
WHAT’S UP
Unexpected Growth โปรเจกต์งานศิลปะ ซีน และกระดาษจากวัชพืชในเมือง จากการเดินสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล
ปกติแล้วหอศิลปกรุงเทพฯ จะจัดนิทรรศการ โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ (Early Years Project : EYP) เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้มาในแนวคิด ‘Be Your Own Island-ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ หลังจากที่ไปเดินดูมา งานที่จัดแสดงล้วนมีคอนเซปต์ที่สะท้อนสังคม และนำเสนอผลงานได้สวยงาม ตั้งแต่ประเด็นสิ่งแวดล้อม เพศ ข่าวสารข้อมูล ไปจนถึงเรื่องปมวัยเด็ก แต่หนึ่งงานที่เราในฐานะคนทำงานเมืองสะดุดตาสุดๆ คือ โปรเจกต์ Unexpected Growth ของ ‘อภิสรา ห่อไพศาล’ ตั้งแต่โครงสร้างอิฐที่เรียงราย ดูเป็นสิ่งที่ถ้าเดินลัดเลาะตามตรอกซอกซอยของเมืองจะพบเห็นได้เป็นปกติ ก่อนจะสังเกตเห็นต้นหญ้าเล็กๆ แซมอยู่ และถ้าไปสังเกตแผ่นที่มีลวดลายคล้ายเชื้อราแบคทีเรียใกล้ๆ จะพบว่า จริงๆ แล้วมันคือใบหรือชิ้นส่วนของวัชพืช และได้รู้ในเวลาต่อมาว่าแผ่นๆ ที่เห็นคือกระดาษที่ทำจากวัชพืชในเมืองที่ศิลปินเก็บมาทดลองทำกระดาษกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกระดาษ มากไปกว่านั้น ตรงแท่นอิฐที่ก่อตัวสูงยังมีซีนหรือหนังสือทำมือของศิลปินแนบอยู่ พอหยิบมาเปิดอ่านเนื้อหาข้างในก็จะเห็นการนำเสนอภาพในขั้นตอนระหว่างทำงานโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงการจัดเรียงข้อมูลเพื่อนำเสนอกระบวนการเก็บรวบรวมแพตเทิร์นของวัชพืชที่ขึ้นในเมือง และสังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นอินโฟกราฟิก อ่านเข้าใจง่าย “โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากความพยายามทำความเข้าใจและตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับความรู้สึกภายในที่ต้องการหลีกหนีหรือก้าวผ่านสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ทำให้เธอเริ่มต้นสำรวจเมืองที่อาศัยอยู่ เป็นเมืองที่ให้ความรู้สึกแห้งแล้งและแข็งกระด้าง “ระหว่างการสำรวจ ศิลปินได้พบเจอมุมมองของนักสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเมือง ทำให้มองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน เช่น พืชขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นอย่างลิเวอร์เวิร์ต เสียงของสัตว์หลากชนิดที่สามารถจำแนกเสียงได้ไม่ซ้ำเมื่อยืนฟังใต้ร่มไม้ใหญ่ ความสัมพันธ์ของต้นแม่และต้นลูกที่กระจายพันธุ์ใกล้ๆ […]
‘Qanarn’ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยน้องใหม่ที่หยิบเอาเรขาคณิตแบบไทยมาใช้สร้างความยูนีก
การจะมองหาเฟอร์นิเจอร์สักชิ้นสำหรับใช้งานในบ้าน นอกจากดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์แล้ว ก็คงเป็นคอนเซปต์แบรนด์ที่ดึงดูดความสนใจให้เราอยากทำความรู้จัก หนึ่งในนั้นคือ ‘Qanarn’ (ขนาน) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2567 🪑 เฟอร์นิเจอร์ที่เกิดจากการบรรจบกันของเส้นขนาน แบรนด์ Qanarn เกิดขึ้นจากสองพาร์ตเนอร์ ‘ขนุน-ตรัยวิศว์ พงษ์บูรณกิจ’ และ ‘กานต์-กานต์ เทพสถิตย์’ ที่เคยทำงานออกแบบภายใน และคลุกคลีกับงานตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ จนเกิดความสนใจในงานออกแบบ แล้วลงมือเรียนรู้ลองผิดลองถูกปลุกปั้นแบรนด์ Qanarn ขึ้นมา