โควิดควรไปตรวจเมื่อไหร่? ราคาเท่าไหร่? I Now You Know

ในวันที่โควิดระลอกใหม่ระบาดขึ้น หนึ่งในคำถามยอดนิยมแห่งยุคสมัยคือ ติดรึยัง เมื่อคำถามที่มาพร้อมความกังวลเกิดขึ้นนำไปอีกคำถามเช่น แล้วตรวจได้เมื่อไหร่? ฟรีเปล่า? ใครบ้างควรไปตรวจ? Now You Know รายการที่ออกไปรายงานความรู้มานำเสนอเพลงขอไปหาคำตอบมาให้กับคนว่า จริงๆ แล้วเมื่อไหร่เราควรไปตรวจ และราคาที่ต้องจ่ายอยู่ที่กี่บาท แหล่งที่มา : กรมควบคุมโรค | https://bit.ly/3srZdum #UrbanCreature

EAT

ชิงแชมป์ 3 ร้าน ‘หมูกรอบชาชู’ เจ้าไหนมันน้อย กรอบมว้าก!

เมื่อได้ยินเสียงดัง “กร๊วบ!” จากช่องรีวิวอาหารที่กำลังเคี้ยวหมูกรอบชาชูด้วยสีหน้าฟินๆ กับเนื้อนุ่มๆ และหนังกรอบๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ ฉันนี่แทบจะกดสั่งเดลิเวอรี่แบบอัตโนมัติ

เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

ปารีสปรับปรุง ‘ฌ็องเซลิเซ่’ ถนนดังในตำนานให้เป็นพื้นที่สาธารณะ

นายกเทศมนตรีปารีสทุ่มงบประมาณกว่า 250 ล้านยูโร หรือราว 9.1 พันล้านบาท ประกาศปรับปรุง Champs-Élysées (ฌ็องเซลิเซ่) ถนนที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในโลก ความยาวกว่า 1.9 กิโลเมตร ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชาวปารีสและนักท่องเที่ยว ภายใต้คอนเซปต์ ‘Extraordinary Garden’ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน ค.ศ. 2030 ที่ผ่านมา เราอาจรู้จักฌ็องเซลิเซ่ ในฐานะย่านการค้าที่เต็มไปด้วยความแออัดและมีมลภาวะตลอดสองข้างทาง แต่แผนพัฒนานี้จะเปลี่ยนพื้นที่ฌ็องเซลิเซ่ บริเวณ Arc de Triomphe de l’Étoile หรือที่รู้จักกันในชื่อประตูชัยฝรั่งเศส ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการลดขนาดช่องถนน เพิ่มพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า และสร้างอุโมงค์ต้นไม้ตลอดเส้นทางเพื่อให้มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น หากปรับปรุงแล้วเสร็จ แผนพัฒนานี้จะช่วยฟื้นฟูฌ็องเซลิเซ่ให้กลับมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวปารีสและนักท่องเที่ยวออกมาเดินเล่นและทำกิจกรรมได้อีกครั้ง ในอนาคตกรุงปารีสก็มีแผนจะปรับเปลี่ยน ‘หอไอเฟล’ ให้กลายเป็นสวนสีเขียวใจกลางเมืองด้วยเช่นกัน Source : Designboom

‘ฟังเสียงเยาวราช’ ในค่ำคืนที่เปลี่ยนไปเพราะโควิดระลอกใหม่

Sound Check เป็นรายการประจำ Urban Creature ที่จะออกไปสำรวจเสียงคนเมืองทุกๆ เดือน ด้วยโควิดระลอกใหม่ที่กำลังระบาด ตลอดทั้งเดือนนี้ Sound Check จึงทำภารกิจเฉพาะกิจพาทุกคนไปสำรวจเสียงของผู้คนจากย่านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ เริ่มด้วยเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพฯ มายาวนาน หนึ่งในย่านสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ตกเย็นทั้งสองฝั่งถนนจะเต็มไปด้วยอาหารเรียงราย พร้อมผู้คนที่มาจับจ่ายใช้สอย แต่กลับกัน วันนี้ภาพชินตาเหล่านั้นของเยาวราชถูกลบหายไป ผู้คนบางตาลงอย่างเห็นได้ชัด เสียงที่เคยจอแจกลับเงียบเหงา อะไรคือสิ่งที่อยู่ในใจของพ่อค้าแม่ค้าตลอดสองข้างทางนี้ เราขอชวนคุณมาฟังด้วยตัวเอง

