
Featured
ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต
สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]
ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก
ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]
ชาว Urban Creature และถิ่นที่อยู่ รวมสถานที่โปรดบ้านฉันย่านเธอ ที่อยากให้ทุกคนรู้จักและไปเยี่ยมเยียน
ร้านอาหารตามสั่งร้านโปรด พื้นที่สีเขียวที่ใกล้จะหายไป สวนสาธารณะที่แอบซ่อนตัวอยู่ใต้ทางด่วน ทั้งหมดนี้แม้ไม่ใช่สถานที่เก๋ๆ แลนด์มาร์กน่ามาเยือนที่จะพบเห็นได้ตามโซเชียลมีเดีย แต่กับคนที่อยู่อาศัยในย่านนั้นๆ พื้นที่เหล่านี้อาจเป็นที่พักใจและคอมฟอร์ตสเปซที่คอยให้ความอบอุ่น น่ารัก และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเรากับย่านที่อยู่อาศัย หลังจากแนะนำสถานที่น่าไปในคอลัมน์ Urban Guide มานาน Urban Creature ก็อยากชี้ชวนให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ที่อาจไม่สวย ไม่เก๋ ไม่มีคอนเซปต์ว้าวๆ เท่าคาเฟ่ ร้านรวง หรือสเปซเจ๋งๆ ทว่าล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อความทรงจำ และทำหน้าที่คล้ายเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่อยู่ในย่านนั้นๆ บ้าง เราเลยปัดฝุ่นนำคอลัมน์ Add to my List มารีโนเวต จากที่เคยแนะนำความชอบและสิ่งละอันพันละน้อยของแขกรับเชิญให้ผู้อ่านไปตามอ่านตามดูตามอิน ก็ขอเปลี่ยนมาเป็นการแนะนำสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของเขาให้ทุกคนไปตามรอยแทน หรือต่อให้ไม่สามารถเดินทางไปได้ อย่างน้อยความทรงจำ ความชอบ ความผูกพันของแต่ละคนที่มีให้ย่านที่อยู่และสถานที่นั้นๆ ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านอิ่มอกอิ่มใจ สำหรับการประเดิม เราขอชวนไปส่องสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของชาว Urban Creature กันก่อน หลังจากนี้จะเป็นย่านไหน สถานที่โปรดของใคร ไว้มารอดูไปด้วยกันน้า ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorย่านที่อยู่ : ราชเทวีระยะเวลาอยู่อาศัย : […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่
นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]
‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ถังดักไขมันพกพาร้านรถเข็น แก้ปัญหาแบบ 2 in 1 ทั้งลดท่ออุดตันและได้ทางเท้าคืน
ปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำและการกีดขวางทางเดินของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ด คือสองปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ไม่ว่าจะจัดการเท่าไหร่ก็ไม่หมดไปสักที จะเป็นยังไงถ้าสองปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่เป็นได้ทั้งถังดักไขมันและอุปกรณ์สำหรับเทินล้อร้านรถเข็นให้สามารถจอดคร่อมระหว่างทางต่างระดับ คอลัมน์ Debut ขอดึงตัว ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect Design Studio เจ้าของโปรเจกต์ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากอีเวนต์ Bangkok Design Week 2025 ที่เพิ่งจบไป มาพูดคุยเจาะลึกถึง ‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ออกแบบนวัตกรรมถังดักไขมันแบบพกพา ที่โดนเทน้ำมันใส่ยังไงก็ไม่เล็ดลอดลงสู่ท่อระบายน้ำ แถมยังได้พื้นที่ทางเดินคืนมาให้คนเดินเท้าด้วย จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง สู่การออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาจริง ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ คงต้องย้อนไปถึงหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชวาลเขียนขึ้น โดยมีแกนหลักคือการบันทึกภาพสเก็ตช์และเรื่องราวสั้นๆ ของข้าวของรอบตัวที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทางจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ “เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นร้านรถเข็นมีปัญหาเรื่องฟุตพาททางเท้า เขาเลยมักจะเอาอิฐมวลเบาแถวนั้นมาเทินล้อ เป็นการแก้ปัญหาแบบเมืองๆ” เจ้าของโปรเจกต์เล่าถึงไอเดียตั้งต้น ก่อนจะนำมารวมกับปัญหาที่พ่อค้าแม่ขายมักเทน้ำเสียจากการประกอบอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันลงท่อระบายน้ำของเมืองโดยตรง ‘ตัวโดนเท’ ถือเป็นโปรเจกต์ในลักษณะ Product Design ตัวแรกของทาง Everyday Architect Design Studio ที่ชัชวาลออกแบบร่วมกับ ‘รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา’ และนักศึกษาฝึกงาน ‘มยุรฉัตร […]
