FYI

เบื้องหลังการเต้นของ “น้องกลมกลม” บน Wall Art จากแคมเปญ Hoegaarden rosée ‘Love Series’

ในแวดวงนักวาดภาพประกอบไทย ชื่อของ Jirayu Koo หรือ ‘จิ-จิรายุ คูอมรพัฒนะ’ คงเป็นที่คุ้นหูของใครหลายคน พอๆ กับ ‘น้องกลมกลม’ คาแรกเตอร์ที่เธอสร้างสรรค์ จะไม่ให้จำได้ได้ยังไง เพราะน้องกลมกลมเป็นตัวการ์ตูนที่ทั้งตุ๊ต๊ะ มีสีสันสดใส แถมยังไร้รูปแบบจนสามารถไปอยู่ในงานออกแบบได้หลากหลายประเภท  ล่าสุด น้องกลมกลมไปปรากฏตัวในแคมเปญพิเศษอย่าง Hoegaarden rosée ‘Love Series’ ที่ Hoegaarden ประเทศไทยได้จัดขึ้นเพื่อต้อนรับวาเลนไทน์และเฉลิมฉลองอายุครบรอบ 7 ปีของแบรนด์ ด้วยการชวน Jirayu Koo กับอีก 3 ศิลปินไทยมาสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบกำแพงศิลปะขนาดใหญ่ (Wall Art) ภายใต้คอนเซปต์ ‘I’m in Love’ ให้คนโสด คนมีคู่ คนสถานะไม่ชัด หรือใครก็ตามได้ไปเดินเล่น (ใจ) เต้น และถ่ายรูปไปด้วยกัน กำแพงศิลปะ I’m in Love จะจัดขึ้นที่ Warehouse 30 ตั้งแต่ 1 […]

‘ค่ารถไฟฟ้าทะลุ 100’ ทำอย่างไรให้ราคาไม่พุ่ง ทุกคนจ่ายไหว

ทุกปีจะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าขึ้นไปเรื่อยๆ และไม่มีทางจะลดลงง่ายๆ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะมีแนวทางไหนที่ช่วยลดค่ารถไฟฟ้าได้บ้าง

โพควา โปรดักชั่น สื่อปกาเกอะญอที่ปรับทัศนคติคนเมืองด้วยเรื่องจริงจากปากคนชาติพันธุ์

‘โอ-ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี’ หนุ่มปกาเกอะญอวัย 28 แห่ง โพควา โปรดักชั่น สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนชีวิตคนชาติพันธุ์ ที่เขาเขียน ถ่าย อัด ทำ ‘คนเดียว’ จะบอกคุณให้รู้ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และโอต้องการอะไร

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

อิตาลีประกาศบูรณะโคลอสเซียม ด้วยการปรับปรุงพื้นให้เปิด-ปิดได้ เพื่อโชว์โครงสร้างใต้ดินของสนามแข่งในอดีต

อิตาลีประกาศแผนบูรณะโคลอสเซียม (Colosseum) สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ใจกลางกรุงโรม โบราณสถานที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมัน การบูรณะในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพื้นของสนามกีฬาให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเมื่อราว 2,000 ปีก่อนอีกครั้ง โดยพื้นสนามจะถูกออกแบบใหม่ให้เปิด-ปิดได้ เพื่อแสดงเส้นทางอุโมงค์ใต้ดินและห้องต่างๆ ที่เคยใช้เป็นสถานที่เก็บเสือ สิงโต ช้าง และสัตว์อื่นๆ รวมไปถึงเหล่านักรบที่รอขึ้นสังเวียน เมื่อบูรณะเสร็จสิ้น จะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมความงามของโคลอสเซียมเหมือนยืนอยู่กลางเวทีเฉกเช่นเดียวกับเหล่านักรบในอดีต และยังใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คอนเสิร์ต หรือโรงละครได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่าโปรเจกต์ดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในปี 2023 หลังจากที่ประกาศออกมา ก็ได้เกิดข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมในการบูรณะโบราณสถาน บ้างก็ไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเหมือนการดัดแปลงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเพียงเพื่อต้องการเงินจากนักท่องเที่ยว มากกว่าการคงไว้ซึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ส่วนอีกฝั่งของความเห็นก็ชวนเราตั้งคำถามว่า ณ เวลานี้อาคารหรือสถานที่เหล่านั้นมีบทบาทอย่างไรในสังคม และมันทำหน้าที่นั้นได้ดีที่สุดแล้วหรือยัง และการบูรณะปรับปรุงในครั้งนี้อาจจะดีเสียกว่าการปล่อยทิ้งร้างให้เสียหายตามกาลเวลา ความเห็นต่างเหล่านี้ถือเป็นประเด็นที่ทำให้เรากลับมามองว่า การบูรณะหรือดัดแปลงโบราณสถานนั้นถือเป็นการทำลายหรือไม่ และทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไร Sources : BBC | https://bbc.in/39Sw4jfDesignboom | http://bit.ly/3qIdWiR

