จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม

เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5

สั่งสมความรู้รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงใน Learning Fest Bangkok 2024 วันที่ 1 – 4 ส.ค. ที่ TK Park และสถานที่ต่างๆ ทั่ว กทม.

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แม้จะผ่านพ้นช่วงใส่ชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ในวันที่ 1 – 4 สิงหาคมนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนสั่งสมขุมพลังความรู้ให้ตัวเองกับ ‘Learning Fest Bangkok 2024’ เทศกาลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศกาล Learning Fest Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park โดยปีนี้จัดในธีม ‘เปลี่ยน.อยู่.คือ – I change, therefore I am’ สะท้อนว่าการเรียนรู้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้กับร่างกายหรือจิตใจตัวเอง หรือในระดับยิ่งใหญ่อย่างสังคม และการเรียนรู้ยังช่วยเพิ่มพูนต้นทุนให้เราพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอด 4 วันของเทศกาล ทาง TK Park เตรียมขบวนกิจกรรมที่มากระตุ้นต่อมความใคร่รู้ ทั้งเวิร์กช็อป การแสดง นิทรรศการ หรืองานเสวนา เช่น TK Chat Walk: Ratchaprasong Time Machine งานทัวร์ตามรอยประวัติศาสตร์ย่านราชประสงค์, TK FORUM […]

ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD

‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน

การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt

‘Synthiesis’ รองเท้ามีชีวิตด้วยหมึกพิมพ์จากเซลล์สาหร่าย ที่ช่วยดูดซับคาร์บอนในอากาศได้

รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่รู้ตัว ในแต่ละปี มีรองเท้าจากทั่วโลกผลิตขึ้นมากถึง 22,000 ล้านคู่ ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ถ้าคิดไวๆ อาจเทียบได้กับการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของโลกทำให้หลังๆ มานี้เรามักเห็นแบรนด์รองเท้าต่างๆ หันมาให้ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิต และมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตที่มากขึ้น ซึ่ง ‘Synthiesis’ คือหนึ่งในนั้น Synthiesis คือรองเท้าที่ได้รับการออกแบบจากฝีมือของ ‘Jessica Thies’ นักออกแบบจากบรุกลิน ที่ใช้งานวิจัยของตนมาช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เจสสิกาเลือกใช้วัสดุที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ในการทำพื้นรองเท้า รวมถึงเลือกใช้ผ้าป่านในการขึ้นตัวรองเท้า และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพที่ผสมเซลล์สาหร่ายทะเลมีชีวิตลงไป ทำให้ Synthiesis กลายเป็นรองเท้าที่มีชีวิต ประโยชน์ของสาหร่ายที่มีชีวิตในรองเท้าเหล่านี้คือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศระหว่างสวมใส่ และอาจทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย อีกทั้งจากงานวิจัยของเจสสิกายังแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายเหล่านี้กินสารอาหารและไซยาโนแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนได้ โดยใช้วิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และมีชีวิตอยู่บนรองเท้าได้นานถึง 1 เดือนโดยไม่ต้องให้สารอาหารเสริม หรืออาจมากกว่านั้นหากได้รับการดูแลอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากสีคลอโรฟิลล์ที่ค่อยๆ จางเมื่อสาหร่ายตายลง ปัจจุบัน Synthiesis เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนอาจยังเข้าไม่ถึง แต่เจสสิกาหวังว่า รองเท้าคู่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในอนาคตได้ Sources :Dezeen […]

ปารีสฉีดอะดรีนาลินให้ริมแม่น้ำแซนคึกคัก ด้วย ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายลอยน้ำ ที่ชวนทุกคนมาว่ายน้ำพร้อมชมเมือง