‘ถนนบริพัตร’ เดินเมืองไปตามย่านสารพัดช่างในเขตเมืองเก่าที่กำลังรอวันพัฒนา
ในเกาะรัตนโกสินทร์และเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีถนนหลายสายตัดกันไปมาเป็นโครงข่าย หลายสายถูกมองข้าม และหลายสายคนไม่รู้จัก เช่นกันกับ ‘ถนนบริพัตร’ หากเอ่ยเพียงแค่ชื่ออาจไม่คุ้นว่าถนนสายนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วเส้นทางสายยาวเลียบไปตามคลองรอบกรุงนี้มีถนนอีกหลายสายตัดผ่าน แถมติดกับย่านสำคัญอีกหลายแห่ง ทั้งสำราญราษฎร์-ประตูผี สามยอด วรจักร คลองถม จนถึงเยาวราช เชื่อว่าต้องมีบางคนบ้างละที่เคยเดินหรือนั่งรถผ่านโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่าถนนสายนี้เป็นเส้นตรงยาวอยู่พอตัว เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับถนนเยาวราช เชิงสะพานภาณุพันธุ์ ใกล้กับเวิ้งนาครเขษม โดยตลอดสองฟากฝั่งถนนมีอาคารพาณิชย์รุ่นเก่าวางตัวเรียงกันอย่างสวยงาม คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้อยากชวนออกแรงเดินเมืองสักนิด เหลียวซ้ายแลขวาโซนอื่นๆ ของถนนสายประวัติศาสตร์นี้ ดูกิจการร้านรวงที่สืบทอดมาแต่อดีต รวมถึงเปิดบทสนทนากับผู้คนดั้งเดิมและสมาชิกใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาทำให้ย่านนี้เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาจากที่เคยเห็น ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกัน! ถนนสายประวัติศาสตร์และตลาดใหญ่ในความทรงจำ เขตเมืองเก่ามีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามพระนามของเหล่าเจ้านายพระองค์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตัดใหม่ที่กระจายจากใจกลางเมืองออกสู่ชานพระนครในสมัยนั้น ถือเป็นพยานของการพัฒนาเมืองเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยปัจจุบันหลายแห่งกลายเป็นย่านการค้าที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ที่มาของชื่อถนนสายนี้คงเกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงพัฒนาพื้นที่ย่านนี้โดยตั้งใจให้เป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ดังชื่อที่ตั้งว่า ‘นาครเขษม’ โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าขายสรรพสินค้านานาชนิด ตั้งแต่เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรี ข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงของเก่าของสะสม หลายฝน หลายหนาว รอบข้างของถนนสายนี้เปลี่ยนแปลงไปหลายหน้าตา ผู้คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปมา กระทั่งเร็วๆ […]
Nordhavn Copenhagen เมืองห้านาทีที่สนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แค่เปิดประตูบ้านก็เจอพื้นที่สีเขียวรอให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ เด็กๆ เดินออกไปไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงโรงเรียน หรือเหล่าผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงที่ทำงานแล้ว ประโยคเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกยูโทเปีย แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้อาศัยอยู่ที่ ‘Nordhavn’ เขตหนึ่งในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ในอดีต Nordhavn เคยเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเขตเมืองที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย แม้ว่า ณ ตอนนี้การพัฒนาเมืองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ Nordhavn ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นเมืองแบบใหม่ที่แทบจะเป็นเมืองในฝัน จนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว เข้าถึงความสะดวกในเวลาเพียง 5 นาที เราอาจจะคุ้นชินกับโมเดลเมือง 15 นาทีในหลายๆ ประเทศที่ต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งระยะ 15 นาทีนั้นใครเห็นก็คิดว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วแล้ว แต่ที่ Nordhavn ขอทะเยอทะยานกว่า รวดเร็วกว่า ด้วยการทำตัวเองให้เป็นเมืองที่เดินเท้าถึงทุกที่ในเวลาแค่ 5 นาที ฟังดูเป็นเรื่องยากใช่ไหม แต่การออกแบบเมือง Nordhavn นั้นสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายของคนในเมืองมากกว่าที่เราคิด นอกจากไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นหลักแล้ว เมืองยังเน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นฐานอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงาน ขนส่งสาธารณะ สวนสาธารณะ หรือร้านค้า ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ […]
‘แฟลตเกิร์ล’ มองปัญหาเรื้อรังของการไม่มีบ้านและโอกาสที่ไม่มีอยู่จริงของคนจนเมืองผ่านที่อยู่อาศัยในภาพยนตร์
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์* เมื่อการมีบ้านเป็นฝันที่เกินเอื้อมทั้งสำหรับคนเมืองและอาชีพอย่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ สนามแบดฯ สภาพเสื่อมโทรม ไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง กับเสาที่ถูกพ่นลาย และหลากหลายเรื่องราวของผู้คนในห้องขนาดเล็กจิ๋วของแฟลตตำรวจ สวนทางกับจำนวนคนในห้อง ทั้งภรรยา ลูกคนที่หนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม พานจะมีคนที่สี่ ต้องอัดกันอยู่ในห้องที่ไม่มีสัดส่วน ผนังและฝ้าจะถล่มลงมาได้ตลอด ภาพบรรยากาศนี้ถูกเล่าผ่าน ‘แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ ร า’ ภาพยนตร์ของ แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน กับเรื่องราวของพี่น้องต่างสายเลือดอย่าง เจน และ แอน แต่กลับมีจุดร่วมอย่างการมีพ่อเป็นตำรวจและอาศัยอยู่ในแฟลตเดียวกัน จนเติบโตและสนิทสนมเป็นความสัมพันธ์ที่แล้วแต่จะนิยาม ชีวิตที่สนุกแสนสุขสงบในแฟลต ช่วงต้นของภาพยนตร์เป็นความพยายามเล่า ‘ความสุข’ ของเหล่าเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในแฟลต ทั้งภาพของเจนที่ออกมายืนกินไอศกรีมรอแอนกลับบ้านพร้อมกัน นักเรียนกลุ่มใหญ่ที่พากันออกไปเรียกตุ๊กตุ๊กหน้าโรงเรียน และถึงแม้จะเรียกตุ๊กตุ๊กในราคาเดิมไม่สำเร็จก็ยังมีรถตำรวจที่พาไปส่งถึงแฟลตได้ หลังเลิกเรียนก็มาใช้เวลาว่างด้วยกัน ตีแบดฯ นอนเล่น กินขนม ไปจนถึงแอบทำอะไรป่วนๆ อย่างการลักลอบเข้าห้องของตำรวจที่ไม่ค่อยอยู่เพื่อเข้าไปดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ฟรีๆ เสมือนชีวิตนี้ไม่มีปัญหาและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นกับเพื่อนที่ตนสนิทใจ แต่เราจะรู้สึกเอะใจตั้งแต่ภาพความสุขนั้นถูกฉายด้วยพื้นหลังของสภาพตึก ห้อง หรือบรรยากาศที่ดูเสียดสีอย่างสุดซึ้ง ก่อนภาพยนตร์จะพาเราไปเจอความเป็นจริงว่าชีวิตของเด็กแฟลตมันไม่ได้สนุกและสวยงามเท่าไรนัก ด้วยปัญหาคุณภาพชีวิตราคาถูกสวนทางกับค่าครองชีพราคาแพงที่ไม่ว่าใครในแฟลตแห่งนี้ก็ไม่สามารถจ่ายมันได้ ชีวิตที่แตกต่างจากระยะห่างของชั้นในแฟลต ผสมปนเปไปกับ ‘ความห่างระหว่างชั้น’ ของเจนและแอน สองพี่น้องที่สนิทและรักกันปานจะกลืนกิน แต่ความเป็นจริงนั้น […]
ถนนท่าแพ ตามนักสะสมของพม่าไปชมวัดพม่าในเชียงใหม่
ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]
‘เจริญกรุง’ จากถนนดินอัดแห่งแรก สู่ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบ เส้นทางความเจริญของกรุงเทพฯ ตามชื่อที่ตั้ง