การเดินทางที่เนิบช้าแต่มั่นคงของ ‘Window Magazine’ นิตยสารอิสระที่พาไปเคาะประตูเปิดหน้าต่างบ้านศิลปิน

เราว่าการอ่านหนังสือคือการพักผ่อนอย่างหนึ่งที่ช่วยฮีลจิตใจได้เป็นอย่างดี ความสุขของการสัมผัสหนังสือ การดมกลิ่นของกระดาษ มันยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดใดๆ ครั้งนี้เราเลยถือโอกาสไปทำความรู้จักกับ Window Magazine นิตยสารที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้คนผ่าน ‘บ้าน’ สถานที่เซฟโซนที่น้อยคนนักจะยอมเปิดใจให้ใครเข้านอกออกใน ซึ่งมาพร้อมบทสนทนาอันแสนผ่อนคลาย แม้หลายคนอาจเคยรู้จัก Window Magazine กันมาบ้างกับเล่มแรกที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว แต่นับจากนี้ หน้าต่างบานนี้จะถูกเปิดออกอีกครั้ง  ท่ามกลางบรรยากาศยามเย็น พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า เราเดินทางมาถึง Window Gallery and Café ก้าวแรกที่เข้าไปถึง ‘พี่เอ็กซ์-กึกก้อง ถิรธํารงเกียรติ’ พูดคุยทักทายอย่างเป็นกันเอง พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ดอย่าง ‘โกโก้เย็น’ ที่เล่นเอาประทับใจมาจนถึงตอนนี้ และรับรองว่าต้องกลับไปซ้ำให้ได้ หลังจากนั้นไม่นาน ‘พี่มิ่ง-วสุธรา นาราคาม’ ก็ตามเข้ามาทักทาย เสริมทัพด้วย ‘พี่ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ ผู้รับบทเป็นบรรณาธิการของ Window Magazine Issue 02 และเมื่อทุกคนพร้อมแล้วบทสนทนาก็เริ่มต้นขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว | Window Magazine หน้าต่างที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิต พี่เอ็กซ์ : ตัวพี่เริ่มต้นจากการชอบถ่ายภาพมากเลยยกให้ภาพถ่ายแต่ละภาพเป็นตัวแทนของหน้าต่าง ซึ่งพี่รู้สึกว่าในแต่ละภาพที่ถ่ายมันมีความเป็นธรรมชาติ มันมีเสน่ห์ที่ทำให้คนมีความรู้สึกร่วมไปกับมัน เลยเอาคอนเซปต์นี้มาใช้กับการถ่ายภาพ […]

อ่าน E-book ฟรี! หอสมุดแห่งชาติ เปิดบริการหนังสือหาดูยากเกือบ 100 ปี ไปจนถึงหนังสือทั่วไปกว่า 2,300 เรื่อง

อ่าน E-book ฟรี! เวลาทองสำหรับเหล่าหนอนหนังสือ! เพื่อสนับสนุนคนไทยใช้เวลาว่างตอนกักตัวอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงที่ COVID-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่

เปลี่ยนโทรศัพท์ให้กลายเป็นเครื่องตรวจจับกล้องแอบถ่ายด้วย ‘กระดาษแก้วสีแดง’