เราคงคุ้นเคยกับการเห็นพื้นที่ริมน้ำเป็นสวนสาธารณะ หรือเป็นที่จอดเรือให้มานั่งรับประทานอาหารรับลมชมวิว แต่ก็น่าคิดเหมือนกันว่า เราจะพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างไรได้บ้าง ถึงจะยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้น เมืองปารีสเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เราเห็นกับ ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายที่ลอยตัวอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำแซน (Seine) ศูนย์กีฬาประกอบด้วยสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดมาตรฐานโอลิมปิก พร้อมลู่วิ่งชั้นดาดฟ้าที่เปิดโอกาสให้ออกกำลังกายไป ชมความงามของเมืองปารีสไป นอกจากนั้นแล้ว Annette K ยังเพียบพร้อมด้วยยิม ศูนย์กายภาพบำบัด รวมถึงร้านอาหารและร้านกาแฟเอาไว้รองท้องเวลาหิว และเมื่ออาทิตย์ลับฟ้า ศูนย์กีฬาแห่งนี้จะกลายร่างเป็นศูนย์บันเทิงยามราตรี พื้นที่ดาดฟ้ากลายเป็นฟลอร์ให้สายปาร์ตี้มาเต้นจนลืมโลก เรียกได้ว่าเปิดพื้นที่ให้ชาวเมืองใช้กันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว Seine Design สถาปนิกของโครงการนี้ออกแบบศูนย์กีฬาโดยเน้นใช้ไม้ เหล็ก และกระจกในการก่อสร้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายเรือ เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์แม่น้ำแซนที่เกี่ยวพันกับการเดินเรืออย่างยาวนาน โครงการ Annette K เกิดขึ้นได้หลังจาก Seine Design ร่วมกับ WHY NOT Productions ชนะการประกวด ‘Reinventing the Seine’ ในปี 2016 เป็นการประกวดที่เมืองปารีสจัดขึ้นเพื่อเสาะหาไอเดียพัฒนาแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเมือง อยากรู้เหมือนกันว่า ถ้าในเมืองไทยจัดงานประกวดแบบนี้ เราจะเห็นไอเดียแปลกใหม่อะไรบ้างที่จะทำให้พื้นที่ริมน้ำดีขึ้น และทำให้ชีวิตของคนเมืองดีขึ้นด้วย Sources :Annette K […]

นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ

น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4

Turn Waste to Agri-Wear เปลี่ยน ‘ฟางข้าว’ จากแปลงนาให้กลายเป็นเสื้อผ้ารักษ์โลก ในคอลเลกชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ฟางข้าว’ คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักถูกกำจัดด้วยการเผา ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นการนำฟางข้าวไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ มากมาย แต่จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะนำของเหลือใช้ประเภทนี้มาทำเสื้อผ้าที่ไม่ว่าใครก็สวมใส่ได้ ‘สยามคูโบต้า’ และ ‘เกรฮาวด์ ออริจินัล’ จับมือกันปลุกกระแส Sustainable Fashion และเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรและวงการแฟชั่นไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้จากเกษตร เกิดเป็นแคมเปญ KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT ‘Turn Waste to Agri-Wear’ ที่เปลี่ยนฟางข้าวให้กลายเป็นเสื้อผ้าสไตล์สตรีทแฟชั่นสุดเท่ จากงานวิจัย ‘นวัตกรรมเส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม สู่การพัฒนาสิ่งทอเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษาตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์’ ของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเลี้ยงไหม ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ และกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย บ้านทับน้อย อำเภอรัตนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าจังหวัดสุรินทร์ วิธีการคือ นำเอาฟางข้าวมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีย่อยเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเข้าเกลียวร่วมกับรังไหมเหลือใช้ จนเกิดเป็นเส้นด้ายที่เมื่อนำไปทอจะทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง นำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ อีกทั้งยังดูดซับความชื้น สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี โดยมีพันธมิตรที่มีจุดยืนเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนอย่าง […]

Cycloïd Piazza ลานสเกตเฉดสีภาพวาดในยุคเรเนซองส์ สำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส

นอกจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงใกล้แข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการออกแบบหรือปรับปรุงสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้สอดคล้องไปกับมหกรรมกีฬา Cycloïd Piazza คือลานสเกตจากฝีมือของ ‘Jean-Benoît Vétillard’ และนักออกแบบ ‘Raphaël Zarka’ ที่หยิบเอาโทนสีเดียวกันกับภาพวาดในยุคเรเนซองส์มารวมเข้ากับรูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลาย โดยเฉดสีที่พวกเขาเลือกใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดย ‘Le Corbusier’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมในตำนานที่หลายคนคุ้นหู ที่แม้จะมีความหม่นแต่ก็ยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ลานสเกตชั่วคราวแห่งนี้เปิดให้นักเล่นสเกตมือสมัครเล่นและมืออาชีพมาประลองฝีมือกัน บริเวณหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง ‘Centre Pompidou’ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน และจะอยู่ไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2024 ถือเป็นประติมากรรมชั่วคราวที่สร้างทัศนียภาพอันสดใสให้กับพื้นที่สาธารณะ แถมยังสอดคล้องไปกับการจัดแข่งขันกีฬาสเกตบอร์ดที่บริเวณ ‘Place de la Concorde’ หนึ่งในจัตุรัสสาธารณะที่สำคัญของเมือง ตามที่ตัว Raphaël Zarka ตั้งใจ หากใครได้ไปเยือนกรุงปารีสในช่วงนี้ไม่ควรพลาด Sources :Centre Pompidou | t.ly/bEuI-Designboom | […]

