ใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนไปสำรวจเมือง ‘Wakanda’ กับการใช้ไวเบรเนียมพัฒนาชาติ

ในตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณสองล้านกว่าปีก่อน มีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงตรงใจกลางทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน อุกกาบาตลูกนั้นอัดแน่นด้วยโลหะจากนอกโลก โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ‘ไวเบรเนียม’ ต่อมาได้มีมนุษย์จากห้าชนเผ่าเดินทางมายังดินแดนดังกล่าวเพื่อทำสงครามแย่งชิงแร่ไวเบรเนียมเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งนักรบคนหนึ่งได้นิมิตเห็นร่างเสือดำ ซึ่งนำพาให้เขาได้พบกับสมุนไพรรูปหัวใจ หลังจากกินเข้าไป เขาได้รับพลังเหนือมนุษย์จนสามารถยุติสงคราม แย่งชิงไวเบรเนียมแล้วรวบรวมชนเผ่าโดยรอบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ ‘วากานด้า’ โดยประชาชนได้อยู่ร่วมกันภายใต้กษัตริย์เสือดำหรือแบล็กแพนเตอร์ (Black Panther) ผู้ทำหน้าที่คอยปกปักรักษาอาณาจักรแห่งนี้ไว้โดยไม่เปิดเผยการมีอยู่ให้โลกได้รับรู้ เพราะเกรงว่าเทคโนโลยีสุดล้ำจากการใช้แร่ไวเบรเนียมจะแพร่งพรายออกไป จนทำให้วากานด้าอาจถูกศัตรูเข้ามารุกราน เพื่อแย่งชิงทรัพยากรล้ำค่าที่ดินแดนมีไว้ในครอบครอง  แม้วากานด้าจะปิดประเทศแต่ก็มีการส่งประชาชนบางส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้จากทั่วโลกกลับมาพัฒนาประเทศ จนมาถึงยุคของ กษัตริย์ทีชาลา (T’Challa) บุตรชายของทีชากา ที่ตัดสินใจประกาศเปิดประเทศ เพื่อกระจายแร่ไวเบรเนียมให้นานาประเทศนำไปใช้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้เวลาที่วากานด้าเปิดประเทศแล้ว เราเลยขอใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนสักหนึ่งวัน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานว่าในดินแดนแห่งนี้ใช้ไวเบรเนียมทำอะไรบ้าง และมีนโยบายใดที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเมืองของเรา  Eco Futurism Urban Core ศูนย์กลางเมืองที่ผสมผสานธรรมชาติและเทคโนโลยี ดินแดนของวากานด้ามีภูเขาลูกใหญ่ที่ลดหลั่นระดับล้อมรอบอาณาจักร ที่ตั้งของเมืองหลวงอยู่ตรงกลางคล้ายแอ่งกระทะ มีช่องลมที่แบ่งโดยระยะห่างของภูเขา วากานด้ามีตึกที่กระจายตัวออกจากเมืองหลวงอยู่หนาตา แต่ไม่ได้หนาแน่นแออัดแข่งกันสูง ทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดี  อาคารของวากานด้ามีองค์ประกอบแบบแอฟริกันดั้งเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคามุงจากและปลูกสวนไว้ด้านบน เมืองแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวที่ช่วยให้เมืองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังไม่มีพื้นที่ชานเมืองที่ต้องตัดถนนยิบย่อยให้เสียระบบนิเวศใดๆ แถมรอบตัวเมืองยังมีทางเดินให้สายน้ำไหลผ่าน เป็นเมืองที่ติดชายฝั่งทะเล มีท่าเทียบเรือสำหรับธุรกิจประมง ชาวเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากผืนดินของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Futurist Transit […]

ทางด่วน วิวัฒนาการจากสนามแข่งรถ สิ่งก่อสร้างแก้รถติด สู่ยุครื้อทิ้งเพราะทำให้เมืองพัง

หากคุณอยากขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต ต้องใช้เส้นทางไหน หรือในช่วงเวลาสุดเร่งรีบบนท้องถนน ถ้าต้องการทางลัดที่จะให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด ต้องทำอย่างไร เมื่อเจอคำถามแบบนี้ หลายคนคงนึกถึง ‘ทางด่วน’ เพื่อนแท้ยามคับขันของคนขับรถที่อยาก (รีบ) ให้ถึงจุดหมายนั่นเอง ปัจจุบันหน้าที่หลักของทางด่วนคือ ร่นระยะการเดินทางให้สั้นลงและประหยัดเวลาของผู้ขับมากยิ่งขึ้น หากอธิบายให้เห็นภาพ เช่น การขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด หรือการเดินทางจากพื้นที่ในตัวเมืองไปชานเมือง ถ้าใช้ทางพิเศษนี้ การเดินทางก็จะราบรื่นและง่ายกว่าครั้งไหนๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ทางด่วนยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงรถติด สำหรับคนที่เดินทางไกล ต้องการความเร่งด่วน แค่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง ใครๆ ก็เข้าถึงความรวดเร็วและความสะดวกสบายบนท้องถนนได้ทันที ‘สนามแข่งรถ’ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด ‘ทางด่วน’ ในอดีตกว่าร้อยปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของ ‘ทางด่วน’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘ความเร็ว’ ของการแข่งรถยนต์ในปี 1904 โดย William Kissam Vanderbilt นักธุรกิจสัญชาติอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การแข่งรถเป็นชีวิตจิตใจ คือตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมแข่งรถชิงถ้วยรางวัล Vanderbilt Cup ในมณฑล Nassau County ประเทศสหรัฐอเมริกา การแข่งรถยนต์สมัยนั้นค่อนข้างอันตรายชวนหวาดเสียว เพราะพวกเขาขับรถแข่งกันบนถนนในตัวเมืองที่ไม่ได้ออกแบบรองรับความเร็วของรถแข่งหรือทางโค้งเวลารถเลี้ยว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต เมื่อเริ่มมีข่าวคราวคนเสียชีวิตจากการแข่งขันบ่อยขึ้น […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก

คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี  จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]

จัดงานแต่งทั้งทีต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เมื่อราคาของความรักอาจแพงเกินรับไหวในยุคนี้

งานแต่งที่ใดเป็นได้แค่แขกรับเชิญ อยากแต่งกับเขาเหลือเกิน แต่ต้องมีงบเท่าไรถึงจะจัดงานแต่งได้ เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงวัยหนึ่ง การมีครอบครัวของตัวเองอาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของใครหลายคน การแต่งงานจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวไปโดยปริยาย และเมื่อพูดถึงการแต่งงานก็ไม่ได้มีแค่การจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอเท่านั้น เพราะยังมีขั้นตอนของการเฉลิมฉลองเพื่อให้ครอบครัวและคนสนิทของทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าการจัดงานแต่งงานจะไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่อีกต่อไปแล้ว ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน รวมถึงปัจจัยหลักๆ อย่างค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดงานที่อาจทำให้หลายคนมองว่าไม่คุ้มที่จะเสียไปในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้ใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่เท่าไรนัก ถึงอย่างนั้น การจัดงานแต่งงานก็ยังถือเป็นเครื่องยืนยันทางสังคมที่บ่งบอกถึงสถานะทางครอบครัว หลายบ้านจึงยังอยากให้ลูกหลานจัดงานแต่งงานเพื่อเป็นการให้เกียรติระหว่างกันและกัน คอลัมน์ City By Numbers เลยขอคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ สำหรับงานแต่งงานขนาดกลางที่มีผู้ร่วมงานประมาณ 100 – 200 คน มาเป็นข้อมูลให้คนมีคู่ได้เตรียมงบประมาณกัน ค่าเช่าชุดแต่งงาน ชุดเจ้าสาว 15,000 – 45,000 บาท ชุดเจ้าบ่าว 4,500 – 6,500 บาท เมื่อพูดถึงงานแต่งงาน สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงก็ต้องเป็นชุดแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันคู่บ่าวสาวมักเลือกเช่าชุดสำหรับวันงานแทนการตัดชุดใหม่ โดยราคาจะแตกต่างกันไปตามแบรนด์ของชุด อย่างของชุดเจ้าสาวจะเริ่มต้นที่หลักหมื่น ส่วนของเจ้าบ่าวอยู่ที่ประมาณ 4,500 บาท แต่หากใครที่อยากสั่งตัดชุดแต่งงานเพื่อเก็บเป็นความทรงจำ ค่าใช้จ่ายสั่งตัดชุดแต่งงานของเจ้าสาวจะเพิ่มสูงเป็นเท่าตัว โดยเริ่มต้นที่ 45,000 บาท ส่วนของเจ้าบ่าวเริ่มต้นที่ 6,000 บาท ค่าแต่งหน้าทำผม 10,000 […]

จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush

จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก  วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]

Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?

เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา  ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช  ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เวิร์กจริงไหม

ในแต่ละสัปดาห์ กว่าหลายคนจะผ่านพ้น 5 วันทำงานไปได้ก็แทบจะไม่เหลือเรี่ยวแรง ร่างกายเหนื่อยล้าแบบสุดๆ จนอดใจรอวันหยุดสุดสัปดาห์แทบจะไม่ไหว แต่ช่วงวันหยุด 2 วันก็ผ่านไปไวเหลือเกิน ยังไม่ทันจะเคลียร์งานบ้าน พักผ่อนให้หายเหนื่อย ก็ต้องกลับไปสู่วงจรการทำงานอีกแล้ว หากสัปดาห์ไหนมีวันหยุดพิเศษเพิ่มมาให้อย่างน้อย 1 วัน ก็รู้สึกเหมือนโชคหล่นทับ เพราะรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจได้ชาร์จพลังจนเต็ม พร้อมสู้งานในสัปดาห์ต่อไปอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว แล้วถ้าได้ทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน ทุกสัปดาห์ และยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม จะช่วยให้เราพร้อมสู้งานกว่านี้ไหมนะ เชื่อว่าในปัจจุบันหลายคนคงจะเริ่มตระหนักถึง Work-life Balance หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและชีวิตส่วนตัวมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกใจที่คนยุคใหม่จะมองว่า การทำงานโดยมีวันหยุดเพียง 2 วัน/สัปดาห์นั้นไม่ตอบโจทย์และไม่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนหรือลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เลย หลายคนและหลายองค์กรคงเคยนึกถึงการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเมื่อวันทำงานลดน้อยลงแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะยังมีเท่าเดิมไหม หรือหากจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลดลงจะมีผลต่อรายได้หรือเปล่า แนวคิดการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์นี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า สรุปแล้วมันเวิร์กสำหรับสังคมการทำงานจริงๆ หรือไม่ หลายประเทศทั่วโลกทดลองลดวันทำงาน ประเด็นการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์โควิด-19 หลายองค์กรก็ต้องปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]

1 10 11 12 13 14 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.