รู้ไหมว่า กว่า ‘เจริญกรุง’ จะกลายมาเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ภาพจำของเจริญกรุงที่เราคุ้นตาคงเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายรูปที่เรียงรายอยู่ตลอดแนวถนน ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและอาร์ตแกลเลอรีที่หมุนเวียนมาไม่ซ้ำเป็นประจำทุกเดือน จนได้เป็นย่านแรกของไทยที่ก้าวสู่การเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ จากการรวมตัวของคนหลายกลุ่มที่ช่วยกันฟื้นฟูและขับเคลื่อนย่านให้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งเช่นในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการผ่านโปรเจกต์ Bangkok Design Week ที่เราคุ้นเคย แต่ก่อนที่เจริญกรุงจะเดบิวต์ใหม่เป็นย่านสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการมาเดินเล่นในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น ย่านนี้เคยเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของการเดินทางบนคอนกรีตที่สะดวกสบายในปัจจุบัน เพราะเจริญกรุงนับว่าเป็น ‘ถนนสายแรก’ ของกรุงเทพฯ ที่สร้างด้วยเทคนิคตะวันตก ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองและความเจริญที่เริ่มคืบคลานทยอยเข้ามาในเมืองทีละนิดๆ ส่งผลให้เกิดเป็นการคมนาคมที่เข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน คอลัมน์ Urban Tales ขอพาทุกคนย้อนดูไทม์ไลน์การเดินทางกว่า 160 ปีของเจริญกรุง ตั้งแต่เริ่มมีถนนใช้เป็นครั้งแรก พากรุงเทพฯ ก้าวเข้าสู่เมืองแห่งความทันสมัย ก่อนผลัดเปลี่ยนสู่ยุคตกทุกข์ได้ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะย่านสร้างสรรค์แรกของไทย กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ จากเส้นทางสายน้ำสู่พื้นคอนกรีตแบบตะวันตก ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนในกรุงเทพฯ สังเกตได้ว่าแทบทุกพื้นที่จะมีคลองเล็กใหญ่ให้เห็นอยู่เสมอ และส่วนใหญ่คลองเหล่านี้มักบรรจบหรือมีจุดที่เชื่อมโยงเป็นสายเดียวกัน ถือเป็นร่องรอยจากอดีตที่แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดกับสายน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบ้านเรือนติดแม่น้ำลำคลอง การประกอบอาชีพประมง รวมถึงการใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางหลักสำหรับสัญจรไปมาในอดีต จึงไม่แปลกที่เขตหรือแขวงในกรุงเทพฯ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘บาง’ ที่หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล เพื่อใช้เรียกสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายน้ำ […]
ปักหมุดเช็กอินย่านวัฒนธรรม บางโพ-พระนคร-บางลำพู กับกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พร้อมให้มาบวก งาน Bangkok Design Week 2025 วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ 2568
เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของงาน ‘Bangkok Design Week 2025’ เทศกาลงานออกแบบสร้างสรรค์ที่ชวนให้เราออกมาเดินเล่นชมความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในย่านต่างๆ รอบกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้นับว่าเป็น Phase 2 ของงาน คิวของย่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่าง ‘พระนคร’ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ และย่านอื่นๆ ที่ได้เปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามาเยือนถิ่นเช็กอินย่านได้ตั้งแต่วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ กับโปรแกรมที่น่าสนใจประจำย่าน ซึ่งหากใครสนใจวางแผนการเข้าร่วมงานก็ดูเพิ่มเติมก่อนไปได้ที่ bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program และหากใครถูกใจหลายกิจกรรมใน Bangkok Design Week 2025 จนเลือกไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ไปวันเดียวทั้งหมดคงไม่ไหว คอลัมน์ Events ขออาสารวบรวมกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจในช่วงที่ 2 ของเทศกาลฯ กับ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่าง ‘บางโพ’ ‘พระนคร’ และ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ กับโค้งสุดท้ายของเทศกาลฯ ในปีนี้มาให้ แนะนำให้เตรียมพัดลมจิ๋ว หมวก และน้ำดื่มไปด้วยนะ บางโพ เริ่มกันที่ ‘บางโพ’ ย่านการค้าไม้เก่าแก่ที่ได้มาร่วมแจมงาน Bangkok Design Week เป็นครั้งที่ […]