ชื่อ Qanarn นั้นมาจากการตีความระหว่างนักออกแบบทั้งสองคนที่เป็นเหมือนเส้นขนานที่ไม่อาจบรรจบกันเนื่องจากความคิดเห็นที่อาจแตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วทั้งคู่จะมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดียวกันเพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์แบบ มากไปกว่านั้น ชื่อแบรนด์ยังครอบคลุมไปถึงผลงานสินค้าที่ผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยและความร่วมสมัยที่เป็นเหมือนเส้นขนานระหว่างกันอีกด้วย 🪑 ตีความความเป็นไทย และนำมาผสมผสานกับรูปทรงสากล ตรัยวิศว์บอกกับเราว่า โจทย์ในการออกแบบแบรนด์นี้คือ การทำเก้าอี้ของไทยให้มีความไอคอนิก เรียบง่าย ชัดเจน ไม่ซับซ้อนเกินไป ทำให้นึกไปถึงรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงที่มีความเป็นสากล คนเห็นแล้วเข้าใจ และใช้งานได้ง่าย ท้ายที่สุดก็ออกมาเป็นเก้าอี้ที่นำลักษณะของหมอนขิด หรือที่รู้จักกันในชื่อของหมอนสามเหลี่ยม มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์คอลเลกชันชื่อ Qidi Outdoor ส่วนเหตุผลการนำวัฒนธรรมไทยที่เราคุ้นชินมาใส่ในตัวงานนั้น เขาอธิบายว่า หลายแบรนด์ก็มีการนำวัฒนธรรมไทยมาตีความเป็นงานออกแบบต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของงานหัตถกรรมหน่อย เป็นหวาย เป็นจักสานที่มีความคราฟต์สูง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในความชื่นชอบ และออกจะห่างไกลจากตัวของผู้ก่อตั้งแบรนด์ทั้งคู่ […]
ไทโปกราฟี แดนภารตะ ‘India Street Lettering’ เว็บไซต์คลังป้ายอินเดีย ที่ภายใต้ตัวอักษรมีเรื่องราวสีสันอาศัยอยู่
หลังจากเคยแนะนำป้ายเท่ๆ ดีไซน์สุดเก๋ของไทยอย่าง Thaipography Archive และแหล่งรวมป้ายผู้ดีอังกฤษยุค 90 ของกรุงลอนดอนอย่าง Public Lettering กันไปแล้ว ถึงเวลาย้อนกลับมาสู่ภูมิภาคเอเชียของเราอย่างป้ายดีไซน์สวยๆ ของอินเดียกันบ้าง เว็บไซต์ ‘India Street Lettering’ เป็นผลงานการรวบรวมป้ายของ Pooja Saxena นักออกแบบตัวอักษร ตัวเขียน และนักจัดวางตัวอักษร โดยเน้นไปที่ตัวหนังสืออินเดีย วัฒนธรรมตัวอักษร และอักษรท้องถิ่นของอินเดีย คลังป้ายตัวอักษรเหล่านี้เป็นความสนใจส่วนตัวที่แยกออกมาจากงานหลักอย่างการออกแบบและงานวิจัยอื่นๆ ในชื่อ ‘Matra Type’ รวมถึงการเป็นสมาชิกทีม ‘TypeTogether’ ที่ได้ร่วมงานกับ Apple, Google Fonts, Zubaan Books และ ThePrint เนื้อหาบนเว็บไซต์นี้แบ่งเป็นคลังรูปแบบตัวอักษรบนป้ายหรือชื่อร้านต่างๆ ในอินเดีย ซึ่งเราสามารถเลือกหมวดหมู่จากเมืองที่สนใจ วัสดุที่ใช้ทำป้าย ประเภทของร้านอย่างโรงแรม ลานจอดรถ ร้านอาหาร รวมถึงรูปแบบตัวอักษร ไม่ว่าจะเป็น Latin, Bengali หรือ Telugu นอกจากนั้น บนเว็บนี้ยังปักหมุดสถานที่ไว้บนแผนที่เพื่อให้ผู้ที่สนใจไปตามหากันง่ายๆ พร้อมกับสารพันเรื่องป้ายๆ […]
Skywalk ราชวิถี ทางเดินใหม่จากความคิดเห็นของคนกรุง อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและเชื่อมต่อการเดินทาง
