‘รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์’ ต้นแบบเชื่อมระบบการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้

คาร์ลส์รูห์ คือเมืองในประเทศเยอรมนีที่สถานีรถไฟหลักไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง  ทำให้คนใช้งานน้อยจนเกือบเจ๊ง เกือบเจ๊ง แต่ไม่เจ๊งจริง เพราะคาร์ลส์รูห์คิดแผนพัฒนากู้รถไฟให้ใช้รางร่วมกับรถรางในเมืองได้ในชื่อ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ (Karlsruhe Model) นอกจากเชื่อมการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้ การเกิดขึ้นของ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ ยังลดภาวะรถติด เพิ่มมูลค่าที่ดิน และเพิ่มการจ้างงาน คาร์ลส์รูห์ เป็นเมืองขนาดกลางทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนประเทศฝรั่งเศสมากนัก เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม เพราะเป็นที่ตั้งของหนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และยังมีบริษัทมากมายตั้งอยู่ในเมืองนี้ แต่ที่เราจะเล่าให้ฟังคือ รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์ (Tram-train Karlsuhe) ที่เป็นความสำเร็จของเมืองในการแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะ จนกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายเมืองในยุโรปในชื่อ คาร์ลส์รูห์โมเดล (Karlsruhe Model) ปรับให้รถไฟวิ่งบนทางรถราง เรื่องราวเริ่มต้นราวๆ ปี ค.ศ. 1950 ผู้ให้บริการรถไฟรายหนึ่งในเมืองประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับ โดยสาเหตุหนึ่งคือสถานีรถไฟหลักของเมืองไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง แต่อยู่ห่างออกไปถึง 2 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารน้อย เพราะผู้คนที่เดินทางมาจากนอกเมืองต้องไปเปลี่ยนเป็นรถรางและบัสที่วิ่งในเมืองเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง บริษัทเห็นว่าการวิ่งต่อตามทางรถรางเข้าเมืองเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น จึงปรับทั้งระบบไฟฟ้าและความกว้างของรางรถไฟตามทางรถรางเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมรถรางและรถไฟ หลังจากนั้นไม่นานบริษัทที่ดูแลรถรางและรถไฟก็ทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ‘KVV’ (Karlsruhe Transport Association) เพื่อความสะดวกในการต่อรถของประชาชน แต่ก็ยังขยายเส้นทางของทั้งรถไฟและรถรางแยกกันเรื่อยมา จนในปี ค.ศ. 1992 […]

‘Kowloon Walled City’ อดีตสลัมลอยฟ้าแออัดติดอันดับโลก

The City of Darkness ดินแดนสนธยาแห่งนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่แออัดยัดเยียดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้กำแพงตึกสูงกว่า 14 ชั้น กลายเป็นแหล่งซุกซ่อนความลึกลับน่ากลัวเอาไว้มากว่า 27 ปี แต่ผู้คนในเมืองนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น เมื่อเรื่องราวของ Kowloon Walled City ถูกลบออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ฮ่องกงไปตลอดกาล เหมือนเป็นการเซ่นไหว้ให้กับความเจริญที่กำลังคืบคลานเข้ามาพร้อมการปรับภูมิทัศน์ประเทศครั้งใหญ่ราวกับว่าไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นที่นี่ ปัญหาแหล่งอาศัยที่สวนทางกับประชากร ‘ฮ่องกง’ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจแห่งภูมิภาคเอเชียที่มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และขึ้นชื่อในเรื่องค่าครองชีพที่แพงหูฉี่ติดอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นและเหมือนจะหยั่งรากลึกจนเกินจะถอนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ด้วยประเทศฮ่องกงมีพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 1,100 ตารางกิโลเมตร แต่กลับมีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยเพียงแค่ 77 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งเท่ากับ 1 คน ต่อ 10 ตารางกิโลเมตร จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 7.5 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากและคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตอีกด้วย ซ้ำร้ายอัตราค่าเช่าก็ดันสวนทางกันกับขนาดของพื้นที่อยู่อาศัย ด้วยราคาที่ดินและอสังหาฯ ของประเทศนี้พุ่งทะยานสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีชาวฮ่องกงน้อยมากที่จะสามารถมีบ้านเป็นของตัวเองได้ เพราะประชากร 1 ใน 5 ของประชากรฮ่องกงมีฐานะที่ค่อนข้างยากจน คนกลุ่มนี้จึงเหมือนถูกกดหัวให้เป็นแค่พวกชายขอบที่ไม่มีใครสนใจ จึงเป็นที่มาของเรื่องราวในอดีตของ ‘Kowloon Walled City’ […]