Rijksmuseum อัปโหลดผลงานกว่า 700,000 ชิ้น ให้เข้าชมออนไลน์ฟรี ช่วง COVID-19

เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สาหัสสำหรับพิพิธภัณฑ์ทั่วทุกมุมโลก เพราะตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด วงการพิพิธภัณฑ์ก็ซบเซาไปมาก เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนิทรรศการที่วางแผนไว้จะถูกเลื่อนไปแล้ว จำนวนผู้คนที่แวะเวียนมาชื่นชมศิลปะยังลดลงเหลือเพียงแค่ 1 ใน 4 ของปีก่อนหรือประมาณ 675,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้เปิดทำการมา แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคประชาชนที่โหยหาประสบการณ์การรับชมงานศิลปะนี้เอง ทำให้พิพิธภัณฑ์เยียวยาประชาชนและวงการศิลปะด้วยการอัปโหลดผลงานในครอบครองกว่า 700,000 ชิ้น ให้ประชาชนเข้าชมออนไลน์ฟรี แบบ HD ผ่านแคมเปญ #Rijksmuseumfromhome นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังให้บริการ Virtual Tour หรือระบบนำทัวร์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ให้ทุกคนได้รับชมผลงานระดับโลกได้อย่างใกล้ชิดทั้งภาพและเสียงราวกับเดินอยู่แต่ละห้องของพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง เข้าไปเยี่ยมชมคลังผลงานศิลปะดีๆ ได้ที่ www.rijksmuseum.nl/en/

‘Twisted Simple’ สร้างมุมสงบ เติมเต็มความสนุก สลับสมดุลให้ชีวิตได้ในบ้าน

มันคงจะดีกว่า ถ้าที่พักอาศัยสามารถสร้างความบันเทิงและความผ่อนคลายได้ในที่เดียว เลือกสลับชีวิต ทั้งอารมณ์สนุก อารมณ์จริงจัง หรืออารมณ์สงบได้อย่างสมดุล ด้วยคอนโดฯ ที่ออกแบบจากแนวคิด ‘Twisted Simple’ ผ่านการดีไซน์พื้นที่ส่วนกลางจัดเต็มถึง 8 ชั้น จะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่ถูกใจเพื่อนๆ บ้าง ลองไปดูกัน !

‘GROW’ งานศิลปะไฟในสวน ช่วยให้พืชเติบโตและแข็งแรง

งานศิลปะ Installation Art ของศิลปินสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ‘Daan Roosegaarde’ ที่ออกแบบการเคลื่อนไหวของไฟสีต่างๆ โดยติดตั้งในพื้นที่เกษตรกรรมขนาด 20,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 13 ไร่ บนเมืองร็อตเตอร์ดัม เพื่อโชว์ความสวยงามของแปลงพืชสีเขียว รวมทั้งไฟสีเหล่านี้ยังช่วยกระตุ้นพืชให้เจริญเติบโตและแข็งแรง

สัตว์เลี้ยงติดโควิดได้หรือเปล่า | Now You Know

แม้เพื่อนมนุษย์อย่างเราๆ จะเริ่มรู้เท่าทันอันตรายของโควิดและเริ่มปรับตัวจนใช้ชีวิตอยู่กับมันได้แล้ว แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามันเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของเราไหม Now You Know จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคน ว่าสรุปแล้วสัตว์เลี้ยงที่บ้านติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือเปล่า? ถ้าติดได้ควรจะป้องกันอย่างไร? และหนทางในการใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์เลี้ยงของเราในสถานการณ์แบบนี้ Sources : Centers for Disease Control and Prevention | https://bit.ly/3ixPz4vReuters | https://reut.rs/2M9rUeG World Animal Protection | https://bit.ly/2Ky0S06 #UrbanCreature #NowYouKnow #โควิด #สัตว์เลี้ยง #หมา #สุนัข #แมว

ปล่อยหัวให้โล่งกับ Headspace ซีรีส์ Netflix ฝึกสมาธิเหมือนเชิญนักจิตบำบัดมาที่บ้าน

“ช่วงนี้เป็นไงบ้าง สบายดีไหม?” ข้อความจากเพื่อนที่ไม่ได้คุยกันมานานเด้งขึ้นมาหน้าแชต คำทักทายทั่วไปที่ฉันมักตอบสั้นๆ “อืม ก็ดีนะ” แต่วันนี้ฉันกลับมานั่งคุยกับใจตัวเองอย่างจริงจัง

เคี้ยว กลืน หัวเราะ บอกรัก ‘เสียงบำบัด’ ศาสตร์คลายเศร้า

ชวนรู้จักศาสตร์ ‘เสียงบำบัด’ คลายทุกข์ บำรุงหัวใจ ด้วยวิธีกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว กอดตัวเอง บอกรัก ส่งเสียงฮัม หัวเราะ หรือเคาะกลางอกตอนร้องไห้ ที่ช่วยเปลี่ยนวันแย่ๆ ให้เป็นวันที่ดีขึ้น และเรียกสติกลับมารักตัวเองได้อีกครั้ง

1 227 228 229 230 231 329

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.