โครงการ Skywalk ราชวิถี เกิดขึ้นจากความพิเศษของถนนราชวิถีที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ และโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งทำให้มีผู้ป่วย ผู้พิการทางสายตา และผู้สูงอายุสัญจรไปมาผ่านเส้นทางนี้อยู่ตลอด นอกจากนี้ราชวิถียังอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางสำคัญของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นจุดตั้งต้นของรถเมล์เกือบทุกสาย ผู้โดยสาร BTS สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เหล่ารถตู้ที่ออกเดินทางสู่ชานเมือง และยังมีวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมากที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความไม่สะดวกของการเดินทาง อย่างปัญหาทางเท้าตามแนวถนนราชวิถีที่แคบเกินไป จนทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ป่วยเดินสัญจรได้ไม่สะดวก กทม.จึงออกแบบ Skywalk เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อคือ 1) ประชาชนทุกคนต้องเดินได้สะดวกสบาย เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนแก่ 2) เสาของ Skywalk ต้องตั้งอยู่ในพื้นที่เอกชน ไม่กีดขวางทางเท้า 3) Skywalk ต้องกว้างมากกว่า 4 เมตร ทำให้รถพยาบาลขนาดเล็กวิ่งรถได้ในกรณีฉุกเฉิน 4) เชื่อมต่อโครงข่ายขนส่งมวลชน BTS รถเมล์ ไปยัง Skywalk ของโรงพยาบาลรามาธิบดี มากไปกว่านั้น โครงการ […]
ช่วยกันเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้สว่างไสว ด้วยการแจ้งปัญหาไฟถนนผ่านช่องทางออนไลน์ให้คนเมืองเดินได้อย่างสบายใจทุกพื้นที่
ถนนที่ไม่สว่าง มีไฟฟ้าแต่ใช้ไม่ได้ หรือไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ก็เป็นปัญหาที่คนเมืองพบเจออยู่บ่อยครั้งในหลายพื้นที่ ส่งผลให้คนเมืองรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเดินถนนช่วงกลางคืน แต่หลังจากนี้ทุกพื้นที่จะสว่างกว่าเดิม และทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของความปลอดภัยในการเดินเท้าได้ เพราะทางกรุงเทพมหานครได้เปิดระบบออนไลน์ให้ทุกคนที่เจอปัญหาไฟถนน ไม่ว่าจะไฟดับหรือไฟขัดข้อง แจ้งเข้าระบบของกรุงเทพฯ ได้โดยตรง และเมื่อได้รับการแจ้งแล้ว ทางทีมงานของกรุงเทพฯ จะรีบเข้าไปตรวจสอบพร้อมแก้ไขให้เร็วที่สุด ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้ถนนทุกสายและทุกซอยมีไฟฟ้าที่สว่างและเพียงพอสำหรับทุกคนในเมือง หากใครพบจุดที่ไฟฟ้าไม่ติดหรือไม่สว่าง แจ้งจุดที่มีปัญหาได้ที่ bma-streetlight.bangkok.go.th หรือทาง Line Official Account : @traffyfondue
โครงการ Urban Yard ย่าน RCA บ้านหลังใหม่ของชาว Urban Creature ที่มีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ และพื้นที่สีเขียว
หลังจากเป็นชาวเอกมัยมาอย่างยาวนาน วันนี้ชาว Urban Creature ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ที่โครงการ Urban Yard Bangkok ในย่านรัชดาฯ RCA เรียบร้อยแล้ว ด้วยทางเข้าอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหากใครไม่เคยมาอาจจะสับสนว่าบรรยากาศแสนร่มรื่นที่สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้และทางเดินหินนี้คือที่ไหน มากไปกว่านั้น ที่นี่ไม่ได้มีเพียงออฟฟิศของเรา แต่ยังมีร้านกาแฟชื่อดัง ANONYMOUS COFFEE BKK ที่ตกแต่งร้านแนว Glass House สีขาว มีความโปร่งโล่งสบาย เข้ากันได้ดีกับต้นไม้ในสนามเล็กๆ หน้าร้าน และยังมีร้านอาหารรสชาติดี Wang Hinghoi ที่เสิร์ฟเมนูจากวัตถุดิบคุณภาพดี ฝีมือเชฟนิค ที่ตั้งใจให้ร้านนี้เป็นพื้นที่หลบภัยเล็กๆ ท่ามกลางความวุ่นวายของเมืองหลวง พร้อมกันกับคาเฟ่อย่าง WH Cafe และร้าน Beastie อยู่ในพื้นที่เดียวกันนี้อีกด้วย นอกจากนั้น โครงการนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตาอย่างสนามฟุตบอล STB Academy เป็นพื้นที่ฝึกซ้อมให้เหล่าเยาวชนได้เตรียมตัวเป็นนักบอลทีมชาติในอนาคต ใครอยากแวะเวียนมาหาพวกเราก็มาพบกันได้ที่บ้านหลังใหม่ พร้อมชิมกาแฟ อาหารรสชาติดีในบรรยากาศสวนสวยกลางใจเมืองหลวงที่ Urban Yard Bangkok maps.app.goo.gl/Tg5kje6QXPVCkgUr6
ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง
‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]
ทางเท้า เกาหลีใต้ ต่อให้ก้มหน้าเล่นมือถือก็ไม่เป็นอันตราย เพราะให้ความสำคัญกับคนมากกว่ารถยนต์
ครั้งหนึ่งในปี 1982 ‘เกาหลีใต้’ เคยเป็นประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจโดยรวม ชนิดที่มีการออกกฎหมายพิเศษ ยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดที่ละเมิดกฎจราจรบนถนนให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตราบใดที่บุคคลนั้นมีประกันภัยครอบคลุม จนตามมาซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้าสูงกว่าในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ถึง 7.7 เท่า เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันน่าเป็นกังวลนี้ ในปี 1998 ‘Seoul Metropolitan Government (SMG)’ ได้ดำเนินโครงการ ‘Creation of pedestrian-friendly walkways’ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันน่ารื่นรมย์และปลอดภัยให้กับการเดินเท้า โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนให้โซลกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับคนเดินเท้า พร้อมทั้งพัฒนามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอตามข้อกำหนดของกฎหมายที่กล่าวว่า ทาง SMG จะต้องจัดทำ ‘แผนพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมสำหรับคนเดินเท้า’ เป็นประจำทุกๆ ห้าปี เพื่อปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนเดินเท้าและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการแก้ไข 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ 1) อันตรายจากการเดินข้ามถนนโดยผิดกฎหมาย อันเนื่องมาจากการขาดทางม้าลาย 2) การยึดครองถนนในเขตที่อยู่อาศัยโดยรถยนต์จำนวนมาก3) สะพานลอยสำหรับคนเดินเท้าและทางเดินใต้ดินมีมากเกินไป4) ทางเดินมีความกว้างไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกรุงโซลจึงติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยกในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง […]
AllTrails แพลตฟอร์มสำรวจพื้นที่ทั่วโลก รวบรวมและแนะนำเส้นทางการเดินเทรล เน้นให้ผู้คนได้ซึมซับกับธรรมชาติรอบตัว
ช่วงนี้การเดินกำลังเป็นกระแส โดยเฉพาะการเดินเทรล (Trail) กิจกรรมเดินทางในเส้นทางธรรมชาติที่ทำให้นักเดินทางได้สำรวจความงดงามของบรรยากาศรอบตัวตลอดเส้นทางการเดิน และพบเจอประสบการณ์ที่อาจจะหาไม่ได้จากการเดินปกติในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในวงการนี้อาจยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มอย่างไร หรือเดินเทรลที่ไหนได้บ้าง เราเลยขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘AllTrails’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมโยงเราเข้ากับสถานที่ รูตการเดินทาง และเส้นทางธรรมชาติได้สนุกมากขึ้น