว่าแปลกดี เพราะต้องไปให้ถึงวัด ไม่ใช่จะไปเช่าที่ไหนก็ได้ […]

1 228 229 230 231 232 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.