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

ภาษีที่จ่ายไป ได้อะไรกลับมา

รู้หรือไม่ รายได้ของรัฐบาลในหลายประเทศมาจากการเก็บภาษีประชาชน โดยในปี พ.ศ. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากถึง 2.01 ล้านล้านบาท มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 8 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6.94 แสนล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.36 แสนล้านบาท ตามลำดับ

ตามกลิ่นกระดาษ และออกเดินทางไป 6 เมืองแห่งหนังสือ ที่คอยขับเคลื่อนเมืองให้มีชีวิต

พาไป 6 เมืองทั่วโลก ที่ยกให้หนังสือและกลิ่นกระดาษเป็นใหญ่ และขับเคลื่อนเมืองให้มีชีวิต

‘สีชมพู’ อดีตเฉดแห่งชายชาตรี ก่อนถูกบุลลี่ในปัจจุบัน

ค่านิยมเรื่องสีที่หลายคนคุ้นชินมาตั้งแต่เด็ก ที่มีการใช้สีแทนเพศแยกชัดว่าสีชมพู = ผู้หญิง และ สีฟ้า = ผู้ชาย ใครกำหนด ? หรือเป็นแค่ค่านิยมภาคบังคับที่ไม่ได้ถามความสมัครใจตั้งแต่แรก ?

‘ThaiWater’ แอปฯ รวมข้อมูลน้ำไทย ที่อยากให้ทุกคนนำพยากรณ์น้ำมาใช้ประโยชน์

เปิดแอปฯ ‘ThaiWater’ คลังข้อมูล ‘น้ำ’ ทั้งหมดของไทยที่รวบรวมข้อมูลกว่า 45 หน่วยงาน ผ่านการพูดคุยกับ ‘ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล’ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ที่จะมาเล่าการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำเเละทำนายสถานการณ์น้ำของไทยว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?

เข้านอกออกในย่านปุณณวิถี

ย่านปุณณวิถีหลายคนมองว่าเป็นทางผ่านหรือเส้นทางลัดที่ทะลุออกไปได้หลายเส้นทาง แต่รู้หรือไม่ ? ย่านนี้กลับมีของดีของเด็ดที่ซุกซ่อนอยู่มากมาย

รู้จักวัฒนธรรมสุดโหด ‘เทศกาลล่าแมวน้ำ’ ความสะใจที่ต้องแลกด้วยชีวิต

รู้จัก ‘เทศกาลล่าแมวน้ำ’ อีเวนต์ดั้งเดิมของชนเผ่าอินูอิตที่ต้องแลกด้วยชีวิตสัตว์ตัวน้อย

ล่องเรือสู่ ปากอ่าวบางปะกง สัมผัสวิถีชีวิตริมแม่น้ำ

ล่องเรือออกไปยัง ‘ปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง’ จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมสัมผัสเรื่องราวของชาวประมงพื้นบ้านที่มีครบรส ตั้งแต่วิถีชีวิต การจับปลา ไปจนถึงการสร้างบ้านที่อยู่คู่กับช่วงเวลาน้ำขึ้น น้ำลงได้อย่างลงตัว

1 27 28 29 30 31 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.