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา #OurRainbowNancy ได้ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย เนื่องจากสตาฟในงานประกาศรางวัลแห่งหนึ่งนำภาพขณะเปลี่ยนชุดของนักร้องสาวสัญชาติเกาหลีใต้ Nancy วง Momoland มาเผยแพร่ในกรุ๊ปแชต เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แฟนคลับรวมถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก และเรียกร้องให้บริษัทต้นสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิดโดยเร็ว เพราะไม่ควรมีใครต้องเจอเรื่องแบบนี้ การแอบถ่ายเป็นปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้มานานหลายปี โดยใน ค.ศ. 2017 สถานีตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้ได้รับแจ้งเหตุเกี่ยวกับการแอบถ่ายมากกว่า 6,000 เหตุการณ์ สร้างความหวาดระแวงในการใช้ชีวิตให้แก่คนจำนวนมาก เพราะไม่ว่าจะไปเข้าห้องน้ำสาธารณะ ห้องลองเสื้อ หรือตามโรงแรม ก็มีโอกาสที่จะถูกแอบถ่ายผ่านกล้องตัวจิ๋วได้เสมอ เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองโซลตระหนักถึงอันตรายนี้จึงได้สาธิตวิธีใช้ ‘กระดาษแก้วสีแดง’ ที่เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือของเราให้กลายเป็นเครื่องตรวจจับกล้องแอบถ่ายได้ โดยมีหลักการทำงานเหมือนเครื่องตรวจจับอินฟราเรด เมื่อเรานำกระดาษแก้วสีแดงมาซ้อนไว้ที่หน้ากล้องของโทรศัพท์มือถือและเปิดแฟลชส่องไปยังที่ที่คาดว่าจะมีกล้องแอบถ่ายซ่อนอยู่ เราจะเห็นจุดสีขาวเล็กๆ ที่สะท้อนมาจากกล้องแอบถ่ายได้ ถึงแม้ว่ากระดาษแก้วจะไม่ใช่วัสดุราคาแพง แต่ก็มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจจับกล้องแอบถ่ายที่ขายอยู่ในตลาดตอนนี้ได้ ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของเกาหลีก็ได้เริ่มติดตั้งตัวช่วยตรวจจับกล้องแอบถ่ายนี้ตามมหาวิทยาลัยและสถานที่สาธารณะกว่า 150 แห่ง เพื่อคลายความกังวลใจให้กับประชาชนชาวเกาหลีใต้ Sources :abc news https://abcn.ws/3nDj7P6The Korea Bizwire https://bit.ly/3bAGV46

คู่พ่อ-ลูก เซียนเกมที่ย่อรัฐสวัสดิการลงบนบอร์ดเกม

The Welfare คือบอร์ดเกมที่ให้ผู้เล่นจำลองเป็นคนที่ได้รับรัฐสวัสดิการ และไม่ได้รับรัฐสวัสดิการในประเทศไทยว่ามันต่างกันสุดขั้วอย่างไร โดยมี อาจารย์ต้น-เดชรัต สุขกำเนิด และ แดน-แดนไท สุขกำเนิด สองพ่อลูกจากกลุ่ม Deschooling Game ที่รักบอร์ดเกมพอๆ กับประชาธิปไตยเป็นผู้สร้างสรรค์

EAT

กินอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล

ในขณะที่เรากังวลว่าอาหารทะเลที่ซื้อมาจากตลาดจะสะอาดปลอดภัยดีหรือไม่ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ เราได้รู้จักกับ ‘Fisherfolk’ หรือ ‘ร้านคนจับปลา’ ร้านค้าของกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันก่อตั้งกิจการขายปลาและอาหารทะเลของตนเอง ซึ่งเรียกความมั่นใจให้เราได้ว่าสะอาด ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมีโอกาสพวกเขาจึงพากันมาเปิดตลาดที่งานเทศกาลอาหารดี(ย์) ประจำปี ‘มหาส้มมุทร’ ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อซอย 3 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของร้านคนจับปลาไม่เพียงแค่ขายอาหารทะเลสด สะอาด ปลอดสารเคมีในกระบวนการแช่แข็งหรือแปรรูปเท่านั้น แต่สินค้าในร้านสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าใช้เครื่องมืออะไรในการจับ มีวิธีเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้มาอย่างไร อีกทั้งเบื้องหลังของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำประมงอย่างเดียว แต่ยังสวมบทบาทเป็นนักอนุรักษ์และฟื้นฟูท้องทะเลไทยควบคู่ไปด้วย “ทุกหนึ่งปีนอกจากจะปันหุ้นให้สมาชิกในกลุ่มแล้ว เราจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูดูแลทะเลในรูปแบบของบ้านปลา ซึ่งหมู่บ้านเราจะทำกันปีละ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทิ้งลงทะเลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้” คำบอกเล่าของคุณลุงจากร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์  และเนื่องจากร้านคนจับปลาเป็นศูนย์กลางในการรับและกระจายสินค้าที่ส่งตรงมาจากกลุ่มประมง จึงมีสมาชิกในเครือข่ายหลายจังหวัด หนึ่งในนั้นคือหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี “หมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ของเรา นอกจากไม่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ในทุกๆ ปีคนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดเตรียมอุปกรณ์บ้านปลา เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ ก่อนขนใส่เรือไปวางตามจุดต่างๆ ในทะเลใกล้ๆ กับแนวปะการังเทียม” คุณป้าจากหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์เล่าให้เราฟัง การได้รู้จักและพูดคุยกับสมาชิกร้านคนจับปลาวันนั้น นำพาให้เรามานั่งอยู่กลางวงสนทนาร่วมพูดคุยเรื่องระบบอาหารยั่งยืน รู้ที่มา เข้าใจเส้นทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กับ ‘พี่แท็ป-วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี’ […]

คลาสเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นกับ ‘ซิกแนล’ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าผู้ใช้ข้างทางเป็นห้องเรียน

พี่ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่มีผลงาน Folk Art โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับโลกมากว่า 14 ปี ผลงานทุกชิ้นของเธอล้วนมีเสน่ห์เสียจนอดคิดไม่ได้ว่าเสื้อผ้าของเธอแต่ละผืนนั้นมีชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเย็บผ้าจนถึงวันนี้ เธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ปักเข็มลงไปบนผ้าผืนต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตและการมองโลกของเธอบนผืนผ้า ร้อยเรียงออกมาจนเป็นลวดลายแห่งความสุข เพียงแต่เธอไม่ได้มีความสุขแค่คนเดียว ยังคงส่งมอบความสุข ความรู้ และเสียงหัวเราะให้ผู้อื่น ผ่านการเปิดคลาสเรียนเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นข้างทาง เสมือนห้องทดลองให้เหล่าคนที่ลุ่มหลงในงานผ้าได้มาทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์ในร้านที่มีชื่อว่า ‘แนลแอนทีค’ ชีวิตวัยเด็กแก่นเซี้ยว สู่ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่ชื่อว่า ‘ซิกแนล’ “พี่โตมากับการวิ่งเล่น ตัดต้นข้าวมาทำปี่เป่า เราทำของเล่นเองตั้งแต่เด็ก เพราะว่าไม่มีของเล่น ต้องคิดเองทำเอง เวลาอยากได้อะไรเราก็ทำเพราะว่าไม่มีเงิน ” ย้อนกลับไปวัยเด็ก ความซุกซนของพี่แนลเรียกได้ว่าเต็มสิบ จนถูกจับขังในกล่องลังอยู่เป็นประจำ เธอเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนามยุคที่มีทหารอเมริกันเข้ามาพักอาศัยจำนวนมาก เธอจำได้ว่าในจังหวัดมีจำนวนคนไทยกับฝรั่งพอกัน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งภาษา สกุลเงิน นิตยสาร หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว ยังเป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามาทำงานในแคมป์ทหาร ทำให้พี่แนลในวัยประถมฯ ได้เห็นคนที่มีความสามารถด้านการวาดรูปและการสื่อสารภาษาอังกฤษ จนเกิดความชื่นชมและกลายเป็นความฝันว่า สักวันหนึ่งต้องเก่งให้ได้เหมือนพวกพี่ๆ เขา และแม้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เป็นคนเก่ง แต่เธอรู้เพียงว่า ถ้าทำอะไรได้เองมันคงน่าภูมิใจไม่น้อย จึงขวนขวายตั้งใจเรียนมาตั้งแต่เล็ก […]

A.R.M.Y x ร้านรถเข็น ติ่งเกาหลีฟื้นชีวิตแม่ค้าตัวเล็ก

ป้ายโฆษณาสุขสันต์วันเกิดศิลปินที่รักของต่ิงเกาหลีในยุคนี้ ไม่ได้ทำเพื่อโปรโมตหรือสนับสนุนศิลปินอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพลังในการช่วยเหลือคนตัวเล็กๆ ที่เดือดร้อนในวิกฤตอันยากลำบากนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ‘อาร์มี่ (A.R.M.Y.)’ หรือชื่อเรียกแฟนคลับวง BTS ได้ร่วมทำโปรเจกต์ดีๆ ช่วยเหลือผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ด้วยการติดป้ายฟิวเจอร์บอร์ดสุขสันต์วันเกิด ‘วี หรือ คิม แทฮยอง’ หนึ่งในสมาชิกวง BTS หน้ารถเข็นของพ่อค้า-แม่ค้าขายลูกชิ้นแทนป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขาในช่วงโควิด

1 229 230 231 232 233 329

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.