All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving หนังสือสานต่อลมหายใจให้ศิลปะถักทอที่ใกล้สูญหายในฮ่องกง

‘สายคาดปักลายดอกไม้’ เป็นงานหัตถกรรมของชาวจีนแคะหรือฮากกา (Hakka) และชาวปุ๊นเต๋ (Punti) ในฮ่องกง ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี คนพื้นเมืองมักนำสายคาดมาตกแต่งบนเครื่องแต่งกายเพื่อเพิ่มสีสัน และใช้เป็นของมงคลสื่อความหมายที่ดี ยกตัวอย่าง การนำสายคาดไปถักทอกับเครื่องประดับในสินสอด เพื่ออวยพรบ่าวสาวให้มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น งานฝีมือพื้นบ้านอันล้ำค่านี้เกือบจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ เพราะกว่าจะได้สายคาดสักอันหนึ่ง นักสร้างสรรค์ต้องฝึกฝนอย่างยาวนานเพื่อถักทอสายคาดให้ออกมาสวยงามสมบูรณ์ สวนทางกับชีวิตคนสมัยใหม่ที่ดำเนินอย่างรวดเร็ว เน้นเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตอย่างฉับไว งานหัตถกรรมที่สรรค์สร้างด้วยความละเอียดลออจึงเสื่อมความนิยมไปโดยปริยาย และนี่จึงทำให้หนังสือ ‘All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving’ (สายใยแห่งความผูกพัน : การถอดรหัสสายคาดผมดอกไม้ของวัฒนธรรมฮากกาและปุ๊นเต๋แห่งฮ่องกง) เกิดขึ้นมา ก่อนจะเป็นหนังสือ Caritas Hong Kong องค์กรการกุศลในฮ่องกง ได้ร่วมมือกับคุณยายในหมู่บ้าน Lung Yeuk Tau ในพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดศิลปะการถักทอให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ซึ่งเวิร์กช็อปก็ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ถึงอย่างนั้น องค์กรมองว่าการจัดเวิร์กช็อปอาจส่งต่อความรู้ไปไม่กว้างขวางพอ […]

‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล

ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]

ทำดีมีรางวัล โคเปนเฮเกนไอเดียแจ๋ว แจกอาหารฟรี ให้พายเรือฟรี หากเป็นนักท่องเที่ยวที่รักษ์โลก

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ หากคุณไปเที่ยวที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แล้วเดินทางไป The National Museum ด้วยรถโดยสารสาธารณะหรือจักรยาน คุณจะได้รับไอศกรีมฟรี หากคุณช่วยเก็บขยะในลำน้ำ คุณจะได้พายเรือคายักฟรี และหากคุณไปช่วยปลูกพืช พรวนดิน ทำสวน คุณก็จะได้กินอาหารกลางวันฟรี! นี่เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนเท่านั้นจากโครงการ ‘CopenPay’ โครงการจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองโคเปนเฮเกน (Wonderful Copenhagen) ที่เชิญชวนให้นักเดินทางอัปเลเวลตัวเองเป็นนักเดินทางชั้นดีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการนี้ สถานที่ท่องเที่ยวกว่า 24 แห่งรอบเมือง จะมาพร้อมกับสิทธิพิเศษที่มอบให้กับนักท่องเที่ยวผู้ทำกิจกรรมรักษ์โลก ยกตัวอย่าง CopenHill โรงเผาขยะซึ่งมีเนินสกีด้านบน ที่ให้เวลาสกีเพิ่ม 20 นาทีแบบฟรีๆ หากเดินทางมาด้วยขนส่งสาธารณะหรือจักรยาน หรือ Copenhagen Surf School ที่มีอาหารกลางวันฟรีให้กับนักเดินทางที่ร่วมทำความสะอาดชายหาดหลังเซิร์ฟเสร็จ โดยโครงการจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวโคเปนเฮเกน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมหาศาล UN Environment เคยประเมินในรายงาน ‘Green Economy’ ว่า […]

1 2 3 125

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.