เพราะแพลตฟอร์มนี้ให้ข้อมูลละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ที่เราสนใจได้อย่างครบถ้วน AllTrails ยังมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์คนรักการทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีจุดมุ่งหมายปลายทางชัดเจน แพลตฟอร์มก็มีคำแนะนำและข้อมูลสถานที่ให้ หรือใครที่ยังไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอนแต่มีกิจกรรมอยากทำ ทางแพลตฟอร์มเองก็มีเส้นทางและสถานที่แนะนำ รวมถึงมีการแนะนำสถานที่ เส้นทาง และกิจกรรมที่มีอยู่ใกล้ๆ ผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้งานยังสร้างแผนที่เส้นทางสำหรับทำกิจกรรมตามสไตล์ของตัวเองได้ด้วยการเลือกประเภทกิจกรรม เส้นทางเดิน จุดน่าสนใจในรูต และยังสามารถแชร์ให้ผู้ใช้งานอื่นมาร่วมจอยน์กับแมปของเรา และหากรู้สึกเหงา ต้องการเพื่อนไปทำกิจกรรมด้วย หรืออยากแบ่งปันโมเมนต์ดีๆ ในการเดินทาง แพลตฟอร์มเองก็มีส่วนที่เป็นคอมมูนิตี้ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถมาแชร์เรื่องราวการเดินทางต่างๆ ได้เหมือนกัน สำหรับเพื่อนรักนักเดินคนไหนที่สนใจแพลตฟอร์ม AllTrails เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ alltrails.com หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ App Store และ Google Play เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานแบบออฟไลน์ หากสมัครเป็นสมาชิกจะมีระบบสะสม Tree ซึ่งแต้มทั้งหมดจะถูกบริจาคให้กับ One Tree Planted องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการปลูกป่าทดแทนจากพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายอีกด้วย
นั่งอยู่บ้านก็เดินฟังเสียงเมืองได้กับเว็บไซต์เสมือน CityWalks.live ที่พาเราเดินทิพย์ทั่วโลกแบบ Virtual
แดดร้อน ทางเท้าพัง และอุปสรรคอีกมากมายที่เป็นตัวขัดขวางให้เราไม่อยากก้าวเท้าออกจากห้องสักเท่าไหร่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่อยากไปสำรวจเมืองต่างๆ ทั่วโลกในสเกลข้างทางนี่นา CityWalks.live คือเว็บไซต์ที่จะพาเราผจญไปในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกด้วยการเดินสำรวจพื้นที่ไปเรื่อยๆ แบบ Virtual ต่อให้ไม่ได้ไปเยือนสถานที่นั้นๆ ด้วยตัวเองก็สามารถรับประสบการณ์ประหนึ่งไปเดินด้วยตัวเอง เพราะนอกจากจะเลือกได้ว่าอยากไปที่ไหนแล้ว เรายังเลือกได้อีกว่าอยากเดินเล่นเวลากลางวันหรือกลางคืน เดินเล่นในเมืองหรือชายหาด และในระหว่างเดินจะเปิดฟังเสียงเมืองพร้อมกันไปด้วยก็ได้ แถมเวลาไปแต่ละที่ก็มี Quick Facts สั้นๆ เกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ให้อ่านด้วย CityWalks.live ถือเป็นเว็บไซต์เสมือนจริงที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสำรวจเมืองและภูมิภาคต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง โดยผู้จัดทำหวังว่าประสบการณ์เสมือนจริงเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนค้นพบความน่าสนใจในระหว่างทาง และวางแผนการผจญภัยบนโลกจริงในครั้งถัดๆ ไป
ทางเท้า สิงคโปร์ ทางเท้าที่ทำให้ใครๆ ก็อยากเดิน เมื่อเส้นทางเดินมีหลังคาคลุมและเชื่อมได้ไร้รอยต่อ
นอกจากการเป็นเมืองคอนเสิร์ต สถาปัตยกรรม เมอร์ไลออน และต้นแบบคาสิโนแล้ว สิงคโปร์ ประเทศเล็กๆ แห่งเกาะเซนโตซา ยังมีจุดเด่นสำคัญอย่างทางเท้าออกแบบดีที่ทำให้ชาวเมืองเดินได้สะดวกอีกด้วย 🚶ทางเท้ากว้างที่มีหลังคา ช่วยให้คนอยากเดิน การออกแบบทางเท้าของสิงคโปร์เน้นไปที่ทางเดินที่มีหลังคา ทางเดินเชื่อม และทางเชื่อมระหว่างอาคาร ที่รวมถึงเส้นทางเชื่อมต่อบนดินและชั้นใต้ดิน ด้วยองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบอย่างการมีกันสาดและทางเดินที่มีหลังคา จากลักษณะของสภาพอากาศสิงคโปร์ที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน กันสาดและหลังคานี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เดินเท้าจากแสงแดดจัดและความถี่ของฝน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทางเดินที่มีหลังคาตามแนวอาคารพาณิชย์และอาคารอเนกประสงค์ที่หันหน้าไปทางถนนและทางเท้าว่า ต้องมีหลังคาสูงอย่างน้อย 3.6 เมตร และอาจอนุญาตให้มีเพดานที่สูงขึ้นได้หากมีการใช้วัสดุกรุผนังที่เหมาะสมและเพิ่มความกว้างของทางเดิน ส่วนข้อกำหนดความกว้างขั้นต่ำของทางเดินที่มีหลังคาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่ตั้งและความใกล้กับสถานีขนส่ง – ทางเดินบริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองหรือภายในรัศมี 200 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3.6 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 3 เมตร – ทางเดินระหว่าง 200 – 400 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า MRT/สถานีขนส่งหลัก : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ 3 เมตร และความกว้างสุทธิขั้นต่ำ 2.4 เมตร – ทางเดินอื่นๆ ทั้งหมด : ความกว้างโดยรวมขั้นต่ำ […]
‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ ให้พื้นที่สีเขียวในเมืองช่วยเยียวยาใจ ด้วยลายแทง 5 สวน 5 กิจกรรม จาก 5 วิทยากร
ถ้าอยากหาที่พักใจในเมืองใหญ่แต่ไม่รู้จะไปไหน เราขอชวนมา ‘Parkใจในสวน’ ด้วยกัน ก่อนหน้านี้นิตยสารสารคดีได้จัดกิจกรรม ‘Parkใจในสวน คู่มือแผนที่ Parkใจ’ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสธรรมชาติในพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ และล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาก็ได้มีการเปิดตัว ‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ โดยแจกแผนที่รูปแบบกระดาษให้กับผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ใครที่พลาดกิจกรรมไปแต่อยากได้แผนที่ไว้ในครอบครองก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะล่าสุดทางสารคดีได้อัปโหลดแผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน ฉบับออนไลน์ออกมาให้เราโหลดเก็บไว้ไปใช้งานฟรีๆ ผ่านแพลตฟอร์ม ‘ANSi by สารคดี’ ภายในเล่มประกอบด้วย 5 สวนสาธารณะต้นแบบจาก 5 วิทยากร ที่มาพร้อมกิจกรรมให้คอนเนกต์กับธรรมชาติภายในสวน เพื่อแนะนำสวนสาธารณะในมิติใหม่ๆ ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ – สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) จาก ‘มล-สิรามล ตันศิริ’ กระบวนกรด้านธรรมชาติ จากกลุ่ม Mycorling– สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จาก ‘ครูกุ้ง-ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์’ นักบันทึกธรรมชาติ เจ้าของเพจ บันทึกสีไม้byครูกุ้ง– สวนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสวนกรมประชาสัมพันธ์ จาก ‘บาส-ปรมินทร์ […]